" .. จิตเป็นสมาธิย่อมมีความเย็น ย่อมมีความสงบตัว
ไม่หิวโหยในอารมณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะอารมณ์ทางใด
รูป เสียง กลิ่น รส เครื่องสัมผัส "เฉพาะอย่างยิ่งกามารมณ์
เป็นสำคัญสำหรับนักบวช อันนี้เป็นข้าศึกมากภายในจิตใจ
และชอบคิดมาก คิดได้อย่างรวดเร็วแต่หักห้ามได้ยาก"
เหล่านี้เมื่อจิตมีสมาธิ คือความสงบแล้วสิ่งเหล่านี้ย่อมสงบตัวไป
"แต่ไม่ใช่ขาด ไม่ใช่ละขาด" เป็นเพียงความสงบของจิต
คือจิตอิ่มตัวในขั้นนี้
"ท่านจึงสอนให้ใช้การพิจารณา คือปัญญา"
ปัญญานั้น "หมายถึงการถอดการถอน การคลี่คลายดูสิ่งต่าง ๆ
ให้เห็นตามความเป็นจริง" แล้วถอนไปโดยลำดับลำดา
ตั้งแต่กิเลสขั้นหยาบ ๆ จนกระทั่งถึงขั้นละเอียดสุด หลุดพ้น
ท่านเรียกว่าปัญญาทั้งนั้น แต่เป็นขั้น ๆ ของปัญญา
สมาธิเป็นเพียงทำจิตให้สงบ เพื่อจะได้พิจารณาง่ายลงไป
ผิดกับการพิจารณาทั้งที่จิตหาพื้นฐานแห่งความสงบไม่ได้อยู่เป็นอันมาก
เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าท่านจึงสอนให้บำเพ็ญทางสมาธิ
ท่านเรียกว่า
"สมาธิอบรมปัญญา" .. "
หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://www.luangta.com/thamma/thamma_talk_text.php?ID=1029&CatID=3
สมาธิ อบรมปัญญา (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน)
" .. จิตเป็นสมาธิย่อมมีความเย็น ย่อมมีความสงบตัว
ไม่หิวโหยในอารมณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะอารมณ์ทางใด
รูป เสียง กลิ่น รส เครื่องสัมผัส "เฉพาะอย่างยิ่งกามารมณ์
เป็นสำคัญสำหรับนักบวช อันนี้เป็นข้าศึกมากภายในจิตใจ
และชอบคิดมาก คิดได้อย่างรวดเร็วแต่หักห้ามได้ยาก"
เหล่านี้เมื่อจิตมีสมาธิ คือความสงบแล้วสิ่งเหล่านี้ย่อมสงบตัวไป
"แต่ไม่ใช่ขาด ไม่ใช่ละขาด" เป็นเพียงความสงบของจิต
คือจิตอิ่มตัวในขั้นนี้ "ท่านจึงสอนให้ใช้การพิจารณา คือปัญญา"
ปัญญานั้น "หมายถึงการถอดการถอน การคลี่คลายดูสิ่งต่าง ๆ
ให้เห็นตามความเป็นจริง" แล้วถอนไปโดยลำดับลำดา
ตั้งแต่กิเลสขั้นหยาบ ๆ จนกระทั่งถึงขั้นละเอียดสุด หลุดพ้น
ท่านเรียกว่าปัญญาทั้งนั้น แต่เป็นขั้น ๆ ของปัญญา
สมาธิเป็นเพียงทำจิตให้สงบ เพื่อจะได้พิจารณาง่ายลงไป
ผิดกับการพิจารณาทั้งที่จิตหาพื้นฐานแห่งความสงบไม่ได้อยู่เป็นอันมาก
เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าท่านจึงสอนให้บำเพ็ญทางสมาธิ
ท่านเรียกว่า "สมาธิอบรมปัญญา" .. "
หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้