ว่าด้วยวิภาคแห่งภวตัณหาร้อยแปด..

กระทู้สนทนา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย  เราจักแสดงแก่พวกเธอ ถึงเรื่อง ตัณหา อันมีธรรมชาติ
เหมือนข่ายเป็นเครื่องดักสัตว์ มีธรรมชาติไหลนอง แผ่กว้าง เป็นเครื่องเกาะเกี่ยว
ของสัตว์, ซึ่งด้วยตัณหานั้นเอง สัตว์โลกนี้ ถูกปกคลุมหุ้มห่อไว้ ถูกทำให้
ยุ่งเหยิงเหมือนด้ายยุ่ง ประสานกันสับสนดุจรังนก นุงนังเหมือนพงหญ้ามุญชะ-
และปัพพชะ จึงไม่ล่วงพ้นอบาย ทุคติ วินิบาต และสังสารวัฏไปได้. พวกเธอ
จงฟังข้อความนั้น ทำในใจให้สำเร็จประโยชน์ เราจักกล่าวบัดนี้.

    ครั้งภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น ทูลสนองรับพระพุทธดำรัสแล้ว,
พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้ตรัสพระพุทธวจนะนี้ว่า :-

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ตัณหานั้น เป็นอย่างไรเล่า จึงชื่อว่ามีธรรมชาติเหมือน
ข่ายเป็นเครื่องดักสัตว์มีธรรมชาติไหนนอง แผ่กว้าง เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของ
สัตว์, ซึ่งด้วยตัณหานั้นเอง สัตว์โลกนี้ถูกปกคลุมหุ้มห่อไว้ ถูกทำให้ยุ่งเหยิง
เหมือนด้ายยุ่ง ประสานกันสับสนดุจรังนก นุงนังเหมือนพงหญ้ามุญชะและ
ปัพพชะ จึงไม่ล่วงพ้นอบาย ทุคติ วินิบาต และสังสารวัฏไปได้?

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ตัณหาวิจริต (ความนึกที่ซ่านไปด้วยอำนาจแห่งตัณหา) ๑๘ อย่าง
ที่เข้าไปจับยึดขันธ์อันเป็นภายใน และตัณหาวิจริต ๑๘ อย่าง ที่เข้าไปจับยึดขันธ์
อันเป็นภายนอก เหล่านี้ มีอยู่.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ตัณหาวิจริต (ความนึกที่ซ่านไปด้วยอำนาจแห่งตัณหา)
๑๘ อย่าง ที่เข้าไปจับยึดขันธ์อันเป็นภายใน เหล่านั้น เป็นอย่างไรเล่า?

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ตัณหาวิจริต ๑๘ อย่าง ที่เข้าไปจับยึดขันธ์ อันเป็น
ภายใน นั้นคือ เมื่อมีความนึกไปในทาง ที่ว่า "เรามี เราเป็น" ดังนี้ ก็เกิด
ความนึกที่เป็นไปตามอำนาจแห่งตัณหา ว่า "เรามีอยู่ เป็นอยู่เช่นนั้น" ดังนี้ ๑, ว่า "เรา
เป็นอย่างนี้ ๆ" ดังนี้ ๑, ว่า "เราเป็นอย่างนั้น ๆ (คืออย่างเดียวกันกับคู่เปรียบ)" ดังนี้ ๑,
ว่า "เราเป็นอย่างอื่น (คือแตกต่างตรงกันข้ามจากคู่เปรียบ)" ดังนี้๑, ว่า "เราเป็นผู้ไม่เที่ยง
ไม่ยั่งยืน" ดังนี้ ๑, ว่า "เราเป็นผู้เที่ยงผู้ยั่งยืน" ดังนี้ ๑, ว่า “เราพึงมีอยู่ พึงเป็น
อยู่เข่นนั้น” ดังนี้ ๑ , ว่า “เราพึงเป็นอย่างนี้ ” ๆ ดังนี้ ๑ ,ว่า “เราพึงเป็นอย่างนั้น ๆ”
ดังนี้ ๑, ว่า “เราพึงเป็นอย่างอื่น” ดังนี้ ๑, ว่า "เราพึงมีอยู่ พึงเป็นอยู่เช่นนั้น ดังนี้ ๑,
ว่า "ขอให้เราเป็นอย่างนี้ ๆ" ดังนี้ ๑, ว่า "ขอให้เราเป็นอย่างนั้น ๆ" ดังนี้ ๑, ว่า
"ขอให้เราเป็นอย่างอื่น" ดังนี้ ๑, ว่า "เราจักมีอยู่ จักเป็นอยู่เช่นนั้น" ดังนี้ ๑, ว่า "เรา
จักเป็นอย่างนี้ ๆ" ดังนี้ ๑, ว่า "เราจักเป็นอย่างนั้น ๆ" ดังนี้ ๑, ว่า "เราจักเป็น
อย่างอื่น" ดังนี้๑. ภิกษุ ท.! เหล่านี้แล ชื่อว่า ตัณ หาวิจริต ๑๘ อย่าง ที่
เข้าไปจับยึดขันธ์อันเป็นภายใน.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ตัณหาวิจริต (ความนึกที่ซ่านไปด้วยอำนาจแห่งตัณหา)
๑๘ อย่าง ที่เข้าไปจับยึดขันธ์อันเป็นภายนอก เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท.!
ตัณหาวิจริต ๑๘ อย่าง ที่เข้าไปจับยึดขันธ์อันเป็นภายนอก คือ เมื่อมีความนึกไป
ในทางที่ว่า "เรามี เราเป็น ด้วยสิ่ง (คือขันธ์อันเป็นภายนอก) นี้" ดังนี้ ก็เกิดความ
นึกที่เป็นไปตามอำนาจแห่งตัณหา ว่า "เรามีอยู่ เป็นอยู่เช่นนั้น ด้วยสิ่ง (คือขันธ์อันเป็นภายนอก)
นี้" ดังนี้ ๑, ว่า "เราเป็นอย่างนี้ ๆ ด้วยสิ่งนี้" ดังนี้ ๑, ว่า "เราเป็นอย่างนั้น ๆ
ด้วยสิ่งนี้" ดังนี้ ๑, ว่า "เราเป็นอย่างอื่นด้วยสิ่งนี้" ดังนี้ ๑, ว่า "เราเป็นผู้ไม่เที่ยง
ไม่ยั่งยืน ด้วยสิ่งนี้" ดังนี้ ๑, ว่า "เราเป็นผู้เที่ยง ผู้ยั่งยืน ด้วยสิ่งนี้" ดังนี้ ๑, ว่า
"เราพึงมีอยู่ พึงเป็นอยู่เช่นนั้น ด้วยสิ่งนี้" ดังนี้ ๑, ว่า "เราพึงเป็นอย่างนี้ ๆ ด้วยสิ่งนี้"
ดังนี้ ๑, ว่า "เราพึงเป็นอย่างนั้น ๆ ด้วยสิ่งนี้" ดังนี้ ๑, ว่า "เราพึงเป็นอย่างอื่น
ด้วยสิ่งนี้" ดังนี้ ๑, ว่า "ขอให้เรามีอยู่ เป็นอยู่เช่นนั้น ด้วยสิ่งนี้" ดังนี้ ๑, ว่า "ขอให้
เราเป็นอย่างนี้ ๆ ด้วยสิ่งนี้" ดังนี้ ๑, ว่า "ขอให้เราเป็นอย่างนั้น ๆ ด้วยสิ่งนี้" ดังนี้ ๑,
ว่า "ขอให้เราเป็นอย่างอื่น ด้วยสิ่งนี้" ดังนี้ ๑, ว่า "เราจักมีอยู่ จักเป็นอยู่ ด้วยสิ่งนี้"
ดังนี้ ๑, ว่า "เราจักเป็นอย่างนี้ ๆ ด้วยสิ่งนี้" ดังนี้ ๑, ว่า "เราจักเป็นอย่างนั้น ๆ
ด้วยสิ่งนี้" ดังนี้ ๑, ว่า "เราจักเป็นอย่างอื่น ด้วยสิ่งนี้" ดังนี้ ๑, ภิกษุ ท.!
เหล่านี้แล ชื่อว่า ตัณหาวิจริต ๑๘ อย่าง ที่เข้าไปจับยึดขันธ์อันเป็นภายนอก.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ด้วยเหตุนี้แหละ ตัณหาวิจริต ๑๘ อย่าง ที่เข้าไปจับยึด
ขันธ์อันเป็นภายในด้วยและตัณหาวิจริต ๑๘ อย่าง ที่เข้าไปจับยึดขันธ์อันเป็น
ภายนอกด้วย เหล่านี้แล เรียกว่า ตัณหาวิจริต๓๖ อย่าง.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ด้วยเหตุนี้แหละ ตัณหาวิจริตอย่างนี้แล เป็นอดีต ๓๖
อย่าง, เป็นอนาคต๓๖ อย่าง, และปัจจุบัน ๓๖ อย่าง, รวมเป็นตัณหาวิจริต
๑๐๘ อย่าง.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย  นี่แลคือ ตัณหานั้น อันมีธรรมชาติเหมือนข่ายเป็น
เครื่องดักสัตว์ มีธรรมชาติไหลนอง แผ่กว้าง เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของสัตว์
ซึ่งด้วยตัณหานั้นเอง สัตว์โลกนี้ ถูกปกคลุมหุ้มห่อไว้ถูกทำ ให้ยุ่งเหยิงเหมือน
ด้ายยุ่ง ประสานกับสับสนดุจรังนก นุงนังเหมือนพงหญ้ามุญชะและปัพพชะ
จึงไม่ล่วงพ้นอบาย ทุคติ วินิบาต และสังสารวัฏไปได้ แล.

- จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๙๙/๒๘๙

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------
หญ้าสองชนิดนี้ เคยแปลกันว่า หญ้ามุงกระต่ายและหญ้าปล้อง แต่ไม่มีหลักฐานที่แน่นอน.
ในที่นี้จึงไม่แปลไว้.
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่