ใจพระอรหันต์

ใจพระอรหันต์ เป็นใจที่ไม่มีตัณหา เป็นใจที่ตื่นรู้อยู่ตลอด รูปก็กระทบตาท่านก็สักแต่รู้ รสกระทบลิ้นท่านก็สักแต่รู้ กลิ่นกระทบจมูกท่านก็สักแต่รู้ เสียงกระทบหูท่านก็สักแต่รู้ สิ่งที่กระทบกายท่านก็สักแต่รู้ ธรรมมารมณ์(ความรู้สึก)กระทบใจท่านก็สักแต่รู้ สักแต่รู้คือ ไม่ปรุงแต่งต่อ ไม่บัญญัติเพิ่ม ไม่แก้ไข ไม่ดัดแปลง ใจท่านเป็นธรรมต่อทุกสรรพสิ่ง ไม่ยินดี ไม่ยินร้าย ความอยากไม่มี ความไม่อยากไม่มี ความยึดมั่นไม่มี ใจท่านรู้เป็นปกติ แต่ไม่รู้ว่ารู้สิ่งใด เพราะสัจจะธรรมความจริงไม่สามารถจะปรุงแต่งได้ ให้เป็นอะไรต่ออะไรไม่ได้เลย ใจท่านจะเห็นความอยากเป็นทุกข์มาก ใจท่านจะเห็นความไม่อยากเป็นทุกข์มาก ใจท่านจะเห็นความยึดมั่นเป็นทุกข์มาก ใจท่านก็จะสักแต่ว่ารู้ในอาการเหล่านั้น จิตตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว ไม่ปรุงแต่งต่อ ไม่ดัดแปลง เห็นเป็นธรรมดา ไม่ส่งใจไปตาม อาการเหล่านั้นจึงเกิดสืบต่อไม่ได้ แล้วดับไปในที่สุด ใจท่านจะอยู่ในวิหารธรรม รู้ สงบ รู้ว่าง แต่ไม่มีอาการยึดในสงบ แต่ไม่มีอาการยึดในความว่าง ใจท่านสักแต่รู้ในอาการทั้งสอง ไม่ดัดแปลง ไม่แก้ไข ไม่ปรุงแต่งต่อ ใจรู้ตื่นในอาการเหล่านั้น เป็นธรรมดา ไม่มีมลทินในอาการทั้งสอง อุปมาเหมือนเห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แต่ไม่รู้ว่าสิ่งนั้นคืออะไร ใจได้แต่รู้ในสิ่งนั้น แต่ไม่หวั่นไหว ไม่เคลื่อนตาม รู้แจ้งเป็นธรรมดา ผิดกับวิสัยปุถุชน ที่มีความอยาก มีความไม่อยาก มีความยึดมั่น แล้วเห็นเป็นสิ่งดี เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ มองไม่เห็นว่าเป็นทุกข์ เพราะกำลังจิตมันละเอียดไม่พอ มองไม่เห็นหรอกนะตัณหา ไม่รู้อาการมันเป็นยังไง เข้าใจแต่ว่ามันคือความสุข อยากก็เป็นสุข ไม่อยากก็เป็นสุข ยึดมั่นก็เป็นสุข มันเห็นตัณหาเป็นความสุขไป ปุถุชนจะมองเห็นแบบนี้ มองตรงข้ามกับใจพระอรหันต์โดยแท้
        สมาธิ ใจพระอรหันต์เวลาท่านทำสมาธิ ท่านไม่ได้ทำไปด้วยความอยาก ท่านไม่ได้ทำไปด้วยความไม่อยาก ท่านไม่ได้ทำไปด้วยความยึดมั่น แต่ท่านสักแต่ว่าทำ ไม่ตั้งเป้าหมาย ท่านก็สักแต่ว่าทำไป ร่ายกายหายไปใจท่านก็สักแต่รู้ เวทนาหายไปใจท่านก็สักแต่รู้ ความคิดหายไปใจท่านก็สักแต่รู้ ความรู้สึกทางใจหายไปใจท่านก็สักแต่รู้ เห็นอาการทั้งหลายในสมาธิเป็นเพียง สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นมีความดับไปเป็นธรรมดา เวลาใจท่านเปิด มันเปิดหมดเลย นรก สวรรค์ รูปพรม อรูปพรม ใจท่านรู้ใจท่านเห็นหมด แต่ในคณะที่รู้ ในคณะที่เห็น ท่านไม่รู้ว่าคือสิ่งใด เพราะเครืองมือมันไม่มี ร่างกายมันไม่มี ความคิดมันไม่มี ใจท่านได้แต่รู้ได้แต่เห็น เห็น นรก เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เห็นสวรรค์เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เห็นรูปพรมเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เห็นอรูปพรมเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เห็นการเกิดดับเป็นธรรมดา ใจตั้งมั่นสว่างไสว เห็นสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ใจท่านไม่หวั่นไหว คือ เห็นนรก สวรรค์ รูปพรม อรูปพรม เป็นธรรมดา แต่ใจไม่มีความมั่นหมาย ว่าสิ่งนั้นคืออะไร ว่าดี ว่าชั่วอย่างไร ใจท่านไม่มี ใจท่านเป็นธรรมต่อทุกสรรพสิ่ง เห็นเป็นสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ใจท่านไม่หวั่นไหว ในสิ่งที่รู้ ในสิ่งที่เห็น ทิพย์จักษุท่านแจ่มแจ้งเห็นชัดสว่างไสวตามกำลังวาสนา ถึงแม้ท่านจะออกจากสมาธิ มารับรู้อารมณ์ภายนอก ใจท่านก็รู้เห็นเป็นปกติ ไม่เสื่อม
ต่างจากปุถุชน เวลาทำสมาธิ ก็ทำไปด้วยความอยาก ทำไปด้วยความไม่อยาก ทำไปด้วยความยึดมั่น เวลาใจสงบเป็นสมาธิ ใจมีตัณหาในสมาธิ ไปรู้นรก ไปรู้สวรรค์ ใจก็ปรุงแต่ง อยากให้เป็นอย่างนั้น ไม่อยากให้เป็นอย่างนี้ กลายเป็นมิจฉาสมาธิ กลายเป็นทำสมาธิเพื่อสนองกิเลสตัณหาไป คราวนี้ใจที่จะเห็น นรก สวรรค์ได้ ต้องอาศัยความสงบ เมื่อใจสงบ ย่อมสว่างไสว ก็จะรู้ ก็จะเห็น แต่พอออกจาสมาธิมา มารับรู้อารมณ์ภายนอก ใจที่สงบนั้น ที่สว่างไสวนั้น    ก็เสื่อม  
         อุปนิสัย พระอรหันต์ท่านละอุปนิสัย ที่สะสมมาหลายภพหลายชาติไม่ได้ บ้างท่านมีนิสัยเยือกเย็นสุขุม บ้างท่านมีนิสัยโพงผางเหมือนขวานผ่าซาก บ้างท่านด่าแหลก และ ดุ มาก จึงเป็นการยากมากที่จะรู้ได้ ว่าไครเป็นพระอรหันต์ เพราะกริยาอาการที่ท่านแสดง มันเป็นสมมุติ แต่ใจท่านเป็นวิมุติ จึงยากมากที่จะรู้ได้ ฉนั้น การดูอาการภายนอกท่าน ดูไม่ออกแน่นอน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่