หลายๆคนมักคิดว่า การมีบ้านที่ใหญ่กว่า มีงานที่สำคัญกว่า มีหน้าตาดีกว่า มีหรือแฟนที่เซ็กซี่กว่านั้น จะทำให้เรามีความสุขมากขึ้นในระยะยาว ทั้งๆที่ในความเป็นจริงนั้น ความสุขที่เราได้จากสิ่ง(หรือคน)เหล่านี้ นั้น
สั้นกว่าและน้อยกว่าที่คิด อีกหนึ่งตัวอย่างคือ ผลสำรวจจากงานวิจัยของคุณ Dan Gilbert ที่พบว่า
เมื่อเวลาผ่านไป 1 ปีผู้ที่ถูกรางวัลใหญ่ล็อตเตอรี่ กับผู้ประสบอุบัติเหตุจนพิการ ไม่ได้มีความสุขมากหรือน้อยไปกว่ากันเลย!
ดูคุณ Dan Gilbert พูดใน Tedtalk:
http://www.ted.com/talks/dan_gilbert_asks_why_are_we_happy#t-171737
แต่ยังดี ที่เรื่องร้ายๆส่วนใหญ่ในชีวิต เช่นตกงาน อกหัก หรือการพิการ ก็ไม่ได้ทำให้ชีวิตแย่ลงเท่าที่เราคิดไว้ เช่นกัน ผมเองก็เคยสัมผัสกับความทุกข์ประมาณนี้ ตอนที่คุณพ่อคุณแม่ส่งต่อไปอยู่โรงเรียนประจำที่อังกฤษตอนมัธยมปลาย ถึงมันจะไม่ได้ทำให้ผมถึงกับขาขาดเดินไม่ได้ แต่การจากบ้านมาไกลก็ทำให้เศร้าอยู่หลายสิบวันเลยครับ ช่วงแรกๆนั้นแย่ที่สุด ผมมักจะคิดว่า “ต้องอยู่อย่างนี้ไปอีกสามปีเลยหรอ(วะ)!” แต่หลังจากนั้นไม่นาน ผมก็ปรับตัวได้และก็กลับมามีความสุขเหมือนเดิม
คุณ Dan Gilbert เรียกการคำนวนที่ผิดพลาดจำพวกนี้ว่า
Impact Bias และบอกว่า เรามักเปรียบเทียบสิ่งดีๆเหล่านั้น กับสิ่งที่เรามีในปัจจุบัน แต่ไม่ได้คำนึงถึงการ "ปรับตัว" ของสมองของเรานั่นเอง
อ้าว! แล้วในเมื่อคนที่ถูกล็อตเตอรี่รางวัลที่ 1 กับคนที่เสียแขนไปข้างนึง ยังไงก็กลับมามีความสุขเท่ากันในหนึ่งปี แล้วอย่างงี้เราจะหาความสุขไปเพื่ออะไร? แล้วอย่างนี้เราควรจะใช้ชีวิตยังไงกันแน่? เราสามารถทำอะไรได้บ้าง ให้มีความสุขมากขึ้นแบบถาวร? นั่นคือคำถามที่คุณศาสตราจารย์ Jonathan Haidt ผู้เขียนหนังสือ “Happiness Hypothesis” ตั้งขึ้น
ปล. ความสุขหรือความทุกข์เหตุการณ์ที่ดีขึ้นเรื่อยๆ หรือแย่ลงเรือยๆ เช่นการค่อยๆพัฒนาความสามารถ หรือการเป็นมะเร็งนั้น ต่างจากเนื้อหาที่กำลังพูดถึง และมีผลกระทบต่อเราในระยะยาวนะครับ
คำตอบของข้อแรก – “แล้วเราจะใช้ชีวิตยังไง?” นั้น ผมได้พูดถึงใน
บล็อกก่อนหน้านี้แล้ว ครั้งนี้เราจะมาตอบคำถามที่สอง – “เราสามารถทำอะไรได้บ้าง ให้มีความสุขมากขึ้นแบบถาวร?“ (อ่านได้ที่
http://wp.me/p5wUp7-9E คร้าบ)
ผลสำรวจในสาขาจิตวิทยาค้นพบว่า มี
ปัจจัยภายนอกหลายๆชนิด (นอกเหนือจากอารมณ์ ความคิด หรือพันธุกรรมของเรา)
ที่ไม่ว่าเกิดขึ้นกับเราทีไร เราก็ไม่สามารถปรับตัวให้ชินกับผลร้ายของมันได้ซักที ไม่ว่าจะประสบกับมันกี่สิบกี่ร้อยทีก็ตาม เพราะฉะนั้นเราควรพยายามที่จะหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ไม่ดีเหล่านี้ เพื่อที่เราจะได้มีความสุขขึ้นอย่างถาวร เห็นด้วยรึเปล่าลองมาดูปัจจัยที่ว่ากันครับ
1) เสียงระกวน ผลวิจัยพบว่า ผู้ที่อาศัยอยู่ในที่ที่มีเสียงรบกวน (เช่นใกล้ทางด่วนหรือสี่แยกที่มีแตรดัง) โดยเฉพาะแบบที่ดังขึ้นเป็นระลอกๆ (เสียงแตร หวอ) นั้น จะได้รับผลเสียต่อความสามารถในการใช้กระบวนความคิดในระยะยาว ผมเองประสบกับปัญหานี้โดยตรง หอพักของผมอยู่ตรงสี่แยกใหญ่ซึ่งทำให้บ่อยครั้งมีรถตำรวจ และรถพยาบาลเปิดหวอดังมากๆวิ่งผ่าน จนตอนนี้ผ่านมาจะ 1 ปีแล้ว ผมยังไม่ชินกับเสียงที่อยู่ดีๆก็โผล่มาซักที เพราะฉะนั้นเราควรพยายามที่จะลดเสียงรบกวนต่างๆในชีวิต เช่นติดกระจกกันเสียงเป็นต้นนอกจากนี้ ส่วนตัวผมคิดว่ากลิ่นเหม็นหรืออากาศเสีย ก็น่าจะมีผลเสียไม่แพ้เสียงเลยครับ
2) การเดินทางไปทำงาน หลายๆคนยอมเดินทางไกลขึ้น เพื่อได้อยู่บ้านที่ใหญ่กว่า แต่อย่างที่กล่าวไว้ด้านบน บ้านที่ใหญ่ขึ้น หรูขึ้นนั้น ไม่ได้ทำให้ความสุขเท่าที่เราคิด ไม่นานการอาศัยอยู่ในบ้านใหม่ที่”ดีกว่า”ของเรานั้น ก็จะกลายเป็นเรื่อง”ปกติ” หรือ New Normal ในทางกลับกัน เรามักจะไม่ทางปรับตัว กับการเผชิญรถติดบนถนน วันละสองชั่วโมงเพื่อไปทำงาน ผลสำรวจพบว่า ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ปี คนที่ต้องเผชิญรถติดทุกๆวัน มีระดับฮอร์โมนความเครียดสูงกว่าคนที่เดินทางในระดับที่ “กำลังสบาย” (ขอเดาว่า น้อยกว่า 30 นาทีต่อเที่ยว) เพราะฉะนั้น ถ้าย้ายบ้านไม่ได้ ก็ต้องพยายามหาอะไรฟังบนรถที่มีประโยชน์และไม่เบื่อครับ (
https://metapon.wordpress.com/2015/03/22/audible-review/)
3) การไร้ซึ่งการควบคุม มีผลการวิจัยหลายชิ้นพบว่า การที่เราไม่มีความสามารถในการควบคุมสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นกับเรานั้น ทำให้เรามีความสุขและความพยายามน้อยลง จริงๆ เสียง และรถติดก็เป็นสิ่งที่เราควบคุมไม่ได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้นเราควรพยายามหลีกเลี่ยงสิ่งที่เราควบคุมไม่ได้ในชีวิตประจำวัน เช่นหัวหน้าที่อยู่ดีๆก็ปะทุแบบไร้สาเหตุ แต่ต้องอย่าลืมว่าหลายๆเราสามารถมีผลกระทบต่อสิ่งต่างๆและคนรอบๆตัวเรา ได้มากกว่าที่เราคิด อย่าโทษคนอื่นอย่างเดียว (be proactive
http://www.behavior-change.net/covey-habit-1-be-proactive/)
4) ความอับอาย ผมเชื่อว่าทุกคนคงไม่ชินกับความอับอาย ถึงอาจจะเป็นที่น่าถกเถียง แต่ผลการวิจัยพบว่า คนที่ทำศัลยกรรมเพื่อเพิ่มความมั่นใจของตัวเองนั้น รายงานว่ามีความสุขเพิ่มขึ้นในระยะยาว (เพิ่มขึ้นมากสุดในกลุ่มที่ทำศัลยกรรมหน้าอก) อย่างไรก็ตามการเพิ่มขึ้นของความสุขนั้นมีผลกับคนที่คิดมากทุกครั้งที่ได้เห็นตัวเองในกระจก แต่สำหรับคนที่ปกติอยู่แล้วนั้น อีกผลวิจัยค้นพบว่าคนที่หน้าตาดีกว่านั้น โดยเฉลี่ยไม่ได้มีความสุขมากไปกว่าคนที่หน้าตาแย่เลย
5) ความสัมพันธ์กับคนอื่น ปัจจัยที่สำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์กับคนรัก ครอบครัว หรือเพื่อร่วมห้อง คนที่มีความสัมพันธ์กับคนอื่นที่ดี โดยรวมแล้วมีความสุขกว่าคนที่มีศัตรูเยอะ เราไม่มีทางชินกับการทะเลาะเบาะแว้ง เพราะฉะนั้นการมีปัญหากับคู่รักและคนอื่นๆอย่างต่อเนื่อง จะนำเราไปสู้ชีวิตที่ไม่เป็นสุขอย่างแน่นอน
จริงๆแล้ว 5 ปัจจัยนี้เป็นแค่ตัวอย่าง ที่คุณ Haidt แนะนำ จริงๆแล้วยังมีอีกหลายปัจจัย (รวมถึงปัจจัยภายในที่วันนี้ไม่ได้พูดถึง เช่นการทำสมาธิ) ที่จะนำมาซึ่งความสุข (หรือความทุกข์) ในระยะยาว เพื่อนๆคิดอันไหนออก คอมเม้นต์ไว้ได้เลยนะครับ ^^
อ่านต่อ บทความ “เงินกับความสุข” ของ ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
https://www.facebook.com/notes/289307044431813/
ซื้อ หนังสือ Happiness Hypothesis ของคุณ Jonathan Haidt ได้ที่
http://www.amazon.com/The-Happiness-Hypothesis-Finding-Ancient/dp/0465028020
ถ้าชอบโพตืนี้ อย่าลืมไป subscribe บล็อคเป็นกำลังใจด้วยนะคร้าบ ><
http://metapon.wordpress.com หรือที่
http://www.facebook.com/metaponblog ขอบคุณครับ ( ^ /\ ^ )
อยากมีความสุขที่มากขึ้นอย่างถาวร? จงหลีกเลี่ยง 5 สิ่งนี้! [จากหนังสือ Happiness Hypothesis]
ดูคุณ Dan Gilbert พูดใน Tedtalk: http://www.ted.com/talks/dan_gilbert_asks_why_are_we_happy#t-171737
แต่ยังดี ที่เรื่องร้ายๆส่วนใหญ่ในชีวิต เช่นตกงาน อกหัก หรือการพิการ ก็ไม่ได้ทำให้ชีวิตแย่ลงเท่าที่เราคิดไว้ เช่นกัน ผมเองก็เคยสัมผัสกับความทุกข์ประมาณนี้ ตอนที่คุณพ่อคุณแม่ส่งต่อไปอยู่โรงเรียนประจำที่อังกฤษตอนมัธยมปลาย ถึงมันจะไม่ได้ทำให้ผมถึงกับขาขาดเดินไม่ได้ แต่การจากบ้านมาไกลก็ทำให้เศร้าอยู่หลายสิบวันเลยครับ ช่วงแรกๆนั้นแย่ที่สุด ผมมักจะคิดว่า “ต้องอยู่อย่างนี้ไปอีกสามปีเลยหรอ(วะ)!” แต่หลังจากนั้นไม่นาน ผมก็ปรับตัวได้และก็กลับมามีความสุขเหมือนเดิม
คุณ Dan Gilbert เรียกการคำนวนที่ผิดพลาดจำพวกนี้ว่า Impact Bias และบอกว่า เรามักเปรียบเทียบสิ่งดีๆเหล่านั้น กับสิ่งที่เรามีในปัจจุบัน แต่ไม่ได้คำนึงถึงการ "ปรับตัว" ของสมองของเรานั่นเอง
อ้าว! แล้วในเมื่อคนที่ถูกล็อตเตอรี่รางวัลที่ 1 กับคนที่เสียแขนไปข้างนึง ยังไงก็กลับมามีความสุขเท่ากันในหนึ่งปี แล้วอย่างงี้เราจะหาความสุขไปเพื่ออะไร? แล้วอย่างนี้เราควรจะใช้ชีวิตยังไงกันแน่? เราสามารถทำอะไรได้บ้าง ให้มีความสุขมากขึ้นแบบถาวร? นั่นคือคำถามที่คุณศาสตราจารย์ Jonathan Haidt ผู้เขียนหนังสือ “Happiness Hypothesis” ตั้งขึ้น
ปล. ความสุขหรือความทุกข์เหตุการณ์ที่ดีขึ้นเรื่อยๆ หรือแย่ลงเรือยๆ เช่นการค่อยๆพัฒนาความสามารถ หรือการเป็นมะเร็งนั้น ต่างจากเนื้อหาที่กำลังพูดถึง และมีผลกระทบต่อเราในระยะยาวนะครับ
คำตอบของข้อแรก – “แล้วเราจะใช้ชีวิตยังไง?” นั้น ผมได้พูดถึงในบล็อกก่อนหน้านี้แล้ว ครั้งนี้เราจะมาตอบคำถามที่สอง – “เราสามารถทำอะไรได้บ้าง ให้มีความสุขมากขึ้นแบบถาวร?“ (อ่านได้ที่ http://wp.me/p5wUp7-9E คร้าบ)
ผลสำรวจในสาขาจิตวิทยาค้นพบว่า มีปัจจัยภายนอกหลายๆชนิด (นอกเหนือจากอารมณ์ ความคิด หรือพันธุกรรมของเรา) ที่ไม่ว่าเกิดขึ้นกับเราทีไร เราก็ไม่สามารถปรับตัวให้ชินกับผลร้ายของมันได้ซักที ไม่ว่าจะประสบกับมันกี่สิบกี่ร้อยทีก็ตาม เพราะฉะนั้นเราควรพยายามที่จะหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ไม่ดีเหล่านี้ เพื่อที่เราจะได้มีความสุขขึ้นอย่างถาวร เห็นด้วยรึเปล่าลองมาดูปัจจัยที่ว่ากันครับ
1) เสียงระกวน ผลวิจัยพบว่า ผู้ที่อาศัยอยู่ในที่ที่มีเสียงรบกวน (เช่นใกล้ทางด่วนหรือสี่แยกที่มีแตรดัง) โดยเฉพาะแบบที่ดังขึ้นเป็นระลอกๆ (เสียงแตร หวอ) นั้น จะได้รับผลเสียต่อความสามารถในการใช้กระบวนความคิดในระยะยาว ผมเองประสบกับปัญหานี้โดยตรง หอพักของผมอยู่ตรงสี่แยกใหญ่ซึ่งทำให้บ่อยครั้งมีรถตำรวจ และรถพยาบาลเปิดหวอดังมากๆวิ่งผ่าน จนตอนนี้ผ่านมาจะ 1 ปีแล้ว ผมยังไม่ชินกับเสียงที่อยู่ดีๆก็โผล่มาซักที เพราะฉะนั้นเราควรพยายามที่จะลดเสียงรบกวนต่างๆในชีวิต เช่นติดกระจกกันเสียงเป็นต้นนอกจากนี้ ส่วนตัวผมคิดว่ากลิ่นเหม็นหรืออากาศเสีย ก็น่าจะมีผลเสียไม่แพ้เสียงเลยครับ
2) การเดินทางไปทำงาน หลายๆคนยอมเดินทางไกลขึ้น เพื่อได้อยู่บ้านที่ใหญ่กว่า แต่อย่างที่กล่าวไว้ด้านบน บ้านที่ใหญ่ขึ้น หรูขึ้นนั้น ไม่ได้ทำให้ความสุขเท่าที่เราคิด ไม่นานการอาศัยอยู่ในบ้านใหม่ที่”ดีกว่า”ของเรานั้น ก็จะกลายเป็นเรื่อง”ปกติ” หรือ New Normal ในทางกลับกัน เรามักจะไม่ทางปรับตัว กับการเผชิญรถติดบนถนน วันละสองชั่วโมงเพื่อไปทำงาน ผลสำรวจพบว่า ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ปี คนที่ต้องเผชิญรถติดทุกๆวัน มีระดับฮอร์โมนความเครียดสูงกว่าคนที่เดินทางในระดับที่ “กำลังสบาย” (ขอเดาว่า น้อยกว่า 30 นาทีต่อเที่ยว) เพราะฉะนั้น ถ้าย้ายบ้านไม่ได้ ก็ต้องพยายามหาอะไรฟังบนรถที่มีประโยชน์และไม่เบื่อครับ (https://metapon.wordpress.com/2015/03/22/audible-review/)
3) การไร้ซึ่งการควบคุม มีผลการวิจัยหลายชิ้นพบว่า การที่เราไม่มีความสามารถในการควบคุมสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นกับเรานั้น ทำให้เรามีความสุขและความพยายามน้อยลง จริงๆ เสียง และรถติดก็เป็นสิ่งที่เราควบคุมไม่ได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้นเราควรพยายามหลีกเลี่ยงสิ่งที่เราควบคุมไม่ได้ในชีวิตประจำวัน เช่นหัวหน้าที่อยู่ดีๆก็ปะทุแบบไร้สาเหตุ แต่ต้องอย่าลืมว่าหลายๆเราสามารถมีผลกระทบต่อสิ่งต่างๆและคนรอบๆตัวเรา ได้มากกว่าที่เราคิด อย่าโทษคนอื่นอย่างเดียว (be proactive http://www.behavior-change.net/covey-habit-1-be-proactive/)
4) ความอับอาย ผมเชื่อว่าทุกคนคงไม่ชินกับความอับอาย ถึงอาจจะเป็นที่น่าถกเถียง แต่ผลการวิจัยพบว่า คนที่ทำศัลยกรรมเพื่อเพิ่มความมั่นใจของตัวเองนั้น รายงานว่ามีความสุขเพิ่มขึ้นในระยะยาว (เพิ่มขึ้นมากสุดในกลุ่มที่ทำศัลยกรรมหน้าอก) อย่างไรก็ตามการเพิ่มขึ้นของความสุขนั้นมีผลกับคนที่คิดมากทุกครั้งที่ได้เห็นตัวเองในกระจก แต่สำหรับคนที่ปกติอยู่แล้วนั้น อีกผลวิจัยค้นพบว่าคนที่หน้าตาดีกว่านั้น โดยเฉลี่ยไม่ได้มีความสุขมากไปกว่าคนที่หน้าตาแย่เลย
5) ความสัมพันธ์กับคนอื่น ปัจจัยที่สำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์กับคนรัก ครอบครัว หรือเพื่อร่วมห้อง คนที่มีความสัมพันธ์กับคนอื่นที่ดี โดยรวมแล้วมีความสุขกว่าคนที่มีศัตรูเยอะ เราไม่มีทางชินกับการทะเลาะเบาะแว้ง เพราะฉะนั้นการมีปัญหากับคู่รักและคนอื่นๆอย่างต่อเนื่อง จะนำเราไปสู้ชีวิตที่ไม่เป็นสุขอย่างแน่นอน
จริงๆแล้ว 5 ปัจจัยนี้เป็นแค่ตัวอย่าง ที่คุณ Haidt แนะนำ จริงๆแล้วยังมีอีกหลายปัจจัย (รวมถึงปัจจัยภายในที่วันนี้ไม่ได้พูดถึง เช่นการทำสมาธิ) ที่จะนำมาซึ่งความสุข (หรือความทุกข์) ในระยะยาว เพื่อนๆคิดอันไหนออก คอมเม้นต์ไว้ได้เลยนะครับ ^^
อ่านต่อ บทความ “เงินกับความสุข” ของ ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร https://www.facebook.com/notes/289307044431813/
ซื้อ หนังสือ Happiness Hypothesis ของคุณ Jonathan Haidt ได้ที่ http://www.amazon.com/The-Happiness-Hypothesis-Finding-Ancient/dp/0465028020
ถ้าชอบโพตืนี้ อย่าลืมไป subscribe บล็อคเป็นกำลังใจด้วยนะคร้าบ >< http://metapon.wordpress.com หรือที่ http://www.facebook.com/metaponblog ขอบคุณครับ ( ^ /\ ^ )