ชาวพุทธที่ไม่ได้ศึกษาหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าให้เข้าใจอย่างถูกต้อง ก็จะมีความเชื่อกัน (ผิดๆ) ว่า การสอนว่าตายแล้วยังมีตัวตนที่เป็นเราเกิดขึ้นมาได้ใหม่อีกเรื่อยไป เพื่อมารับผลกรรมเก่านั้น เป็นคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้า เพราะการสอนเช่นนี้มีผลดีตรงที่ ทำให้คนที่เชื่อเรื่องนี้เป็นคนดีไม่เป็นคนชั่ว เพราะกลัวตกนรกที่เชื่อว่าอยู่ใต้ดิน และอยากทำความดีเพราะอยากขึ้นสวรรค์ที่เชื่ออยู่บนฟ้า เมื่อสังคมมีคนดีมากๆ ก็จะทำให้สังคมมีความปกติสุขได้ แต่ถ้าใครไม่สอนอย่างนี้ ก็จะถูกมองว่าสอนผิดจากคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้า เพราะไม่เชื่อเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดเพื่อมารับผลกรรมเก่า เมื่อสอนผิดก็จะเกิดผลเสียหรือร้าย คือทำให้คนที่เชื่อนั้นกลายเป็นคนที่มีความเห็นว่าตายแล้วสูญ คือทำกรรมแล้วไม่ต้องรับผลกรรม เพราะคนที่เชื่อว่าตายแล้วสูญจะไม่ชอบทำความดี เพราะเชื่อว่าไม่ได้ผลดีอะไรเลย แต่จะชอบทำความชั่ว เพราะเชื่อว่าไม่ต้องรับผลชั่ว เมื่อผู้คนไม่ชอบทำความดีแต่ชอบทำความชั่วกันมากๆ ก็จะทำให้สังคมเดือดร้อนวุ่นวายไม่ปกติสุข
แต่ในความเป็นจริงนั้น การสอนให้คนมีความเชื่อเรื่องการเวียนว่ายตาย-เกิดเพื่อมารับผลกรรมเก่านั้น ถึงแม้ว่าจะมีผลดีตรงที่ทำให้คนที่เชื่อเป็นคนดีก็จริง แต่มันมีผลเสียตรงที่ทำให้คนที่เชื่อนั้นไม่มีปัญญาที่เป็นความรอบรู้ที่ถูกต้องในชีวิต สำหรับนำมาใช้แก้ปัญหาที่ใหญ่หลวงของชีวิตได้ (ปัญหาที่ใหญ่หลวงของชีวิตก็คือความทุกข์) เมื่อไม่มีปัญญา การดำเนินชีวิตจึงผิดพลาด เมื่อดำเนินชีวิตผิดพลาด ก็ต้องพบกับปัญหา (คือความทุกข์และความเดือดร้อน) ไปตลอดชีวิต แม้จะเป็นคนดีอย่างที่สุดแล้วก็ตาม ซึ่งนี่คือผลเสียจากการเป็นคนดีที่ไม่มีปัญญาที่พระพุทธเจ้าจะไม่สอนอย่างนี้แน่ แม้การสอนว่าตายแล้วสูญ คือสอนว่าเมื่อเราทำกรรมใดๆไว้แล้วก็ไม่ต้องรับผลกรรมนั้นเลย พระพุทธเจ้าก็ไม่สอน เพราะจะทำให้คนที่เชื่อนั้นเป็นคนไม่ดีและไม่มีปัญญาอีกเหมือนกัน
พระพุทธเจ้าจะสอนให้เราเป็นคนดีและมีปัญญาด้วย เพื่อที่ชีวิตจะได้มีทั้งความปกติสุขและไม่มีปัญหาใดๆ ที่จะทำให้ชีวิตมีความทุกข์และความเดือดร้อนตามมาในอนาคต อย่างยั่งยืนมั่นคง รวมทั้งยังจะทำให้สังคมมีความสงบสุข และช่วยให้โลกมีสันติภาพอย่างถาวรได้อีกด้วย ซึ่งคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น จะไม่สอนเรื่องการเกิดใหม่เพื่อมารับผลกรรม และก็ไม่สอนว่าการทำกรรมไม่ต้องรับผลใดเลย แต่จะสอนให้เกิดปัญญาที่เป็นความเข้าใจและเห็นแจ้งในชีวิตว่า ชีวิต (คือร่างกายและจิตใจหรือขันธ์ ๕) ของเราทุกคนนี้ มันเป็นเพียงสิ่งที่ถูกปรุงแต่ง (หรือสร้างหรือทำหรือประกอบ) ขึ้นมาจากธาตุ (สิ่งที่มีอยู่จริงตามธรรมชาติ) จนเกิดเป็นสิ่งที่มีชีวิตที่รู้สึกว่าเป็นตัวเราขึ้นมาเพียงชั่วคราว ตราบเท่าที่ร่างกายนี้ยังมีชีวิตอยู่เท่านั้น (คือร่างกายและจิตใจเป็นอนัตตา คือไม่ใช่ตัวเราจริง เป็นแค่สิ่งปรุงแต่งเท่านั้น)
จิตหรือสิ่งที่รู้สึกว่าเป็นตัวเรานี้ พระพุทธเจ้าสอนว่า เมื่อได้ทำกรรมใดลงไปแล้วก็ตาม ก็ต้องได้รับผลของกรรมนั้นเสมอ ไม่ใช่ว่าจะไม่ได้รับผลเลยอย่างพวกที่เชื่อว่าตายแล้วสูญ แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะต้องไปรับผลเอาในชาติหน้าอย่างพวกที่เชื่อว่าตายแล้วเกิด คือผลของกรรม (ที่เรียกว่าวิบากกรรม) ที่พระพุทธเจ้าสอนนั้นก็ได้แก่ ความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากจิตใต้สำนึก คือเมื่อเราทำกรรมดี (ความดี) ก็จะเกิดความสุขใจ-อิ่มเอมใจขึ้นมาทันที (หรืออาจจะเกิดขึ้นเมื่อทำเสร็จแล้วก็ได้) เมื่อเราทำกรรมชั่ว (ความชั่ว) ก็จะเกิดความร้อนใจ-ไม่สบายใจขึ้นมาทันที (หรืออาจจะเกิดขึ้นเมื่อทำเสร็จแล้วก็ได้) ซึ่งผลของกรรมนี้จะมีมากหรือน้อยและจะตั้งอยู่นานหรือไม่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับเจตนา (ความตั้งใจที่เกิดมาจากกิเลส) และชนิดของกรรมที่ได้ทำไว้ ที่เราก็ต้องมาสังเกตจากจิตของเราเองจริงๆ
ส่วนเรื่องผลภายนอก เช่น เมื่อทำดีแล้วจะมีคนมาชมเชยหรือให้รางวัลหรือชีวิตเจริญรุ่งเรือง เมื่อทำชั่วแล้วถูกติเตียนหรือถูกลงโทษหรือชีวิตตกต่ำนั้น เป็นเรื่องที่เอาแน่ไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องของเหตุปัจจัยภายนอก พระพุทธเจ้าจึงไม่สอนเรื่องเหตุปัจจัยภายนอก ยิ่งเป็นเรื่องผลกรรมในชาติหน้า ยิ่งไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า เพราะเป็นเรื่องที่ไม่มีเหตุผลและพิสูจน์ไม่ได้ รวมทั้งไม่ได้ทำให้เกิดปัญญาเห็นแจ้งชีวิตอีกด้วย
สรุปได้ว่า คำสอนเรื่องการเวียนว่ายตาย-เกิดเพื่อมารับผลกรรมเก่านั้น ไม่ใช่คำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้า แต่เป็นคำสอนระดับศีลธรรมที่ปลอมปนมาจากภายนอกพุทธศาสนา ที่เพียงแค่ทำให้คนที่เชื่อเป็นคนดีเท่านั้น แต่เป็นคนดีที่ไม่มีปัญญามาแก้ปัญหาชีวิต จึงเป็นคำสอนที่มีโทษมากกว่าประโยชน์ ส่วนคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้านั้น นอกจากจะทำให้เป็นคนดีแล้วยังทำให้มีปัญญาเห็นแจ้งชีวิตอีกด้วย จึงเป็นคำสอนที่มีแต่ประโยชน์ ไม่มีโทษเลย คือทำให้เราเป็นคนดีที่มีชีวิตปกติสุขที่มั่นคง และมีปัญญามาดับทุกข์ของจิตใจในปัจจุบัน ที่เป็นปัญหาใหญ่หลวงที่สุดของชีวิตได้อีกด้วย
ความขัดแย้งระหว่างความเชื่อกับความจริง เรื่องพระพุทธเจ้าสอนให้เป็นคนดีและมีปัญญา
แต่ในความเป็นจริงนั้น การสอนให้คนมีความเชื่อเรื่องการเวียนว่ายตาย-เกิดเพื่อมารับผลกรรมเก่านั้น ถึงแม้ว่าจะมีผลดีตรงที่ทำให้คนที่เชื่อเป็นคนดีก็จริง แต่มันมีผลเสียตรงที่ทำให้คนที่เชื่อนั้นไม่มีปัญญาที่เป็นความรอบรู้ที่ถูกต้องในชีวิต สำหรับนำมาใช้แก้ปัญหาที่ใหญ่หลวงของชีวิตได้ (ปัญหาที่ใหญ่หลวงของชีวิตก็คือความทุกข์) เมื่อไม่มีปัญญา การดำเนินชีวิตจึงผิดพลาด เมื่อดำเนินชีวิตผิดพลาด ก็ต้องพบกับปัญหา (คือความทุกข์และความเดือดร้อน) ไปตลอดชีวิต แม้จะเป็นคนดีอย่างที่สุดแล้วก็ตาม ซึ่งนี่คือผลเสียจากการเป็นคนดีที่ไม่มีปัญญาที่พระพุทธเจ้าจะไม่สอนอย่างนี้แน่ แม้การสอนว่าตายแล้วสูญ คือสอนว่าเมื่อเราทำกรรมใดๆไว้แล้วก็ไม่ต้องรับผลกรรมนั้นเลย พระพุทธเจ้าก็ไม่สอน เพราะจะทำให้คนที่เชื่อนั้นเป็นคนไม่ดีและไม่มีปัญญาอีกเหมือนกัน
พระพุทธเจ้าจะสอนให้เราเป็นคนดีและมีปัญญาด้วย เพื่อที่ชีวิตจะได้มีทั้งความปกติสุขและไม่มีปัญหาใดๆ ที่จะทำให้ชีวิตมีความทุกข์และความเดือดร้อนตามมาในอนาคต อย่างยั่งยืนมั่นคง รวมทั้งยังจะทำให้สังคมมีความสงบสุข และช่วยให้โลกมีสันติภาพอย่างถาวรได้อีกด้วย ซึ่งคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น จะไม่สอนเรื่องการเกิดใหม่เพื่อมารับผลกรรม และก็ไม่สอนว่าการทำกรรมไม่ต้องรับผลใดเลย แต่จะสอนให้เกิดปัญญาที่เป็นความเข้าใจและเห็นแจ้งในชีวิตว่า ชีวิต (คือร่างกายและจิตใจหรือขันธ์ ๕) ของเราทุกคนนี้ มันเป็นเพียงสิ่งที่ถูกปรุงแต่ง (หรือสร้างหรือทำหรือประกอบ) ขึ้นมาจากธาตุ (สิ่งที่มีอยู่จริงตามธรรมชาติ) จนเกิดเป็นสิ่งที่มีชีวิตที่รู้สึกว่าเป็นตัวเราขึ้นมาเพียงชั่วคราว ตราบเท่าที่ร่างกายนี้ยังมีชีวิตอยู่เท่านั้น (คือร่างกายและจิตใจเป็นอนัตตา คือไม่ใช่ตัวเราจริง เป็นแค่สิ่งปรุงแต่งเท่านั้น)
จิตหรือสิ่งที่รู้สึกว่าเป็นตัวเรานี้ พระพุทธเจ้าสอนว่า เมื่อได้ทำกรรมใดลงไปแล้วก็ตาม ก็ต้องได้รับผลของกรรมนั้นเสมอ ไม่ใช่ว่าจะไม่ได้รับผลเลยอย่างพวกที่เชื่อว่าตายแล้วสูญ แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะต้องไปรับผลเอาในชาติหน้าอย่างพวกที่เชื่อว่าตายแล้วเกิด คือผลของกรรม (ที่เรียกว่าวิบากกรรม) ที่พระพุทธเจ้าสอนนั้นก็ได้แก่ ความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากจิตใต้สำนึก คือเมื่อเราทำกรรมดี (ความดี) ก็จะเกิดความสุขใจ-อิ่มเอมใจขึ้นมาทันที (หรืออาจจะเกิดขึ้นเมื่อทำเสร็จแล้วก็ได้) เมื่อเราทำกรรมชั่ว (ความชั่ว) ก็จะเกิดความร้อนใจ-ไม่สบายใจขึ้นมาทันที (หรืออาจจะเกิดขึ้นเมื่อทำเสร็จแล้วก็ได้) ซึ่งผลของกรรมนี้จะมีมากหรือน้อยและจะตั้งอยู่นานหรือไม่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับเจตนา (ความตั้งใจที่เกิดมาจากกิเลส) และชนิดของกรรมที่ได้ทำไว้ ที่เราก็ต้องมาสังเกตจากจิตของเราเองจริงๆ
ส่วนเรื่องผลภายนอก เช่น เมื่อทำดีแล้วจะมีคนมาชมเชยหรือให้รางวัลหรือชีวิตเจริญรุ่งเรือง เมื่อทำชั่วแล้วถูกติเตียนหรือถูกลงโทษหรือชีวิตตกต่ำนั้น เป็นเรื่องที่เอาแน่ไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องของเหตุปัจจัยภายนอก พระพุทธเจ้าจึงไม่สอนเรื่องเหตุปัจจัยภายนอก ยิ่งเป็นเรื่องผลกรรมในชาติหน้า ยิ่งไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า เพราะเป็นเรื่องที่ไม่มีเหตุผลและพิสูจน์ไม่ได้ รวมทั้งไม่ได้ทำให้เกิดปัญญาเห็นแจ้งชีวิตอีกด้วย
สรุปได้ว่า คำสอนเรื่องการเวียนว่ายตาย-เกิดเพื่อมารับผลกรรมเก่านั้น ไม่ใช่คำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้า แต่เป็นคำสอนระดับศีลธรรมที่ปลอมปนมาจากภายนอกพุทธศาสนา ที่เพียงแค่ทำให้คนที่เชื่อเป็นคนดีเท่านั้น แต่เป็นคนดีที่ไม่มีปัญญามาแก้ปัญหาชีวิต จึงเป็นคำสอนที่มีโทษมากกว่าประโยชน์ ส่วนคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้านั้น นอกจากจะทำให้เป็นคนดีแล้วยังทำให้มีปัญญาเห็นแจ้งชีวิตอีกด้วย จึงเป็นคำสอนที่มีแต่ประโยชน์ ไม่มีโทษเลย คือทำให้เราเป็นคนดีที่มีชีวิตปกติสุขที่มั่นคง และมีปัญญามาดับทุกข์ของจิตใจในปัจจุบัน ที่เป็นปัญหาใหญ่หลวงที่สุดของชีวิตได้อีกด้วย