ทำใจยังไงให้อยู่กับปัจจุบัน ไม่ทุกข์ในสิ่งที่มากระทบ ( อ่านแล้วได้ข้อคิดดีเลยเอามาฝากนะคะบทสนทนานี้)
หลวงพี่ทำไงให้ใจอยู่กับปัจจุบันนะคะ ไม่ทุกข์ในสิ่งที่มากระทบ คือวางเฉยได้นะคะฝีกยังไง
หลวงพี่ : ทำไงให้ใจอยู่กับปัจจุบันนะคะ ==>>เราต้องทำให้ใจเรามันจดจ่ออยู่กับสิ่งใด สิ่งหนึ่ง ฝึกมันไปเรื่อย ๆ ถ้ามันหันไปคิดเรื่องอื่นก็ดึงมันกลับมา ฝืนและฝึกมันไปอย่างนี้เรื่อย ๆ โดยทั่วไปแล้วก็จะมีหลักใหญ่ ๆ อยู่ ๒ วิธี คือ สมถะและวิปัสสนา คือการทำสมาธิโดยการตั้งสติจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยในที่นี้ขอแนะนำการดูลมหายใจและคำภาวนา อีกวิธีคือ การทำสมาธิโดยการพิจารณาให้ตั้งสติอยู่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเกิด การแก่ การเจ็บ การตาย ความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ และความไม่มีตัวตนในทุกสรรพสิ่ง ต่างล้วนแล้วแต่ต้องสลายไปสิ้น ต่างต้องแปรสภาพเคลื่อนภพภูมิไปตามเวรตามกรรม
โยม : อันนี้รู้นะแต่เวลามากระทบยากเหลือเกินค่ะ ต้องฝืนบ่อยๆแบบหลวงพี่บอก
หลวงพี่ : ไม่ทุกข์ในสิ่งที่มากระทบ คือวางเฉยได้นะคะฝีกยังไง ==>>อันนี้ต้องอาศัยการฝึกฝนในข้อเบื้องต้นที่บอกไปให้คล่องตัว แล้วเราจะมีกำลังสมาธิในการกดกิเลสชั่วคราว เราจะไม่ปรุงแต่งไปในทางรักโลภโกรธหลง ยิ่งสมาธิสูง จิตยิ่งละเอียด ปัญญายิ่งมาก ยิ่งเฉียบคม สามารถพิจารณาให้รู้เหตุและผลได้ถ่องแท้ ว่าคนทุกคน สัตว์ทุกตัว ไม่มีใครผิด ไม่มีใครถูก เพราะต่างก็กำลังดำเนินไปตามกรรมที่ตนได้กระทำมา บางทีก็ไม่อยากจะทำชั่วหรอก แต่ว่ากรรมมันบังคับให้ทำ เพราะฉะนั้น เราจะไปถือสาเอาเรื่องเอาราวกับใครเป็นแก่นสารก็ไม่ได้ เพราะต่างก็โดนกรรมบังคับโดยทั้งสิ้น คนที่ทำไม่ดีกับเรา สักวันเขาก็ตาย แม้แต่เราที่ทำดี ที่โดนกระทำก็ยังจะต้องตายในซักวัน แล้วเราจะยังตั้งแง่อะไรอีกกับชีวิต ไม่ควรที่จะขวนขวายแสวงหาความดีใส่ตัว เพื่อตายไปจะได้ไปสู่ภพภูมิที่ดี ไม่ใช่หรือ
หลวงพี่ : คนที่จะวางเฉยได้ สติต้องเร็วมาก ปัญญาต้องเฉียบคม ยอมรับกฏของกรรมเป็นที่หนึ่ง เพราะฉะนั้น สรุป เราต้องฝึกฝนจิตใจเราให้มาก ๆ
ปลงให้ได้ วางให้เป็น อย่ายึดมั่นถือมั่น ดังที่เป็นอยู่นี้ มันสวนทางกับสิ่งที่เราต้องการ กับสิ่งที่เราถามมา
โยม : ค่ะทำจริงมันยากค่ะแต่ทำไม่ได้ใจเราก็ทุกข์เอง
หลวงพี่ : ทุกอย่างมันขึ้นอยู่กับใจเรา หากเรารู้ว่ามันหนักแต่ยังรั้นที่จะถือไว้ ไม่ยอมวาง นั่นก็เป็นเพราะตัวเราเองที่ไปหลงยึดถือมั่นหมายมันเอาไว้
โยมลองถามตัวเองสิว่าใครที่เกิดมาในโลกนี้แล้วไม่เคยทุกข์ เพียงแต่ว่าโจทย์มันจะเปลี่ยนไปเท่านั้นเอง
โยม : ไม่มีค่ะคนรวยเยอะแถวบ้านยังทุกข์เลย
หลวงพี่ : นั่นสิ ตอบได้อย่างนี้ก็ดีแล้ว จะได้รู้ว่าโยมไม่ได้ทุกข์คนเดียว
หลวงพี่ : เหตุผลของคนบางกลุ่มที่ต้องลงมาเกิดเป็นมนุษย์ก็เพื่อที่จะให้เห็นทุกข์โทษเวรภัยของการเกิด ถ้าเราเห็นทุกข์ เข็ดกับการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะสงสาร นั่นแสดงว่าเราเห็นธรรม และธรรมนั่นแหละจะนำพาเราไปสู่ที่ที่จะไม่ต้องลงมาเวียนว่ายตายเกิดอีกแล้ว
โยม : เราทำให้กรรมชั่วที่มันส่งผลเราให้มันบางลงได้ไหมจากหนักเบาลง
หลวงพี่ : ได้จ้ะ
โยม : ทำยังไงค่ะ
หลวงพี่ : โดยการทำความดีเพื่อให้ความชั่วที่เราได้เคยทำมานั้นได้เจือจางลงหรือส่งผลกับเราได้น้อยลง แต่ต้องเป็นบุญที่ใหญ่พอ
ศีล สมาธิ ปัญญา ปฏิบัติเอาเสีย
ศีลคือการรักษาศีล ๕, ๘ กรรมบถ ๑๐
สมาธิ คือ การสวดมนต์ เจริญภาวนา ทำสมาธิ นั่งกรรมฐาน เดินจงกรม
ปัญญา คือการพิจารณาข้ออรรถข้อธรรม ธรรมะ หรือสังขารของตัวเองก็ได้ ในเรื่องความตาย ความสกปรก ความไม่มีตัวตน ความไม่เที่ยงของขันธ์ ๕ ความเสื่อมสลายของขันธ์ ๕ ความดับสลายของขันธ์ ๕
หลวงพี่ : ปลงให้ได้ วางให้เป็น ท่องไว้ว่าช่างมัน ๆ ๆ ๆ
หลวงพี่ : เหตุเกิดที่ใด เราต้องแก้ที่นั่น มันทุกข์ที่ไหน เราก็ต้องสู้มันที่นั่น
หลวงพี่ : มันไม่ได้เกิดที่ภายนอก มันไม่ได้ทุกข์ที่ภายนอก แต่มันเร่าร้อนอยู่ในใจเรานั่นแหละ
ทำใจยังไงให้อยู่กับปัจจุบัน ไม่ทุกข์ในสิ่งที่มากระทบ ( อ่านแล้วได้ข้อคิดดีเลยเอามาฝากนะคะบทสนทนานี้)
หลวงพี่ทำไงให้ใจอยู่กับปัจจุบันนะคะ ไม่ทุกข์ในสิ่งที่มากระทบ คือวางเฉยได้นะคะฝีกยังไง
หลวงพี่ : ทำไงให้ใจอยู่กับปัจจุบันนะคะ ==>>เราต้องทำให้ใจเรามันจดจ่ออยู่กับสิ่งใด สิ่งหนึ่ง ฝึกมันไปเรื่อย ๆ ถ้ามันหันไปคิดเรื่องอื่นก็ดึงมันกลับมา ฝืนและฝึกมันไปอย่างนี้เรื่อย ๆ โดยทั่วไปแล้วก็จะมีหลักใหญ่ ๆ อยู่ ๒ วิธี คือ สมถะและวิปัสสนา คือการทำสมาธิโดยการตั้งสติจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยในที่นี้ขอแนะนำการดูลมหายใจและคำภาวนา อีกวิธีคือ การทำสมาธิโดยการพิจารณาให้ตั้งสติอยู่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเกิด การแก่ การเจ็บ การตาย ความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ และความไม่มีตัวตนในทุกสรรพสิ่ง ต่างล้วนแล้วแต่ต้องสลายไปสิ้น ต่างต้องแปรสภาพเคลื่อนภพภูมิไปตามเวรตามกรรม
โยม : อันนี้รู้นะแต่เวลามากระทบยากเหลือเกินค่ะ ต้องฝืนบ่อยๆแบบหลวงพี่บอก
หลวงพี่ : ไม่ทุกข์ในสิ่งที่มากระทบ คือวางเฉยได้นะคะฝีกยังไง ==>>อันนี้ต้องอาศัยการฝึกฝนในข้อเบื้องต้นที่บอกไปให้คล่องตัว แล้วเราจะมีกำลังสมาธิในการกดกิเลสชั่วคราว เราจะไม่ปรุงแต่งไปในทางรักโลภโกรธหลง ยิ่งสมาธิสูง จิตยิ่งละเอียด ปัญญายิ่งมาก ยิ่งเฉียบคม สามารถพิจารณาให้รู้เหตุและผลได้ถ่องแท้ ว่าคนทุกคน สัตว์ทุกตัว ไม่มีใครผิด ไม่มีใครถูก เพราะต่างก็กำลังดำเนินไปตามกรรมที่ตนได้กระทำมา บางทีก็ไม่อยากจะทำชั่วหรอก แต่ว่ากรรมมันบังคับให้ทำ เพราะฉะนั้น เราจะไปถือสาเอาเรื่องเอาราวกับใครเป็นแก่นสารก็ไม่ได้ เพราะต่างก็โดนกรรมบังคับโดยทั้งสิ้น คนที่ทำไม่ดีกับเรา สักวันเขาก็ตาย แม้แต่เราที่ทำดี ที่โดนกระทำก็ยังจะต้องตายในซักวัน แล้วเราจะยังตั้งแง่อะไรอีกกับชีวิต ไม่ควรที่จะขวนขวายแสวงหาความดีใส่ตัว เพื่อตายไปจะได้ไปสู่ภพภูมิที่ดี ไม่ใช่หรือ
หลวงพี่ : คนที่จะวางเฉยได้ สติต้องเร็วมาก ปัญญาต้องเฉียบคม ยอมรับกฏของกรรมเป็นที่หนึ่ง เพราะฉะนั้น สรุป เราต้องฝึกฝนจิตใจเราให้มาก ๆ
ปลงให้ได้ วางให้เป็น อย่ายึดมั่นถือมั่น ดังที่เป็นอยู่นี้ มันสวนทางกับสิ่งที่เราต้องการ กับสิ่งที่เราถามมา
โยม : ค่ะทำจริงมันยากค่ะแต่ทำไม่ได้ใจเราก็ทุกข์เอง
หลวงพี่ : ทุกอย่างมันขึ้นอยู่กับใจเรา หากเรารู้ว่ามันหนักแต่ยังรั้นที่จะถือไว้ ไม่ยอมวาง นั่นก็เป็นเพราะตัวเราเองที่ไปหลงยึดถือมั่นหมายมันเอาไว้
โยมลองถามตัวเองสิว่าใครที่เกิดมาในโลกนี้แล้วไม่เคยทุกข์ เพียงแต่ว่าโจทย์มันจะเปลี่ยนไปเท่านั้นเอง
โยม : ไม่มีค่ะคนรวยเยอะแถวบ้านยังทุกข์เลย
หลวงพี่ : นั่นสิ ตอบได้อย่างนี้ก็ดีแล้ว จะได้รู้ว่าโยมไม่ได้ทุกข์คนเดียว
หลวงพี่ : เหตุผลของคนบางกลุ่มที่ต้องลงมาเกิดเป็นมนุษย์ก็เพื่อที่จะให้เห็นทุกข์โทษเวรภัยของการเกิด ถ้าเราเห็นทุกข์ เข็ดกับการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะสงสาร นั่นแสดงว่าเราเห็นธรรม และธรรมนั่นแหละจะนำพาเราไปสู่ที่ที่จะไม่ต้องลงมาเวียนว่ายตายเกิดอีกแล้ว
โยม : เราทำให้กรรมชั่วที่มันส่งผลเราให้มันบางลงได้ไหมจากหนักเบาลง
หลวงพี่ : ได้จ้ะ
โยม : ทำยังไงค่ะ
หลวงพี่ : โดยการทำความดีเพื่อให้ความชั่วที่เราได้เคยทำมานั้นได้เจือจางลงหรือส่งผลกับเราได้น้อยลง แต่ต้องเป็นบุญที่ใหญ่พอ
ศีล สมาธิ ปัญญา ปฏิบัติเอาเสีย
ศีลคือการรักษาศีล ๕, ๘ กรรมบถ ๑๐
สมาธิ คือ การสวดมนต์ เจริญภาวนา ทำสมาธิ นั่งกรรมฐาน เดินจงกรม
ปัญญา คือการพิจารณาข้ออรรถข้อธรรม ธรรมะ หรือสังขารของตัวเองก็ได้ ในเรื่องความตาย ความสกปรก ความไม่มีตัวตน ความไม่เที่ยงของขันธ์ ๕ ความเสื่อมสลายของขันธ์ ๕ ความดับสลายของขันธ์ ๕
หลวงพี่ : ปลงให้ได้ วางให้เป็น ท่องไว้ว่าช่างมัน ๆ ๆ ๆ
หลวงพี่ : เหตุเกิดที่ใด เราต้องแก้ที่นั่น มันทุกข์ที่ไหน เราก็ต้องสู้มันที่นั่น
หลวงพี่ : มันไม่ได้เกิดที่ภายนอก มันไม่ได้ทุกข์ที่ภายนอก แต่มันเร่าร้อนอยู่ในใจเรานั่นแหละ