เหตุแห่งการเกิดในครรภ์
-บาลี มู. ม. ๑๒/๔๘๕/๔๕๒.
ภิกษุทั้งหลาย ! การปฏิสนธิของสัตว์ในครรภ์ ย่อมมีได้ เพราะการประชุมพร้อมของสิ่ง ๓ อย่าง.
ในสัตว์โลกนี้ แม้มารดาและบิดาเป็นผู้อยู่ร่วมกันแต่มารดายังไม่ผ่านการมีระดู และคันธัพพะ (สัตว์ที่จะเข้าไปปฏิสนธิในครรภ์นั้น) ก็ยังไม่เข้าไปตั้งอยู่โดยเฉพาะด้วย การปฏิสนธิของสัตว์ในครรภ์ ก็ยังมีขึ้นไม่ได้ก่อน.
ในสัตว์โลกนี้ แม้มารดาและบิดาเป็นผู้อยู่ร่วมกันและมารดาก็ผ่านการมีระดู แต่คันธัพพะยังไม่เข้าไปตั้งอยู่โดยเฉพาะ การปฏิสนธิของสัตว์ในครรภ์ ก็ยังมีขึ้นไม่ได้นั่นเอง.
ภิกษุทั้งหลาย ! แต่เมื่อใด มารดาและบิดาเป็นผู้อยู่ร่วมกันด้วย มารดาก็ผ่านการมีระดูด้วย คันธัพพะก็เข้าไปตั้งอยู่โดยเฉพาะด้วย การปฏิสนธิของสัตว์ในครรภ์ ย่อมสำเร็จได้ เพราะการประชุมพร้อมกันของสิ่ง ๓ อย่าง ด้วยอาการอย่างนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ! มารดา ย่อมบริหารสัตว์ที่เกิดในครรภ์นั้น ด้วยความเป็นห่วงอย่างใหญ่หลวง เป็นภาระหนักตลอดเวลาเก้าเดือนบ้าง สิบเดือนบ้าง.
ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อล่วงไปเก้าเดือนหรือสิบเดือน มารดา ย่อมคลอดบุตรนั้นด้วยความเป็นห่วงอย่างใหญ่หลวง เป็นภาระหนัก ได้เลี้ยงซึ่งบุตรอันเกิดแล้วนั้น ด้วยโลหิตของตนเอง.
ภิกษุทั้งหลาย ! ในอริยวินัย คำว่า “โลหิต” นี้ หมายถึงน้ำนมของมารดา.
ภิกษุทั้งหลาย ! ทารกนั้น เจริญวัยขึ้น มีอินทรีย์อันเจริญเต็มที่แล้ว เล่นของเล่นสำหรับเด็ก เช่น เล่นไถน้อยๆ เล่นหม้อข้าวหม้อแกง เล่นของเล่นชื่อโมกขจิกะ เล่นกังหันลมน้อยๆ เล่นตวงของด้วยเครื่องตวงที่ทำด้วยใบไม้ เล่นรถน้อยๆ เล่นธนูน้อยๆ.
ภิกษุทั้งหลาย ! ทารกนั้น ครั้นเจริญวัยขึ้นแล้ว มีอินทรีย์อันเจริญเต็มที่แล้ว เป็นผู้เอิบอิ่มเพียบพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ให้เขาบำเรออยู่ ทางตาด้วยรูป, ทางหูด้วยเสียง, ทางจมูกด้วยกลิ่น, ทางลิ้นด้วยรส และทางกายด้วยโผฏฐัพพะ ซึ่งล้วนแต่เป็นสิ่งที่ปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ เป็นที่ยวนตา ยวนใจให้รัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดย้อมใจ และเป็นที่ตั้งแห่งความรัก.
ทารกนั้น ครั้นเห็นรูปด้วยตาแล้ว ย่อมกำหนัดยินดีในรูป ที่ยั่วยวนให้เกิดความรัก ย่อมขัดใจในรูป ที่ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความรัก ไม่เป็นผู้ตั้งไว้ซึ่งสติ อันเป็นไปในกาย มีใจเป็นอกุศล ไม่รู้ตามที่เป็นจริง ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับไม่เหลือแห่งธรรมอันเป็นบาป อกุศลทั้งหลาย.
ทารกนั้น ครั้นได้ยินเสียงด้วยหู... ดมกลิ่นด้วยจมูก ... ลิ้มรสด้วยลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ... รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมกำหนัดยินดีในธรรมารมณ์ ที่ยั่วยวนให้เกิดความรัก ย่อมขัดใจในธรรมารมณ์ที่ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความรัก ไม่เป็นผู้ตั้งไว้ซึ่งสติอันเป็นไปในกาย มีใจเป็นอกุศล ไม่รู้ตามที่เป็นจริงซึ่งเจโตวิมุตติ {๑} ปัญญาวิมุตติ {๒} อันเป็นที่ดับไม่เหลือแห่งธรรมอันเป็นบาปอกุศลทั้งหลาย.
๑. เจโตวิมุตติ : การหลุดพ้นอันอาศัยสมถะ (สมาธิ).
๒. ปัญญาวิมุตติ : การหลุดพ้นอันอาศัยวิปัสสนา (ปัญญา).
กุมารน้อยนั้น เมื่อประกอบด้วยความยินดีและความยินร้ายอยู่เช่นนี้แล้ว เสวยเฉพาะซึ่งเวทนาใดๆเป็นสุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ตาม เขาย่อมเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่ ซึ่งเวทนานั้นๆ.
เมื่อเป็นอยู่เช่นนั้น ความเพลิน (นันทิ) ย่อมบังเกิดขึ้น ความเพลินใดในเวทนาทั้งหลาย มีอยู่ ความเพลินอันนั้น เป็นอุปาทาน
เพราะอุปาทานของเขานั้นเป็นปัจจัย จึงเกิดมีภพ
เพราะภพเป็นปัจจัย จึงเกิดมีชาติ
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
จึงเกิดมีพร้อม ความก่อขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้แล.
https://etipitaka.com/read/thaipb/11/171/
เหตุแห่งการเกิดในครรภ์ | พุทธวจน
เหตุแห่งการเกิดในครรภ์
-บาลี มู. ม. ๑๒/๔๘๕/๔๕๒.
ภิกษุทั้งหลาย ! การปฏิสนธิของสัตว์ในครรภ์ ย่อมมีได้ เพราะการประชุมพร้อมของสิ่ง ๓ อย่าง.
ในสัตว์โลกนี้ แม้มารดาและบิดาเป็นผู้อยู่ร่วมกันแต่มารดายังไม่ผ่านการมีระดู และคันธัพพะ (สัตว์ที่จะเข้าไปปฏิสนธิในครรภ์นั้น) ก็ยังไม่เข้าไปตั้งอยู่โดยเฉพาะด้วย การปฏิสนธิของสัตว์ในครรภ์ ก็ยังมีขึ้นไม่ได้ก่อน.
ในสัตว์โลกนี้ แม้มารดาและบิดาเป็นผู้อยู่ร่วมกันและมารดาก็ผ่านการมีระดู แต่คันธัพพะยังไม่เข้าไปตั้งอยู่โดยเฉพาะ การปฏิสนธิของสัตว์ในครรภ์ ก็ยังมีขึ้นไม่ได้นั่นเอง.
ภิกษุทั้งหลาย ! แต่เมื่อใด มารดาและบิดาเป็นผู้อยู่ร่วมกันด้วย มารดาก็ผ่านการมีระดูด้วย คันธัพพะก็เข้าไปตั้งอยู่โดยเฉพาะด้วย การปฏิสนธิของสัตว์ในครรภ์ ย่อมสำเร็จได้ เพราะการประชุมพร้อมกันของสิ่ง ๓ อย่าง ด้วยอาการอย่างนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ! มารดา ย่อมบริหารสัตว์ที่เกิดในครรภ์นั้น ด้วยความเป็นห่วงอย่างใหญ่หลวง เป็นภาระหนักตลอดเวลาเก้าเดือนบ้าง สิบเดือนบ้าง.
ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อล่วงไปเก้าเดือนหรือสิบเดือน มารดา ย่อมคลอดบุตรนั้นด้วยความเป็นห่วงอย่างใหญ่หลวง เป็นภาระหนัก ได้เลี้ยงซึ่งบุตรอันเกิดแล้วนั้น ด้วยโลหิตของตนเอง.
ภิกษุทั้งหลาย ! ในอริยวินัย คำว่า “โลหิต” นี้ หมายถึงน้ำนมของมารดา.
ภิกษุทั้งหลาย ! ทารกนั้น เจริญวัยขึ้น มีอินทรีย์อันเจริญเต็มที่แล้ว เล่นของเล่นสำหรับเด็ก เช่น เล่นไถน้อยๆ เล่นหม้อข้าวหม้อแกง เล่นของเล่นชื่อโมกขจิกะ เล่นกังหันลมน้อยๆ เล่นตวงของด้วยเครื่องตวงที่ทำด้วยใบไม้ เล่นรถน้อยๆ เล่นธนูน้อยๆ.
ภิกษุทั้งหลาย ! ทารกนั้น ครั้นเจริญวัยขึ้นแล้ว มีอินทรีย์อันเจริญเต็มที่แล้ว เป็นผู้เอิบอิ่มเพียบพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ให้เขาบำเรออยู่ ทางตาด้วยรูป, ทางหูด้วยเสียง, ทางจมูกด้วยกลิ่น, ทางลิ้นด้วยรส และทางกายด้วยโผฏฐัพพะ ซึ่งล้วนแต่เป็นสิ่งที่ปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ เป็นที่ยวนตา ยวนใจให้รัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดย้อมใจ และเป็นที่ตั้งแห่งความรัก.
ทารกนั้น ครั้นเห็นรูปด้วยตาแล้ว ย่อมกำหนัดยินดีในรูป ที่ยั่วยวนให้เกิดความรัก ย่อมขัดใจในรูป ที่ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความรัก ไม่เป็นผู้ตั้งไว้ซึ่งสติ อันเป็นไปในกาย มีใจเป็นอกุศล ไม่รู้ตามที่เป็นจริง ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับไม่เหลือแห่งธรรมอันเป็นบาป อกุศลทั้งหลาย.
ทารกนั้น ครั้นได้ยินเสียงด้วยหู... ดมกลิ่นด้วยจมูก ... ลิ้มรสด้วยลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ... รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมกำหนัดยินดีในธรรมารมณ์ ที่ยั่วยวนให้เกิดความรัก ย่อมขัดใจในธรรมารมณ์ที่ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความรัก ไม่เป็นผู้ตั้งไว้ซึ่งสติอันเป็นไปในกาย มีใจเป็นอกุศล ไม่รู้ตามที่เป็นจริงซึ่งเจโตวิมุตติ {๑} ปัญญาวิมุตติ {๒} อันเป็นที่ดับไม่เหลือแห่งธรรมอันเป็นบาปอกุศลทั้งหลาย.
๑. เจโตวิมุตติ : การหลุดพ้นอันอาศัยสมถะ (สมาธิ).
๒. ปัญญาวิมุตติ : การหลุดพ้นอันอาศัยวิปัสสนา (ปัญญา).
กุมารน้อยนั้น เมื่อประกอบด้วยความยินดีและความยินร้ายอยู่เช่นนี้แล้ว เสวยเฉพาะซึ่งเวทนาใดๆเป็นสุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็ตาม เขาย่อมเพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่ ซึ่งเวทนานั้นๆ.
เมื่อเป็นอยู่เช่นนั้น ความเพลิน (นันทิ) ย่อมบังเกิดขึ้น ความเพลินใดในเวทนาทั้งหลาย มีอยู่ ความเพลินอันนั้น เป็นอุปาทาน
เพราะอุปาทานของเขานั้นเป็นปัจจัย จึงเกิดมีภพ
เพราะภพเป็นปัจจัย จึงเกิดมีชาติ
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
จึงเกิดมีพร้อม ความก่อขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้แล.
https://etipitaka.com/read/thaipb/11/171/