ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุผู้ฉลาดในฐานะ ๗ ประการ (สตฺตฏฐานกุสโล)
ผู้พิจารณาใคร่ครวญธรรมโดยวิธี ๓ ประการ (ติวิธูปปริกฺขี) เราเรียกว่าภิกษุผู้เกพลี๒ อยู่
จบกิจแห่งพรหมจรรย์ ในธรรมวินัยนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ก็ภิกษุผู้ฉลาดในฐานะ ๗ ประการ เป็นอย่างไรเล่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมรู้ชัดซึ่งรูป ; .. ซึ่งเหตุให้เกิด
ขึ้นแห่งรูป; . ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งรูป; ... ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความ
ดับไม่เหลือแห่งรูป;... ซึ่งอัสสาทะ (รสอร่อย) แห่งรูป; ... ซึ่งอาทีนวะ (โทษอัน
ต่ำ ทราม) แห่งรูป; ... ซึ่งนิสสรณะ (อุบายเป็นเครื่องออกไปพ้น) จากรูป (รวม
๗ ประการ).
(ในกรณีแห่งเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็ได้ตรัสด้วยข้อความอย่างเดียวกันทุกตัว
อักษร กับข้อความที่กล่าวในกรณีแห่งรูป ผิดกันแต่ชื่อแห่งขันธ์ ทีละขันธ์ ๆ เท่านั้น.)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็รูปเป็นอย่างไรเล่า? มหาภูตรูปทั้งหลาย ๔ อย่าง
ด้วย รูปที่อาศัย มหาภูตรรูปทั้งหลายอย่างด้วย: ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้เราเรียกว่า
รูป ; การเกิดขึ้นแห่งรูป ย่อมมี เพราะการเกิดขึ้นแห่งอาหาร; ความดับไม่เหลือแห่ง
รูป ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งอาหาร; มรรคอันประกอบด้วยองค์แปดอัน
ประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งรูป, ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ
ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ
ความพยายามชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ; สุขโสมนัสใด ๆ อาศัยรูป
เกิดขึ้น: นี้เป็น อัสสาทะแห่งรูป ; รูปใด ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็น
ธรรมดา:นี้ เป็นอาทีนวะแห่งรูป; การนำออกเสียได้ซึ่งความกำหนัดด้วยอำนาจ
ความพอใจ กล่าวคือ การละเสียได้ซึ่งความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ในรูป, อันใด;
นี้ เป็นนิสสรณะเครื่องออกจากรูป (รวมเป็นสิ่งที่ต้องรู้ ๗ อย่าง). ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!
สมณะหรือ พราหมณ์ก็ตามเหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่งรูป ว่า อย่างนี้คือรูป;
...อย่างนี้คือเหตุให้เกิด ขึ้นแห่งรูป;...อย่างนี้คือความดับไม่เหลือแห่งรูป; ...อย่างนี้
คือข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งรูป; ...อย่างนี้คืออัสสาทะแห่งรูป;
... อย่างนี้คืออาทีนวะแห่งรูป; ... อย่างนี้คือ นิสสรณะเครื่องออกจากรูป; ดังนี้แล้ว
เป็นผู้ปฏิบัติแล้ว เพื่อความเบื่อหน่าย (นิพฺพิทา) เพื่อความ สำรอก (วิราค)
เพื่อความดับไม่เหลือ (นิโรธ) แห่งรูป; สมณพราหมณ์เหล่านั้น เป็นผู้ปฎิบัติแล้ว;
บุคคลเหล่าใด ปฏิบัติดีแล้ว. บุคคลเหล่านั้นชื่อว่าหยั่งลงในธรรมวินัยนี้. ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย! สมณะหรือพราหมณ์ก็ตามเหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่งรูป
ว่า อย่างนี้คือรูป; ...อย่างนี้คือเหตุให้เกิดขึ้นแห่งรูป; ...อย่างนี้คือความดับ
ไม่เหลือแห่งรูป; ...อย่างนี้คือข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งรูป;
...อย่างนี้คืออัสสาทะแห่งรูป;...อย่างนี้คืออาทีนวะแห่งรูป; ...อย่างนี้คือนิสสรณะ
เครื่องออกจากรูป; ดังนี้แล้ว เป็นผู้พ้นวิเศษแล้ว เพราะความเบื่อหน่าย เพราะ
ความสำรอก เพราะความดับไม่เหลือ เพราะความไม่ยืดมั่น ซึ่งรูป; สมณพราหมณ์
เหล่านั้น เป็นผู้พ้นวิเศษ แล้วด้วยดี (สุวิมุตฺตา); บุคคลเหล่าใดเป็นผู้พ้นวิเศษ
แล้วด้วยดี บุคคลเหล่านั้นชื่อว่าเป็นเกพลี ผู้จบกิจอันบุคคลพึงกระทำ;บุคคลเหล่าใด
จบกิจอันบุคคลพึงกระทำ วัฎฎะย่อมไม่มีเพื่อจะบัญญัติแก่บุคคลเหล่านั้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็เวทนา เป็นอย่างไรเล่า ? ดูก่อนกิกษุทั้งหลาย!
หมู่แห่งเวทนา (เวทนากายา) ทั้งหลาย ๖ หมู่เหล่านี้ คือ เวทนาอันเกิดแต่จักขุสัมผัส
เวทนาอันเกิดแต่โสตสัมผัส เวทนาอันเกิดแต่ฆานสัมผัส เวทนาอันเกิดแต่ชีวหาสัมผัส
เวทนาอันเกิดแต่กายสัมผัส เวทนาอันเกิดแต่มโนสัมผัส : ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้เรา
เรียกว่า เวทนา; การเกิดขึ้นแห่งเวทนา ย่อมมี เพราะการเกิดขึ้นแห่งผัสสะ; ความดับ
ไม่เหลือแห่งเวทนา ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ; มรรค อันประกอบด้วย
สิ่งเหล่านี้คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การ
เลี้ยงชีวิตชอบ ความพยายามชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ; สุขโสมนัส
ใด ๆ อาศัยเวทนาเกิดขึ้น : นี้เป็น อัสสาทะแห่งเวทนา; ...ฯลฯ...ฯลฯ...
(ข้อความต่อไปนี้ มีการตรัสเหมือนกับที่ตรัสแล้วในกรณีแห่งรูปทกตัวอักษร ต่างกันแต่เพียงชื่อว่าเวทนา
แทนคำว่ารูป ดังนี้เรื่อยไปจนกระทั่งถึง)...วัฎฎะ ย่อมไม่มีเพื่อการบัญญัติแก่บุคคลเหล่านั้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็สัญญาเป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!
หมู่แห่งสัญญา (สญฺญากายา) ทั้งหลาย ๖ หมู่เหล่านี้ คือ สัญญาในรูป สัญญาในเสียง สัญญา
ในกลิ่น สัญญาในรส สัญญาในโผฏฐัพพะ สัญญาในธัมมรมณ์; ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!
นี้ เราเรียกว่าสัญญา; การเกิดขึ้นแห่งสัญญา ย่อมมี เพราะการเกิดขึ้นแห่งผัสสะ;
ความดับไม่เหลือแห่งสัญญา ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลืองแห่งผัสสะ; มรรคอัน
ประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือแห่ง
สัญญา, ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำ
การงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพยายามชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ;
สุข โสมนัสใด ๆ อาศัยสัญญาเกิดขึ้น : นี้เป็นอัสสาทะแห่งสัญญา; ...ฯลฯ...ฯลฯ...
วัฏฏะ ย่อมไม่มีเพื่อการบัญญัติแก่บุคคลเหล่านั้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็สังขารทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุ-
ทั้งหลาย! หมู่แห่งเจตนา (เจตนากายา) ทั้งหลาย ๖ หมู่เหล่านี้ คือ ความคิดนึกในรูป
ความคิดนึกในเสียง ความคิดนึกในกลิ่น ความคิดนึกในรส ความคิดนึกในโผฏฐัพพะ
ความคิดนึกในธัมมารมณ์ : ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เหล่านี้เราเรียกว่า สังขารทั้งหลาย
การเกิดขึ้นแห่งสังขาร ย่อมมี เพราะการเกิดขึ้นแห่งผัสสะ; ความดับไม่เหลือแห่ง
สังขารย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ; มรรคอันประกอบด้วยองค์แปด
อันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งสังขาร, ได้แก่สิ่งเหล่านี้
องค์แปดอันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งเวทนา, ได้แก่สิ่งเหล่านี้
คือ ความเห็น ชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิต
ชอบ ความพยายามชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ; สุข โสมนัสใด ๆ อาศัย
สังขารทั้งหลายเกิดขึ้น : นี้ เป็นอัสสาทะแห่งสังขารทั้งหลาย;...ฯลฯ...ฯลฯ
...วัฏฏะ ย่อมไม่มี เพื่อการบัญญัติ แก่บุคคลเหล่านั้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็วิญญาณ เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!
หมู่แห่งวิญญาณ (วิญญาณกายา) ทั้งหลาย ๖ หมู่เหล่านี้ คือ วิญญาณทางตา วิญญาณ
ทางหู วิญญาณทางจมูก วิญญาณทางลิ้น วิญญาณทางกาย วิญญาณทางใจ : ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย! นี้ เราเรียกว่า วิญญาณ; การเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ ย่อมมี เพราะ
การเกิดขึ้นแห่งนามรูป; ความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือ
แห่งนามรูป; มรรคอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึง
ความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ, ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ
การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพยายามชอบ ความระลึก
ชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ; สุข โสมนัส ใด ๆ อาศัยวิญญาณเกิดขึ้น : นี้เป็นอัสสาทะแห่ง
วิญญาณ; วิญญาณใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา : นี้เป็นอาทีนวะ
แห่งวิญญาณ; การนำออกเสียได้ซึ่งความกำหนัดด้วยอำนาจ ความพอใจ กล่าวคือ การละ
เสียได้ซึ่งความกำหนัดด้วยอำนาจแห่งความพอใจ ในวิญญาณ, อันใด; นี้เป็นนิสสรณะ
เครื่องออกจากวิญญาณ (รวมเป็นสิ่งที่ต้องรู้ ๗ อย่าง). ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! สมณะ
หรือพราหมณ์ก็ตามเหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่งวิญญาณว่าอย่างนี้คือวิญญาณ;
...อย่างนี้คือเหตุให้เกิดขึ้นแห่งวิญญาณ; ...อย่างนี้คือความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ;
...อย่างนี้คือข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ; ...อย่างนี้
คืออัสสาทะแห่งวิญญาณ; ...อย่างนี้คือาทีนวะแห่งวิญญาณ; ...อย่างนี้คือนิสสรณะ
เครื่องออกจากวิญญาณ; ดังนี้แล้วเป็นผู้ปฏิบัติแล้ว เพื่อความเบื่อหน่าย (นิพฺพิทา)
เพื่อความสำรอก (วิราค) เพื่อความดับไม่เหลือ(นิโรธ)แห่งวิญญาณ; สมณพราหมณ์เหล่านั้น
เป็นผู้ ปฏิบัติดีแล้ว, บุคคลเหล่าใดปฏิบัติดีแล้ว; บุคคลเหล่านั้น ชื่อว่า หยั่งลงใน
ธรรมวินัยนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! สมณะหรือพราหมณ์ก็ตาม เหล่าใดเหล่าหนึ่ง
รู้ด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่งวิญญาณ ว่า อย่างนี้คือวิญญาณ; ...อย่างนี้คือเหตุให้เกิดขึ้นแห่ง
วิญญาณ; ...อย่างนี้คือความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ; ...อย่างนี้คือข้อปฏิบัติเครื่องทำ
สัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ; ...อย่างนี้คืออัสสาทะแห่งวิญญาณ; ...
อย่างนี้คืออาทีนวะแห่งวิญญาณ; ...อย่างนี้คือนิสสรณะเครื่องออกจากวิญญาณ; ดังนี้แล้ว
เป็นผู้ พ้นวิเศษแล้ว เพราะความเบื่อหน่าย เพราะความสำรอก เพราะความดับไม่
เหลือ เพราะความไม่ยึดมั่น ซึ่งวิญญาณ; สมณพราหมณ์เหล่านั้น เป็นผู้ พ้นวิเศษ
แล้วด้วยดี(สุวิมุตฺตา); บุคคลเหล่าใด เป็นผู้พ้นวิเศษแล้วด้วยดี บุคคลเหล่านั้น ชื่อว่า
เป็น เกพลี ผู้จบกิจอันบุคคลพึงกระทำ; บุคคลเหล่าใดจบกิจอันบุคคลพึงกระทำ วัฏฏะ
ย่อมไม่มี เพื่อจะบัญญัติ แก่บุคคลเหล่านั้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในฐานะ ๗ ประการ อย่างนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็ภิกษุเป็นผู้พิจารณาใคร่ครวญธรรมโดยวิธี ๓ ประการ
เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมพิจารณาใคร่ครวญธรรม
โดยความเป็นธาตุ, ย่อมพิจารณาใคร่ครวญธรรมโดยความเป็นอายตนะ, ย่อมพิจารณา
ใคร่ครวญธรรมโดยความเป็น ปฏิจจสมุปบาท. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุเป็นผู้
พิจารณาใคร่ครวญธรรมโดยวิธี ๓ ประการ อย่างนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในฐานะ ๗ ประการ เป็นผู้พิจารณา
ใคร่ครวญธรรมโดยวิธี ๓ ประการ เราเรียกว่า ภิกษุผู้เกพลี อยู่จบกิจแห่งพรหมจรรย์
ในธรรมวินัยนี้, ดังนี้ แล.
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------
สูตรที่ ๕ อุปายวรรค ขันธสังยุตต์ ขนฺธ. สํ. ๑๗/๗๖/๑๑๘, ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่เชตวัน.
๒ เราเรียกว่า ยอดบุรุษ ผู้เสร็จกิจ อยู่จบพรหมจรรย์ ในธรรมวินัยนี้.
ปล. เกพลี ในลักษณะอย่างนี้ หมายถึงพระอรหันต์ ผู้ถึงซึ่งนิพพาน ซึ่งเป็นความสิ้นเชิงแห่งสิ่งทั้งปวง
ในแง่ของความดับสิ้นแห่งความทุกข์ กล่าวคือการถึงอมตภาวะ อันไม่มีการแบ่งแยก.
การพิจารณาสภาวธรรม ตามวิธีปฎิจจสมุปบาทกระทั่งวาระสุดท้าย666
ผู้พิจารณาใคร่ครวญธรรมโดยวิธี ๓ ประการ (ติวิธูปปริกฺขี) เราเรียกว่าภิกษุผู้เกพลี๒ อยู่
จบกิจแห่งพรหมจรรย์ ในธรรมวินัยนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ก็ภิกษุผู้ฉลาดในฐานะ ๗ ประการ เป็นอย่างไรเล่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมรู้ชัดซึ่งรูป ; .. ซึ่งเหตุให้เกิด
ขึ้นแห่งรูป; . ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งรูป; ... ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความ
ดับไม่เหลือแห่งรูป;... ซึ่งอัสสาทะ (รสอร่อย) แห่งรูป; ... ซึ่งอาทีนวะ (โทษอัน
ต่ำ ทราม) แห่งรูป; ... ซึ่งนิสสรณะ (อุบายเป็นเครื่องออกไปพ้น) จากรูป (รวม
๗ ประการ).
(ในกรณีแห่งเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็ได้ตรัสด้วยข้อความอย่างเดียวกันทุกตัว
อักษร กับข้อความที่กล่าวในกรณีแห่งรูป ผิดกันแต่ชื่อแห่งขันธ์ ทีละขันธ์ ๆ เท่านั้น.)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็รูปเป็นอย่างไรเล่า? มหาภูตรูปทั้งหลาย ๔ อย่าง
ด้วย รูปที่อาศัย มหาภูตรรูปทั้งหลายอย่างด้วย: ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้เราเรียกว่า
รูป ; การเกิดขึ้นแห่งรูป ย่อมมี เพราะการเกิดขึ้นแห่งอาหาร; ความดับไม่เหลือแห่ง
รูป ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งอาหาร; มรรคอันประกอบด้วยองค์แปดอัน
ประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งรูป, ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ
ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ
ความพยายามชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ; สุขโสมนัสใด ๆ อาศัยรูป
เกิดขึ้น: นี้เป็น อัสสาทะแห่งรูป ; รูปใด ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็น
ธรรมดา:นี้ เป็นอาทีนวะแห่งรูป; การนำออกเสียได้ซึ่งความกำหนัดด้วยอำนาจ
ความพอใจ กล่าวคือ การละเสียได้ซึ่งความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ในรูป, อันใด;
นี้ เป็นนิสสรณะเครื่องออกจากรูป (รวมเป็นสิ่งที่ต้องรู้ ๗ อย่าง). ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!
สมณะหรือ พราหมณ์ก็ตามเหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่งรูป ว่า อย่างนี้คือรูป;
...อย่างนี้คือเหตุให้เกิด ขึ้นแห่งรูป;...อย่างนี้คือความดับไม่เหลือแห่งรูป; ...อย่างนี้
คือข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งรูป; ...อย่างนี้คืออัสสาทะแห่งรูป;
... อย่างนี้คืออาทีนวะแห่งรูป; ... อย่างนี้คือ นิสสรณะเครื่องออกจากรูป; ดังนี้แล้ว
เป็นผู้ปฏิบัติแล้ว เพื่อความเบื่อหน่าย (นิพฺพิทา) เพื่อความ สำรอก (วิราค)
เพื่อความดับไม่เหลือ (นิโรธ) แห่งรูป; สมณพราหมณ์เหล่านั้น เป็นผู้ปฎิบัติแล้ว;
บุคคลเหล่าใด ปฏิบัติดีแล้ว. บุคคลเหล่านั้นชื่อว่าหยั่งลงในธรรมวินัยนี้. ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย! สมณะหรือพราหมณ์ก็ตามเหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่งรูป
ว่า อย่างนี้คือรูป; ...อย่างนี้คือเหตุให้เกิดขึ้นแห่งรูป; ...อย่างนี้คือความดับ
ไม่เหลือแห่งรูป; ...อย่างนี้คือข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งรูป;
...อย่างนี้คืออัสสาทะแห่งรูป;...อย่างนี้คืออาทีนวะแห่งรูป; ...อย่างนี้คือนิสสรณะ
เครื่องออกจากรูป; ดังนี้แล้ว เป็นผู้พ้นวิเศษแล้ว เพราะความเบื่อหน่าย เพราะ
ความสำรอก เพราะความดับไม่เหลือ เพราะความไม่ยืดมั่น ซึ่งรูป; สมณพราหมณ์
เหล่านั้น เป็นผู้พ้นวิเศษ แล้วด้วยดี (สุวิมุตฺตา); บุคคลเหล่าใดเป็นผู้พ้นวิเศษ
แล้วด้วยดี บุคคลเหล่านั้นชื่อว่าเป็นเกพลี ผู้จบกิจอันบุคคลพึงกระทำ;บุคคลเหล่าใด
จบกิจอันบุคคลพึงกระทำ วัฎฎะย่อมไม่มีเพื่อจะบัญญัติแก่บุคคลเหล่านั้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็เวทนา เป็นอย่างไรเล่า ? ดูก่อนกิกษุทั้งหลาย!
หมู่แห่งเวทนา (เวทนากายา) ทั้งหลาย ๖ หมู่เหล่านี้ คือ เวทนาอันเกิดแต่จักขุสัมผัส
เวทนาอันเกิดแต่โสตสัมผัส เวทนาอันเกิดแต่ฆานสัมผัส เวทนาอันเกิดแต่ชีวหาสัมผัส
เวทนาอันเกิดแต่กายสัมผัส เวทนาอันเกิดแต่มโนสัมผัส : ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! นี้เรา
เรียกว่า เวทนา; การเกิดขึ้นแห่งเวทนา ย่อมมี เพราะการเกิดขึ้นแห่งผัสสะ; ความดับ
ไม่เหลือแห่งเวทนา ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ; มรรค อันประกอบด้วย
สิ่งเหล่านี้คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การ
เลี้ยงชีวิตชอบ ความพยายามชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ; สุขโสมนัส
ใด ๆ อาศัยเวทนาเกิดขึ้น : นี้เป็น อัสสาทะแห่งเวทนา; ...ฯลฯ...ฯลฯ...
(ข้อความต่อไปนี้ มีการตรัสเหมือนกับที่ตรัสแล้วในกรณีแห่งรูปทกตัวอักษร ต่างกันแต่เพียงชื่อว่าเวทนา
แทนคำว่ารูป ดังนี้เรื่อยไปจนกระทั่งถึง)...วัฎฎะ ย่อมไม่มีเพื่อการบัญญัติแก่บุคคลเหล่านั้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็สัญญาเป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!
หมู่แห่งสัญญา (สญฺญากายา) ทั้งหลาย ๖ หมู่เหล่านี้ คือ สัญญาในรูป สัญญาในเสียง สัญญา
ในกลิ่น สัญญาในรส สัญญาในโผฏฐัพพะ สัญญาในธัมมรมณ์; ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!
นี้ เราเรียกว่าสัญญา; การเกิดขึ้นแห่งสัญญา ย่อมมี เพราะการเกิดขึ้นแห่งผัสสะ;
ความดับไม่เหลือแห่งสัญญา ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลืองแห่งผัสสะ; มรรคอัน
ประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือแห่ง
สัญญา, ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำ
การงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพยายามชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ;
สุข โสมนัสใด ๆ อาศัยสัญญาเกิดขึ้น : นี้เป็นอัสสาทะแห่งสัญญา; ...ฯลฯ...ฯลฯ...
วัฏฏะ ย่อมไม่มีเพื่อการบัญญัติแก่บุคคลเหล่านั้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็สังขารทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุ-
ทั้งหลาย! หมู่แห่งเจตนา (เจตนากายา) ทั้งหลาย ๖ หมู่เหล่านี้ คือ ความคิดนึกในรูป
ความคิดนึกในเสียง ความคิดนึกในกลิ่น ความคิดนึกในรส ความคิดนึกในโผฏฐัพพะ
ความคิดนึกในธัมมารมณ์ : ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เหล่านี้เราเรียกว่า สังขารทั้งหลาย
การเกิดขึ้นแห่งสังขาร ย่อมมี เพราะการเกิดขึ้นแห่งผัสสะ; ความดับไม่เหลือแห่ง
สังขารย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ; มรรคอันประกอบด้วยองค์แปด
อันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งสังขาร, ได้แก่สิ่งเหล่านี้
องค์แปดอันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งเวทนา, ได้แก่สิ่งเหล่านี้
คือ ความเห็น ชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิต
ชอบ ความพยายามชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ; สุข โสมนัสใด ๆ อาศัย
สังขารทั้งหลายเกิดขึ้น : นี้ เป็นอัสสาทะแห่งสังขารทั้งหลาย;...ฯลฯ...ฯลฯ
...วัฏฏะ ย่อมไม่มี เพื่อการบัญญัติ แก่บุคคลเหล่านั้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็วิญญาณ เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!
หมู่แห่งวิญญาณ (วิญญาณกายา) ทั้งหลาย ๖ หมู่เหล่านี้ คือ วิญญาณทางตา วิญญาณ
ทางหู วิญญาณทางจมูก วิญญาณทางลิ้น วิญญาณทางกาย วิญญาณทางใจ : ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย! นี้ เราเรียกว่า วิญญาณ; การเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ ย่อมมี เพราะ
การเกิดขึ้นแห่งนามรูป; ความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ ย่อมมี เพราะความดับไม่เหลือ
แห่งนามรูป; มรรคอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนั่นเอง เป็นปฏิปทาให้ถึง
ความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ, ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ
การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพยายามชอบ ความระลึก
ชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ; สุข โสมนัส ใด ๆ อาศัยวิญญาณเกิดขึ้น : นี้เป็นอัสสาทะแห่ง
วิญญาณ; วิญญาณใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา : นี้เป็นอาทีนวะ
แห่งวิญญาณ; การนำออกเสียได้ซึ่งความกำหนัดด้วยอำนาจ ความพอใจ กล่าวคือ การละ
เสียได้ซึ่งความกำหนัดด้วยอำนาจแห่งความพอใจ ในวิญญาณ, อันใด; นี้เป็นนิสสรณะ
เครื่องออกจากวิญญาณ (รวมเป็นสิ่งที่ต้องรู้ ๗ อย่าง). ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! สมณะ
หรือพราหมณ์ก็ตามเหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่งวิญญาณว่าอย่างนี้คือวิญญาณ;
...อย่างนี้คือเหตุให้เกิดขึ้นแห่งวิญญาณ; ...อย่างนี้คือความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ;
...อย่างนี้คือข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ; ...อย่างนี้
คืออัสสาทะแห่งวิญญาณ; ...อย่างนี้คือาทีนวะแห่งวิญญาณ; ...อย่างนี้คือนิสสรณะ
เครื่องออกจากวิญญาณ; ดังนี้แล้วเป็นผู้ปฏิบัติแล้ว เพื่อความเบื่อหน่าย (นิพฺพิทา)
เพื่อความสำรอก (วิราค) เพื่อความดับไม่เหลือ(นิโรธ)แห่งวิญญาณ; สมณพราหมณ์เหล่านั้น
เป็นผู้ ปฏิบัติดีแล้ว, บุคคลเหล่าใดปฏิบัติดีแล้ว; บุคคลเหล่านั้น ชื่อว่า หยั่งลงใน
ธรรมวินัยนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! สมณะหรือพราหมณ์ก็ตาม เหล่าใดเหล่าหนึ่ง
รู้ด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่งวิญญาณ ว่า อย่างนี้คือวิญญาณ; ...อย่างนี้คือเหตุให้เกิดขึ้นแห่ง
วิญญาณ; ...อย่างนี้คือความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ; ...อย่างนี้คือข้อปฏิบัติเครื่องทำ
สัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งวิญญาณ; ...อย่างนี้คืออัสสาทะแห่งวิญญาณ; ...
อย่างนี้คืออาทีนวะแห่งวิญญาณ; ...อย่างนี้คือนิสสรณะเครื่องออกจากวิญญาณ; ดังนี้แล้ว
เป็นผู้ พ้นวิเศษแล้ว เพราะความเบื่อหน่าย เพราะความสำรอก เพราะความดับไม่
เหลือ เพราะความไม่ยึดมั่น ซึ่งวิญญาณ; สมณพราหมณ์เหล่านั้น เป็นผู้ พ้นวิเศษ
แล้วด้วยดี(สุวิมุตฺตา); บุคคลเหล่าใด เป็นผู้พ้นวิเศษแล้วด้วยดี บุคคลเหล่านั้น ชื่อว่า
เป็น เกพลี ผู้จบกิจอันบุคคลพึงกระทำ; บุคคลเหล่าใดจบกิจอันบุคคลพึงกระทำ วัฏฏะ
ย่อมไม่มี เพื่อจะบัญญัติ แก่บุคคลเหล่านั้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในฐานะ ๗ ประการ อย่างนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็ภิกษุเป็นผู้พิจารณาใคร่ครวญธรรมโดยวิธี ๓ ประการ
เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมพิจารณาใคร่ครวญธรรม
โดยความเป็นธาตุ, ย่อมพิจารณาใคร่ครวญธรรมโดยความเป็นอายตนะ, ย่อมพิจารณา
ใคร่ครวญธรรมโดยความเป็น ปฏิจจสมุปบาท. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุเป็นผู้
พิจารณาใคร่ครวญธรรมโดยวิธี ๓ ประการ อย่างนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในฐานะ ๗ ประการ เป็นผู้พิจารณา
ใคร่ครวญธรรมโดยวิธี ๓ ประการ เราเรียกว่า ภิกษุผู้เกพลี อยู่จบกิจแห่งพรหมจรรย์
ในธรรมวินัยนี้, ดังนี้ แล.
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------
สูตรที่ ๕ อุปายวรรค ขันธสังยุตต์ ขนฺธ. สํ. ๑๗/๗๖/๑๑๘, ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่เชตวัน.
๒ เราเรียกว่า ยอดบุรุษ ผู้เสร็จกิจ อยู่จบพรหมจรรย์ ในธรรมวินัยนี้.
ปล. เกพลี ในลักษณะอย่างนี้ หมายถึงพระอรหันต์ ผู้ถึงซึ่งนิพพาน ซึ่งเป็นความสิ้นเชิงแห่งสิ่งทั้งปวง
ในแง่ของความดับสิ้นแห่งความทุกข์ กล่าวคือการถึงอมตภาวะ อันไม่มีการแบ่งแยก.