ชาวพุทธที่ไม่ได้ศึกษาหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าให้เข้าใจอย่างถูกต้อง ก็จะมีความเชื่อกัน (ผิดๆ) ว่า คำสอนเรื่องกรรมของพุทธศาสนาก็เหมือนกับคำสอนเรื่องกรรมของศาสนาพราหมณ์ ที่สอนว่าคนเรานั้นเมื่อทำกรรมดีไว้ในชาตินี้ เมื่อตายไปก็จะได้ขึ้นสวรรค์ที่เชื่อกันว่าอยู่บนฟ้า หรือจะได้รับผลในชาติหน้า เช่น เกิดมาแล้วร่ำรวย สุขสบาย มีเกียรติ มีอำนาจ เป็นต้น ส่วนคนที่ทำความชั่วเมื่อตายไปแล้วก็จะต้องตกนรกที่เชื่อกันว่าอยู่ใต้ดิน หรือจะได้ผลในชาติหน้า เช่นเกิดมาแล้วยากจน ตกต่ำ ทุกข์ยาก ด้อยเกียติ เป็นต้น หรือบางคนก็เชื่อว่า การทำกรรมดีจะมีผลทำให้ได้รับรางวัลหรือมีคนชมเชยและชีวิตเจริญรุ่งเรือง ส่วนคนทำกรรมชั่วก็จะมีผลทำให้ถูกลงโทษหรือถูกติเตียนและชีวิตวิบัติล่มจม
แต่ในความเป็นจริงนั้น คำสอนเรื่องกรรมของพระพุทธเจ้านั้นจะไม่เหมือนกับคำสอนเรื่องกรรมของศาสนาพราหมณ์เลย โดยคำสอนเรื่องกรรมของพระพุทธเจ้านั้นจะเป็นการสอนเรื่องของจิตใต้สำนึก ที่เมื่อได้ทำสิ่งใดไปแล้วจะมีผลเป็นความรู้สึกของจิตใจนี่เอง
โดยคำว่า กรรม แปลว่า การกระทำด้วยเจตนา (เจตนาก็คือกิเลส) ซึ่งเจตนาก็มาจากจิตนั่นเอง แต่เมื่อจิตสั่งร่างกายทำด้วยก็จะเรียกว่าเป็นกรรมทางกาย (กายกรรม) ถ้าสั่งปากพูดด้วยก็เรียกว่ากรรมทางวาจา (วจีกรรม) ถ้าจิตคิดนึกเองโดยยังไม่ได้สั่งกายทำและปากพูด ก็เรียกว่ากรรมทางใจ (มโนกรรม) ซึ่งกรรมนี้ก็สรุปได้ ๒ ประเภท อันได้แก่ กรรมดี คือการทำความดี และ กรรมชั่ว คือการทำความชั่ว
โดยกรรมดีก็สรุปอยู่ที่ การมีเจตนาที่จะไม่เบียดเบียนชีวิต – ทรัพย์สิน - และกามารมณ์ของผู้อื่น การมีเจตนาที่จะไม่พูดโกหก – คำหยาบ – ส่อเสียด – และเพ้อเจ้อ การไม่โลภอยากได้ของผู้อื่น ไม่อาฆาตพยาบาทปองร้ายผู้อื่น การมีความเห็นที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม รวมทั้งการช่วยเหลือผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน (ไม่เห็นแก่ตัว) ส่วนกรรมชั่วก็สรุปอยู่ที่ การมีเจตนาเบียดเบียนชีวิต – ทรัพย์สิน – และกามารมณ์ของผู้อื่น การมีเจตนาในการพูดโกหก – คำหยาบ - ส่อเสียด – และเพ้อเจ้อ การมีความโลกอยากได้ของผู้อื่น การอาฆาตพยาบาทปองร้ายผู้อื่น การมีความเห็นที่ผิดจากทำนองคลองธรรม รวมทั้งการละเลยไม่ช่วยเหลือผู้ที่กำลังเดือดร้อนหรือมีความทุกข์ (เห็นแก่ตัว)
ส่วนผลของกรรมเรียกว่า วิบาก โดยผลของกรรมก็คือ ความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากจิตใต้สำนึก คือเมื่อเราทำกรรมดี จิตใต้สำนึกของเรามันก็รู้อยู่ว่าเป็นความดีงามหรือถูกต้อง ดังนั้นมันจึงเกิดความสุขใจ หรืออิ่มเอมใจ ขึ้นมาทันที แต่เมื่อเราทำกรรมชั่ว จิตใต้สำนึกของเรามันก็รู้อยู่ว่ามันชั่วหรือเลวหรือไม่ดีหรือผิด ดังนั้นมันจึงเกิดความร้อนใจ หรืออย่างน้อยก็ความไม่สบายใจขึ้นมาทันที โดยวิบากนี้ถ้ายังไม่เกิดในทันทีที่กำลังทำกรรมอยู่ ก็จะเกิดเมื่อทำกรรมเสร็จแล้วก็ได้ หรืออาจจะเกิดในเวลาต่อมาอีกหน่อยก็ได้ อีกทั้งวิบากนี้จะมากหรือน้อยและตั้งอยู่นานหรือไม่นานก็ขึ้นอยู่กับเจตนาว่าจะมากหรือน้อย ซึ่งเราจะต้องมาสังเกตจากจิตของเราเอง
อีกอย่างเราต้องเข้าใจว่า วิบากหรือผลของกรรมที่แท้จริงของพระพุทธเจ้านี้ก็คือความรู้สึกจากจิตใต้สำนึก ซึ่งจัดว่าเป็นผลโดยตรง แต่ยังมีผลโดยอ้อมที่ไม่จัดว่าเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า คือเมื่อทำความดีแล้วได้รับรางวัลหรือมีคนชมเชยและชีวิตเจริญรุ่งเรือง แต่เมื่อทำความชั่วแล้วถูกลงโทษหรือถูกติเตียนหรือชีวิตล่มจม ซึ่งผลโดยอ้อมนี้มันไม่แน่นอนเพราะมันขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอก (เช่น ค่านิยม ขนบธรรมเนียมประเพณี เป็นต้น) คือถ้าทำดีแล้วไม่มีใครรู้หรือสังคมไม่ยอมรับ ก็ไม่มีใครมาชมเชยหรือให้รางวัล หรือถ้าทำความชั่วแล้วปกปิดไว้ได้ หรือสังคมยอมรับ ก็ไม่ได้รับการลงโทษหรือไม่ถูกติเตียน ดังนั้นพระพุทธเจ้าจึงไม่สอนเรื่องผลโดยอ้อมนี้เพราะมันไม่แน่นอน
ที่สำคัญเรามักจะเชื่อกันผิดๆว่าผลโดยอ้อมนี้คือผลของกรรมที่พระพุทธเจ้าสอน ซึ่งเมื่อมีคนทำความชั่วแล้วไม่ถูกลงโทษ หรือไม่ถูกติเตียน แต่กลับร่ำรวยมีเกียรติ ส่วนคนทำความดีกลับไม่มีใครยกย่องชมเชย หรือยากจน เราจึงเกิดความเข้าใจผิดขึ้นมาว่า “ทำดีแล้วไม่ได้ดี แต่ทำชั่วกลับได้ดี” ขึ้นมา อย่างที่กำลังเป็นกันอยู่เพราะเข้าใจคำสอนเรื่องกรรมและวิบากของพระพุทธเจ้าผิดไปจากความเป็นจริง
อีกอย่างเรื่องกรรมนี้พระพุทธเจ้าสอนว่าไม่ควรสนใจศึกษา เพราะมันเอาแน่ไม่ได้ รวมทั้งไม่เป็นประโยชน์แก่การศึกษาเพื่อดับทุกข์ แต่ชาวพุทธปัจจุบันกลับสนใจศึกษากันยิ่งนัก จนเชื่อว่าเป็นคำสอนหลักของพระพุทธเจ้าเลยทีเดียว แต่ที่น่าเศร้าที่สุดก็คือชาวพุทธได้หลงผิดไปคว้าเอาคำสอนเรื่องกรรมของศาสนาพราหมณ์มาสอน แล้วก็ยึดถือว่าเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า ไปโดยไม่รู้ตัว
ความขัดแย้งระหว่างความเชื่อกับความจริงเรื่องกรรม
แต่ในความเป็นจริงนั้น คำสอนเรื่องกรรมของพระพุทธเจ้านั้นจะไม่เหมือนกับคำสอนเรื่องกรรมของศาสนาพราหมณ์เลย โดยคำสอนเรื่องกรรมของพระพุทธเจ้านั้นจะเป็นการสอนเรื่องของจิตใต้สำนึก ที่เมื่อได้ทำสิ่งใดไปแล้วจะมีผลเป็นความรู้สึกของจิตใจนี่เอง
โดยคำว่า กรรม แปลว่า การกระทำด้วยเจตนา (เจตนาก็คือกิเลส) ซึ่งเจตนาก็มาจากจิตนั่นเอง แต่เมื่อจิตสั่งร่างกายทำด้วยก็จะเรียกว่าเป็นกรรมทางกาย (กายกรรม) ถ้าสั่งปากพูดด้วยก็เรียกว่ากรรมทางวาจา (วจีกรรม) ถ้าจิตคิดนึกเองโดยยังไม่ได้สั่งกายทำและปากพูด ก็เรียกว่ากรรมทางใจ (มโนกรรม) ซึ่งกรรมนี้ก็สรุปได้ ๒ ประเภท อันได้แก่ กรรมดี คือการทำความดี และ กรรมชั่ว คือการทำความชั่ว
โดยกรรมดีก็สรุปอยู่ที่ การมีเจตนาที่จะไม่เบียดเบียนชีวิต – ทรัพย์สิน - และกามารมณ์ของผู้อื่น การมีเจตนาที่จะไม่พูดโกหก – คำหยาบ – ส่อเสียด – และเพ้อเจ้อ การไม่โลภอยากได้ของผู้อื่น ไม่อาฆาตพยาบาทปองร้ายผู้อื่น การมีความเห็นที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม รวมทั้งการช่วยเหลือผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน (ไม่เห็นแก่ตัว) ส่วนกรรมชั่วก็สรุปอยู่ที่ การมีเจตนาเบียดเบียนชีวิต – ทรัพย์สิน – และกามารมณ์ของผู้อื่น การมีเจตนาในการพูดโกหก – คำหยาบ - ส่อเสียด – และเพ้อเจ้อ การมีความโลกอยากได้ของผู้อื่น การอาฆาตพยาบาทปองร้ายผู้อื่น การมีความเห็นที่ผิดจากทำนองคลองธรรม รวมทั้งการละเลยไม่ช่วยเหลือผู้ที่กำลังเดือดร้อนหรือมีความทุกข์ (เห็นแก่ตัว)
ส่วนผลของกรรมเรียกว่า วิบาก โดยผลของกรรมก็คือ ความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากจิตใต้สำนึก คือเมื่อเราทำกรรมดี จิตใต้สำนึกของเรามันก็รู้อยู่ว่าเป็นความดีงามหรือถูกต้อง ดังนั้นมันจึงเกิดความสุขใจ หรืออิ่มเอมใจ ขึ้นมาทันที แต่เมื่อเราทำกรรมชั่ว จิตใต้สำนึกของเรามันก็รู้อยู่ว่ามันชั่วหรือเลวหรือไม่ดีหรือผิด ดังนั้นมันจึงเกิดความร้อนใจ หรืออย่างน้อยก็ความไม่สบายใจขึ้นมาทันที โดยวิบากนี้ถ้ายังไม่เกิดในทันทีที่กำลังทำกรรมอยู่ ก็จะเกิดเมื่อทำกรรมเสร็จแล้วก็ได้ หรืออาจจะเกิดในเวลาต่อมาอีกหน่อยก็ได้ อีกทั้งวิบากนี้จะมากหรือน้อยและตั้งอยู่นานหรือไม่นานก็ขึ้นอยู่กับเจตนาว่าจะมากหรือน้อย ซึ่งเราจะต้องมาสังเกตจากจิตของเราเอง
อีกอย่างเราต้องเข้าใจว่า วิบากหรือผลของกรรมที่แท้จริงของพระพุทธเจ้านี้ก็คือความรู้สึกจากจิตใต้สำนึก ซึ่งจัดว่าเป็นผลโดยตรง แต่ยังมีผลโดยอ้อมที่ไม่จัดว่าเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า คือเมื่อทำความดีแล้วได้รับรางวัลหรือมีคนชมเชยและชีวิตเจริญรุ่งเรือง แต่เมื่อทำความชั่วแล้วถูกลงโทษหรือถูกติเตียนหรือชีวิตล่มจม ซึ่งผลโดยอ้อมนี้มันไม่แน่นอนเพราะมันขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอก (เช่น ค่านิยม ขนบธรรมเนียมประเพณี เป็นต้น) คือถ้าทำดีแล้วไม่มีใครรู้หรือสังคมไม่ยอมรับ ก็ไม่มีใครมาชมเชยหรือให้รางวัล หรือถ้าทำความชั่วแล้วปกปิดไว้ได้ หรือสังคมยอมรับ ก็ไม่ได้รับการลงโทษหรือไม่ถูกติเตียน ดังนั้นพระพุทธเจ้าจึงไม่สอนเรื่องผลโดยอ้อมนี้เพราะมันไม่แน่นอน
ที่สำคัญเรามักจะเชื่อกันผิดๆว่าผลโดยอ้อมนี้คือผลของกรรมที่พระพุทธเจ้าสอน ซึ่งเมื่อมีคนทำความชั่วแล้วไม่ถูกลงโทษ หรือไม่ถูกติเตียน แต่กลับร่ำรวยมีเกียรติ ส่วนคนทำความดีกลับไม่มีใครยกย่องชมเชย หรือยากจน เราจึงเกิดความเข้าใจผิดขึ้นมาว่า “ทำดีแล้วไม่ได้ดี แต่ทำชั่วกลับได้ดี” ขึ้นมา อย่างที่กำลังเป็นกันอยู่เพราะเข้าใจคำสอนเรื่องกรรมและวิบากของพระพุทธเจ้าผิดไปจากความเป็นจริง
อีกอย่างเรื่องกรรมนี้พระพุทธเจ้าสอนว่าไม่ควรสนใจศึกษา เพราะมันเอาแน่ไม่ได้ รวมทั้งไม่เป็นประโยชน์แก่การศึกษาเพื่อดับทุกข์ แต่ชาวพุทธปัจจุบันกลับสนใจศึกษากันยิ่งนัก จนเชื่อว่าเป็นคำสอนหลักของพระพุทธเจ้าเลยทีเดียว แต่ที่น่าเศร้าที่สุดก็คือชาวพุทธได้หลงผิดไปคว้าเอาคำสอนเรื่องกรรมของศาสนาพราหมณ์มาสอน แล้วก็ยึดถือว่าเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า ไปโดยไม่รู้ตัว