คำว่า “กรรม” นับเป็นคำที่คุ้นหูกับคนไทยเป็นอย่างดี สาเหตุหนึ่ง น่าจะมากจากอิทธิพลของศาสนาประจำชาติ นั่นก็คือศาสนาพุทธ สำหรับหลักกรม ถือเป็นหลักคำสอนสำคัญอีกอย่างหนึ่งของพุทธศาสนาก็ว่าได้ มีการกล่าวถึงกรรมในหลายๆตอนในพุทธศาสนา ดังจะเห็นจากพุทธศาสนสุภาษิตต่างๆ เช่น กัมมุนา วัตตีโลโก สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ยาทิสัง วปเต พีชัง ตาทิสัง ลภเต ผลัง กัลยาณการี กัลยาณัง ปาปการี จ ปาปกัง
บุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้ผลเช่นนั้น ผู้ทำกรรมดี ย่อมได้ผลดี ผู้ทำกรรมชั่ว ย่อมได้ผลชั่ว เป็นต้น เวลามีเรื่องซวยๆเกิดขึ้นในชีวิต เป็นต้องกล่าวถึง กรรม เช่น ชาติที่แล้ว ไปทำกรรมกับใครไว้ ถึงได้ซวยอย่างนี้ หรือ มันทำชั่วมาตลอด สมควรได้รับกรรมแล้ว
เมื่อคนเรากล่าวถึงกรรม มักจะเป็นไปในทางลบเสมอ ทั้งๆที่ความจริงแล้ว คำว่า กรรม เป็นคำกลางๆ ไม่ดี ไม่ร้ายในตัว และได้แยกออกมาเป็น สองประเภทคือ กรรมดีกับกรรมชั่ว แต่เวลาที่คนไทยพูดถึง กรรม มักจะใช้แทนผลขอลกรรมชั่ว ส่วนผลของกรรมดีมักจะใช้คำว่าบุญ
เมื่อเราจะกล่าวถึงการเป็นโรคซึมเศร้าแล้ว หลายคนอดสงสัยไม่ได้ ว่าเพราะกรรมหรือเปล่า ที่ทำให้ต้องเป็นโรคซึมเศร้า จึงพยายามกลับมามองตัวเองว่าทั้งชีวิต เคยไปทำอะไรเลวร้ายมาบ้างทำให้ชะตาชีวิต ต้องมาประสบพบเจอกับโรคที่ทำให้ตัวเองได้รับความทุกข์ทรมาณเช่นนี้
แม้แต่ตัวผู้เขียนเอง หากมองเผินๆอย่างไม่เข้าใจ ก็ไม่น่าจะต้องประสบพบเจอกับวิบากกรรมอันเลวร้ายใดๆทั้งสิ้น เพราะตลอดชีวิตที่ผ่านมา ตั้งใจเป็นคนดีมาตลอด เป็นนักเรียนก้เป็นนักเรียนที่ดี ตั้งใจเรียน เป็นลูกที่ดี ไม่เคยคิดทำให้พ่อแม่เดือดร้อนใจ หากมองกันแบบนี้ชีวิตดูจะไม่ยุติธรรมนัก ที่คนอย่างข้าพเจ้าจะต้องมาป่วยเป็นโรคซึมเศร้า แต่หากมองอย่างลึกซึ้งจริงๆตามหลักพุทธศาสนา ชีวิตนี้ยุติธรรมที่สุดแล้ว
จริงๆแล้วความหมายของ กรรม ตามหลักพุทธศาสนา แปลว่า การกระทำ เพราะฉะนั้นเรทำอะไร ทุกอย่างก็จะมีผลในตัวของมันเสมอ เพียงแต่เราจะสามารถมองอย่างมีเหตุผลสัมพันธ์กันหรือไม่ก็เท่านั้น
คนเรามักมองเหตุและผลไม่สัมพันธ์กันเสมอ หากจะถามว่า ทำบุญเยอะ ทำไมได้เกรดไม่ดี เราต้องมองย้อนกลับไปว่า เราได้อ่านหนังสือหรือเปล่า ตั้งใจเรียนหรือเปล่า หรือบางคนถามว่าขับรถมาทอดผ้าป่า ทำไมถึงเกิดอุบัติเหตุ ก็ต้องมองกลับไปว่า ตอนขับรถมีสติหรือปล่า มีความประมาทหรือไม่
เมื่อมองกลับมาที่โรคซึมเศร้า กรรมที่ควรมองที่สุดคือ มโนกรรม หรือกรรมทางจิตใจ แม้ตลอดชีวิตที่ผ่านมา ข้าพเจ้าจะไม่ชอบเบียดเบียนใคร ไม่เกเร ไม่ชอบทำให้พ่อแม่เดือดเนื้อร้อนใจ กายกรรมแทบไม่มี แต่เมื่อมองดีๆ ตลอดชีวิตที่ผ่านมา ข้าพเจ้ากลับสั่งสมมโนกรรมด้านลบมาตลอดชีวิต หลายปีเข้าๆ การสั่งสมทับความในความไม่บริสุทธิ์ของจิตใจก็ส่งผลให้ข้าพเจ้าต้องเผชิญกับโรคซึมเศร้า ทำให้เกิดทุกข์สารพัด คือตั้งแต่ข้าพเจ้าเป็นเด็ก มักจะเป็นคนเก็ดกด มีอะไรจะไม่เล่าให้ใครฟัง เก็บไว้คนเดียว เจ้าคิดเจ้าแค้น ขี้น้อยใจ คิดมาก ทั้งๆที่รู้ตัวว่าตัวเองเป็นคนยังไง ก็ไม่เคยคิดจะแก้ไข และไม่คิดว่าจะแก้ไขได้ ปล่อยให้ตัวเองเป็นแบบนั้นมาตลอด คิดแต่ว่าฉันเป็นคนคิดมาก คนอื่นจะต้องไม่ทำให้ฉันคิดมาก เสียใจ ไม่เคยคิดว่านิสัยบางอย่างที่เราเป็นจะส่งผลใหญ่หลวงต่อชีวิตเรา บางครั้งกว่าเราจะเรียนรู้และเข้าใจอะไร ชีวิตก็ต้องส่งบทเรียนอันร้ายแรงมาบอกเรา เพราะบอกเบาๆเราไม่เข้าใจ
ถ้าเราเห็นความสัมพันธ์ของเหตุและผลอย่างชัดเจน คงจะตอบความสงสัยของหลายๆคนเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าได้พอสมควร ว่ามันไม่ได้มาจากความบังเอิญแน่นอน แล้วเราจะทำยังไงต่อไป? ตอบง่ายๆว่าถ้าเหตุเดิมๆ ผลก็จะเป็นแบบเดิมๆ ถ้าอยากหายจากซึมเศร้า จะเลือกเป็นคนเดิมๆหรือคนใหม่ๆ ไปคิดดูเอาแล้วกัน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ฝากเพจและบล็อกด้วยค่ะ
ตอนนี้มีบล็อกที่เขียนบทความเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าโดยเฉพาะ โดยอาจเขียนจากประสบการณ์ของตัวเอง และแปลบทความจากต่างประเทศเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าให้ได้อ่านใคร สนใจ ฝสกติดตามด้วยค่ะ https://maadam.wordpress.com/
facebook: https://www.facebook.com/maadamdepression
มโนกรรมกับโรคซึมเศร้า
บุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้ผลเช่นนั้น ผู้ทำกรรมดี ย่อมได้ผลดี ผู้ทำกรรมชั่ว ย่อมได้ผลชั่ว เป็นต้น เวลามีเรื่องซวยๆเกิดขึ้นในชีวิต เป็นต้องกล่าวถึง กรรม เช่น ชาติที่แล้ว ไปทำกรรมกับใครไว้ ถึงได้ซวยอย่างนี้ หรือ มันทำชั่วมาตลอด สมควรได้รับกรรมแล้ว
เมื่อคนเรากล่าวถึงกรรม มักจะเป็นไปในทางลบเสมอ ทั้งๆที่ความจริงแล้ว คำว่า กรรม เป็นคำกลางๆ ไม่ดี ไม่ร้ายในตัว และได้แยกออกมาเป็น สองประเภทคือ กรรมดีกับกรรมชั่ว แต่เวลาที่คนไทยพูดถึง กรรม มักจะใช้แทนผลขอลกรรมชั่ว ส่วนผลของกรรมดีมักจะใช้คำว่าบุญ
เมื่อเราจะกล่าวถึงการเป็นโรคซึมเศร้าแล้ว หลายคนอดสงสัยไม่ได้ ว่าเพราะกรรมหรือเปล่า ที่ทำให้ต้องเป็นโรคซึมเศร้า จึงพยายามกลับมามองตัวเองว่าทั้งชีวิต เคยไปทำอะไรเลวร้ายมาบ้างทำให้ชะตาชีวิต ต้องมาประสบพบเจอกับโรคที่ทำให้ตัวเองได้รับความทุกข์ทรมาณเช่นนี้
แม้แต่ตัวผู้เขียนเอง หากมองเผินๆอย่างไม่เข้าใจ ก็ไม่น่าจะต้องประสบพบเจอกับวิบากกรรมอันเลวร้ายใดๆทั้งสิ้น เพราะตลอดชีวิตที่ผ่านมา ตั้งใจเป็นคนดีมาตลอด เป็นนักเรียนก้เป็นนักเรียนที่ดี ตั้งใจเรียน เป็นลูกที่ดี ไม่เคยคิดทำให้พ่อแม่เดือดร้อนใจ หากมองกันแบบนี้ชีวิตดูจะไม่ยุติธรรมนัก ที่คนอย่างข้าพเจ้าจะต้องมาป่วยเป็นโรคซึมเศร้า แต่หากมองอย่างลึกซึ้งจริงๆตามหลักพุทธศาสนา ชีวิตนี้ยุติธรรมที่สุดแล้ว
จริงๆแล้วความหมายของ กรรม ตามหลักพุทธศาสนา แปลว่า การกระทำ เพราะฉะนั้นเรทำอะไร ทุกอย่างก็จะมีผลในตัวของมันเสมอ เพียงแต่เราจะสามารถมองอย่างมีเหตุผลสัมพันธ์กันหรือไม่ก็เท่านั้น
คนเรามักมองเหตุและผลไม่สัมพันธ์กันเสมอ หากจะถามว่า ทำบุญเยอะ ทำไมได้เกรดไม่ดี เราต้องมองย้อนกลับไปว่า เราได้อ่านหนังสือหรือเปล่า ตั้งใจเรียนหรือเปล่า หรือบางคนถามว่าขับรถมาทอดผ้าป่า ทำไมถึงเกิดอุบัติเหตุ ก็ต้องมองกลับไปว่า ตอนขับรถมีสติหรือปล่า มีความประมาทหรือไม่
เมื่อมองกลับมาที่โรคซึมเศร้า กรรมที่ควรมองที่สุดคือ มโนกรรม หรือกรรมทางจิตใจ แม้ตลอดชีวิตที่ผ่านมา ข้าพเจ้าจะไม่ชอบเบียดเบียนใคร ไม่เกเร ไม่ชอบทำให้พ่อแม่เดือดเนื้อร้อนใจ กายกรรมแทบไม่มี แต่เมื่อมองดีๆ ตลอดชีวิตที่ผ่านมา ข้าพเจ้ากลับสั่งสมมโนกรรมด้านลบมาตลอดชีวิต หลายปีเข้าๆ การสั่งสมทับความในความไม่บริสุทธิ์ของจิตใจก็ส่งผลให้ข้าพเจ้าต้องเผชิญกับโรคซึมเศร้า ทำให้เกิดทุกข์สารพัด คือตั้งแต่ข้าพเจ้าเป็นเด็ก มักจะเป็นคนเก็ดกด มีอะไรจะไม่เล่าให้ใครฟัง เก็บไว้คนเดียว เจ้าคิดเจ้าแค้น ขี้น้อยใจ คิดมาก ทั้งๆที่รู้ตัวว่าตัวเองเป็นคนยังไง ก็ไม่เคยคิดจะแก้ไข และไม่คิดว่าจะแก้ไขได้ ปล่อยให้ตัวเองเป็นแบบนั้นมาตลอด คิดแต่ว่าฉันเป็นคนคิดมาก คนอื่นจะต้องไม่ทำให้ฉันคิดมาก เสียใจ ไม่เคยคิดว่านิสัยบางอย่างที่เราเป็นจะส่งผลใหญ่หลวงต่อชีวิตเรา บางครั้งกว่าเราจะเรียนรู้และเข้าใจอะไร ชีวิตก็ต้องส่งบทเรียนอันร้ายแรงมาบอกเรา เพราะบอกเบาๆเราไม่เข้าใจ
ถ้าเราเห็นความสัมพันธ์ของเหตุและผลอย่างชัดเจน คงจะตอบความสงสัยของหลายๆคนเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าได้พอสมควร ว่ามันไม่ได้มาจากความบังเอิญแน่นอน แล้วเราจะทำยังไงต่อไป? ตอบง่ายๆว่าถ้าเหตุเดิมๆ ผลก็จะเป็นแบบเดิมๆ ถ้าอยากหายจากซึมเศร้า จะเลือกเป็นคนเดิมๆหรือคนใหม่ๆ ไปคิดดูเอาแล้วกัน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้