สารอาหารที่ร่างกายผู้ติดเชื้อ เอดส์ ต้องการไม่ได้แตกต่างไปจากอาหารที่คนปกติต้องการ แต่จะเป็นสารอาหารจากอาหารหลัก 5 หมู่ในชีวิตประจำวันนั่นเอง ได้แก่ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามิน แร่ธาตุ และน้ำ แต่ปริมาณสารอาหารหลายๆ ชนิดจะเพิ่มสูงขึ้นตามสภาวะของร่างกาย
คนที่มีเชื้อเอชไอวีจะต้องกินมากกว่าคนปกติที่มีสุขภาพดี และอาหารจะต้องอุดมไปด้วยสารอาหารมากกว่า 40 ชนิดที่ร่างกายต้องการ แต่ถ้ายารักษาโรค เอดส์ มีผลข้างเคียงที่ทำให้เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ผู้ติดเชื้ออาจกินอาหารได้น้อยลง การกินให้มีคุณภาพก็จะยากขึ้นสำหรับคนๆนั้น ซ้ำร้ายถ้าหากเชื้อไวรัสทำให้เกิดการติดเชื้อราในช่องปาก การกินก็ยิ่งลำบากขึ้น ก็ยิ่งกินได้น้อยลงอีก แพทย์จะให้ยาช่วยกระตุ้นความอยากอาหารและยารักษาเชื้อราในช่องปากเพื่อช่วยให้กินอาหารได้ดีขึ้น
การกินอาหารวันละ 5-6 มื้อจะช่วยเพิ่มพลังงานและสารอาหารที่ร่างกายจะได้รับมากขื้น อาหารมื้อว่างระหว่างมื้อจึงกลายเป็นอาหารมื้อสำคัญสำหรับคนติดเชื้อ เอดส์ ในการเพิ่มพลังงานและสารอาหาร และควรเป็นอาหารที่ให้ประโยชน์ช่วยเพิ่มสารอาหารไม่ใช่เพิ่มแต่พลังงานอย่างเดียว
ปัญหาโภชนาการที่เกิดขึ้นร่วมกับโรคเอดส์
เบื่ออาหาร (anorexia) เป็นอาการที่พบเสมอๆในคนติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งอาจมีสาเหตุจากการเปลี่ยนแปลงชีวิตส่วนตัวของผู้ติดเชื้อเองร่วมกับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย เนื่องจากเชื้อไวรัสจะทำลายเยื่อบุทางเดินอาหาร ทำให้การดูดซึมสารอาหารต่างๆ รวมทั้งสังกะสีลดลงการขาดสังกะสีจะทำให้เกิดอาการเบื่ออาหารและการรับรสเปลี่ยนไป กินอะไรก็ไม่อร่อย ฉะนั้นการเสริมวิตามินแร่ธาตุที่มีสังกะสีจะทำให้อาการเบื่ออาหารดีขึ้นรับรสได้มากขึ้น
ปัญหาแทรกซ้อนจากเอดส์
ปัญหาแทรกซ้อนอื่นที่มักพบในคนเป็นโรค เอดส์ ก็คือ มีไข้ เวลาที่มีไข้ ร่างกายจะใช้พลังงานมากขึ้น ถ้ารับประทานไม่เพียงพอเนื้อเยื่อ และกล้ามเนื้อจะถูกนำมาใช้เป็นพลังงานแทนที่จะใช้พลังงานจากอาหารที่กินเอง ยิ่งถ้ากินอาหารอยู่น้อยแล้วก็จะยิ่งเพิ่มปัญหาเหล่านั้น ฉะนั้นคนที่เป็น เอดส์ จะต้องพยายามกินให้มากที่สุดและควรจะเป็นอาหารที่ให้สารอาหารเข้มข้นเพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารมากที่สุด นอกจากอาหารแล้วก็ต้องไม่ลืมที่จะดื่มน้ำหรือของเหลวให้มากๆ จะช่วยลดไข้ได้
ปัญหาระบบย่อย
ในระยะแรกของการติดเชื้อ เซลล์ในลำไส้จะเปลี่ยนแปลง การผลิตเอนไซม์ผิดปกติทำให้การดูดซึมอาหารลดลง และในระยะต่อมาลำไส้จะติดเชื้อบ่อยขึ้น ทำให้เกิดอาการท้องเสียรุนแรง และการย่อยการดูดซึมสารอาหารผิดปกติ ร่างกายจึงไม่สามารถดูดซึมสารอาหารที่รับประทานเข้าไปได้และถูกขับถ่ายออกไป ร่างกายจึงสูญเสียน้ำมากกว่าปกติ ทำให้ผู้ป่วยไม่กล้ารับประทานมากเพราะกลัวว่าถ้ารับประทานแล้วมีปัญหาถ่ายบ่อยซึ่งเป็นความกลัวที่ผิด เพราะถ้ากินแล้วต้องถ่ายออกหมดก็ยิ่งต้องกินชดเชย
ถ้าปัญหาท้องเสียเกิดขึ้นนานเกินไปจะทำให้เกิดปัญหาขาดสารอาหาร ไขมันรวมทั้งวิตามินที่ละลายในไขมันเช่นวิตามินเอและอี พลอยถูกดูดซึมได้น้อย ผลคือระบบภูมิคุ้มกันสั่นคลอน ในกรณีนี้แพทย์และนักโภชนาการอาจจะแนะนำอาหารเสริมทางการแพทย์ที่เหมาะสมจนกว่าอาการท้องร่วงจะหมดไป
ฉะนั้นเวลาที่มีปัญหาท้องเสียควรจะเลือกอาหารที่ลดปัญหาเหล่านั้น เช่น แอปเปิ้ล มัน ข้าว กล้วย ขนมปัง แครกเกอร์ ซุปใส และเจลาติน ส่วนเครื่องดื่มควรเป็นอาหารประเภทที่ปราศจากคาเฟอีน เช่น น้ำผลไม้ น้ำเกลือแร่ หรือน้ำเพื่อชดเชยของเหลวที่สูญเสียไป สารอาหารที่ผู้ติดเชื้อเอชไอวีต้องการเป็นพิเศษ
ผู้ติดเชื้อต้องการอาหารที่มีโปรตีนสูงเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อหรือป้องกันการสูญเสียกล้ามเนื้อ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในร่างกายอาจทำให้ระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ คอเลสเทอรอลและน้ำตาลในเลือดสูง อาหารควรมีไขมันอิ่มตัวต่ำเพื่อเพื่อป้องกันคอเลสเทอรอลสูง อาหารธัญพืชไม่ขัดสี และน้ำตาลต่ำเพื่อคุมระดับน้ำตาลและไตรกลีเซอไรด์ อาหารควรมีสารแอนติออกซิแดนท์สูง และเสริมมัลติวิตามินเป็นประจำ แหล่งอาหารโปรตีนที่ดีได้แก่เนื้อสัตว์ ถั่วต่างๆโดยเฉพาะถั่วเหลือง ไข่ ควรเลี่ยงเนื้อสัตว์ประเภท แฮม ไส้กรอก ปลาเค็มซึ่งมีเกลือสูง
อาหารคาร์โบไฮเดรต จำเป็นต่อการสร้างพลังงาน เลือกผัก ผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดสีเช่นข้าวซ้อมมือ ลูกเดือย ข้าวโพด ขนมปังโฮล์วีท
ไขมัน ไขมันที่มีองค์ประกอบของกรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียวสูงเช่นถั่วเปลือกแข็ง และน้ำมันปลาจากปลาทะเลและการเสริมช่วยเพิ่มระบบภูมิคุ้มกันและลดการอักเสบ และลดไขมันในเลือด
สารแอนติออกซิแดนท์ ร่างกายของผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีจะผลิตสารโปรออกซิแดนท์ (สารที่เกิดจากการมีอนุมูลอิสระมากเกินควร) สารไซโตคายและออกซิเจนที่เป็นอนุมูลอิสระ ไซโตคายมีผลทำให้เกิดอาการเบื่ออาหาร และมีไข้ อนุมูลอิสระเพิ่มความต้องการสารแอนติออกซิแดนท์ วิตามินและแร่ธาตุ เช่นวิตามินอี และซี เบตาแคโรทีน สังกะสี และซีลีเนียม(ใช้ในการสร้างเอ็นไซม์ที่เป็นสารแอนติออกซิแดนท์)
เมื่อร่างกายได้รับสารเหล่านั้นไม่เพียงพอ ร่างกายจะเกิดสภาวะเครียดทำให้เชื้อไวรัสเพิ่มจำนวนขึ้น นักวิจัยจึงให้ความสนใจต่อการเสริมวิตามินและสารแอนติออกซิแดนท์ในผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี อาหารที่มีสารแอนติออกซิแดนท์สูงได้แก่ผักใบเขียวจัด ผักและผลไม้ที่มีสีสรรต่างๆ เช่น พริกหวาน มะเขือเทศ แครอท แตงโม แคนตาลูป สับปะรด เบอรี เป็นต้น ควรกินผักและผลไม้อย่างน้อยวันละ 8 ส่วน
ข้อมูลการวิจัยพบว่าผู้ติดเชื้อเอชไอวีมีระดับเบตาแคโรทีนและซีลีเนียมต่ำ และสารแอนติออกซิแดนท์ดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการทำงานในระบบภูมิต้านทาน ยั้บยั้งไซโตคาย ยั้บยั้งการขยายตัวของเชื้อไวรัส นอกจากนี้เบตาแคโรทีนยังช่วยเพิ่มเซลล์ที่ช่วยทำลายเชื้อแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกายและเพิ่มระดับ CD4 ในเลือดที่ใช้เป็นตัวชี้วัดการดำเนินของโรค
ส่วนซีลีเนียมมีผลยับยั้งการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันและอาจเร่งการดำเนินของโรค เอดส์ การเสริมซีลีเนียมจึงอาจเป็นประโยชน์ต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวี อาหารที่มีซีลีเนียมสูงได้แก่อาหารทะเลเช่นทูน่า เนื้อวัวบด เมล็ดดอกทานตะวัน เนื้ออกไก่และไข่ ตามลำดับ
ข้อมูลการวิจัยแนะว่าผู้ติดเชื้อเอชไอวีควรเสริมวิตามิน เพราะร่างกายของคนเหล่านี้มีความต้องการวิตามินสูงกว่าปกติระหว่าง 6-25 เท่า วิตามินหลายชนิดช่วยเพิ่มภูมิต้านทาน เช่นกลุ่มวิตามินบี (บี1 บี2 กรดโฟลิก) วิตามินเอ อี และซีเป็นสารแอนติออกซิแดนท์ที่ผู้ติดเชื้อมักมีระดับสารเหล่านั้นในเลือดต่ำ สังกะสีช่วยเพิ่มภูมิต้านทาน และช่วยการทำงานของสมอง การเสริมซีลีเนียมในผู้ติดเชื้อเอชไอวีพบว่าช่วยลดการติดเชื้อชนิดอื่นๆทั่วไปได้ถึง 30% นอกจากนี้ผู้ติดเชื้อเอชไอวียังอาจได้รับประโยชน์จากการเสริมโคเอ็นไซม์คิว 10 (Coenzyme Q10) ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในคนที่ติดเชื้อเอชไอวี
นอกจากการใส่ใจเรื่องอาหารแล้ว การออกกำลังกายสม่ำเสมอจะมีความสำคัญยิ่งในการเพิ่มระบบภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย เพิ่มกล้ามเนื้อ และป้องกันการสูญเสียกล้ามเนื้ออย่างรวดเร็ว
ขอบคุณข้อมูลจาก Health & Cuisine
Report : LIV Capsule
ผู้ติดชื้อเอชไอวี ทานอาหารอย่างไรดี
คนที่มีเชื้อเอชไอวีจะต้องกินมากกว่าคนปกติที่มีสุขภาพดี และอาหารจะต้องอุดมไปด้วยสารอาหารมากกว่า 40 ชนิดที่ร่างกายต้องการ แต่ถ้ายารักษาโรค เอดส์ มีผลข้างเคียงที่ทำให้เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ผู้ติดเชื้ออาจกินอาหารได้น้อยลง การกินให้มีคุณภาพก็จะยากขึ้นสำหรับคนๆนั้น ซ้ำร้ายถ้าหากเชื้อไวรัสทำให้เกิดการติดเชื้อราในช่องปาก การกินก็ยิ่งลำบากขึ้น ก็ยิ่งกินได้น้อยลงอีก แพทย์จะให้ยาช่วยกระตุ้นความอยากอาหารและยารักษาเชื้อราในช่องปากเพื่อช่วยให้กินอาหารได้ดีขึ้น
การกินอาหารวันละ 5-6 มื้อจะช่วยเพิ่มพลังงานและสารอาหารที่ร่างกายจะได้รับมากขื้น อาหารมื้อว่างระหว่างมื้อจึงกลายเป็นอาหารมื้อสำคัญสำหรับคนติดเชื้อ เอดส์ ในการเพิ่มพลังงานและสารอาหาร และควรเป็นอาหารที่ให้ประโยชน์ช่วยเพิ่มสารอาหารไม่ใช่เพิ่มแต่พลังงานอย่างเดียว
ปัญหาโภชนาการที่เกิดขึ้นร่วมกับโรคเอดส์
เบื่ออาหาร (anorexia) เป็นอาการที่พบเสมอๆในคนติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งอาจมีสาเหตุจากการเปลี่ยนแปลงชีวิตส่วนตัวของผู้ติดเชื้อเองร่วมกับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย เนื่องจากเชื้อไวรัสจะทำลายเยื่อบุทางเดินอาหาร ทำให้การดูดซึมสารอาหารต่างๆ รวมทั้งสังกะสีลดลงการขาดสังกะสีจะทำให้เกิดอาการเบื่ออาหารและการรับรสเปลี่ยนไป กินอะไรก็ไม่อร่อย ฉะนั้นการเสริมวิตามินแร่ธาตุที่มีสังกะสีจะทำให้อาการเบื่ออาหารดีขึ้นรับรสได้มากขึ้น
ปัญหาแทรกซ้อนจากเอดส์
ปัญหาแทรกซ้อนอื่นที่มักพบในคนเป็นโรค เอดส์ ก็คือ มีไข้ เวลาที่มีไข้ ร่างกายจะใช้พลังงานมากขึ้น ถ้ารับประทานไม่เพียงพอเนื้อเยื่อ และกล้ามเนื้อจะถูกนำมาใช้เป็นพลังงานแทนที่จะใช้พลังงานจากอาหารที่กินเอง ยิ่งถ้ากินอาหารอยู่น้อยแล้วก็จะยิ่งเพิ่มปัญหาเหล่านั้น ฉะนั้นคนที่เป็น เอดส์ จะต้องพยายามกินให้มากที่สุดและควรจะเป็นอาหารที่ให้สารอาหารเข้มข้นเพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารมากที่สุด นอกจากอาหารแล้วก็ต้องไม่ลืมที่จะดื่มน้ำหรือของเหลวให้มากๆ จะช่วยลดไข้ได้
ปัญหาระบบย่อย
ในระยะแรกของการติดเชื้อ เซลล์ในลำไส้จะเปลี่ยนแปลง การผลิตเอนไซม์ผิดปกติทำให้การดูดซึมอาหารลดลง และในระยะต่อมาลำไส้จะติดเชื้อบ่อยขึ้น ทำให้เกิดอาการท้องเสียรุนแรง และการย่อยการดูดซึมสารอาหารผิดปกติ ร่างกายจึงไม่สามารถดูดซึมสารอาหารที่รับประทานเข้าไปได้และถูกขับถ่ายออกไป ร่างกายจึงสูญเสียน้ำมากกว่าปกติ ทำให้ผู้ป่วยไม่กล้ารับประทานมากเพราะกลัวว่าถ้ารับประทานแล้วมีปัญหาถ่ายบ่อยซึ่งเป็นความกลัวที่ผิด เพราะถ้ากินแล้วต้องถ่ายออกหมดก็ยิ่งต้องกินชดเชย
ถ้าปัญหาท้องเสียเกิดขึ้นนานเกินไปจะทำให้เกิดปัญหาขาดสารอาหาร ไขมันรวมทั้งวิตามินที่ละลายในไขมันเช่นวิตามินเอและอี พลอยถูกดูดซึมได้น้อย ผลคือระบบภูมิคุ้มกันสั่นคลอน ในกรณีนี้แพทย์และนักโภชนาการอาจจะแนะนำอาหารเสริมทางการแพทย์ที่เหมาะสมจนกว่าอาการท้องร่วงจะหมดไป
ฉะนั้นเวลาที่มีปัญหาท้องเสียควรจะเลือกอาหารที่ลดปัญหาเหล่านั้น เช่น แอปเปิ้ล มัน ข้าว กล้วย ขนมปัง แครกเกอร์ ซุปใส และเจลาติน ส่วนเครื่องดื่มควรเป็นอาหารประเภทที่ปราศจากคาเฟอีน เช่น น้ำผลไม้ น้ำเกลือแร่ หรือน้ำเพื่อชดเชยของเหลวที่สูญเสียไป สารอาหารที่ผู้ติดเชื้อเอชไอวีต้องการเป็นพิเศษ
ผู้ติดเชื้อต้องการอาหารที่มีโปรตีนสูงเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อหรือป้องกันการสูญเสียกล้ามเนื้อ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในร่างกายอาจทำให้ระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ คอเลสเทอรอลและน้ำตาลในเลือดสูง อาหารควรมีไขมันอิ่มตัวต่ำเพื่อเพื่อป้องกันคอเลสเทอรอลสูง อาหารธัญพืชไม่ขัดสี และน้ำตาลต่ำเพื่อคุมระดับน้ำตาลและไตรกลีเซอไรด์ อาหารควรมีสารแอนติออกซิแดนท์สูง และเสริมมัลติวิตามินเป็นประจำ แหล่งอาหารโปรตีนที่ดีได้แก่เนื้อสัตว์ ถั่วต่างๆโดยเฉพาะถั่วเหลือง ไข่ ควรเลี่ยงเนื้อสัตว์ประเภท แฮม ไส้กรอก ปลาเค็มซึ่งมีเกลือสูง
อาหารคาร์โบไฮเดรต จำเป็นต่อการสร้างพลังงาน เลือกผัก ผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดสีเช่นข้าวซ้อมมือ ลูกเดือย ข้าวโพด ขนมปังโฮล์วีท
ไขมัน ไขมันที่มีองค์ประกอบของกรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียวสูงเช่นถั่วเปลือกแข็ง และน้ำมันปลาจากปลาทะเลและการเสริมช่วยเพิ่มระบบภูมิคุ้มกันและลดการอักเสบ และลดไขมันในเลือด
สารแอนติออกซิแดนท์ ร่างกายของผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีจะผลิตสารโปรออกซิแดนท์ (สารที่เกิดจากการมีอนุมูลอิสระมากเกินควร) สารไซโตคายและออกซิเจนที่เป็นอนุมูลอิสระ ไซโตคายมีผลทำให้เกิดอาการเบื่ออาหาร และมีไข้ อนุมูลอิสระเพิ่มความต้องการสารแอนติออกซิแดนท์ วิตามินและแร่ธาตุ เช่นวิตามินอี และซี เบตาแคโรทีน สังกะสี และซีลีเนียม(ใช้ในการสร้างเอ็นไซม์ที่เป็นสารแอนติออกซิแดนท์)
เมื่อร่างกายได้รับสารเหล่านั้นไม่เพียงพอ ร่างกายจะเกิดสภาวะเครียดทำให้เชื้อไวรัสเพิ่มจำนวนขึ้น นักวิจัยจึงให้ความสนใจต่อการเสริมวิตามินและสารแอนติออกซิแดนท์ในผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี อาหารที่มีสารแอนติออกซิแดนท์สูงได้แก่ผักใบเขียวจัด ผักและผลไม้ที่มีสีสรรต่างๆ เช่น พริกหวาน มะเขือเทศ แครอท แตงโม แคนตาลูป สับปะรด เบอรี เป็นต้น ควรกินผักและผลไม้อย่างน้อยวันละ 8 ส่วน
ข้อมูลการวิจัยพบว่าผู้ติดเชื้อเอชไอวีมีระดับเบตาแคโรทีนและซีลีเนียมต่ำ และสารแอนติออกซิแดนท์ดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการทำงานในระบบภูมิต้านทาน ยั้บยั้งไซโตคาย ยั้บยั้งการขยายตัวของเชื้อไวรัส นอกจากนี้เบตาแคโรทีนยังช่วยเพิ่มเซลล์ที่ช่วยทำลายเชื้อแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกายและเพิ่มระดับ CD4 ในเลือดที่ใช้เป็นตัวชี้วัดการดำเนินของโรค
ส่วนซีลีเนียมมีผลยับยั้งการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันและอาจเร่งการดำเนินของโรค เอดส์ การเสริมซีลีเนียมจึงอาจเป็นประโยชน์ต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวี อาหารที่มีซีลีเนียมสูงได้แก่อาหารทะเลเช่นทูน่า เนื้อวัวบด เมล็ดดอกทานตะวัน เนื้ออกไก่และไข่ ตามลำดับ
ข้อมูลการวิจัยแนะว่าผู้ติดเชื้อเอชไอวีควรเสริมวิตามิน เพราะร่างกายของคนเหล่านี้มีความต้องการวิตามินสูงกว่าปกติระหว่าง 6-25 เท่า วิตามินหลายชนิดช่วยเพิ่มภูมิต้านทาน เช่นกลุ่มวิตามินบี (บี1 บี2 กรดโฟลิก) วิตามินเอ อี และซีเป็นสารแอนติออกซิแดนท์ที่ผู้ติดเชื้อมักมีระดับสารเหล่านั้นในเลือดต่ำ สังกะสีช่วยเพิ่มภูมิต้านทาน และช่วยการทำงานของสมอง การเสริมซีลีเนียมในผู้ติดเชื้อเอชไอวีพบว่าช่วยลดการติดเชื้อชนิดอื่นๆทั่วไปได้ถึง 30% นอกจากนี้ผู้ติดเชื้อเอชไอวียังอาจได้รับประโยชน์จากการเสริมโคเอ็นไซม์คิว 10 (Coenzyme Q10) ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในคนที่ติดเชื้อเอชไอวี
นอกจากการใส่ใจเรื่องอาหารแล้ว การออกกำลังกายสม่ำเสมอจะมีความสำคัญยิ่งในการเพิ่มระบบภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย เพิ่มกล้ามเนื้อ และป้องกันการสูญเสียกล้ามเนื้ออย่างรวดเร็ว
ขอบคุณข้อมูลจาก Health & Cuisine
Report : LIV Capsule