ปัญญา อบรมสมาธิ (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน)



" .. คนบางประเภทไม่ค่อยมีสิ่งแวดล้อมเป็นภาระกดถ่วงใจมาก
เพียงใช้คำบริกรรม ภาวนา "พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ" เป็นต้น
บทใดบทหนึ่งเข้าเท่านั้น ใจก็ได้รับความสงบเยือกเย็นเป็นสมาธิลงได้
กลายเป็นต้นทุนหนุนปัญญา ให้ก้าวหน้าต่อไปได้อย่างสบาย
ที่ เรียกว่า "สมาธิอบรมปัญญา"

แต่คนบางประเภทมีสิ่งแวดล้อมเป็นภาระกดถ่วงใจมาก
และเป็นนิสัยชอบคิดอะไรมากอย่างนี้ "จะอบรมด้วยคำบริกรรม
อย่างที่กล่าวมาแล้วนั้น ไม่สามารถที่จะยังจิตให้หยั่งลงสู่ความสงบเป็นสมาธิได้
ต้องใช้ปัญญาไตร่ตรองเหตุผล ตัดต้นเหตุของความฟุ้งซ่านด้วยปัญญา"

เมื่อปัญญาได้หว่านล้อมในสิ่งที่จิตติดข้องนั้นไว้อย่างหนาแน่นแล้ว
จิตจะมีความรู้เหนือปัญญาไปไม่ได้และจะหยั่งลงสู่ความสงบเป็นสมาธิได้

ฉะนั้นคนประเภทนี้ จะต้องฝึกฝนจิตให้เป็นสมาธิได้ด้วยปัญญา
ที่เรียกว่า "ปัญญาอบรมสมาธิ" ตามชื่อหัวเรื่องที่ให้ไว้แล้วในเบื้องต้นนั้น

เมื่อสมาธิเกิดมีขึ้นด้วยอำนาจปัญญา "อันดับต่อไป
สมาธิก็กลายเป็นต้นทุนหนุนปัญญาให้มีกำลังก้าวหน้า"

สุดท้ายก็ลงรอยเดียวกันกับหลักเดิมที่ว่า "สมาธิอบรมปัญญา" .. "

หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่