**** เพราะเหตุที่มี...ความกำหนัด... ในรูปแล ...จึงเรียกว่า สัตว์ / ถ้าจิตของภิกษุคลายกำหนัดจากรูป ก็เป็นจิตที่หลุดพ้น *

.



       สิ่งใด ที่ เป็นสิ่ง ที่มีความกำหนัดในรูป  ที่ถูกเรียกว่า สัตว์

     1. "เพราะเหตุที่มี ความพอใจ ความกำหนัด
ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยากในรูปแล เป็นผู้ข้องในรูป เป็นผู้เกี่ยวข้องในรูปนั้น 
ฉะนั้น จึงเรียกว่า สัตว์"
๒. สัตตสูตร
ว่าด้วยเหตุที่เรียกว่าสัตว์
**********
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=17&A=4433&Z=4459

   ...
...

             พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า 
ดูกรราธะ เพราะเหตุที่มี ความพอใจ ความกำหนัด
ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยากในรูปแล เป็นผู้ข้องในรูป เป็นผู้เกี่ยวข้องในรูปนั้น 
ฉะนั้น จึงเรียกว่า สัตว์
 เพราะเหตุที่มีความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก
ในเวทนา ... 
ในสัญญา ... 
ในสังขาร ... 
ในวิญญาณ 
เป็นผู้ข้องในวิญญาณ เป็นผู้เกี่ยวข้อง
ในวิญญาณนั้น ฉะนั้น จึงเรียกว่า สัตว์
    ...
**********
       2. "ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในจักษุ
นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต "
**********
https://84000.org/tipitaka/v.php?B=17&A=5871&Z=5972&pagebreak=0&bgc=3
๖. กิเลสสังยุต
๑. จักขุสูตร
ว่าด้วยอุปกิเลสแห่งจิต

             [๔๙๙] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในจักษุ
นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต 
ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในหู 
นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต 
ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในจมูก นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต 
ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ
ในลิ้น 
นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต 
ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในกาย 
นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต 
ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในใจ นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต. 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อใดแล ภิกษุละอุปกิเลสแห่งใจในฐานะ ๖ นี้ได้ 
เมื่อนั้น จิตของเธอย่อมเป็นจิตน้อมไปใน
เนกขัมมะ อันเนกขัมมะอบรมแล้ว ควรแก่การงาน ปรากฏในธรรมอันทำให้แจ้งด้วยอภิญญา.
จบ สูตรที่ ๑.
๒. รูปสูตร
ว่าด้วยอุปกิเลสแห่งจิต
             [๕๐๐] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในรูป
นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต
 
ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ในเสียง ฯลฯ 
ในกลิ่น ฯลฯ
ในรส ฯลฯ 
ในโผฏฐัพพะ ฯลฯ 
ในธรรมารมณ์ 
นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อใดแล ภิกษุและอุปกิเลสแห่งใจในฐานะ ๖ นี้ได้ 
เมื่อนั้น จิตของเธอย่อมเป็นจิตน้อมไป
ในเนกขัมมะ อันเนกขัมมะอบรมแล้ว ควรแก่การงาน ปรากฏในธรรมอันจะพึงทำให้แจ้ง
ด้วยอภิญญา.
จบ สูตรที่ ๒.
๓. วิญญาณสูตร
ว่าด้วยอุปกิเลสแห่งจิต
             [๕๐๑] ก. พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจใน
จักขุวิญญาณ นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในโสตวิญญาณ ฯลฯ
ในฆานวิญญาณ ฯลฯ ในชิวหาวิญญาณ ฯลฯ ในกายวิญญาณ ฯลฯ ในมโนวิญญาณ นี้เป็น
อุปกิเลสแห่งจิต. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุละอุปกิเลสแห่งจิตในฐานะ ๖ นี้ได้ เมื่อนั้น
จิตของเธอย่อมเป็นจิตน้อมไปในเนกขัมมะ อันเนกขัมมะอบรมแล้ว ควรแก่การงาน ปรากฏใน
ธรรมที่จะพึงทำให้แจ้งด้วยอภิญญา.
จบ สูตรที่ ๓.
๔. ผัสสสูตร
ว่าด้วยอุปกิเลสแห่งจิต
             [๕๐๑] ข. พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจใน
จักขุสัมผัส นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในโสตสัมผัส ฯลฯ
ในฆานสัมผัส ฯลฯ ในชิวหาสัมผัส ฯลฯ ในกายสัมผัส ฯลฯ ในมโนสัมผัส นี้เป็นอุปกิเลส
แห่งจิต. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุละกิเลสแห่งจิตในฐานะ ๖ นี้ได้ เมื่อนั้น จิตของ
เธอย่อมเป็นจิตน้อมไปในเนกขัมมะ อันเนกขัมมะอบรมแล้ว ควรแก่การงาน ปรากฏในธรรมที่
จะพึงทำให้แจ้งด้วยอภิญญา.
จบ สูตรที่ ๔.
๕. เวทนาสูตร
ว่าด้วยอุปกิเลสแห่งจิต
             [๕๐๒] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจใน
จักขุสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ ในโสตสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ ในฆานสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ ใน
ฆานสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ ในชิวหาสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ ในกายสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ
ในมโนสัมผัสสชาเวทนา นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุละ
อุปกิเลสแห่งจิตในฐานะ ๖ นี้ได้ เมื่อนั้น จิตของเธอย่อมเป็นจิตน้อมไปในเนกขัมมะ อันเนก-
*ขัมมะอบรมแล้ว ควรแก่การงาน ปรากฏในธรรมที่พึงทำให้แจ้งด้วยอภิญญา.
จบ สูตรที่ ๕.
๖. สัญญาสูตร
ว่าด้วยอุปกิเลสแห่งจิต
             [๕๐๓] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจใน
รูปสัญญา นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในสัททสัญญา ฯลฯ
ในคันธสัญญา ฯลฯ ในรสสัญญา ฯลฯ ในโผฏฐัพพสัญญา ฯลฯ ในธรรมสัญญา นี้เป็นอุปกิเลส
แห่งจิต. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุละอุปกิเลสแห่งจิตในฐานะ ๖ นี้ได้ เมื่อนั้น จิต
ของเธอย่อมเป็นจิตน้อมไปในเนกขัมมะ อันเนกขัมมะอบรมแล้ว ควรแก่การงาน ปรากฏใน
ธรรมที่พึงทำให้แจ้งด้วยอภิญญา.
จบ สูตรที่ ๖.
๗. เจตนาสูตร
ว่าด้วยอุปกิเลสแห่งจิต
             [๕๐๔] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจใน
รูปสัญเจตนา นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในสัททสัญเจตนา ฯลฯ
ในคันธสัญเจตนา ฯลฯ ในรสสัญเจตนา ฯลฯ ในโผฏฐัพพสัญเจตนา ฯลฯ ในธรรมสัญเจตนา นี้
เป็นอุปกิเลสแห่งจิต. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุละอุปกิเลสแห่งจิตในฐานะ ๖ นี้ได้
เมื่อนั้น จิตของเธอย่อมเป็นจิตน้อมไปในเนกขัมมะ อันเนกขัมมะอบรมแล้ว ควรแก่การงาน
ปรากฏในธรรมที่พึงทำให้แจ้งด้วยอภิญญา.
จบ สูตรที่ ๗.
๘. ตัณหาสูตร
ว่าด้วยอุปกิเลสแห่งจิต
             [๕๐๕] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจใน
รูปตัณหา นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในสัททตัณหา ฯลฯ ใน
คันธตัณหา ฯลฯ ในรสตัณหา ฯลฯ ในโผฏฐัพพตัณหา ฯลฯ ในธรรมตัณหา ฯลฯ นี้เป็นอุปกิเลส
แห่งจิต. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุละอุปกิเลสแห่งจิตในฐานะ ๖ นี้ได้ เมื่อนั้น จิต
ของเธอย่อมเป็นจิตน้อมไปในเนกขัมมะ อันเนกขัมมะอบรมแล้ว ควรแก่การงาน ปรากฏใน
ธรรมที่พึงทำให้แจ้งด้วยอภิญญา.
จบ สูตรที่ ๘.
๙. ธาตุสูตร
ว่าด้วยอุปกิเลสแห่งจิต
             [๕๐๖] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจใน
ปฐวีธาตุ นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในอาโปธาตุ ฯลฯ ใน
เตโชธาตุ ฯลฯ ในวาโยธาตุ ฯลฯ ในอากาสธาตุ ในวิญญาณธาตุ นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต. ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุละอุปกิเลสในฐานะ ๖ นี้ได้ เมื่อนั้น จิตของเธอย่อมเป็นจิตน้อม
ไปในเนกขัมมะ อันเนกขัมมะอบรมแล้ว ควรแก่การงาน ปรากฏในธรรมที่พึงทำให้แจ้งด้วย
อภิญญา.
จบ สูตรที่ ๙.
๑๐. ขันธสูตร
ว่าด้วยอุปกิเลสแห่งจิต
             [๕๐๗] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในรูป
นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในเวทนา นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต
ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในสัญญา นี้เป็นกิเลสแห่งจิต ความกำหนัดด้วยอำนาจความ
พอใจในสังขาร นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในวิญญาณ นี้เป็น
อุปกิเลสแห่งจิต. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุละอุปกิเลสแห่งจิตในฐานะ ๖ นี้ได้ เมื่อ
นั้นแล จิตของเธอย่อมเป็นจิตน้อมไปในเนกขัมมะ อันเนกขัมมะอบรมแล้ว ควรแก่การงาน
ปรากฏในธรรมที่พึงทำให้แจ้งด้วยอภิญญา.
จบ สูตรที่ ๑๐.
จบ กิเลสสังยุต
**********
        3.  "ก็เป็นจิตที่หลุดพ้นแล้วจาก
อาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่น"
๓. อนิจจสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ไม่เที่ยง
***********
https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=17&siri=45
๓. อนิจจสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ไม่เที่ยง
             [๔๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้น
เป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลาย
พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่
                                                                                                                                
เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ เมื่อเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้
จิตย่อมคลายกำหนัด หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่น
             เวทนาไม่เที่ยง ฯลฯ
             สัญญาไม่เที่ยง ฯลฯ
             สังขารไม่เที่ยง ฯลฯ
             วิญญาณไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็น
อนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความ
เป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ เมื่อ
เห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ จิตย่อมคลายกำหนัด หลุดพ้น
จากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่น
             ภิกษุทั้งหลาย ถ้าจิตของภิกษุคลายกำหนัดจากรูปธาตุ ก็เป็นจิตที่หลุดพ้น
แล้วจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่น
             ถ้าจิตของภิกษุคลายกำหนัดจากเวทนาธาตุ ฯลฯ
             ถ้าจิตของภิกษุคลายกำหนัดจากสัญญาธาตุ ฯลฯ
             ถ้าจิตของภิกษุคลายกำหนัดจากสังขารธาตุ ฯลฯ
             ถ้าจิตของภิกษุคลายกำหนัดจากวิญญาณธาตุ 
ก็เป็นจิตที่หลุดพ้นแล้วจาก
อาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่น เพราะหลุดพ้นจึงตั้งมั่น เพราะตั้งมั่นจึงสันโดษ
เพราะสันโดษจึงไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้งย่อมดับไปเอง ภิกษุนั้นรู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
อีกต่อไป”๑-
อนิจจสูตรที่ ๓ จบ
@เชิงอรรถ :
@๑ ดูเทียบ สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๑/๑-๒
**********

.
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่