อุเบกขาที่ควรเสพและที่ไม่ควรเสพ


             พระพุทธพจน์
             ดูกรจอมเทพ อาตมภาพกล่าวอุเบกขาโดยแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี
ที่ไม่ควรเสพก็มี ที่กล่าวถึงอุเบกขา ดังนี้ กล่าวเพราะอาศัยอะไร ในอุเบกขา
ทั้ง ๒ นั้น บุคคลพึงทราบอุเบกขาอันใดว่า เมื่อเราเสพอุเบกขานี้ อกุศลธรรม
เจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อม อุเบกขาเห็นปานนี้ ไม่ควรเสพ บุคคลพึงทราบอุเบกขา
อันใดว่า เมื่อเราเสพอุเบกขานี้ อกุศลธรรมเสื่อม กุศลธรรมเจริญขึ้น อุเบกขา
เห็นปานนี้ ควรเสพ
ในอุเบกขาทั้ง ๒ นั้น ถ้าอุเบกขาอันใด มีวิตก มีวิจาร
อันใดไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร ใน ๒ อย่างนั้น อุเบกขาที่ไม่วิตก ไม่มีวิจาร ประณีตกว่า
ดูกรจอมเทพ อาตมภาพกล่าวอุเบกขาแยกเป็น ๒ คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี
ฉะนี้แล ที่กล่าวถึงอุเบกขาดังนี้ กล่าวเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ
             สักกปัญหสูตร
             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐  บรรทัดที่ ๕๗๒๗ - ๖๒๕๖.  หน้าที่  ๒๓๕ - ๒๕๖.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=10&A=5727&Z=6256&pagebreak=0
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=247


             [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

             อธิบายว่า
             อุเบกขาอาศัยเรือน เช่น บุคคลได้กามคุณอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วดีใจมาก ต่อมาภายหลังก็ดีใจน้อยลงเรื่อยๆ
             ไม่ใช่เห็นโทษของกามคุณนั้น อุปมาเช่น กินอาหารที่อร่อยๆ ทุกวัน วันแรกๆ ก็อร่อยมาก วันหลังๆ เริ่มเคยชิน
             เริ่มเบื่อ ก็รู้สึกเป็นกลางๆ แต่ว่า ไม่ใช่เห็นโทษในกามคุณนั้น
             อุเบกขาอาศัยเรือน ก็ยังข้องในกามคุณอยู่นั่นเอง

             อุเบกขาอาศัยเรือน บุคคลไม่รู้ความจริงว่า สิ่งเหล่านั้นไม่เที่ยง ... เป็นการสะสมคุ้นเคยกับความไม่รู้ (อวิชชา) กล่าวคือ
             เกิดพร้อมกับความไม่รู้ จะเป็นอันอกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง


             อุเบกขาที่ควรเสพ เช่น อุเบกขาในฌานที่ ๔ หรืออุเบกขาในวิปัสสนา
             บุคคลเห็นรูปที่ตนเองชอบเป็นต้น อาจจะเป็นรูปกายของตนเองหรือรูปกายของผู้อื่น เป็นต้น
             ภายหลัง พิจารณาเห็นว่า รูปกายนั้น ก็ดับไป สลายไป แปรปรวนจากเดิมกล่าวคือ ย่อยสลายไป เน่าเปื่อยไป
             จากนั้นความยินดีหรือโสมนัสในอารมณ์เหล่านั้นก็จางลงไป แล้วพิจารณาเห็นว่า ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นปกติอย่างนั้น
             ไม่ได้ยินดีในการตั้งอยู่ของรูป ไม่ได้ยินดีในการเสื่อมไปของรูป

             บุคคลนั้น เมื่อพิจารณาอย่างนี้แล้ว เห็นว่า นั่นเป็นการคลายความยินดียินร้าย
             ก็พิจารณาว่า พึงพิจารณาอย่างนี้บ่อยๆ เนืองๆ เป็นการสะสมคุ้นเคยกับความรู้ กล่าวคือ
             เกิดพร้อมกับปัญญา จะเป็นอันกุศลธรรมเจริญขึ้น อกุศลธรรมเสื่อมลง เพราะปัญญาความเห็นนั้นเป็นต้น


            เฉยมิใช่ไร้กิเลส

             นิโรธสูตร
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=4466&Z=4543
             ธรรมจริยสูตร
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=7895&Z=7923
             อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต ข้อ 343
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=20&A=2191&w=ภาระ
             ความวางเฉยแบบไม่รู้ อัญญาณุเบกขา
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อัญญาณุเบกขา&detail=on
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่