การดื่มชาเขียว ช่วยในการสลายไขมันในร่างกายได้จริงหรือครับ

ผมเห็นมีบทความเขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่บ่อยๆ เลยอยากทราบว่ามันช่วยได้จริงไหมครับ แล้วมีเอกสารวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้บ้างไหมครับ พอดีสนใจอยากลดไขมันในร่างกายเหมือนกัน ( ปกติก็ออกกำลังกายอยู่แล้วนะครับ หัวเราะ ) ถ้าช่วยสลายไขมันได้เร็วขึ้นอย่างว่าจริงๆ ก็จะไปลองหามาต้มดื่มสักหน่อยครับ แล้วถ้าช่วยสลายไขมันได้จริงๆ ผมสามารถกินชาเขียวเย็นแทนชาเขียวร้อนได้ไหมครับ หรือต้องชาเขียวร้อนเท่านั้นที่มีคุณสมบัติด้านนี้ ขอบคุณครับ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
ดาบสองคมครับ
ชาเขียวมีสารเทนนินสูง ซึ่งตัวนี้เป็นตัวจับสารอื่นเก่ง ทำปฎิกริยากับสารอื่นง่าย จึงจับอนุมูลอิสระ และสารอาหารอื่นได้ดี ซึ่งสารอนุมูลอิสระไม่ว่าจากมลพิษ ไขมันเลวนั้น เป็นตัวทำลายเซลล์ ทำให้เซลล์เสื่อม การดืมชาจึงช่วยยืดอายุเซลล์ด้วย สารเทนนินจะออกมามากน้อยขึ้นอยู่หลายอย่าง อย่างความร้อนก็มีผล ร้อนมาก สารเทนนินออกมามาขึ้น เพราะเซลล์ของชาแตกมากขึ้น หรือแช่ชาไว้นาน ๆ ก็ทำให้มากขึ้นเช่นกัน ซึ่งสารนี้มีรสขม จึงสังเกตุได้ว่าชาจะขมขึ้น และเพราะการจับสารและไขมันอื่นได้ดี เวลาดื่มชาหลังอาหารเลี่ยน ๆ หรือเผ็ด จึงทำให้หายเลี่ยนได้แทบทันที และมีสารฆ่าเชื้อโรคบางอย่าง และกำจัดกลิ่นได้ดี

จากการที่มันจับเก่งจึงมีข้อดี แต่ก็เป็นข้อเสียเช่นกัน เพราะมันจะไม่ใช่แค่จับสารไม่ดีเท่านั้น สารอาหารดี ๆ อื่นๆ ที่จำเป็นต่อร่างกายพลอยโดนจับไปด้วย โดยเฉพาะแคลเซียม ซึ่งร่างกายดูดซึมได้ต้องอาศัยสารอื่นอย่างวิตามิน D ช่วย ซึ่งเจ้าแทนนินตัวนี้จะจับแคลเซียมทำให้ขาดแคลเซียมได้ และเนื่องจากมันไปจับสารอื่นแล้ว มันจึงไม่จับสารอนุมูลตัวอื่นอีก เรียกว่า อยากให้จับสิ่งเลว ๆ แต่ดันไปจับสิ่งดีแทน ดังนั้นจึงไม่ควรกินกับนม เช่น ชานม เพราะไม่ได้ประโยชน์อะไรจากเทนนินเลย นอกจากนี้ จับสารอาหารอื่น เช่น เหล็ก ทำให้ขาดธาตุเหล็กได้ หรือชามีน้ำตาล มันก็จับกับน้ำตาลแล้ว เทนนินที่เข้าร่างกายก็ไม่จับสารอนุมูลอื่น ๆ ในร่างกายแล้ว แถมยังตกตะกอนเป็นผลึกได้ ซึ่งเป็นผลเสียต่อร่างกาย ต่อไต

ชา มันยังทำให้ระบบความดันเลือดสูงขึ้นเช่นกัน เพราะมีคาเฟอีน มีงานวิจัยพบว่า ใบชามีคาเฟอีนสูงกว่ากาแฟซะอีก แต่เนื่องจากเทนนินจับเคเฟอีนไปบางส่วน จึงมีคาเฟอีนน้อยกกว่ากาแฟ ซึ่งถึงแม้ว่าเทนนินจะจับคาเฟอีนไปบ้างแล้ว แต่ก็ยังมีผลต่อร่างกายเช่นกัน และไม่ควรดื่มเมื่อมีไข้ เพราะทำให้ไข้สูงขึ้นได้ และยังลดการขับน้ำขับเหงื่อ ซึ่งทำให้หายไข้ช้า และอาจทำให้ท้องผูกได้ เพราะลำไส้ใหญ่ไม่ให้ความชุ่มชื่นกับกากอาหาร(คงเป็นเพราะเหตุนี้ จึงเคยเจอว่า ชาเคยใช้รักษาโรคอหิวาห์ในสมัยโบราณ)

ดังนั้น การดื่มชาที่ถูกต้อง ไม่ควรดื่มมากเกินไปและเลือกดื่มถูกเวลา ไม่ควรดื่มก่อนนอนหรือพร้อมกับอาหารหรือหลังอาหาร ไม่ควรดื่มแบบใส่นมหรือมีน้ำตาล จึงจะได้ประโยชน์จากชาครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่