นรชนผู้ข้องอยู่ในถ้ำคือกาย ถูกกิเลสเป็นอันมากปกปิดไว้
แล้ว ดำรงอยู่ด้วยอำนาจกิเลสมีราคะเป็นต้น หยั่งลงในกาม
คุณเครื่องทำจิตให้ลุ่มหลง นรชนผู้เห็นปานนั้นแล เป็นผู้
ไกลจากวิเวก เพราะว่ากามคุณทั้งหลายในโลก ไม่ใช่ละได้
โดยง่ายเลย กามคุณทั้งหลายมีความปรารถนาเป็นเหตุ เนื่อง
ด้วยความยินดีในภพ เปลื้องออกได้โดยยาก คนอื่นจะเปลื้อง
ออกให้ไม่ได้เลย นรชนทั้งหลายมุ่งหวังกามในอนาคตบ้าง
ในอดีตบ้าง คร่ำครวญถึงกามเหล่านี้ที่เคยมีแล้วบ้าง อันตน
เปลื้องเองได้ยาก และคนอื่นก็เปลื้องให้ไม่ได้ สัตว์เหล่านั้น
ยินดี ขวนขวาย ลุ่มหลงอยู่ในกามทั้งหลาย ไม่เชื่อถือถ้อย
คำของบัณฑิตมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ตั้งอยู่แล้วในธรรมอันไม่
สงบ ถูกทุกข์ครอบงำแล้ว ย่อมรำพันอยู่ว่า เราจุติจากโลก
นี้แล้ว จักเป็นอย่างไรหนอ เพราะเหตุนั้นแล สัตว์พึงศึกษา
ไตรสิกขาในศาสนานี้แหละ พึงรู้ว่าสิ่งอะไรๆ ในโลกไม่
เป็นความสงบ ไม่พึงประพฤติความไม่สงบเพราะเหตุแห่ง
สิ่งนั้น นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวชีวิตนั้นว่าเป็นของน้อยนัก
เราเห็นหมู่สัตว์นี้ ผู้เป็นไปในอำนาจความอยากในภพ
ทั้งหลาย กำลังดิ้นรนอยู่ในโลก นรชนทั้งหลายผู้เลวทราม
ย่อมบ่นเพ้ออยู่ในปากมัจจุราช นรชนเหล่านั้น ยังไม่
ปราศจากความอยากในภพและมิใช่ภพทั้งหลายเลย ท่าน
ทั้งหลายจงดูชนทั้งหลายผู้ถือว่าสิ่งนั้นๆ เป็นของเรา กำลัง
ดิ้นรนอยู่ เหมือนปลาในแอ่งน้ำน้อยมีกระแสขาดสิ้นแล้ว
ดิ้นรนอยู่ ฉะนั้น นรชนเห็นโทษแม้นั้นแล้ว ไม่พึงประพฤติ
เป็นคนถือว่าสิ่งนั้นๆ เป็นของเรา ไม่กระทำความติดข้องอยู่
ในภพทั้งหลาย พึงกำจัดความพอใจในที่สุดทั้ง ๒ (มีผัสสะ
และเหตุเกิดแห่งสัมผัสสะเป็นต้น) กำหนดรู้ผัสสะแล้ว
ไม่กำหนัดตามในธรรมทั้งปวงมีรูปเป็นต้น ติเตียนตนเอง
เพราะข้อใด อย่าทำข้อนั้น เป็นนักปราชญ์ไม่ติดอยู่ในรูปที่ได้
เห็นและเสียงที่ได้ฟัง..กลิ่น..รส..โผฏฐัพพะ เป็นต้น
กำหนดรู้สัญญาแล้วพึงข้าม โอฆะ เป็นมุนีไม่ติดอยู่
ในอารมณ์ที่ควรหวงแหน ถอนลูกศร
คือ กิเลสออกเสีย ไม่ประมาทเที่ยวไปอยู่ ย่อมไม่ปรารถนา
โลกนี้และโลกหน้า ฉะนี้แล ฯ
- คุหัฏฐกสูตรที่ ๒
ว่าด้วยถ้ำคือกายวิเวก...
แล้ว ดำรงอยู่ด้วยอำนาจกิเลสมีราคะเป็นต้น หยั่งลงในกาม
คุณเครื่องทำจิตให้ลุ่มหลง นรชนผู้เห็นปานนั้นแล เป็นผู้
ไกลจากวิเวก เพราะว่ากามคุณทั้งหลายในโลก ไม่ใช่ละได้
โดยง่ายเลย กามคุณทั้งหลายมีความปรารถนาเป็นเหตุ เนื่อง
ด้วยความยินดีในภพ เปลื้องออกได้โดยยาก คนอื่นจะเปลื้อง
ออกให้ไม่ได้เลย นรชนทั้งหลายมุ่งหวังกามในอนาคตบ้าง
ในอดีตบ้าง คร่ำครวญถึงกามเหล่านี้ที่เคยมีแล้วบ้าง อันตน
เปลื้องเองได้ยาก และคนอื่นก็เปลื้องให้ไม่ได้ สัตว์เหล่านั้น
ยินดี ขวนขวาย ลุ่มหลงอยู่ในกามทั้งหลาย ไม่เชื่อถือถ้อย
คำของบัณฑิตมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ตั้งอยู่แล้วในธรรมอันไม่
สงบ ถูกทุกข์ครอบงำแล้ว ย่อมรำพันอยู่ว่า เราจุติจากโลก
นี้แล้ว จักเป็นอย่างไรหนอ เพราะเหตุนั้นแล สัตว์พึงศึกษา
ไตรสิกขาในศาสนานี้แหละ พึงรู้ว่าสิ่งอะไรๆ ในโลกไม่
เป็นความสงบ ไม่พึงประพฤติความไม่สงบเพราะเหตุแห่ง
สิ่งนั้น นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวชีวิตนั้นว่าเป็นของน้อยนัก
เราเห็นหมู่สัตว์นี้ ผู้เป็นไปในอำนาจความอยากในภพ
ทั้งหลาย กำลังดิ้นรนอยู่ในโลก นรชนทั้งหลายผู้เลวทราม
ย่อมบ่นเพ้ออยู่ในปากมัจจุราช นรชนเหล่านั้น ยังไม่
ปราศจากความอยากในภพและมิใช่ภพทั้งหลายเลย ท่าน
ทั้งหลายจงดูชนทั้งหลายผู้ถือว่าสิ่งนั้นๆ เป็นของเรา กำลัง
ดิ้นรนอยู่ เหมือนปลาในแอ่งน้ำน้อยมีกระแสขาดสิ้นแล้ว
ดิ้นรนอยู่ ฉะนั้น นรชนเห็นโทษแม้นั้นแล้ว ไม่พึงประพฤติ
เป็นคนถือว่าสิ่งนั้นๆ เป็นของเรา ไม่กระทำความติดข้องอยู่
ในภพทั้งหลาย พึงกำจัดความพอใจในที่สุดทั้ง ๒ (มีผัสสะ
และเหตุเกิดแห่งสัมผัสสะเป็นต้น) กำหนดรู้ผัสสะแล้ว
ไม่กำหนัดตามในธรรมทั้งปวงมีรูปเป็นต้น ติเตียนตนเอง
เพราะข้อใด อย่าทำข้อนั้น เป็นนักปราชญ์ไม่ติดอยู่ในรูปที่ได้
เห็นและเสียงที่ได้ฟัง..กลิ่น..รส..โผฏฐัพพะ เป็นต้น
กำหนดรู้สัญญาแล้วพึงข้าม โอฆะ เป็นมุนีไม่ติดอยู่
ในอารมณ์ที่ควรหวงแหน ถอนลูกศร
คือ กิเลสออกเสีย ไม่ประมาทเที่ยวไปอยู่ ย่อมไม่ปรารถนา
โลกนี้และโลกหน้า ฉะนี้แล ฯ
- คุหัฏฐกสูตรที่ ๒