Halooo....หมูเฉื่อยกลับมาแล้วจ้า หลังจากห่างหายไปนาน ที่หายไปนี้ก็ไม่ได้ไปเหลวไหลที่ไหนเลยนะ แต่ไปเก็บตัวสืบเสาะหาเมนูจานเด็ดตามที่ต่างๆตามสัญญาที่เคยบอกกะเพื่อนๆไว้
ขึ้นชื่อว่ามาภูเก็ต ดังนั้นเรื่องของกินบอกได้คำเดียวว่า
หายห่วง!!! ดังเช่นที่ในเพลงของคุณเอกชัย ศรีวิชัย ร้องไว้ว่า
“ของหรอย ของหรอย ของกินภูเก็ตหรอยหรอย…” เพราะคนภูเก็ตสมัยก่อนให้ความสำคัญกับเรื่องอาหารการกินมาก จะเห็นได้จากหากใครได้มีโอกาสไปเยี่ยมชมบ้านโบราณ หรือตามบ้านเพื่อนของใครที่สร้างเองตั้งแต่สมัยรุ่นอาก๋ง อาม่าแล้ว จะเห็นได้ว่าห้องครัวของแต่ละบ้านนั้นจะมีขนาดใหญ่มากหากเมื่อเทียบกับห้องครัวตามบ้านโครงการสมัยนี้ อีกทั้งภูเก็ตยังถือว่าเป็นศูนย์กลางความเจริญทางด้านการติดต่อค้าขายมาตั้งแต่อดีต ทำให้มีอาหารให้เลือกหลายหลาย โดยเฉพาะวัฒนธรรมของชาวพื้นเมืองดั้งเดิมที่มีกลิ่นอายของความเป็นจีนฮกเกี้ยนแล้วนั้น ทำให้อาหารพื้นเมืองภูเก็ตมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเองมากขึ้น...
ซึ่งรอบที่แล้วหมูเฉื่อยได้เสิร์ฟอาหารว่างไป 10 อย่างแระ (หากเพื่อนๆคนไหนยังไม่ได้ชมตามไปได้ที่กระทู้ด้านล่างนะจ้ะ...)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://ppantip.com/topic/34156594
รอบนี้ก็มาถึงจาน Main Course Menu เมนูของเรากันบ้างดีกว่า.. (หลังจากหายไปนาน เฉื่อยได้มีโอกาสไป ฟุดฟิด ฟอไฟร์ กะฝรั่งมาบ้างอ่านะเทอ เลยเอามาใช้สักหน่อยละกัน จะได้ไม่ลืม 555+)
1. หมูฮ้อง หรือ หมูเต้าอิ๋ว
ถ้าคนภาคอื่นเห็นอาจจะคิดว่า อ้ออ..หมูพะโล้ รึป่าว? แต่หมูเฉื่อยบอกเลยว่าคุณคิดผิด! เพราะหมูฮ้องนี้แค่มีลักษณะคล้ายหมูพะโล้ แต่ไม่ได้ใส่เครื่องพะโล้เลย นิยมใช้หมูสามชั้น หรือ หมูติดมัน คลุกเคล้าให้เข้ากันกับซีอิ้วขาว ใส่น้ำตาล หากสีไม่เข้มจะดูไม่น่ากินก็สามารถเพิ่มซีอิ้วดำช่วยในเรื่องความเข้มของสีได้ และเติมน้ำนิดหน่อย พอให้เนื้อหมูไม่แห้งมีน้ำขลุกขลิก หมูเฉื่อยเคยไปอ่านเจอในหลายๆบทความกล่าวว่า หมูฮ้องที่อร่อย เนื้อหมูจะต้องนิ่ม ไม่มีความเหนียวของตัวเนื้อหมู แต่ก็ต้องไม่เปื่อยยุ่ย รสชาติจะมีความหวานและเค็มนำของตัวน้ำซอสที่เข้าถึงเนื้อหมู ทานคู่กับข้าวสวยร้อนๆ เวลาเข้าปากจะได้กลิ่นหอมอ่อนๆของกระเทียมพริกไทย
PS. ส่วนตัวหมูเฉื่อยเคยมีคำถามมาตั้งแต่เด็กแระว่าทำไมต้องเรียกหมูฮ้อง มันมาจากหมูฮ้องเต้รึป่าวนะ? เพื่อนๆคนไหนรู้คำตอบช่วยบอกทีนะ
หมูฮ้องนะ ...ไม่ใช่หมูพะโล้!!
เนื้อสามชั้นนุ่มๆ ทานคู่กับข้าวสวยร้อนๆ ...โอ๊ยเลิศ!
สถานที่แนะนำ: ร้านอาหารพื้นเมือง เช่น ร้านระย้า, ร้านตู้กับข้าว, ร้านวันจันทร์, ร้านโกปี้เตี้ยม และร้านขายข้าวแกงทั่วไป ฯลฯ
>>>>> 10 เมนูอาหารพื้นเมืองจานเด็ด ที่คุณมาภูเก็ตแล้วต้องลอง!!! <<<<< ... by หมูเฉื่อย
ขึ้นชื่อว่ามาภูเก็ต ดังนั้นเรื่องของกินบอกได้คำเดียวว่า หายห่วง!!! ดังเช่นที่ในเพลงของคุณเอกชัย ศรีวิชัย ร้องไว้ว่า “ของหรอย ของหรอย ของกินภูเก็ตหรอยหรอย…” เพราะคนภูเก็ตสมัยก่อนให้ความสำคัญกับเรื่องอาหารการกินมาก จะเห็นได้จากหากใครได้มีโอกาสไปเยี่ยมชมบ้านโบราณ หรือตามบ้านเพื่อนของใครที่สร้างเองตั้งแต่สมัยรุ่นอาก๋ง อาม่าแล้ว จะเห็นได้ว่าห้องครัวของแต่ละบ้านนั้นจะมีขนาดใหญ่มากหากเมื่อเทียบกับห้องครัวตามบ้านโครงการสมัยนี้ อีกทั้งภูเก็ตยังถือว่าเป็นศูนย์กลางความเจริญทางด้านการติดต่อค้าขายมาตั้งแต่อดีต ทำให้มีอาหารให้เลือกหลายหลาย โดยเฉพาะวัฒนธรรมของชาวพื้นเมืองดั้งเดิมที่มีกลิ่นอายของความเป็นจีนฮกเกี้ยนแล้วนั้น ทำให้อาหารพื้นเมืองภูเก็ตมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเองมากขึ้น...
ซึ่งรอบที่แล้วหมูเฉื่อยได้เสิร์ฟอาหารว่างไป 10 อย่างแระ (หากเพื่อนๆคนไหนยังไม่ได้ชมตามไปได้ที่กระทู้ด้านล่างนะจ้ะ...)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
รอบนี้ก็มาถึงจาน Main Course Menu เมนูของเรากันบ้างดีกว่า.. (หลังจากหายไปนาน เฉื่อยได้มีโอกาสไป ฟุดฟิด ฟอไฟร์ กะฝรั่งมาบ้างอ่านะเทอ เลยเอามาใช้สักหน่อยละกัน จะได้ไม่ลืม 555+)
1. หมูฮ้อง หรือ หมูเต้าอิ๋ว
ถ้าคนภาคอื่นเห็นอาจจะคิดว่า อ้ออ..หมูพะโล้ รึป่าว? แต่หมูเฉื่อยบอกเลยว่าคุณคิดผิด! เพราะหมูฮ้องนี้แค่มีลักษณะคล้ายหมูพะโล้ แต่ไม่ได้ใส่เครื่องพะโล้เลย นิยมใช้หมูสามชั้น หรือ หมูติดมัน คลุกเคล้าให้เข้ากันกับซีอิ้วขาว ใส่น้ำตาล หากสีไม่เข้มจะดูไม่น่ากินก็สามารถเพิ่มซีอิ้วดำช่วยในเรื่องความเข้มของสีได้ และเติมน้ำนิดหน่อย พอให้เนื้อหมูไม่แห้งมีน้ำขลุกขลิก หมูเฉื่อยเคยไปอ่านเจอในหลายๆบทความกล่าวว่า หมูฮ้องที่อร่อย เนื้อหมูจะต้องนิ่ม ไม่มีความเหนียวของตัวเนื้อหมู แต่ก็ต้องไม่เปื่อยยุ่ย รสชาติจะมีความหวานและเค็มนำของตัวน้ำซอสที่เข้าถึงเนื้อหมู ทานคู่กับข้าวสวยร้อนๆ เวลาเข้าปากจะได้กลิ่นหอมอ่อนๆของกระเทียมพริกไทย
PS. ส่วนตัวหมูเฉื่อยเคยมีคำถามมาตั้งแต่เด็กแระว่าทำไมต้องเรียกหมูฮ้อง มันมาจากหมูฮ้องเต้รึป่าวนะ? เพื่อนๆคนไหนรู้คำตอบช่วยบอกทีนะ
สถานที่แนะนำ: ร้านอาหารพื้นเมือง เช่น ร้านระย้า, ร้านตู้กับข้าว, ร้านวันจันทร์, ร้านโกปี้เตี้ยม และร้านขายข้าวแกงทั่วไป ฯลฯ