จขกท.แม่บ้านไทยในเซนได ประเทศญี่ปุ่น ผู้รักการท่องเที่ยว อยากรู้ อยากลองของแปลกๆ โดยเฉพาะของกิน และเครื่องดื่มที่เป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่นั้นๆ จึงมักไม่พลาดย่างเท้าเข้าร้านประเภท OTOP ของทุกเมืองทั่วหัวระแหงที่ไป
ที่ญี่ปุ่น ร้านประเภท OTOP ไม่เพียงขายสินค้าทั่วๆไป แต่จะขายสาเกท้องถิ่นของที่นั้นด้วย
ซึ่งสาโทญี่ปุ่น หรือ Doburoku (どぶろく)ก็จะตั้งเรียงรายอยู่ในเซ็คชั่นนั้นๆด้วย
Doburoku (どぶろく) ว่าไปแล้วช่างเหมือน"เหล้าสาโท" ของไทยเหลือเกิน
มีกรรมวิธีการผลิตเช่นเดียวกับการทำสาเก คือนำข้าวที่หุงมาผสมใส่ตัวเชื้อที่เรียกว่า "โคจิ" (ราที่เกิดในข้าว) และยีสต์ ให้เกิดกระบวนการย่อยแป้งให้เป็นน้ำตาล จากนั้นก็หมักจนเกิดเป็นแอลกอฮอล์ เมื่อได้เป็นเหล้าแล้วจะไม่คั้นไม่กรอง ซึ่งตรงนี้ต่างกับการทำสาเก
ทำให้น้ำเหล้าที่ได้เป็นสีขาว ขุ่น มีตะกอนข้าวอยู่บ้าง รสชาติออกหวานๆ แต่ความแรงของแอลกอฮอล์พอๆกับสาเก คืออยู่ที่ราวๆ 14-17 ดีกรีค่ะ
สมัยก่อนชาวไร่ชาวนาตามชนบททำ Doburoku ดื่มกันเองในครัวเรือน แต่ทว่ารัฐบาลสมัยเมจิ (ตรงกับร.5) ออกกฎหมายห้ามประชาชนผลิต
นั่นไม่ได้เป็นเพราะห่วงสุขภาพอะไรหรอกนะคะ เพราะญี่ปุ่นไม่ได้มองว่าเหล้าสาเกเป็นสิ่งที่ไม่ดีต่อสุขภาพแต่อย่างใด เหตุผลคือต้องการเก็บภาษีสุราจากธุรกิจให้ได้มากขึ้นเท่านั้นเอง
แม้ประชาชนบางกลุ่มพยายามเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกกฏนี้เสีย แต่ถึงปัจจุบันการผลิตเพื่อดื่มในครัวเรือนนั้นยังทำไม่ได้
รัฐบาลเพียงผ่อนผันให้ว่าธุรกิจร้านอาหารหรือโรงแรมที่พักในเขตที่กำหนดสามารถผลิต Doburoku ได้ เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ในท้องถิ่น รวมถึงอนุรักษ์ความรู้และภูมิปัญญาชาวบ้าน
ภูมิภาคโทโฮะกุที่จขกท.อาศัยอยู่นั้นเป็นแหล่งปลูกช้าวชั้นนำของญี่ปุ่น จึงมีชื่อเสียงเรื่องสาเกอร่อย ดังนั้นหากมาเที่ยวแถวนี้จะเห็นสาเกท้องถิ่นมีขายอยู่่มากมาย รวมทั้ง "โดะบุโระคุ"ของท้องถิ่นนั้นๆ ที่มีตั้งแซมอยู่ในสินค้าหมวดสาเกด้วย
และยิ่งไปกว่านั้น "โดะบุโระคุ" ที่ทำเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่นไอศครีมแสนอร่อยถ้วยนี้ มีรสและกลิ่นเหล้านุ่มๆ และเมล็ดข้าวปนอยู่
แม่บ้านไทยในเซนไดเล่าถึงสาโทญี่ปุ่น
ที่ญี่ปุ่น ร้านประเภท OTOP ไม่เพียงขายสินค้าทั่วๆไป แต่จะขายสาเกท้องถิ่นของที่นั้นด้วย
ซึ่งสาโทญี่ปุ่น หรือ Doburoku (どぶろく)ก็จะตั้งเรียงรายอยู่ในเซ็คชั่นนั้นๆด้วย
Doburoku (どぶろく) ว่าไปแล้วช่างเหมือน"เหล้าสาโท" ของไทยเหลือเกิน
มีกรรมวิธีการผลิตเช่นเดียวกับการทำสาเก คือนำข้าวที่หุงมาผสมใส่ตัวเชื้อที่เรียกว่า "โคจิ" (ราที่เกิดในข้าว) และยีสต์ ให้เกิดกระบวนการย่อยแป้งให้เป็นน้ำตาล จากนั้นก็หมักจนเกิดเป็นแอลกอฮอล์ เมื่อได้เป็นเหล้าแล้วจะไม่คั้นไม่กรอง ซึ่งตรงนี้ต่างกับการทำสาเก
ทำให้น้ำเหล้าที่ได้เป็นสีขาว ขุ่น มีตะกอนข้าวอยู่บ้าง รสชาติออกหวานๆ แต่ความแรงของแอลกอฮอล์พอๆกับสาเก คืออยู่ที่ราวๆ 14-17 ดีกรีค่ะ
สมัยก่อนชาวไร่ชาวนาตามชนบททำ Doburoku ดื่มกันเองในครัวเรือน แต่ทว่ารัฐบาลสมัยเมจิ (ตรงกับร.5) ออกกฎหมายห้ามประชาชนผลิต
นั่นไม่ได้เป็นเพราะห่วงสุขภาพอะไรหรอกนะคะ เพราะญี่ปุ่นไม่ได้มองว่าเหล้าสาเกเป็นสิ่งที่ไม่ดีต่อสุขภาพแต่อย่างใด เหตุผลคือต้องการเก็บภาษีสุราจากธุรกิจให้ได้มากขึ้นเท่านั้นเอง
แม้ประชาชนบางกลุ่มพยายามเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกกฏนี้เสีย แต่ถึงปัจจุบันการผลิตเพื่อดื่มในครัวเรือนนั้นยังทำไม่ได้
รัฐบาลเพียงผ่อนผันให้ว่าธุรกิจร้านอาหารหรือโรงแรมที่พักในเขตที่กำหนดสามารถผลิต Doburoku ได้ เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ในท้องถิ่น รวมถึงอนุรักษ์ความรู้และภูมิปัญญาชาวบ้าน
ภูมิภาคโทโฮะกุที่จขกท.อาศัยอยู่นั้นเป็นแหล่งปลูกช้าวชั้นนำของญี่ปุ่น จึงมีชื่อเสียงเรื่องสาเกอร่อย ดังนั้นหากมาเที่ยวแถวนี้จะเห็นสาเกท้องถิ่นมีขายอยู่่มากมาย รวมทั้ง "โดะบุโระคุ"ของท้องถิ่นนั้นๆ ที่มีตั้งแซมอยู่ในสินค้าหมวดสาเกด้วย
และยิ่งไปกว่านั้น "โดะบุโระคุ" ที่ทำเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่นไอศครีมแสนอร่อยถ้วยนี้ มีรสและกลิ่นเหล้านุ่มๆ และเมล็ดข้าวปนอยู่