พระผู้มีพระภาคทรงตรัสว่า....
๕. มาตุปุตติกสูตร
[๕๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่าน
อนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล มารดาและบุตรสองคน คือ ภิกษุ
และภิกษุณี เข้าจำพรรษา ในพระนครสาวัตถี คนทั้งสองนั้นเป็นผู้ใคร่เห็นกันและกันเนืองๆ
แม้มารดาก็เป็นผู้ใคร่เห็นบุตรเนืองๆ แม้บุตรก็เป็นผู้ใคร่เห็นมารดาเนืองๆ เพราะการเห็นกัน
เนืองๆ แห่งคนทั้งสองนั้น จึงมีความคลุกคลีกัน เมื่อมีความคลุกคลีกัน จึงมีการวิสาสะ
คุ้นเคยกัน เมื่อมีการวิสาสะกัน จึงมีช่อง คนทั้งสองนั้นมีจิตได้ช่อง ไม่บอกคืนสิกขา ไม่ทำ
ให้แจ้งซึ่งความทุรพล ได้เสพเมถุนธรรม
ครั้งนั้นแล ภิกษุเป็นอันมาก เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ มารดาและบุตรสองคน คือ ภิกษุและภิกษุณีเข้าจำพรรษา
ในพระนครสาวัตถีนี้ คนสองคนนั้นเป็นผู้ใคร่เห็นกันและกันเนืองๆแม้มารดาก็เป็นผู้ใคร่เห็นบุตรเนืองๆ แม้
บุตรก็เป็นผู้ใคร่เห็นมารดาเนืองๆ เพราะการเห็นกันเนืองๆ แห่งคนทั้งสองนั้น จึงมีความคลุกคลี
กัน เมื่อมีความคลุกคลีกันจึงมีการวิสาสะกัน เมื่อมีการวิสาสะกัน จึงมีช่อง คนทั้งสองนั้น
มีจิตได้ช่อง ไม่บอกคืนสิกขา ไม่ทำให้แจ้งซึ่งความทุรพล ได้เสพเมถุนธรรม
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย โมฆบุรุษนั้นย่อมสำคัญหรือหนอว่า มารดาย่อมไม่กำหนัดในบุตร
ก็หรือบุตรย่อมไม่กำหนัดในมารดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่พิจารณาเห็นรูปอื่นแม้รูปเดียว
ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เป็นที่ตั้งแห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา เป็นที่ตั้งแห่ง
ความผูกพัน เป็นที่ตั้งแห่งความหมกมุ่น กระทำอันตรายแก่การบรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษม
จากโยคะอันยอดเยี่ยม เหมือนรูปหญิงนี้เลย สัตว์ทั้งหลายกำหนัด ยินดี ใฝ่ใจ หมกมุ่น
พัวพัน ในรูปหญิง เป็นผู้อยู่ใต้อำนาจรูปหญิงย่อมเศร้าโศกตลอดกาลนาน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่พิจารณาเห็นเสียงอื่นแม้เสียงเดียว ... กลิ่นอื่นแม้กลิ่นเดียว ... รสอื่นแม้รสเดียว ...
โผฏฐัพพะอื่นแม้อย่างเดียว ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เป็นที่ตั้งแห่งความใคร่ เป็นที่ตั้ง
แห่งความมัวเมา เป็นที่ตั้งแห่งความผูกพัน เป็นที่ตั้งแห่งความหมกมุ่น กระทำอันตรายแก่การ
บรรลุธรรม อันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม เหมือนโผฏฐัพพะ แห่งหญิงนี้เลย สัตว์
ทั้งหลายกำหนัด ยินดี ใฝ่ใจ หมกมุ่น พัวพัน ในโผฏฐัพพะแห่งหญิง ย่อมเศร้าโศกตลอด
กาลนาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย หญิงเดินอยู่ก็ดี ยืนอยู่ก็ดี นั่งอยู่ก็ดี นอนอยู่ก็ดี นอนหลับ
แล้วก็ดี หัวเราะก็ดี พูดอยู่ก็ดี ขับร้องอยู่ก็ดี ร้องไห้อยู่ก็ดี บวมขึ้นก็ดี ตายแล้วก็ดี
ย่อมครอบงำจิตของบุรุษได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อจะกล่าวสิ่งใดๆ พึงกล่าวโดยชอบว่าบ่วงรวบรัดแห่งมาร ก็พึงกล่าวมาตุคามนั่นแหละว่า
เป็นบ่วงรวบรัดแห่งมาร โดยชอบได้ ฯ บุคคลพึงสนทนาด้วยเพชฌฆาตก็ดี ด้วยปีศาจก็ดี พึงถูกต้องอสรพิษที่กัดตายก็ดี
ก็ไม่ร้ายแรงเหมือนสนทนาสองต่อสองด้วยมาตุคามเลย พวกหญิงย่อมผูกพันชายผู้ลุ่มหลงด้วยการมองดู การหัวเราะ การนุ่งห่ม
ลับล่อ และการพูดอ่อนหวานมาตุคามนี้ มิใช่ผูกพันเพียงเท่านี้ แม้บวมขึ้น ตายไปแล้ว ก็ยังผูกพันชายได้ กามคุณ ๕ นี้ คือ รูป เสียง
กลิ่น รสและโผฏฐัพพะ อันเป็นที่รื่นรมย์ใจ ย่อมปรากฏในรูปหญิงเหล่าชนผู้ถูกห้วงกามพัด ไม่กำหนดรู้กาม มุ่งคติในกาลและภพน้อย
ภพใหญ่ในสงสาร ส่วนชนเหล่าใดกำหนดรู้กามไม่มีภัยแต่ที่ไหนๆเที่ยวไป ชนเหล่านั้นบรรลุถึงความสิ้นอาสวะ ย่อมข้ามฝั่งสงสารในโลกได้ ฯ
.............................................................................................................................
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
แม้ บวมขึ้น ตายไปแล้ว ก็ยังผูกพันชายได้.....
๕. มาตุปุตติกสูตร
[๕๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่าน
อนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล มารดาและบุตรสองคน คือ ภิกษุ
และภิกษุณี เข้าจำพรรษา ในพระนครสาวัตถี คนทั้งสองนั้นเป็นผู้ใคร่เห็นกันและกันเนืองๆ
แม้มารดาก็เป็นผู้ใคร่เห็นบุตรเนืองๆ แม้บุตรก็เป็นผู้ใคร่เห็นมารดาเนืองๆ เพราะการเห็นกัน
เนืองๆ แห่งคนทั้งสองนั้น จึงมีความคลุกคลีกัน เมื่อมีความคลุกคลีกัน จึงมีการวิสาสะ
คุ้นเคยกัน เมื่อมีการวิสาสะกัน จึงมีช่อง คนทั้งสองนั้นมีจิตได้ช่อง ไม่บอกคืนสิกขา ไม่ทำ
ให้แจ้งซึ่งความทุรพล ได้เสพเมถุนธรรม
ครั้งนั้นแล ภิกษุเป็นอันมาก เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ มารดาและบุตรสองคน คือ ภิกษุและภิกษุณีเข้าจำพรรษา
ในพระนครสาวัตถีนี้ คนสองคนนั้นเป็นผู้ใคร่เห็นกันและกันเนืองๆแม้มารดาก็เป็นผู้ใคร่เห็นบุตรเนืองๆ แม้
บุตรก็เป็นผู้ใคร่เห็นมารดาเนืองๆ เพราะการเห็นกันเนืองๆ แห่งคนทั้งสองนั้น จึงมีความคลุกคลี
กัน เมื่อมีความคลุกคลีกันจึงมีการวิสาสะกัน เมื่อมีการวิสาสะกัน จึงมีช่อง คนทั้งสองนั้น
มีจิตได้ช่อง ไม่บอกคืนสิกขา ไม่ทำให้แจ้งซึ่งความทุรพล ได้เสพเมถุนธรรม
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย โมฆบุรุษนั้นย่อมสำคัญหรือหนอว่า มารดาย่อมไม่กำหนัดในบุตร
ก็หรือบุตรย่อมไม่กำหนัดในมารดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่พิจารณาเห็นรูปอื่นแม้รูปเดียว
ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เป็นที่ตั้งแห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา เป็นที่ตั้งแห่ง
ความผูกพัน เป็นที่ตั้งแห่งความหมกมุ่น กระทำอันตรายแก่การบรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษม
จากโยคะอันยอดเยี่ยม เหมือนรูปหญิงนี้เลย สัตว์ทั้งหลายกำหนัด ยินดี ใฝ่ใจ หมกมุ่น
พัวพัน ในรูปหญิง เป็นผู้อยู่ใต้อำนาจรูปหญิงย่อมเศร้าโศกตลอดกาลนาน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่พิจารณาเห็นเสียงอื่นแม้เสียงเดียว ... กลิ่นอื่นแม้กลิ่นเดียว ... รสอื่นแม้รสเดียว ...
โผฏฐัพพะอื่นแม้อย่างเดียว ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เป็นที่ตั้งแห่งความใคร่ เป็นที่ตั้ง
แห่งความมัวเมา เป็นที่ตั้งแห่งความผูกพัน เป็นที่ตั้งแห่งความหมกมุ่น กระทำอันตรายแก่การ
บรรลุธรรม อันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม เหมือนโผฏฐัพพะ แห่งหญิงนี้เลย สัตว์
ทั้งหลายกำหนัด ยินดี ใฝ่ใจ หมกมุ่น พัวพัน ในโผฏฐัพพะแห่งหญิง ย่อมเศร้าโศกตลอด
กาลนาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย หญิงเดินอยู่ก็ดี ยืนอยู่ก็ดี นั่งอยู่ก็ดี นอนอยู่ก็ดี นอนหลับ
แล้วก็ดี หัวเราะก็ดี พูดอยู่ก็ดี ขับร้องอยู่ก็ดี ร้องไห้อยู่ก็ดี บวมขึ้นก็ดี ตายแล้วก็ดี
ย่อมครอบงำจิตของบุรุษได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อจะกล่าวสิ่งใดๆ พึงกล่าวโดยชอบว่าบ่วงรวบรัดแห่งมาร ก็พึงกล่าวมาตุคามนั่นแหละว่า
เป็นบ่วงรวบรัดแห่งมาร โดยชอบได้ ฯ บุคคลพึงสนทนาด้วยเพชฌฆาตก็ดี ด้วยปีศาจก็ดี พึงถูกต้องอสรพิษที่กัดตายก็ดี
ก็ไม่ร้ายแรงเหมือนสนทนาสองต่อสองด้วยมาตุคามเลย พวกหญิงย่อมผูกพันชายผู้ลุ่มหลงด้วยการมองดู การหัวเราะ การนุ่งห่ม
ลับล่อ และการพูดอ่อนหวานมาตุคามนี้ มิใช่ผูกพันเพียงเท่านี้ แม้บวมขึ้น ตายไปแล้ว ก็ยังผูกพันชายได้ กามคุณ ๕ นี้ คือ รูป เสียง
กลิ่น รสและโผฏฐัพพะ อันเป็นที่รื่นรมย์ใจ ย่อมปรากฏในรูปหญิงเหล่าชนผู้ถูกห้วงกามพัด ไม่กำหนดรู้กาม มุ่งคติในกาลและภพน้อย
ภพใหญ่ในสงสาร ส่วนชนเหล่าใดกำหนดรู้กามไม่มีภัยแต่ที่ไหนๆเที่ยวไป ชนเหล่านั้นบรรลุถึงความสิ้นอาสวะ ย่อมข้ามฝั่งสงสารในโลกได้ ฯ
.............................................................................................................................
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต