ว่าด้วย ต้นเหตุอันแท้จริงของปฏิจจสมุปบาท.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย !  สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เมื่อสำคัญเห็น, ย่อมสำคัญเห็นซึ่งอัตตา (ตน) มีอย่างต่าง ๆ : สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมสำคัญเห็นซึ่งอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ อย่างบ้าง, หรือว่า ย่อมสำคัญเห็นซึ่งอุปาทานขันธ์ขันธ์ใด ขันธ์หนึ่ง ในบรรดาปัญจุปาทานขันธ์เหล่านั้นบ้าง (ว่าเป็นอัตตา).

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย !  อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นอย่างไรเล่า ?   
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย !  ในโลกนี้ ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว ไม่เห็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้าไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า, ไม่เห็นสัปบุรุษทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัปบุรุษ: 
(๑) เขาย่อมสำคัญเห็นซึ่งรูป โดยความเป็นตนบ้าง, ย่อมสำคัญเห็นซึ่งตนว่ามีรูปบ้าง, ย่อมสำคัญเห็นซึ่งรูปในตนบ้าง, ย่อมสำคัญเห็นซึ่งตนในรูปบ้าง; 
(๒) เขาย่อมสำคัญเห็นซึ่งเวทนา โดยความเป็นตนบ้าง, ย่อมสำคัญเห็นซึ่งตนว่ามีเวทนาบ้าง, ย่อมสำคัญเห็นซึ่งเวทนาในตนบ้าง, ย่อมสำคัญเห็นซึ่งตนในเวทนาบ้าง; 
(๓) เขาย่อมสำคัญเห็นซึ่งสัญญา โดยความเป็นตนบ้าง, ย่อมสำคัญเห็นซึ่งตนว่ามีสัญญาบ้าง, ย่อมสำคัญเห็นซึ่งสัญญาในตนบ้าง, ย่อมสำคัญเห็นซึ่งตนในสัญญาบ้าง; 
(๔) เขาย่อมสำคัญเห็นซึ่งสังขารทั้งหลาย โดยความเป็นตนบ้าง, ย่อมสำคัญเห็นซึ่งตนว่ามีสังขารบ้าง, ย่อมสำคัญเห็นซึ่งสังขารทั้งหลายในตนบ้าง, ย่อมสำคัญเห็นซึ่งตนในสังขารทั้งหลายบ้าง; 
(๕) เขาย่อมสำคัญเห็นซึ่งวิญญาณ โดยความเป็นตนบ้าง, ย่อมสำคัญเห็นซึ่งตนว่ามีวิญญาณบ้าง, ย่อมสำคัญเห็นซึ่งวิญญาณในตนบ้าง, ย่อมสำคัญเห็นซึ่งตนในวิญญาณบ้าง.
    เป็นอันว่า การสำคัญเห็นดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนี้ ย่อมมีด้วย, การถึงทับจับฉวย (อธิคตํ) ของภิกษุนั้นว่า “เรามีอยู่” , ดังนี้ ก็มีด้วย.

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย !  เมื่อภิกษุนั้น ถึงทับจับฉวยว่า “เรามีอยู่ (อสฺมีติ)” ดังนี้แล้ว ลำดับนั้น การก้าวลงแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย ๕ ประการ ย่อมมีขึ้น; ได้แก่อินทรีย์คือ ตา อินทรีย์คือหู อินทรีย์คือจมูก อินทรีย์คือลิ้น อินทรีย์คือกาย.

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย !  มโน มีอยู่, ธรรมทั้งหลาย มีอยู่, อวิชชาธาตุมีอยู่.
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย !  เมื่อปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้ว เป็นผู้อันเวทนาอันเกิดจากอวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว, ความถึงทับจับฉวย ว่า “เรามีอยู่ (อสฺมีติ)” ดังนี้บ้างย่อมมีแก่เขา : 
ว่า “นี้เป็นเรา (อยมหมสฺมีติ)” ดังนี้บ้าง ย่อมมีแก่เขา; 
ว่า “เราจักมี (ภวิสฺสํอิติ)” ดังนี้บ้าง ย่อมมีแก่เขา; ว่า “เราจักไม่มี (น ภวิสฺสํอิติ)” ดังนี้บ้าง ย่อมมีแก่เขา : 
ว่า “เราจักเป็นสัตว์มีรูป (รูปี ภวิสฺสํอิติ)” ดังนี้บ้าง ย่อมมีแก่เขา; 
ว่า “เราจักเป็นสัตว์ไม่มีรูป (อรูปี ภวิสฺสํอิติ)” ดังนี้บ้าง ย่อมมีแก่เขา; 
ว่า “เราจักเป็นสัตว์มีสัญญา(สญฺญีภวิสฺสํอิติ)” ดังนี้บ้าง ย่อมมีแก่เขา; 
ว่า “เราจักเป็นสัตว์ไม่มีสัญญา (อสญฺญีภวิสฺสํอิติ)” ดังนี้บ้าง ย่อมมีแก่เขา; 
ว่า “เราจักเป็นสัตว์มีสัญญาก็ไม่ใช่ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ (เนวสญฺญินาสญฺญี ภวิสฺสํอิติ)” ดังนี้บ้าง ย่อมมีแก่เขา.
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย !  อินทรีย์ ทั้งหลาย ๕ ประการ ย่อมตั้งอยู่ ในการถึงทับจับฉวยเหล่านั้นนั่นเทียว. 

แต่ว่า ในกรณีที่อวิชชา เป็นสิ่งที่อริยสาวกผู้ได้สดับย่อมละเสียได้, วิชชาย่อมเกิดขึ้น. เพราะการเกิดขึ้นแห่งวิชชา โดยการสำรอกไม่เหลือแห่งอวิชชา ของอริยสาวกนั้น ความถึงทับจับฉวยว่า “เรามีอยู่” ดังนี้ก็ดีย่อมไม่มีแก่อริยสาวกนั้น, 
ว่า “นี้เป็นเรา” ดังนี้ก็ดี ย่อมไม่มีแก่อริยสาวกนั้น, 
ว่า “เราจักมี” ดังนี้ก็ดี ย่อมไม่มีแก่อริยสาวกนั้น, ว่า “เราจักไม่มี” ดังนี้ก็ดี ย่อมไม่มีแก่อริยสาวกนั้น; 
ว่า “เราจักเป็นสัตว์มีรูป” ดังนี้ก็ดี ย่อมไม่มีแก่อริยสาวกนั้น; 
ว่า “เราจักเป็นสัตว์ไม่มีรูป” ดังนี้ก็ดี ย่อมไม่มีแก่อริยสาวกนั้น; 
ว่า “เราจักเป็นสัตว์มีสัญญา” ดังนี้ก็ดี ย่อมไม่มีแก่อริยสาวกนั้น; 
ว่า “เราจักเป็นสัตว์ไม่มีสัญญา” ดังนี้ก็ดี ย่อมไม่มีแก่อริยสาวกนั้น; 
ว่า “เราจักเป็นสัตว์มีสัญญาก็ไม่ใช่สัญญาก็ไม่ใช่” ดังนี้ก็ดี ย่อมไม่มีแก่อริยสาวกนั้น, ดังนี้ แล. (- ขนฺธ. สํ. ๑๗/๕๗/๙๔,)
....

ภิกษุ ท. !  อีกประการหนึ่ง, เพราะละสุขและละทุกข์เสียได้, เพราะความดับหายไปแห่งโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อน, 
เธอ จึง บรรลุ ฌานที่สี่อันไม่ทุกข์ไม่สุข
มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขา:- แล้วแลอยู่. 
เธอนั้น นั่งแผ่ไปตลอดกายนี้ ด้วยใจอันบริสุทธิ์ผ่องใส, ส่วนใดส่วนหนึ่งของกายเธอทั่วทั้งตัว ที่ใจอันบริสุทธิ์ผ่องใสไม่ถูกต้องแล้ว มิได้มี.

    ภิกษุ ท. !  เปรียบเหมือนชายคนหนึ่ง นั่งคลุมตัวด้วยผ้าขาวตลอดศีรษะ, ส่วนไหน ๆ ในกายเธอทั่วทั้งตัว ที่ผ้าขาวไม่ถูกต้องแล้ว (คือไม่คลุมแล้ว) มิได้มี. ข้อนี้เป็นฉันใด ;   
     ภิกษุ ท. !  เธอนั่งแผ่ใจอันบริสุทธิ์ผ่องใสไปตลอดกายนี้, ส่วนใดส่วนหนึ่งในกายเธอทั่วทั้งตัว ที่ใจอันบริสุทธิ์ผ่องใส  ไม่ถูกต้องแล้ว มิได้มี, ฉันนั้นเหมือนกัน.(....ยังจงใจอยู่.)
(เช่น ผู้ถึงความเป็นเทพ ดับรอบ...เป็นต้น)
.ถึง
....สมาบัตื 9

....เข้ามาถึงความเป็นพระนิพพานด้วย
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่