https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/tipitaka_seek.php?text=%CD%C7%D4%AA%AA%D2%B8%D2%B5%D8&book=1&bookZ=45
--------------------
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒
วิภังคปกรณ์
อวิชชาธาตุ เป็นไฉน
ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ๑- ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูล คือโมหะ
นี้เรียกว่า อวิชชาธาตุ
-------------------
อธิบาย >>> เมื่อจิตเกิดมีโมหะ นี้เรียกว่า อวิชชาธาตุ
----------------------
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙
สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
ลง ดูกรภิกษุทั้งหลาย มนะมีอยู่ ธรรมทั้งหลายมีอยู่ อวิชชาธาตุมีอยู่.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้ว อันความเสวยอารมณ์ ซึ่งเกิดจากอวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว เขาย่อมมี
ความยึดมั่นถือมั่นว่า เราเป็นดังนี้บ้าง นี้เป็นเราดังนี้บ้าง เราจักเป็นดังนี้บ้าง จักไม่เป็นดังนี้บ้าง
จักมีรูปดังนี้บ้าง จักไม่มีรูปดังนี้บ้าง จักมีสัญญาดังนี้บ้าง จักไม่มีสัญญาดังนี้บ้าง จักมีสัญญาก็
หามิได้ ไม่มีสัญญาก็หามิได้ดังนี้บ้าง.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อินทรีย์ ๕ ย่อมตั้งอยู่ ในเพราะการ
ตามเห็นนั้นทีเดียว เมื่อเป็นเช่นนี้ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อมละอวิชชาเสียได้ วิชชาย่อมเกิด
ขึ้น เพราะความคลายไปแห่งอวิชชา เพราะความเกิดขึ้นแห่งวิชชา อริยสาวกนั้น ย่อมไม่มีความ
ยึดมั่นถือมั่นในอินทรีย์เหล่านั้นว่า เราเป็นดังนี้บ้าง นี้เป็นเราดังนี้บ้าง เราจักเป็นดังนี้บ้าง จักไม่
เป็นดังนี้บ้าง จักมีรูปดังนี้บ้าง จักไม่มีรูปดังนี้บ้าง จักมีสัญญาดังนี้บ้าง จักไม่มีสัญญาดังนี้บ้าง
จักมีสัญญาก็หามิได้ ไม่มีสัญญาก็หามิได้ดังนี้บ้าง.
------------------
อธิบาย>>> เป็นอวิชชาธาตุเมื่อเกิดโมหะขึ้น และ ซึ่งคำว่า "เรา" เป็นเพียงบัญญัติสือความหมายเท่านั้น ไม่ใช่ "เรา" เป็น อวิชชาหรือวิชชา ตามที่บางท่านเข้าใจ แต่เป็นธรรมชาติฝ่ายสังขตะหรืออสังขตะ ตามปัจจัยของธรรมทั้ง 2 นั้น.
เรื่อง อวิชชาธาตุ ที่มีในพระไตรปิฏกและความหมาย (เกิดจากกระทู้ คำว่า "อวิชชา" จากพระไตรปิฏก)
--------------------
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒
วิภังคปกรณ์
อวิชชาธาตุ เป็นไฉน
ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ๑- ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูล คือโมหะ
นี้เรียกว่า อวิชชาธาตุ
-------------------
อธิบาย >>> เมื่อจิตเกิดมีโมหะ นี้เรียกว่า อวิชชาธาตุ
----------------------
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙
สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
ลง ดูกรภิกษุทั้งหลาย มนะมีอยู่ ธรรมทั้งหลายมีอยู่ อวิชชาธาตุมีอยู่.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้ว อันความเสวยอารมณ์ ซึ่งเกิดจากอวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว เขาย่อมมี
ความยึดมั่นถือมั่นว่า เราเป็นดังนี้บ้าง นี้เป็นเราดังนี้บ้าง เราจักเป็นดังนี้บ้าง จักไม่เป็นดังนี้บ้าง
จักมีรูปดังนี้บ้าง จักไม่มีรูปดังนี้บ้าง จักมีสัญญาดังนี้บ้าง จักไม่มีสัญญาดังนี้บ้าง จักมีสัญญาก็
หามิได้ ไม่มีสัญญาก็หามิได้ดังนี้บ้าง.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อินทรีย์ ๕ ย่อมตั้งอยู่ ในเพราะการ
ตามเห็นนั้นทีเดียว เมื่อเป็นเช่นนี้ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อมละอวิชชาเสียได้ วิชชาย่อมเกิด
ขึ้น เพราะความคลายไปแห่งอวิชชา เพราะความเกิดขึ้นแห่งวิชชา อริยสาวกนั้น ย่อมไม่มีความ
ยึดมั่นถือมั่นในอินทรีย์เหล่านั้นว่า เราเป็นดังนี้บ้าง นี้เป็นเราดังนี้บ้าง เราจักเป็นดังนี้บ้าง จักไม่
เป็นดังนี้บ้าง จักมีรูปดังนี้บ้าง จักไม่มีรูปดังนี้บ้าง จักมีสัญญาดังนี้บ้าง จักไม่มีสัญญาดังนี้บ้าง
จักมีสัญญาก็หามิได้ ไม่มีสัญญาก็หามิได้ดังนี้บ้าง.
------------------
อธิบาย>>> เป็นอวิชชาธาตุเมื่อเกิดโมหะขึ้น และ ซึ่งคำว่า "เรา" เป็นเพียงบัญญัติสือความหมายเท่านั้น ไม่ใช่ "เรา" เป็น อวิชชาหรือวิชชา ตามที่บางท่านเข้าใจ แต่เป็นธรรมชาติฝ่ายสังขตะหรืออสังขตะ ตามปัจจัยของธรรมทั้ง 2 นั้น.