พระอาจารย์เหรียญ วรลาโภ
วัดอรัญญบรรพต
อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย
...
มันก็มีทุกคนแหละผู้เกิดมาในโลกนี่
ถ้ายังไม่ได้บรรลุ “อนาคามิผล” ตราบใดแล้ว
อันความรักนี้มันก็มีอยู่อย่างนั้น ความชังก็มี
นั่นล่ะต่อเมื่อได้บำเพ็ญเจริญสมถวิปัสสนาไป
จนได้บรรลุถึงอนาคามีแล้วก็เป็นอันว่าละ “กามสังโยชน์”* ได้
ละปฏิฆะ ความหงุดหงิดใจได้ พระอนาคามีเป็นอย่างนั้น
พระอนาคามีนี้แม้หงุดหงิดก็ไม่มีนะ ไม่ว่าแต่โกรธแหละ
ฉุนเฉียวก็ไม่มี เป็นอย่างนั้น ก็ต้องรู้ไว้ผู้ปฏิบัติธรรม
พระอนาคามีละสังโยชน์เบื้องบนไม่ได้
เช่น รูปราคะ อรูปราคะ มานะ ถีนมิทธะ อุทธัจจะ
อันนี้ยังละไม่ได้ ห้านี้สังโยชน์ห้าเบื้องบน
"อุทธัจจะ คือ ความรำคาญใจบางสิ่งบางอย่าง"
ที่ความคิดมันเกิดขึ้น มันรำคาญใจอย่างนี้มันก็มีพระอนาคามี
แต่ว่าไม่รุนแรง
"อุทธัจจะ ความง่วงเหงา" ก็ยังมี
นั่นแหละความง่วงเหงานี่ไม่ใช่ย่อยๆนะกิเลสตัวนี้
ต้อง “อรหัตตมรรค” นู่นน่ะถึงจะตัดขาด นั่นล่ะ
"มานะ ความถือตัว" หมู่นี้แต่ว่ามันละเอียด ไปถึงขั้นนั้นน่ะ
ไอ้ขั้นหยาบ ความถือตัวในขั้นหยาบนี่
ไม่ยอมกราบไม่ยอมไหว้ผู้ทรงคุณวุฒิ แล้วก็ทำบาปได้
โดยไม่ต้องกลัวบาปกลัวกรรมจะตามสนองให้เป็นทุกข์
มานะอย่างนี้เรียกว่า อย่างหยาบ
อย่างละเอียดนี่ไปถือมั่นใน "ความเห็น"
ตนได้เห็นอย่างนี้แล้วก็ว่าเป็นความวิเศษของตน
ไม่ยอมละความเห็นอันนั้น อันนี้เรียกว่า "มานะอย่างละเอียด"
พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ละความยึดมั่นถือมั่นในความเห็น
ทั้งหมดเลย ไม่ได้สำคัญว่าตนเป็นผู้วิเศษวิโสอะไร
ไม่สำคัญว่าตนรู้วิเศษอะไรต่ออะไร
ความสำคัญอย่างนี้ไม่มีแก่ “พระอรหันต์เจ้า” ทั้งหลายเลย
ทุกสิ่งทุกอย่างเรียกว่า รวมลงแล้วมันไม่ใช่ตัวตนเราเขาอะไร
ความรู้ก็สักแต่ว่าความรู้ ความเห็นก็สักแต่ว่าความเห็น
มันก็เป็นธรรมชาติของมันอย่างนั้น มันไม่มีตัวมีตนอยู่ในนั้นเลย
เรามันต้องเรียนรู้ถึงแม้จะยังไม่ได้บรรลุถึง ก็ต้องเรียนรู้ไว้
นั่นแหล่ะเผื่อว่าบำเพ็ญไปมันก็จะพยายามละความเห็น
ว่า "มีตัวมีตน" นี่นะไปเรื่อยๆ เพื่อให้บรรลุ
ถึงจุดหมายปลายทาง “ความเป็นหนึ่ง”
ถ้าความสำคัญเป็นมีตัวมีตนอยู่มันก็
“เป็นสอง”
คือว่า
ความเห็นหนึ่ง แล้วก็จิตหนึ่ง อย่างนี้นะ
มันเป็นสองแล้ว มันไม่ได้เป็นหนึ่ง
ถ้าละความเห็นอันนั้นเสียแล้วเช่นนี้
มันก็เหลือแต่ “ความรู้” อย่างเดียว มันก็เป็นหนึ่ง
เป็นอย่างนั้น เมื่อเป็นหนึ่งแล้วก็ไม่ได้สำคัญว่าตัวดีหรือตัวไม่ดี
ตัววิเศษอย่างนั้นๆไม่สำคัญเลย นี่ล่ะ
“สังโยชน์เบื้องบน” น่ะ
ให้พากันเข้าใจไว้ แล้วบำเพ็ญไป
* ( เพิ่มเติม )
"สังโยชน์ ๑๐" คือ กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์,
ธรรมหรือสิ่งที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์, สิ่งที่ผูกมัด
ร้อยรัดสรรพสัตว์ทั้งหลายให้ผูกติดอยู่กับความทุกข์
ทําให้ไม่สามารถสลัดหลุดออกมาได้ อันมี ๑๐ ประการ คือ
๑. สักกายทิฏฐิ ๒. วิจิกิจฉา ๓. สีลัพพตปรามาส
๔. กามราคะ ๕. ปฏิฆะ ๖. รูปราคะ ๗. อรูปราคะ
๘. มานะ ๙. อุทธัจจะ ๑๐. อวิชชา
...
ส่วนหนึ่งจากพระธรรมเทศนาหัวข้อ
"แนวทางอริยะ"
สังโยชน์เบื้องบน : หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ
พระอาจารย์เหรียญ วรลาโภ
วัดอรัญญบรรพต
อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย
...
มันก็มีทุกคนแหละผู้เกิดมาในโลกนี่
ถ้ายังไม่ได้บรรลุ “อนาคามิผล” ตราบใดแล้ว
อันความรักนี้มันก็มีอยู่อย่างนั้น ความชังก็มี
นั่นล่ะต่อเมื่อได้บำเพ็ญเจริญสมถวิปัสสนาไป
จนได้บรรลุถึงอนาคามีแล้วก็เป็นอันว่าละ “กามสังโยชน์”* ได้
ละปฏิฆะ ความหงุดหงิดใจได้ พระอนาคามีเป็นอย่างนั้น
พระอนาคามีนี้แม้หงุดหงิดก็ไม่มีนะ ไม่ว่าแต่โกรธแหละ
ฉุนเฉียวก็ไม่มี เป็นอย่างนั้น ก็ต้องรู้ไว้ผู้ปฏิบัติธรรม
พระอนาคามีละสังโยชน์เบื้องบนไม่ได้
เช่น รูปราคะ อรูปราคะ มานะ ถีนมิทธะ อุทธัจจะ
อันนี้ยังละไม่ได้ ห้านี้สังโยชน์ห้าเบื้องบน
"อุทธัจจะ คือ ความรำคาญใจบางสิ่งบางอย่าง"
ที่ความคิดมันเกิดขึ้น มันรำคาญใจอย่างนี้มันก็มีพระอนาคามี
แต่ว่าไม่รุนแรง "อุทธัจจะ ความง่วงเหงา" ก็ยังมี
นั่นแหละความง่วงเหงานี่ไม่ใช่ย่อยๆนะกิเลสตัวนี้
ต้อง “อรหัตตมรรค” นู่นน่ะถึงจะตัดขาด นั่นล่ะ
"มานะ ความถือตัว" หมู่นี้แต่ว่ามันละเอียด ไปถึงขั้นนั้นน่ะ
ไอ้ขั้นหยาบ ความถือตัวในขั้นหยาบนี่
ไม่ยอมกราบไม่ยอมไหว้ผู้ทรงคุณวุฒิ แล้วก็ทำบาปได้
โดยไม่ต้องกลัวบาปกลัวกรรมจะตามสนองให้เป็นทุกข์
มานะอย่างนี้เรียกว่า อย่างหยาบ
อย่างละเอียดนี่ไปถือมั่นใน "ความเห็น"
ตนได้เห็นอย่างนี้แล้วก็ว่าเป็นความวิเศษของตน
ไม่ยอมละความเห็นอันนั้น อันนี้เรียกว่า "มานะอย่างละเอียด"
พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ละความยึดมั่นถือมั่นในความเห็น
ทั้งหมดเลย ไม่ได้สำคัญว่าตนเป็นผู้วิเศษวิโสอะไร
ไม่สำคัญว่าตนรู้วิเศษอะไรต่ออะไร
ความสำคัญอย่างนี้ไม่มีแก่ “พระอรหันต์เจ้า” ทั้งหลายเลย
ทุกสิ่งทุกอย่างเรียกว่า รวมลงแล้วมันไม่ใช่ตัวตนเราเขาอะไร
ความรู้ก็สักแต่ว่าความรู้ ความเห็นก็สักแต่ว่าความเห็น
มันก็เป็นธรรมชาติของมันอย่างนั้น มันไม่มีตัวมีตนอยู่ในนั้นเลย
เรามันต้องเรียนรู้ถึงแม้จะยังไม่ได้บรรลุถึง ก็ต้องเรียนรู้ไว้
นั่นแหล่ะเผื่อว่าบำเพ็ญไปมันก็จะพยายามละความเห็น
ว่า "มีตัวมีตน" นี่นะไปเรื่อยๆ เพื่อให้บรรลุ
ถึงจุดหมายปลายทาง “ความเป็นหนึ่ง”
ถ้าความสำคัญเป็นมีตัวมีตนอยู่มันก็ “เป็นสอง”
คือว่า ความเห็นหนึ่ง แล้วก็จิตหนึ่ง อย่างนี้นะ
มันเป็นสองแล้ว มันไม่ได้เป็นหนึ่ง
ถ้าละความเห็นอันนั้นเสียแล้วเช่นนี้
มันก็เหลือแต่ “ความรู้” อย่างเดียว มันก็เป็นหนึ่ง
เป็นอย่างนั้น เมื่อเป็นหนึ่งแล้วก็ไม่ได้สำคัญว่าตัวดีหรือตัวไม่ดี
ตัววิเศษอย่างนั้นๆไม่สำคัญเลย นี่ล่ะ “สังโยชน์เบื้องบน” น่ะ
ให้พากันเข้าใจไว้ แล้วบำเพ็ญไป
* ( เพิ่มเติม ) "สังโยชน์ ๑๐" คือ กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์,
ธรรมหรือสิ่งที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์, สิ่งที่ผูกมัด
ร้อยรัดสรรพสัตว์ทั้งหลายให้ผูกติดอยู่กับความทุกข์
ทําให้ไม่สามารถสลัดหลุดออกมาได้ อันมี ๑๐ ประการ คือ
๑. สักกายทิฏฐิ ๒. วิจิกิจฉา ๓. สีลัพพตปรามาส
๔. กามราคะ ๕. ปฏิฆะ ๖. รูปราคะ ๗. อรูปราคะ
๘. มานะ ๙. อุทธัจจะ ๑๐. อวิชชา
...
ส่วนหนึ่งจากพระธรรมเทศนาหัวข้อ "แนวทางอริยะ"