✽ ✾ ✿ ❀ ❁ ❃ ❋ พระศาสดาตรัสถึงวิธีละเวทนา ✽ ✾ ✿ ❀ ❁ ❃ ❋
พุทธวจนะ
เวทนาสามอย่างนี้ คือ สุขเวทนา ๑ ทุกขเวทนา ๑ อทุกขม สุขเวทนา ๑.
อัคคิเวสสนะ ! สมัยใดได้เสวยสุขเวทนา ในสมัยนั้นไม่ได้เสวยทุกขเวทนา ไม่
ได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา ได้เสวยแต่สุขเวทนาเท่านั้น.
ในสมัยใด ได้
เสวยทุกขเวทนา ในสมัยนั้นไม่ได้เสวยสุขเวทนา ไม่ได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา ได้เสวยแต่ทุกขเวทนาเท่านั้น.
ในสมัยใด ได้
เสวยอทุกขมสุขเวทนา ในสมัยนั้นไม่ได้เสวยสุขเวทนา ไม่ได้เสวยทุกขเวทนา ได้เสวยแต่อทุกขมสุขเวทนาเท่านั้น.
อัคคิเวสสนะ ! สุขเวทนาไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้นอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา.
แม้ทุกขเวทนาก็ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา.
แม้อทุกขมสุขเวทนาก็ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา
✽ ✾ ✿ ❀ ❁ ❃ ❋
✽ ✾ ✿ ❀ ❁ ❃ ❋ เวทนาอาศัยเนกขัมมะ ✽ ✾ ✿ ❀ ❁ ❃ ❋
บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับ
โสมนัสอาศัยเนกขัมมะ พึงเกิดขึ้นก็ดี
อุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ พึงเกิดขึ้นก็ดี
โทมนัสอาศัยเนกขัมมะเพราะความปรารถนาเป็นปัจจัยขึ้น พึงเกิดขึ้นก็ดี
✽ ✾ ✿ ❀ ❁ ❃ ❋
✽ ✾ ✿ ❀ ❁ ❃ ❋ พระศาสดาตรัสแสดงเหตุสำเร็จความปรารถนา ✽ ✾ ✿ ❀ ❁ ❃ ❋
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย !
เราจักแสดงเหตุสำเร็จความปรารถนา แก่เธอทั้งหลาย
พวกเธอจงฟังเหตุสำเร็จความปรารถนานั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้วพระพุทธเจ้าข้า ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วย
ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เธอมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า โอหนอ เราพึง
เข้าถึงเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปทำให้แจ้งเพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในปัจจุบันอยู่
เธอจึงเข้าถึงเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป
ทำให้แจ้งเพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในปัจจุบันอยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุนี้ย่อมไม่เกิดในที่ไหนๆ ฯ
✽ ✾ ✿ ❀ ❁ ❃ ❋ พระศาสดาตรัสถึง การเสวยเวทนาของพระอริยะ ✽ ✾ ✿ ❀ ❁ ❃ ❋
พุทธวจนะ
อริยสาวกผู้ได้สดับนั้น ย่อมรู้ชัดซึ่ง
อุบายเป็นเครื่องสลัดออก
จากทุกขเวทนา นอกจากกามสุข
เมื่อเธอไม่เพลิดเพลินกามสุข ราคานุสัยเพราะสุขเวทนาย่อมไม่นอนเนื่อง
เธอย่อมรู้ชัดซึ่งเหตุเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งเวทนาเหล่านั้น ตามความเป็นจริง
เมื่อเธอรู้ชัดซึ่งเหตุเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งเวทนาเหล่านั้นตามความเป็นจริง
อวิชชานุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนาย่อมไม่นอนเนื่อง
ถ้าเธอเสวยสุขเวทนา ย่อมเป็นผู้ปราศจากกิเลสเสวยสุขเวทนานั้น ถ้าเสวยทุกขเวทนา
ย่อมเป็นผู้ปราศจากกิเลสเสวยทุกขเวทนานั้น ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนา ย่อม
เป็นผู้ปราศจากกิเลสเสวยอทุกขมสุขเวทนานั้น
✽ ✾ ✿ ❀ ❁ ❃ ❋ พระศาสดาตรัสถึงวิธีละเวทนา ✽ ✾ ✿ ❀ ❁ ❃ ❋
บุคคลทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับของรูป
ทั้งหลายนั่นแล แล้วเห็นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า รูปในก่อน
และในบัดนี้ ทั้งหมดนั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดาแล้ว
ย่อมเข้าไปตั้งความปรารถนาในอนุตตรวิโมกข์ เมื่อเข้าไปตั้งความปรารถนาใน
อนุตตรวิโมกข์ดังนี้ว่า เมื่อไร ตัวเราจึงจักบรรลุอายตนะที่พระอริยะทั้งหลาย
ได้บรรลุอยู่ในบัดนี้เล่าย่อมเกิดโทมนัสเพราะความปรารถนาเป็นปัจจัยขึ้น โทมนัส
เช่นนี้นี่เราเรียกว่า โทมนัสอาศัยเนกขัมมะ
พวกเธอจงอาศัย คืออิงโทมนัสอาศัยเนกขัมมะ นั้นๆ
แล้วละ คือล่วงเสียซึ่งโทมนัสอาศัยเรือน นั้นๆ อย่างนี้ ย่อมเป็นอันละ
โทมนัสนั้นๆ ได้ เป็นอันล่วงโทมนัสนั้นๆ ได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย !
พวกเธอจงอาศัย คืออิงโสมนัสอาศัยเนกขัมมะ นั้นๆ แล้วละ คือล่วงเสียซึ่งโทมนัสอาศัยเนกขัมมะ
นั้นๆ อย่างนี้ ย่อมเป็นอันละโทมนัสนั้นๆ ได้ เป็นอันล่วงโทมนัสนั้นๆ ได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย !
พวกเธอจงอาศัยคืออิงอุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ นั้นๆ แล้วละ คือล่วงเสียซึ่งโสมนัสอาศัยเนกขัมมะ
นั้นๆ อย่างนี้ ย่อมเป็นอันละโสมนัสนั้นๆ ได้ เป็นอันล่วงโสมนัสนั้นๆ ได้ ฯ
ก็อุเบกขาที่มีความเป็นหนึ่ง อาศัยอารมณ์เป็นหนึ่ง เป็นไฉน คือ อุเบกขา
ที่อาศัยอากาสานัญจายตนะ อาศัยวิญญาณัญจายตนะ อาศัยอากิญจัญญายตนะ
อาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนะ นี้อุเบกขาที่มีความเป็นหนึ่ง อาศัยอารมณ์เป็นหนึ่ง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ในอุเบกขา ๒ อย่าง พวกเธอจงอาศัย คืออิงอุเบกขา
ที่มีความเป็นหนึ่ง อาศัยอารมณ์เป็นหนึ่งนั้น แล้วละ คือล่วงเสียซึ่งอุเบกขาที่มี
ความเป็นต่างๆ อาศัยอารมณ์ต่างๆ นั้น อย่างนี้ ย่อมเป็นอันละอุเบกขานี้ได้
เป็นอันล่วงอุเบกขานี้ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
พวกเธอจงอาศัย คืออิงความเป็นผู้ไม่มีตัณหาแล้วละ คือล่วงเสียซึ่งอุเบกขาที่มีความเป็นหนึ่ง
อาศัยอารมณ์เป็นหนึ่งนั้น อย่างนี้ ย่อมเป็นอันละอุเบกขานี้ได้ เป็นอันล่วงอุเบกขานี้ได้
เปิดธรรมที่ถูกปิด พระศาสดาตรัสถึงวิธีละเวทนา
ได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา ได้เสวยแต่สุขเวทนาเท่านั้น.
ในสมัยใด ได้เสวยทุกขเวทนา ในสมัยนั้นไม่ได้เสวยสุขเวทนา ไม่ได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา ได้เสวยแต่ทุกขเวทนาเท่านั้น.
ในสมัยใด ได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา ในสมัยนั้นไม่ได้เสวยสุขเวทนา ไม่ได้เสวยทุกขเวทนา ได้เสวยแต่อทุกขมสุขเวทนาเท่านั้น.
แม้ทุกขเวทนาก็ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา.
แม้อทุกขมสุขเวทนาก็ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา
อุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ พึงเกิดขึ้นก็ดี
โทมนัสอาศัยเนกขัมมะเพราะความปรารถนาเป็นปัจจัยขึ้น พึงเกิดขึ้นก็ดี
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดงเหตุสำเร็จความปรารถนา แก่เธอทั้งหลาย
พวกเธอจงฟังเหตุสำเร็จความปรารถนานั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้วพระพุทธเจ้าข้า ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วย
ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เธอมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า โอหนอ เราพึง
เข้าถึงเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปทำให้แจ้งเพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในปัจจุบันอยู่
เธอจึงเข้าถึงเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป
ทำให้แจ้งเพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในปัจจุบันอยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุนี้ย่อมไม่เกิดในที่ไหนๆ ฯ
✽ ✾ ✿ ❀ ❁ ❃ ❋ พระศาสดาตรัสถึง การเสวยเวทนาของพระอริยะ ✽ ✾ ✿ ❀ ❁ ❃ ❋
อริยสาวกผู้ได้สดับนั้น ย่อมรู้ชัดซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออก
จากทุกขเวทนา นอกจากกามสุข
เมื่อเธอไม่เพลิดเพลินกามสุข ราคานุสัยเพราะสุขเวทนาย่อมไม่นอนเนื่อง
เธอย่อมรู้ชัดซึ่งเหตุเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งเวทนาเหล่านั้น ตามความเป็นจริง
เมื่อเธอรู้ชัดซึ่งเหตุเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งเวทนาเหล่านั้นตามความเป็นจริง
อวิชชานุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนาย่อมไม่นอนเนื่อง
ย่อมเป็นผู้ปราศจากกิเลสเสวยทุกขเวทนานั้น ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนา ย่อม
เป็นผู้ปราศจากกิเลสเสวยอทุกขมสุขเวทนานั้น
บุคคลทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับของรูป
ทั้งหลายนั่นแล แล้วเห็นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า รูปในก่อน
และในบัดนี้ ทั้งหมดนั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดาแล้ว
ย่อมเข้าไปตั้งความปรารถนาในอนุตตรวิโมกข์ เมื่อเข้าไปตั้งความปรารถนาใน
อนุตตรวิโมกข์ดังนี้ว่า เมื่อไร ตัวเราจึงจักบรรลุอายตนะที่พระอริยะทั้งหลาย
ได้บรรลุอยู่ในบัดนี้เล่าย่อมเกิดโทมนัสเพราะความปรารถนาเป็นปัจจัยขึ้น โทมนัส
เช่นนี้นี่เราเรียกว่า โทมนัสอาศัยเนกขัมมะ
พวกเธอจงอาศัย คืออิงโทมนัสอาศัยเนกขัมมะ นั้นๆ
แล้วละ คือล่วงเสียซึ่งโทมนัสอาศัยเรือน นั้นๆ อย่างนี้ ย่อมเป็นอันละ
โทมนัสนั้นๆ ได้ เป็นอันล่วงโทมนัสนั้นๆ ได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย !
พวกเธอจงอาศัย คืออิงโสมนัสอาศัยเนกขัมมะ นั้นๆ แล้วละ คือล่วงเสียซึ่งโทมนัสอาศัยเนกขัมมะ
นั้นๆ อย่างนี้ ย่อมเป็นอันละโทมนัสนั้นๆ ได้ เป็นอันล่วงโทมนัสนั้นๆ ได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย !
พวกเธอจงอาศัยคืออิงอุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ นั้นๆ แล้วละ คือล่วงเสียซึ่งโสมนัสอาศัยเนกขัมมะ
นั้นๆ อย่างนี้ ย่อมเป็นอันละโสมนัสนั้นๆ ได้ เป็นอันล่วงโสมนัสนั้นๆ ได้ ฯ
ก็อุเบกขาที่มีความเป็นหนึ่ง อาศัยอารมณ์เป็นหนึ่ง เป็นไฉน คือ อุเบกขา
ที่อาศัยอากาสานัญจายตนะ อาศัยวิญญาณัญจายตนะ อาศัยอากิญจัญญายตนะ
อาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนะ นี้อุเบกขาที่มีความเป็นหนึ่ง อาศัยอารมณ์เป็นหนึ่ง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ในอุเบกขา ๒ อย่าง พวกเธอจงอาศัย คืออิงอุเบกขา
ที่มีความเป็นหนึ่ง อาศัยอารมณ์เป็นหนึ่งนั้น แล้วละ คือล่วงเสียซึ่งอุเบกขาที่มี
ความเป็นต่างๆ อาศัยอารมณ์ต่างๆ นั้น อย่างนี้ ย่อมเป็นอันละอุเบกขานี้ได้
เป็นอันล่วงอุเบกขานี้ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
พวกเธอจงอาศัย คืออิงความเป็นผู้ไม่มีตัณหาแล้วละ คือล่วงเสียซึ่งอุเบกขาที่มีความเป็นหนึ่ง
อาศัยอารมณ์เป็นหนึ่งนั้น อย่างนี้ ย่อมเป็นอันละอุเบกขานี้ได้ เป็นอันล่วงอุเบกขานี้ได้