พระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป
วัดอรัญญวิเวก จ.เชียงใหม่
...
พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านทรงสรรเสริญว่า
ผู้ตั้งอยู่ในเมตตาธรรมนี้เป็นผู้มีความแช่มชื่นเบิกบาน
ทั้งนั่ง ทั้งนอน ทั้งยืน ทั้งเดิน หลับตื่นขึ้นมาก็เป็นสุข
หน้ายิ้มแย้มแจ่มใส แช่มชื่นเบิกบานอยู่ตลอดคนที่มีเมตตา
การที่บุคคลตั้งอยู่ในประเทศชาติบ้านเมืองใดทั้งเมืองนอกและเมืองใน
ประเทศของตนเองก็ดี หากมี
"เมตตา" ซึ่งกันและกันแล้ว
มีความรัก สนิทสนมกลมเกลียวซึ่งกันและกันแล้วทั้งเพื่อนมนุษย์
และสัตว์ทั้งหลายก็รักชีวิตของมนุษย์ เพื่อนมนุษย์ทั้งหลายและชีวิตของตนเอง
น้อมมาพิจารณาแล้วต้องการมีความสุขทั้งนั้น
ต้องการอยู่ด้วยมีความสุข ไม่อยากให้เบียดเบียนซึ่งกันและกัน
มีทุบตีฆ่าฟันรันแทงซึ่งกันและกัน ล้างผลาญชีวิตซึ่งกันและกันแล้ว
มีความรักชีวิตของคนอื่นเหมือนชีวิตของตนเอง
ตั้งอยู่ในเมตตาแก่เพื่อนมนุษย์ทั้งหลายและสัตว์ทั้งหลาย
อย่างนี้แล้วก็ไม่มีการที่จะเบียดเบียนซึ่งกันและกัน
ฆ่าฟันรันแทงซึ่งกันและกัน บ้านเมืองก็มีความสุขความสบาย
นี่แล้ว "ความสงสาร" หากบุคคลได้สงสารและมีความหวั่นใจ
เห็นบุคคลอื่นมีความทุกข์ความเดือดร้อนก็ดี ก็อยากช่วยให้พ้นจากทุกข์นั้น
อยากให้มีความสุขเหมือนอย่างที่ตัวเองอยากให้ตัวเองมีความสุข
จะช่วยได้วิธีไหนก็ดี ช่วยด้วยการให้เงินให้ทองก็ดี
ช่วยด้วยการแนะนำสั่งสอนให้ปฏิบัติเป็นคนดีนั่นก็ดี
จะช่วยเวลาเจ็บไข้ได้ป่วยให้ได้หยูกให้ยาก็ดี หรือให้เอาเข้าโรงพยาบาลนั้นก็ดี
มีความสงสารหรือคนตกน้ำอยู่ก็ดี สัตว์ทั้งหลายตกอยู่ในน้ำ
ตกอยู่ในห้วงความทุกข์ ก็จะช่วยให้พ้นจากทุกข์
นี่ความสงสาร หวั่นใจอยู่อยากให้สัตว์ทั้งหลายพ้นจากกองทุกข์นั้นไป
ให้มีความสุขเหมือนอย่างตนเอง นี่ กรุณา คือ ความสงสาร
หากบุคคลสงสารกันและกันแล้วต้องช่วยกัน ดูแลกัน
แนะนำสั่งสอนกันให้มีความสุข ช่วยเหลือกันจนสุดความสามารถ
นี่เรียกว่า"กรุณา คือ ความสงสาร" เมื่อสงสารซึ่งกันและกันแล้ว
ก็ย่อมไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน จะช่วยอยากมีแต่ความสุขเท่านั้น
นี้แหละเรามาพินิจพิจารณาดูให้เข้าใจอย่างนี้ การที่บุคคลมีความหวั่นใจ
สงสารซึ่งกันและกันแล้วเราจะเห็นกันได้ชัดอย่างนี้อย่างหนึ่ง
...
ส่วนหนึ่งจากพระธรรมเทศนาหัวข้อ "เมตตาพรหมวิหาร ๔"
เมตตาและกรุณา : หลวงพ่อเปลี่ยน ปัญญาปทีโป
พระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป
วัดอรัญญวิเวก จ.เชียงใหม่
...
พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านทรงสรรเสริญว่า
ผู้ตั้งอยู่ในเมตตาธรรมนี้เป็นผู้มีความแช่มชื่นเบิกบาน
ทั้งนั่ง ทั้งนอน ทั้งยืน ทั้งเดิน หลับตื่นขึ้นมาก็เป็นสุข
หน้ายิ้มแย้มแจ่มใส แช่มชื่นเบิกบานอยู่ตลอดคนที่มีเมตตา
การที่บุคคลตั้งอยู่ในประเทศชาติบ้านเมืองใดทั้งเมืองนอกและเมืองใน
ประเทศของตนเองก็ดี หากมี "เมตตา" ซึ่งกันและกันแล้ว
มีความรัก สนิทสนมกลมเกลียวซึ่งกันและกันแล้วทั้งเพื่อนมนุษย์
และสัตว์ทั้งหลายก็รักชีวิตของมนุษย์ เพื่อนมนุษย์ทั้งหลายและชีวิตของตนเอง
น้อมมาพิจารณาแล้วต้องการมีความสุขทั้งนั้น
ต้องการอยู่ด้วยมีความสุข ไม่อยากให้เบียดเบียนซึ่งกันและกัน
มีทุบตีฆ่าฟันรันแทงซึ่งกันและกัน ล้างผลาญชีวิตซึ่งกันและกันแล้ว
มีความรักชีวิตของคนอื่นเหมือนชีวิตของตนเอง
ตั้งอยู่ในเมตตาแก่เพื่อนมนุษย์ทั้งหลายและสัตว์ทั้งหลาย
อย่างนี้แล้วก็ไม่มีการที่จะเบียดเบียนซึ่งกันและกัน
ฆ่าฟันรันแทงซึ่งกันและกัน บ้านเมืองก็มีความสุขความสบาย
นี่แล้ว "ความสงสาร" หากบุคคลได้สงสารและมีความหวั่นใจ
เห็นบุคคลอื่นมีความทุกข์ความเดือดร้อนก็ดี ก็อยากช่วยให้พ้นจากทุกข์นั้น
อยากให้มีความสุขเหมือนอย่างที่ตัวเองอยากให้ตัวเองมีความสุข
จะช่วยได้วิธีไหนก็ดี ช่วยด้วยการให้เงินให้ทองก็ดี
ช่วยด้วยการแนะนำสั่งสอนให้ปฏิบัติเป็นคนดีนั่นก็ดี
จะช่วยเวลาเจ็บไข้ได้ป่วยให้ได้หยูกให้ยาก็ดี หรือให้เอาเข้าโรงพยาบาลนั้นก็ดี
มีความสงสารหรือคนตกน้ำอยู่ก็ดี สัตว์ทั้งหลายตกอยู่ในน้ำ
ตกอยู่ในห้วงความทุกข์ ก็จะช่วยให้พ้นจากทุกข์
นี่ความสงสาร หวั่นใจอยู่อยากให้สัตว์ทั้งหลายพ้นจากกองทุกข์นั้นไป
ให้มีความสุขเหมือนอย่างตนเอง นี่ กรุณา คือ ความสงสาร
หากบุคคลสงสารกันและกันแล้วต้องช่วยกัน ดูแลกัน
แนะนำสั่งสอนกันให้มีความสุข ช่วยเหลือกันจนสุดความสามารถ
นี่เรียกว่า"กรุณา คือ ความสงสาร" เมื่อสงสารซึ่งกันและกันแล้ว
ก็ย่อมไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน จะช่วยอยากมีแต่ความสุขเท่านั้น
นี้แหละเรามาพินิจพิจารณาดูให้เข้าใจอย่างนี้ การที่บุคคลมีความหวั่นใจ
สงสารซึ่งกันและกันแล้วเราจะเห็นกันได้ชัดอย่างนี้อย่างหนึ่ง
...
ส่วนหนึ่งจากพระธรรมเทศนาหัวข้อ "เมตตาพรหมวิหาร ๔"