พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔
มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
๗. สฬายตนวิภังคสูตร
[๖๒๙] ใน ๓๖ ประการนั้น อุเบกขาอาศัยเรือน ๖ เป็นไฉน
คือ เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ ย่อมเกิดอุเบกขาขึ้นแก่ปุถุชนคนโง่เขลา ยังไม่ชนะกิเลส ยังไม่ชนะวิบาก ไม่เห็นโทษ ไม่ได้สดับ เป็นคนหนาแน่น อุเบกขาเช่นนี้นั้น ไม่ล่วงเลยรูปไปได้ เพราะฉะนั้น เราจึงเรียกว่า อุเบกขาอาศัยเรือน
เพราะฟังเสียงด้วยโสต ...
เพราะดมกลิ่นด้วยฆานะ ...
เพราะลิ้มรสด้วยชิวหา ...
เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ...
เพราะรู้ธรรมารมณ์ด้วยมโน ย่อมเกิดอุเบกขาขึ้นแก่ปุถุชนคนโง่เขลา ยังไม่ชนะกิเลส ยังไม่ชนะวิบาก ไม่เห็นโทษ ไม่ได้สดับ เป็นคนหนาแน่นอุเบกขาเช่นนี้นั้น ไม่ล่วงเลยธรรมารมณ์ไปได้ เพราะฉะนั้น เราจึงเรียกว่าอุเบกขาอาศัยเรือน เหล่านี้ อุเบกขาอาศัยเรือน ฯ
[๖๓๐] ใน ๓๖ ประการนั้น อุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ ๖ เป็นไฉน คือ
บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับของรูปทั้งหลายนั่นแล แล้วเห็นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า รูปในก่อนและในบัดนี้ ทั้งหมดนั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ย่อมเกิดอุเบกขาขึ้น อุเบกขาเช่นนี้นั้น ไม่ล่วงเลยรูปไปได้ เพราะฉะนั้น เราจึง
เรียกว่าอุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ
บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับ
ของเสียงทั้งหลายนั่นแล ...
บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับ
ของกลิ่นทั้งหลายนั่นแล ...
บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับ
ของรสทั้งหลายนั่นแล ...
บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับ
ของโผฏฐัพพะทั้งหลายนั่นแล ...
บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับ
ของธรรมารมณ์ทั้งหลายนั่นแล แล้วเห็นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
ธรรมารมณ์ในก่อนและในบัดนี้ทั้งหมดนั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวน
เป็นธรรมดา ย่อมเกิดอุเบกขาขึ้น อุเบกขาเช่นนี้นั้น ไม่ล่วงเลยธรรมารมณ์ไปได้
เพราะฉะนั้น เราจึงเรียกว่า อุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ เหล่านี้อุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ
๖ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบทางดำเนินของสัตว์ ๓๖ นั่น เราอาศัยทาง
ดำเนินดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ
ศึกษาทั้งหมดได้ที่
สฬายตนวิภังคสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=8028&Z=8266&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=617
อุเบกขาของคนโง่เขลา ของคนยังไม่ชนะกิเลส
มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
๗. สฬายตนวิภังคสูตร
[๖๒๙] ใน ๓๖ ประการนั้น อุเบกขาอาศัยเรือน ๖ เป็นไฉน
คือ เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ ย่อมเกิดอุเบกขาขึ้นแก่ปุถุชนคนโง่เขลา ยังไม่ชนะกิเลส ยังไม่ชนะวิบาก ไม่เห็นโทษ ไม่ได้สดับ เป็นคนหนาแน่น อุเบกขาเช่นนี้นั้น ไม่ล่วงเลยรูปไปได้ เพราะฉะนั้น เราจึงเรียกว่า อุเบกขาอาศัยเรือน
เพราะฟังเสียงด้วยโสต ...
เพราะดมกลิ่นด้วยฆานะ ...
เพราะลิ้มรสด้วยชิวหา ...
เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ...
เพราะรู้ธรรมารมณ์ด้วยมโน ย่อมเกิดอุเบกขาขึ้นแก่ปุถุชนคนโง่เขลา ยังไม่ชนะกิเลส ยังไม่ชนะวิบาก ไม่เห็นโทษ ไม่ได้สดับ เป็นคนหนาแน่นอุเบกขาเช่นนี้นั้น ไม่ล่วงเลยธรรมารมณ์ไปได้ เพราะฉะนั้น เราจึงเรียกว่าอุเบกขาอาศัยเรือน เหล่านี้ อุเบกขาอาศัยเรือน ฯ
[๖๓๐] ใน ๓๖ ประการนั้น อุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ ๖ เป็นไฉน คือ
บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับของรูปทั้งหลายนั่นแล แล้วเห็นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า รูปในก่อนและในบัดนี้ ทั้งหมดนั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ย่อมเกิดอุเบกขาขึ้น อุเบกขาเช่นนี้นั้น ไม่ล่วงเลยรูปไปได้ เพราะฉะนั้น เราจึง
เรียกว่าอุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ
บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับ
ของเสียงทั้งหลายนั่นแล ...
บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับ
ของกลิ่นทั้งหลายนั่นแล ...
บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับ
ของรสทั้งหลายนั่นแล ...
บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับ
ของโผฏฐัพพะทั้งหลายนั่นแล ...
บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับ
ของธรรมารมณ์ทั้งหลายนั่นแล แล้วเห็นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า
ธรรมารมณ์ในก่อนและในบัดนี้ทั้งหมดนั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวน
เป็นธรรมดา ย่อมเกิดอุเบกขาขึ้น อุเบกขาเช่นนี้นั้น ไม่ล่วงเลยธรรมารมณ์ไปได้
เพราะฉะนั้น เราจึงเรียกว่า อุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ เหล่านี้อุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ
๖ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบทางดำเนินของสัตว์ ๓๖ นั่น เราอาศัยทาง
ดำเนินดังนี้ กล่าวแล้ว ฯ
ศึกษาทั้งหมดได้ที่
สฬายตนวิภังคสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=8028&Z=8266&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=617