เครดิต :: https://www.pptvhd36.com/health/food/6219
น้ำอัดลม นับเป็นเครื่องดื่มที่มีให้เลือกอย่างหลากหลายรสชาติในปัจจุบัน อีกทั้งยังเป็นที่นิยม เพราะความหวานความซ่า สดชื่น ตอบโจทย์เมืองร้อนอย่างไทยอย่างยิ่ง จากข้อมูลพบว่าสถานการณ์การบริโภคนํ้าตาลของคนไทยมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ พ.ศ. 2537 เป็นต้นมา และมีค่าเฉลี่ยของการบริโภคค่อนข้างสูง คือ 22 ช้อนชา/คน/วัน
จากการสำรวจปริมาณนํ้าตาลในนํ้าอัดลมประเภทต่างๆ พบว่า กลุ่มนํ้าดํา มีปริมาณน้ำตาล 9.3 ช้อนชา กลุ่มน้ำสีมีปริมาณน้ำตาล 14.5 ช้อนชา และกลุ่มน้ำใสมีปริมาณน้ำตาล 11 ช้อนชา
น้ำอัดลม VS น้ำอัดลมไม่มีน้ำตาล
น้ำอัดลม ส่วนประกอบหลัก
•สีธรรมชาติ
•สารให้ก๊าซคาร์บอน
•สารควบคุมความเป็นกรด
•น้ำตาล
•วัตถุกันเสีย
ข้อควรระวังกินน้ำอัดลม
•กินเป็นประจำติดน้ำตาล
•ระดับน้ำตาลในเลือดสูง
•น้ำหนักเกิน โรคอ้วน
•ภูมิคุ้มกันตก
•แก่ก่อนวัย
•ตับอ่อนผลิตอินซูลินลดลงเสี่ยงโรคเบาหวาน และโรคติดต่อเรื้อรัง
ปริมาณน้ำตาลในน้ำอัดลม
•325 ซีซี : ปริมาณน้ำตาล 8.5 ช้อนชา เทียบเท่าน้ำตาลในลูกอมจำนวนมากถึง 17 เม็ด
•375 ซีซี : ปริมาณน้ำตาล 9.5 ช้อนชา เทียบเท่าน้ำตาลในลูกอมจำนวนมากถึง 19 เม็ด
น้ำอัดลม (ปราศจากน้ำตาล) ส่วนประกอบหลัก
•สีธรรมชาติ
•สารให้ก๊าซคาร์บอน
•สารควบคุมความเป็นกรด
•สารให้ความหวานแทนน้ำตาล
•ซูคราโลสและแอซีซัลเฟมโพแทสเซียม
ข้อควรระวังกินน้ำอัดลมไม่มีน้ำตาล
•กินเป็นประจำติดรสหวาน
•กระตุ้นหิวบ่อยขึ้น
•บริโภคมากไปอาจส่งผลกับสุขภาพ
•กลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น เด็กอายุต่ำกว่า / ปี หญืงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร ผู้เป็นไมเกรน ผู้ป่วยโรคลมชัก
ควรหลีกเลี่ยง
อันตรายจากการดื่มน้ำอัดลมทุกชนิด
•โรคอ้วน เพราะน้ำอัดลมมีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบในปริมาณมาก หากดื่มเยอะต่อเนื่องเป็นเวลานาน จะส่งผลให้มีน้ำหนักตัวมากขึ้น ส่งผลต่อโรคเบาหวาน ความดันโลหิต
เบื่ออาหาร เด็กที่ดื่มน้ำอัดลมมากๆ จะทำให้อิ่มเร็ว และกินอาหารมื้อหลักได้น้อย
•โรคกระเพราะ เพราะในน้ำอัดลมมีกรดคาร์บอนิกเยอะ หากดื่มสะสมเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุกระเพาะอาหาร เด็กจะมีอาการปวดท้อง ท้องอืด แน่นท้อง และกลายเป็นโรคกระเพาะ
•ฟันผุ เด็กที่ดื่มน้ำอัดลมจะทำให้ฟันผุ เพราะสารเคลือบฟันจะถูกทำลาย และน้ำตาลในน้ำอัดลมเป็นแหล่งอาหารของเชื้อแบคทีเรีย
•สูญเสียแคลเซียม คาเฟอีนมีผลต่อการขับแคลเซียมออกทางปัสสาวะเพิ่มขึ้น ทำให้มีโอกาสสูญเสียแคลเซียมจากร่างกายโดยไม่จำเป็นทำให้เกิดภาวะกระดูกผุ กระดูกเปราะได้
•นอนไม่หลับ เพราะคาเฟอีนในน้ำอัดลม มีผลต่อการกระตุ้นหัวใจ และระบบประสาท
องค์การอนามัยโลก (WHO) ไม่แนะนำให้คนทั่วไปใช้สารความหวานแทนน้ำตาล เพื่อควบคุมน้ำหนัก หรือลดความเสี่ยงการเกิด โรคไม่ติดต่อเรื้องรัง (NCDs) เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคมะเร็งที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตด้วยเช่นกัน ทางที่ดีควรเลี่ยงหรือลดปริมาณการกินเพื่อควบคุมปริมาณน้ำตาลในแต่ละวัน ดื่มน้ำเปล่าให้มากขึ้น รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่เพื่อสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงไม่ติดหวาน
น้ำอัดลม VS น้ำอัดลมไม่มีน้ำตาล ทำไมควรดื่มแต่พอดีเสี่ยงสุขภาพพัง
น้ำอัดลม นับเป็นเครื่องดื่มที่มีให้เลือกอย่างหลากหลายรสชาติในปัจจุบัน อีกทั้งยังเป็นที่นิยม เพราะความหวานความซ่า สดชื่น ตอบโจทย์เมืองร้อนอย่างไทยอย่างยิ่ง จากข้อมูลพบว่าสถานการณ์การบริโภคนํ้าตาลของคนไทยมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ พ.ศ. 2537 เป็นต้นมา และมีค่าเฉลี่ยของการบริโภคค่อนข้างสูง คือ 22 ช้อนชา/คน/วัน
จากการสำรวจปริมาณนํ้าตาลในนํ้าอัดลมประเภทต่างๆ พบว่า กลุ่มนํ้าดํา มีปริมาณน้ำตาล 9.3 ช้อนชา กลุ่มน้ำสีมีปริมาณน้ำตาล 14.5 ช้อนชา และกลุ่มน้ำใสมีปริมาณน้ำตาล 11 ช้อนชา
น้ำอัดลม VS น้ำอัดลมไม่มีน้ำตาล
น้ำอัดลม ส่วนประกอบหลัก
•สีธรรมชาติ
•สารให้ก๊าซคาร์บอน
•สารควบคุมความเป็นกรด
•น้ำตาล
•วัตถุกันเสีย
ข้อควรระวังกินน้ำอัดลม
•กินเป็นประจำติดน้ำตาล
•ระดับน้ำตาลในเลือดสูง
•น้ำหนักเกิน โรคอ้วน
•ภูมิคุ้มกันตก
•แก่ก่อนวัย
•ตับอ่อนผลิตอินซูลินลดลงเสี่ยงโรคเบาหวาน และโรคติดต่อเรื้อรัง
ปริมาณน้ำตาลในน้ำอัดลม
•325 ซีซี : ปริมาณน้ำตาล 8.5 ช้อนชา เทียบเท่าน้ำตาลในลูกอมจำนวนมากถึง 17 เม็ด
•375 ซีซี : ปริมาณน้ำตาล 9.5 ช้อนชา เทียบเท่าน้ำตาลในลูกอมจำนวนมากถึง 19 เม็ด
น้ำอัดลม (ปราศจากน้ำตาล) ส่วนประกอบหลัก
•สีธรรมชาติ
•สารให้ก๊าซคาร์บอน
•สารควบคุมความเป็นกรด
•สารให้ความหวานแทนน้ำตาล
•ซูคราโลสและแอซีซัลเฟมโพแทสเซียม
ข้อควรระวังกินน้ำอัดลมไม่มีน้ำตาล
•กินเป็นประจำติดรสหวาน
•กระตุ้นหิวบ่อยขึ้น
•บริโภคมากไปอาจส่งผลกับสุขภาพ
•กลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น เด็กอายุต่ำกว่า / ปี หญืงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร ผู้เป็นไมเกรน ผู้ป่วยโรคลมชักควรหลีกเลี่ยง
อันตรายจากการดื่มน้ำอัดลมทุกชนิด
•โรคอ้วน เพราะน้ำอัดลมมีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบในปริมาณมาก หากดื่มเยอะต่อเนื่องเป็นเวลานาน จะส่งผลให้มีน้ำหนักตัวมากขึ้น ส่งผลต่อโรคเบาหวาน ความดันโลหิต
เบื่ออาหาร เด็กที่ดื่มน้ำอัดลมมากๆ จะทำให้อิ่มเร็ว และกินอาหารมื้อหลักได้น้อย
•โรคกระเพราะ เพราะในน้ำอัดลมมีกรดคาร์บอนิกเยอะ หากดื่มสะสมเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุกระเพาะอาหาร เด็กจะมีอาการปวดท้อง ท้องอืด แน่นท้อง และกลายเป็นโรคกระเพาะ
•ฟันผุ เด็กที่ดื่มน้ำอัดลมจะทำให้ฟันผุ เพราะสารเคลือบฟันจะถูกทำลาย และน้ำตาลในน้ำอัดลมเป็นแหล่งอาหารของเชื้อแบคทีเรีย
•สูญเสียแคลเซียม คาเฟอีนมีผลต่อการขับแคลเซียมออกทางปัสสาวะเพิ่มขึ้น ทำให้มีโอกาสสูญเสียแคลเซียมจากร่างกายโดยไม่จำเป็นทำให้เกิดภาวะกระดูกผุ กระดูกเปราะได้
•นอนไม่หลับ เพราะคาเฟอีนในน้ำอัดลม มีผลต่อการกระตุ้นหัวใจ และระบบประสาท
องค์การอนามัยโลก (WHO) ไม่แนะนำให้คนทั่วไปใช้สารความหวานแทนน้ำตาล เพื่อควบคุมน้ำหนัก หรือลดความเสี่ยงการเกิด โรคไม่ติดต่อเรื้องรัง (NCDs) เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคมะเร็งที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตด้วยเช่นกัน ทางที่ดีควรเลี่ยงหรือลดปริมาณการกินเพื่อควบคุมปริมาณน้ำตาลในแต่ละวัน ดื่มน้ำเปล่าให้มากขึ้น รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่เพื่อสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงไม่ติดหวาน