(บทความ...นายพระรอง) วิวัฒนาการควบคุมตัณหาและการก้าวเข้าสู้อำนาจของมนุษย์

กระทู้คำถาม
“ตัณหา” ความอยาก ความต้องการ เป็นอารมณ์พื้นฐานที่ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่เกิด ติดตัวมาตั้งแต่สมัยบรรพกาลจนวันนี้ก็ยังคงดำรงอยู่

      เนื่องจากมนุษย์เป็นสัตว์สังคม มีการรวมกลุ่ม การความคุมตัณหาของแต่ละคนจึงเป็นสิ่งจำเป็นในการก่อตั้งสังคม และภาระนี้ตกเป็นของ”ผุ้นำ”ที่ได้รับการยอมรับจากสังคมนั้นๆ ในยุคแรกๆของมนุษย์ ซึ่งการได้มาซึ่งภาระหน้าที่ในการควบคุมตัณหาของเหล่าสมาชิกในสังคมทำให้เกิด “อำนาจ” ขึ้นในตัวผู้นำของสังคมมนุษย์

      ในยุคเริ่มต้นของมนุษย์(หลายล้านปีก่อน) ตัณหาและอำนาจ ของมนุษย์ผุ้หนึ่งผู้ใด ถูกตัดสินด้วยกำลัง ไม่ต่างจากสัตว์ที่ยังไม่ได้มีพัฒนาการทางได้สติปัญญาในปัจจุบัน เพียงแต่ ตัณหาหรือความต้องการของมนุษย์ยุคก่อนยังไม่มากมายเหมือนยุคสมัยปัจจุบัน เพราะมีความต้องการพื้นฐานหลักๆไม่กี่อย่างเท่านั้น เช่น อาหาร ถิ่นที่อยู่อาศัย สืบพันธ์

      มนุษย์ยุคแรกใช้เวลาหลายล้านปีในรูปแบบนี้ ก่อนจะมาก้าวกระโดดทางวิวัฒนาการช่วงใหญ่ในยุคไม่กี่หมื่นปีที่ผ่านมา เมื่อมนุษย์มีพัฒนาการทางสติปัญญามากขึ้น รู้จักสร้างภาษามาเป็นตัวกลางสื่อสารทำความเข้าใจระหว่างกันและกัน มีพัฒนาการทางด้านสมองจน รู้จักประดิษฐ์เครื่องไม้เครื่องมือ เข้ามาช่วยในการดำรงชีวิต นั่นทำให้ ตัณหาหรือความอยากมีมากขึ้นตามไปด้วย อำนาจก็เช่นกัน การจะได้มาซึ่งการยอมรับก็ต้องใช้เครื่องไม้เครื่องมือเข้าช่วยแม้แกนหลักจะเป็น "การใช้กำลัง"เช่นเดิม ถือว่าเป็นวิวัฒนาการ เพราะรู้จักสร้าง อาวุธ มาเป็นเครื่องมือช่วงชิงอำนาจ

      มนุษย์มาเฟื่องฟูที่สุดจนสามารถก่อตั้งอารยธรรมได้ในไม่กี่พันปีที่ผ่านมานี้เอง และทำให้ปัจจัยในการขึ้นครอบครองอำนาจ และการควบคุมตัณหาของผู้ที่อยู่ร่วมในสังคมเดียวกัน มีตัวแปรอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องนอกจากการใช้กำลังจากผู้นำที่ครองอำนาจ นั่นคือ ศาสนา

      และศาสนานี้เอง ที่เปรียบเหมือนกฎเกณฑ์ข้อบังคับในยุคแรกของมนุษย์ที่มีวิวัฒนาการแล้ว ใช้ในการควบคุมตัณหาความต้องการของตนเองไม่ให้เกิดผลกระทบกับคนอื่นในสังคม หรือให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด หากจะกล่าวว่าคำสอนของศาสนาต่างๆที่เผยแพร่กันเรื่อยมา เป็นกฎหมายฉบับแรกของโลกก็คงไม่ผิดเท่าใดนัก อาจแตกต่างเพียงแค่ การบังคับใช้ยังไม่เข้มข้นจริงจังเท่าในยุคที่กฎหมายจริงๆปรากฏขึ้นมาก็เท่านั้นเอง

      ในพุทธศาสนา ตัณหา หมายถึง ความติดใจอยาก ความยินดียินร้า หรือติดในรูปรสสัมผัส เป็นความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ เพลิดเพลินยิ่งนักในอารมณ์นั้นๆ และ ตัณหาย่อมเจริญแก่ผู้ประพฤติประมาท ซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ ครอบงำบุคคลใด ความโศกทั้งหลายย่อมเจริญแก่บุคคลนั้น ดังนั้น ความทุกข์ย่อมเกิดขึ้นบ่อยๆ เมื่อบุคคลยังถอนเชื้อตัณหาไม่ได้

ในตัณหาสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ 17 บอกไว้ว่า
“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจใน รูปตัณหา นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในสัททตัณหา ฯลฯ ใน คันธตัณหา ฯลฯ ในรสตัณหา ฯลฯ ในโผฏฐัพพตัณหา ฯลฯ ในธรรมตัณหา ฯลฯ นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต”
” ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุละอุปกิเลสแห่งจิตในฐานะ 6 นี้ได้ เมื่อนั้น จิตของเธอย่อมเป็นจิตน้อมไปในเนกขัมมะ อันเนกขัมมะอบรมแล้ว ควรแก่การงาน ปรากฏในธรรมที่พึงทำให้แจ้งด้วยอภิญญา”

ตัณหา 6 หมวด ได้แก่
1.รูปตัณหา คือ อยากได้รูป (ที่มองเห็นด้วยตา)
2.สัททตัณหา คือ อยากได้เสียง
3.คันธตัณหา คือ อยากได้กลิ่น
4.รสตัณหา คือ อยากได้รส
5.โผฏฐัพพตัณหา คือ อยากได้โผฏฐัพพะ (ความรู้สึกทางกายสัมผัส)
6.ธัมมตัณหา คือ อยากในธรรมารมณ์ (สิ่งที่ใจนึกคิด)
ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งตัณหาทั้ง6นี้ เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ ความดับโดยไม่เหลือ ความสงบระงับ ความสูญแห่งตัณหาทั้ง6นี้ เป็นความดับโดยไม่เหลือแห่งทุกข์ ตัณหาทั้ง 6 นี้ ไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา ผู้เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด

      ศาสนาทุกศาสนาตามแต่มนุษย์สังคมใดจะนับถือ ถือเป็นกรอบการควบคุมตัณหาของมนุษย์ในอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขมาหลายพันปี ประเทศไทยของเราก็รับเอาศาสนาพุทธมาเป็นหลักยึดถือมาตั้งแต่แรกหลายร้อยปี จนในที่สุดเรามีกฎหมายมาใช้ในการปกครองประเทศ

      เพียงแต่การใช้กำลังก็ยังคงเป็นแกนหลักในการเข้าถึงอำนาจ ของชนชั้นผู้นำในสังคมไทย เราไม่เคยเปลี่ยนไปจากยุคเริ่มต้นของมนุษย์ ดูได้จากการเมืองการปกครรองของเรา ที่ยังใช้กำลังเป็นที่ตั้ง ไม่แตกต่างจากในสมัยเริ่ม และไม่อาจพูดได้ว่ามีวิวัฒนาการ หรือมีตัวแปรอย่างพุทธศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นจริง เราคงไม่ได้เห็น การใช้กำลังมาประกาศเป็นกฎหมาย บังคับให้คนอื่นทำตามโดยไม่สนใจว่าจะเห็นด้วยหรือไม่ ทำเหมือนกับว่า ชนชั้นผู้นำบางกลุ่มจงใจใช้กฎหมายมาควบคุมตัณหาผู้อื่น(ไม่ให้แสดงความเห็น) เพื่อไม่ให้มายุ่งการการสนองตัญหาของตนเองในการครอบครองอำนาจ  

      ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่ประเทศของเราไม่สามารถหลุดพ้นจากสถานะกำลังพัฒนาได้ แม้จะมีความเจริญทางด้านวัตถุไม่น้อยหน้าประเทศในแถบเดียวกัน เพราะอุปสรรคสำคัญที่ฉุดรั้งเราอยู่ก็คือ ตัณหาที่ต้องการอำนาจของคนบางกลุ่มเท่านั้น ...อนิจา ประเทศไทย



     ขอชี้แจงหลังเขียนบทความชิ้นนี้จบสักนิดว่า บทความชิ้นนี้ไม่ได้ถูกเขียนขึ้นจากความต้องการของตัวผู้เขียนเอง เพราะบทความนี้อิงเนื้อหาบางส่วนมาจากศาสนา และตัวผู้เขียนเองก็ไม่ได้เป็นคนเคร่งครัดและปฏิบัติตนตามหลักศาสนาอย่างเจริงจังจนเป็นกิจวัตร หรือมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องศาสนาที่นำบางส่วนมากล่าวอ้างอย่างลึกซึ้ง แต่อย่างใด

      เพียงแต่มีคนไหว้วานให้ผมเขียนขึ้น เพราะต้องการนำไปใช้ในการสัมนาที่ต่างประเทศ ซึ่งที่สุดแล้วก็ไม่ได้นำไปใช้ ผมเขียนชิ้นใหม่ในเรื่องอื่นให้ไปแทน เพราะเมื่อตัวผมเองอ่านทวนตรงวรรคสุดท้ายของบทความชิ้นนี้ ก็คิดว่ามันใช้ไม่ได้ กับการนำเสนอให้คนต่างชาติรับรู้ เพราะคงเป็นการยากที่จะอธิบายให้เข้าใจ เพราะหากชาวต่างชาติที่เข้าร่วมสัมนา มาจากประเทศที่ไม่มีประสบการณ์ทางการเมืองเช่นประเทศไทยก็ยากจะเข้าใจถึง ตัณหา และอำนาจของชนชาติเราได้ อย่างว่าแหละครับ เพราะเราเป็นชาติหนึ่งเดียวในโลก ที่มีเอกลักษณ์ ไทย..ไทย ที่ต่างชาติงุนงงสงสัยและปวดกบาลที่จะทำความเข้าใจ

      แต่เนื่องจากบัเอิญได้ทราบมีคนถามถึงผม ก็เลยเอามาเรียบเรียงใหม่และเอามงโพสต์ให้ได้อ่านกันที่นี้ครับ

ป.ล.ไม่ได้ตั้งกะทู้มานานเพราะติดภาระกิจการงานครับ นี้เพิ่งขึ้นกรุงเทพเมื่อวานเพื่อมาเอาของเพิ่มเติมก่อนจะออกต่างจังหวัดเพื่อปฏิบัติภารกิจต่อเช้านี้ ก่อนจะไปเลยของตั้งกะทู้ทิ้งไว้สักหน่อย คิดถึงเพื่อนๆที่มีไมตรีทุกท่านครับ ไม่ได้ทักทายใครขออภัยอย่างสุดซึ้ง และคงไม่ต้องบอกนะครับว่าทำไมถึงใช้ ล็อคอินตัวเลขตั้ง

กังวลเล็กน้อยว่าตั้งทู้แต่เช้ามืดจะมีคนอ่านไหมนิ ยิ่งหายหัวไปนาน แถมกลับมาตอนมาม่ากำลังเฟื่องฟูสุดๆ ทู้เอ็งจะมีคนมองรึเปล่า ไอ้รอง นี้ยังไม่รวมที่ไม่รวมเรื่องที่ทู้เอ็งจะผิดกฎหมายและศีลธรรมอันดี นะ เขียนทรงนี้จะรอดไหมหว่า

ไปแล้วครับ ต้องเดินทางอีกไกลเหยียบๆพันกิโลกว่าจะถึงที่หมาย (จ.พัทลุง) ไว้โอกาศหน้าฟ้าใหม่ค่อยพบกันครับ

ขอบคุณครับ
นายพระรอง
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่