เตือน! กินน้ำมาก ไม่ช่วยลดอ้วน
ผลวิจัยล่าสุดหักล้างความเชื่อที่ว่า "การดื่มน้ำเยอะ ๆ สามารถช่วยลดน้ำหนักตัวได้" แนะควรใช้วิธีกินอาหารที่มีน้ำมากแทนจะได้ผลกว่า เช่น ผัก ผลไม้ ข้าว ซุป
งานวิจัยชิ้นนี้ได้ศึกษาน้ำหนักตัวและรอบเอวของหญิงสาวกว่า 1,000 คน โดยดูเปรียบเทียบปริมาณน้ำที่คนเหล่านี้ได้รับในแต่ละวัน ทั้งในรูปของเครื่องดื่มและอาหาร
นักวิจัยพบว่า ปริมาณน้ำในเครื่องดื่ม อาทิ น้ำดื่ม ชา กาแฟ น้ำอัดลม น้ำผลไม้ ไม่มีความสัมพันธ์กับรูปร่าง แต่พบว่า ปริมาณน้ำจากอาหารมีความสัมพันธ์กับรอบเอว คือ ผู้หญิงที่กินอาหารที่มีน้ำเป็นส่วนผสมในปริมาณมาก มีแนวโน้มจะมีรูปทรงผอมบางกว่าเล็กน้อย และมีดัชนีมวลกายต่ำกว่า ซึ่งหมายความว่า มีน้ำหนักเหมาะสมกับส่วนสูงมากกว่า
รายงานซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Nutrition ฉบับนี้ ระบุด้วยว่า แนวโน้มดังกล่าวยังคงเป็นจริง แม้ได้ตัดปัจจัยบางอย่างที่เกี่ยวข้องออกไปแล้ว เช่น ปริมาณการออกกำลังกาย การควบคุมอาหาร
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโตเกียวบอกว่า ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าทำไมน้ำในอาหารจึงส่งผลต่อน้ำหนักตัว แต่น้ำในเครื่องดื่มกลับไม่ส่งผลอย่างเดียวกัน อาจเป็นไปได้ว่า อาหารที่มีน้ำมาก เช่น ผัก ผลไม้ และข้าว มีเส้นใยสูง ทำให้รู้สึกอิ่มเร็วจึงไม่ได้กินจนเกินขนาด
งานวิจัยชิ้นนี้สอดคล้องกับชิ้นอื่น ๆ ซึ่งพบว่า คนเราจะกินน้อยลงหลังจากกินอาหารที่มีน้ำมากเข้าไป แต่ไม่ได้กินน้อยลงหลังจากกินน้ำ เมื่อเราอิ่มเร็ว เราก็กินน้อยลง นั่นจึงทำให้เราไม่อ้วน ในทางตรงกันข้าม การดื่มน้ำแต่เพียงอย่างเดียว หรือดื่มน้ำร่วมกับอาหาร จะไม่ทำให้เกิดผลลัพธ์ดังกล่าว
ผลวิจัยนี้ไม่ใช่ชิ้นแรกที่โต้แย้งความเชื่อที่ว่า คนเราต้องกินน้ำวันละ 8 แก้วเพื่อให้มีสุขภาพดี
จิบน้ำทั้งวัน ๆ ละ 8 แก้ว ไม่ใช่ดื่ม......
เตือน! กินน้ำมาก ไม่ช่วยลดอ้วน
ผลวิจัยล่าสุดหักล้างความเชื่อที่ว่า "การดื่มน้ำเยอะ ๆ สามารถช่วยลดน้ำหนักตัวได้" แนะควรใช้วิธีกินอาหารที่มีน้ำมากแทนจะได้ผลกว่า เช่น ผัก ผลไม้ ข้าว ซุป
งานวิจัยชิ้นนี้ได้ศึกษาน้ำหนักตัวและรอบเอวของหญิงสาวกว่า 1,000 คน โดยดูเปรียบเทียบปริมาณน้ำที่คนเหล่านี้ได้รับในแต่ละวัน ทั้งในรูปของเครื่องดื่มและอาหาร
นักวิจัยพบว่า ปริมาณน้ำในเครื่องดื่ม อาทิ น้ำดื่ม ชา กาแฟ น้ำอัดลม น้ำผลไม้ ไม่มีความสัมพันธ์กับรูปร่าง แต่พบว่า ปริมาณน้ำจากอาหารมีความสัมพันธ์กับรอบเอว คือ ผู้หญิงที่กินอาหารที่มีน้ำเป็นส่วนผสมในปริมาณมาก มีแนวโน้มจะมีรูปทรงผอมบางกว่าเล็กน้อย และมีดัชนีมวลกายต่ำกว่า ซึ่งหมายความว่า มีน้ำหนักเหมาะสมกับส่วนสูงมากกว่า
รายงานซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Nutrition ฉบับนี้ ระบุด้วยว่า แนวโน้มดังกล่าวยังคงเป็นจริง แม้ได้ตัดปัจจัยบางอย่างที่เกี่ยวข้องออกไปแล้ว เช่น ปริมาณการออกกำลังกาย การควบคุมอาหาร
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโตเกียวบอกว่า ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าทำไมน้ำในอาหารจึงส่งผลต่อน้ำหนักตัว แต่น้ำในเครื่องดื่มกลับไม่ส่งผลอย่างเดียวกัน อาจเป็นไปได้ว่า อาหารที่มีน้ำมาก เช่น ผัก ผลไม้ และข้าว มีเส้นใยสูง ทำให้รู้สึกอิ่มเร็วจึงไม่ได้กินจนเกินขนาด
งานวิจัยชิ้นนี้สอดคล้องกับชิ้นอื่น ๆ ซึ่งพบว่า คนเราจะกินน้อยลงหลังจากกินอาหารที่มีน้ำมากเข้าไป แต่ไม่ได้กินน้อยลงหลังจากกินน้ำ เมื่อเราอิ่มเร็ว เราก็กินน้อยลง นั่นจึงทำให้เราไม่อ้วน ในทางตรงกันข้าม การดื่มน้ำแต่เพียงอย่างเดียว หรือดื่มน้ำร่วมกับอาหาร จะไม่ทำให้เกิดผลลัพธ์ดังกล่าว
ผลวิจัยนี้ไม่ใช่ชิ้นแรกที่โต้แย้งความเชื่อที่ว่า คนเราต้องกินน้ำวันละ 8 แก้วเพื่อให้มีสุขภาพดี