ออกตัวก่อนว่าเราไม่ใช่ผู้เชียวชาญ หรือมีความรู้มากมายอะไรนะคะ
คือพออ่าน พอศึกษามาบ้าง (แต่ถ้าบทความยาวมากๆ ก็ข้ามเช่นกัน - -*)
ถ้าความเข้าใจเราผิดพลาดประการใด หรือตรงไหนไม่จริง ช่วยกันท้วงติงได้ค่ะ
ตอนนี้กระแสคลีนฟู้ดมาแรงมาก จริงๆ มันแรงมานานพักใหญ่ๆ (จนบางคนเลิกกินไปแล้วก็มี)
โดยมีความเชื่อหลักๆ ว่า "การทานอาหารคลีนจะช่วยลดน้ำหนัก ลดความอ้วนได้"
แต่ๆๆ... จากที่เห็นหลายๆ กระทู้ที่ตั้งรีวิวอาหาร (ไม่ได้ตั้งใจจะพาดพิง หรือเอยในทางที่ไม่ดีนะคะ)
เราเชื่อว่ากว่าครึ่งมีความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับอาหารคลีน ฟู้ด ...
วันนี้เลยจะมาอธิบายง่ายๆ ทำความเข้าใจกับสาวๆ (หรือหนุ่มๆ) ในเรื่องนี้ซักเล็กน้อย
******************************************************************************
******************************************************************************
ไม่ต้องกลัวว่าเนื้อหาในกระทู้นี้จะอ่านยาก หรือน่าเบื่อจนไม่อยากอ่านนะคะ
เพราะในกระทู้นี้จะไม่มีการยกคำอธิบายแบบเป็นทางการ หรือเชิงวิชาการมาอ้างใดๆ ทั้งสิ้น
เรามาคุยกันแบบดิบๆ เถื่อนๆ (อันหลังไม่เกี่ยว ฮาาา) บ้านๆ ภาษาคนธรรมดาคุยกันนี่แหละเนอะ
******************************************************************************
******************************************************************************
ก่อนอื่น... อาหารคลีน คืออะไร !?
อาหารคลีน คือ อาหารที่ผ่านกระบวนการ "ปรุงแต่งน้อยที่สุด" โดยใช้กระบวนการที่ทำให้อาหารสุก พร้อมทานอย่างง่ายๆ
เช่น อุ่น ตุ๋น ต้ม นึ่ง อบ จี่(หมายถึงการสเปรย์น้ำมันบางๆ ลงบนกระทะแล้วนำอาหารไปแนบ)
จริงๆ มันคล้ายๆ กับอาหาร Raw Food (การทานอาหารสดๆ หรือผ่านความร้อนไม่เกินประมาณ 45 องศา)
ต่างกันตรงที่ Clean Food สามารถนำไปทำให้สุกได้ แต่ Raw Food นั้นจะทานกับแบบสดๆ หรือผ่านความร้อนน้อยมาก
อธิบายง่ายๆ เดินไปตลาดซื้อมันมาหัวนึง มาถึงล้าง ปอกเปลือก แล้วกินเลย นั่นคือ Raw food
ในขณะเดียวกัน มีมันหัวนึง เอามาต้ม ใส่นมถั่วเหลือง นั่นคือ Clean food
แล้วพวกเครื่องเทศ พริก เกลือ น้ำมัน... สิ่งเหล่านี้คลีนหรือไม่
คำตอบคือ ขึ้นอยู่กับว่าใส่ในปริมาณเท่าไหร่ในอาหาร มันไม่มีคำตอบตายตัว
ถ้าใส่เครื่องเทศ พริก หรือโรยเกลือเพื่อเพิ่มรสชาติเล็กน้อย แล้วสเปรย์น้ำมันบางๆ
โดยที่ไม่ทำให้รสชาติดั้งเดิมของวัตถุดิบเสีย หรือรสไม่จัดจ้านจนเกินไป ก็ยังนับเป็นอาหารคลีนอยู่
และแน่นอนว่าอาการกระป๋อง ผงชูรส อาหารหมักดอง ไส้กรอก แฮม เส้นมาม่า เส้นที่ทำจากแป้งขาว
ซอสต่างๆ สลัดน้ำข้น แป้งขัดสี น้ำตาลขัดสี โยเกิร์ตปรุงแต่ง สารเสริมอาหาร สารกันบูด
เรียกว่า อาหารที่ผ่านกระบวนการทางอุตสาหกรรม เกือบทั้งหมด ล้วนไม่คลีน
แต่ขณะเดียวกัน ถ้าใช้น้ำมันในปริมาณมากๆ แม้จะเป็นน้ำมันดีๆ อย่างคาโนล่า มะพร้าว รำข้าว หรืออื่นๆ
แต่ก็ไม่นับว่าเป็นอาหารคลีน เพราะอะไร? ... เพราะการทอด เป็นการนำอาหารไปผ่านความร้อนเป็นเวลานาน
ซึ่งอาจทำให้อาหารเสียคุณค่าทางโภชนาการ เกิดสารอันตรายบางอย่างขึ้นในระหว่างที่ทอด เและเกิดโทษต่อร่างกาย
.
.
.
แล้วอะไรล่ะ ที่คนชอบสับสน... เกี่ยวกับ อาหารคลีน
- อาหารคลีน ไม่ใช่ ย้ำตัวโตๆ ว่า ไม่ใช่ อาหารแคลอรีต่ำ แต่เป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เพราะผ่านการปรุงแต่งน้อยมาก
- เช่นเดียวกัน อาหารคลีนไม่ใช่อาหารลดน้ำหนัก ด้วยเหตุผลเดียวกันกับข้างต้น แต่มีผลพลอยได้คื ทำให้น้ำหนักตัวลดลงได้
- อาหารคลีนไม่ใช่อาหารที่ "ปราศจากแป้งและน้ำมัน" บางคนเข้าใจว่าทานคลีนต้องงดแกมันน่ารังเกียจ อันนี้มันไม่ใช่นะยูวว ว ว
- อาหารคลีนต้องจืด ไร้รสชาติ... ไม่เสมอไป ถ้ารู้จักปรุง มิกซ์ส่วนผสม แม้แทบไม่ปรุงแต่เลือกใช้วัตถุดิบเป็นก็ทำให้อาหารมีรสชาติได้
(เช่นการใช้มะนาว มะขามเปียกเพื่อเพิ่มความเปรี้ยว ใช้ความหวานตามธรรมชาติของวัตถุดิบอย่างฟักทอง แครอทต้ม มันหวาน ข้าวโพดหวาน)
*** อาหารคลีนไม่สามารถบ่งบอกได้ด้วยชื่อเมนู แต่ต้องอาศัยดูวัตถุดิบ และขั้นตอนการทำ
หลายคนงงๆ เอ๊ะ! ยังไง?
เช่น
... เราบอกว่าวันนี้เราทานวาฟเฟิล สังขยา คลีนไหม ดูจากชื่อ ไม่แน่ๆ
ส่วนผสมล่ะ วาฟเฟิล: แป้งข้าวไรท์ดำ ไข่ น้ำสะอาด น้ำผึ้ง, สังขยา: ไข่ นมถั่วเหลือง น้ำหญ้าหวาน
พอดูส่วนผสม เฮ้ย มันก็คลีนนะแก ไม่มีส่วนผสมอะไรที่ไม่คลีนซักอย่าง (หญ้าหวานต้มแล้วกรองเอาน้ำแบบชงชา)
... ขณะเดียวกัน มื้อกลางวันเราบอกว่าเราทานสันในไก่พริกไทยดำ ดูแล้วน่าจะคลีน
แต่ความจริงคือ เราเอาสันในไก่ มาตัดมันทิ้ง หมักผงปรุงรสหรือน้ำปรุงรส(สำเร็จ) รัวๆ แล้วโยนเข้าไมโครเวฟ
คือ เนื้อไก่น่ะคลีน แต่เครื่องปรุงรสน่ะไม่อย่างแรง (แต่ถามว่าอร่อยมั๊ย มากกก พอดีเราเน้นอร่อย ไม่เน้นคลีนเท่าไหร่ ฮาาา)
ฉะนั้น อย่าเพิ่งตัดสินว่าอะไรคลีน ไม่คลีนจากชื่ออาหารเพียงอย่างเดียว
...
>>> อาหารคลีน Vs อาหารลดน้ำหนัก <<<
ทำไมอาหารคลีนถึงแตกต่างจากอาหารลดน้ำหนัก แล้วอาหารลดน้ำหนักคืออะไร
อาหารลดน้ำหนักแบ่งแบบหยาบๆ (ตามความคิดเรา ซึ่งอาจจะแตกต่างจากความคิดท่านอื่นๆ) ได้สองประเภท คือ
1. อาหารลดน้ำหนักแบบมีแคลอรีต่ำ คือไม่สนใจว่าส่วนประกอบในจานนั้นจะประกอบด้วยอะไรบ้าง (ไม่จำเป็นต้องเฮลตี้)
แต่ที่แน่ๆ คือเมื่อเสร็จออกมาแล้ว เป็นเมนูที่แคลอรีน้อย ให้พลังงานไม่มาก เช่น สุกี้น้ำ ยำปลากระป๋อง
ยำผักกาดดอง เมนูเส้นบุก ส้มตำ (โซเดียมเยอะค่อดๆ ยิ่งตำไข่เค็มนะ อู้วววว) เป็นต้น
2. อาหารลดน้ำหนักแบบแคลอรี่ไม่ต่ำ แต่ส่วนประกอบล้วนมีประโยชน์ต่อร่างกาย
คือ เป็นอารหารที่ให้พลังงานสูง แต่ส่วนผสมก็มีประโยชน์สูงมากเช่นเดียวกัน
เช่นขนมปังโฮลวีท ขนมปังธัญพืชที่มีเปอร์เซ็นวีทสูงๆ สแน็คบาร์ธัญพืช
เบเกอรีโฮมเมดต่างๆ (ที่คนขายมักเคลมว่าเพื่อนสุขภาพ)
But... ฟาร์มเฮาส์โฮลวีท แบบนี้ไม่นับนะตัววว
###############################################
###############################################
สรุปตามความคิดเรานะ ส่วนมากที่เห็นๆ กันตามรีวิวอาหาร มักก็เป็นอาหารลดน้ำหนักแบบที่ 1 ซะส่วนใหญ่
คือปรุงแบบง่ายๆ ใช้วัตถุดิบง่ายๆ (ในที่นี้คือหาง่าย เช่นวุ้นเส้น ปลากระป๋อง เป็นต้น) และแคลอรีต่อจานต่ำ
เอาเป็นว่า ใครที่กำลังงงๆ สงสัย หรือใครที่กำลังลังเลว่าสรุปแล้วตัวเองทานคลีนฟู้ด หรือทานอาหารลดน้ำหนักอยู่กันแน่
ลองสังเกตวัตถุดิบ ส่วนประกอบ วิธีการปรุงดูนะคะ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง
###############################################
###############################################
จริงๆ แล้ว... ไม่ว่าคุณจะทานอาหารประเภทอะไร แบบไหน มันไม่มีถูก ไม่มีผิด
ขอแค่อาหารที่ทานตรงกับความต้องการ สารอาหารครบถ้วน และเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย
ที่สำคัญคือ เมื่อเลือกแล้วว่าจะทานแบบใด ต้องไม่รู้สึกฝืนที่ต้องใช้ชีวิตด้วยการทานอาหารดังกล่าวไปตลอดชีวิตก็พอ
และสุดท้าย ...
ขอให้มีความสุขกับการทานอาหาร นะคะ:")
Clean food คืออะไร... แน่ใจใช่มั๊ย ว่าคุณกำลังทานคลีนฟู้ดจริงๆ !!?
คือพออ่าน พอศึกษามาบ้าง (แต่ถ้าบทความยาวมากๆ ก็ข้ามเช่นกัน - -*)
ถ้าความเข้าใจเราผิดพลาดประการใด หรือตรงไหนไม่จริง ช่วยกันท้วงติงได้ค่ะ
ตอนนี้กระแสคลีนฟู้ดมาแรงมาก จริงๆ มันแรงมานานพักใหญ่ๆ (จนบางคนเลิกกินไปแล้วก็มี)
โดยมีความเชื่อหลักๆ ว่า "การทานอาหารคลีนจะช่วยลดน้ำหนัก ลดความอ้วนได้"
แต่ๆๆ... จากที่เห็นหลายๆ กระทู้ที่ตั้งรีวิวอาหาร (ไม่ได้ตั้งใจจะพาดพิง หรือเอยในทางที่ไม่ดีนะคะ)
เราเชื่อว่ากว่าครึ่งมีความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับอาหารคลีน ฟู้ด ...
วันนี้เลยจะมาอธิบายง่ายๆ ทำความเข้าใจกับสาวๆ (หรือหนุ่มๆ) ในเรื่องนี้ซักเล็กน้อย
******************************************************************************
******************************************************************************
ไม่ต้องกลัวว่าเนื้อหาในกระทู้นี้จะอ่านยาก หรือน่าเบื่อจนไม่อยากอ่านนะคะ
เพราะในกระทู้นี้จะไม่มีการยกคำอธิบายแบบเป็นทางการ หรือเชิงวิชาการมาอ้างใดๆ ทั้งสิ้น
เรามาคุยกันแบบดิบๆ เถื่อนๆ (อันหลังไม่เกี่ยว ฮาาา) บ้านๆ ภาษาคนธรรมดาคุยกันนี่แหละเนอะ
******************************************************************************
******************************************************************************
ก่อนอื่น... อาหารคลีน คืออะไร !?
อาหารคลีน คือ อาหารที่ผ่านกระบวนการ "ปรุงแต่งน้อยที่สุด" โดยใช้กระบวนการที่ทำให้อาหารสุก พร้อมทานอย่างง่ายๆ
เช่น อุ่น ตุ๋น ต้ม นึ่ง อบ จี่(หมายถึงการสเปรย์น้ำมันบางๆ ลงบนกระทะแล้วนำอาหารไปแนบ)
จริงๆ มันคล้ายๆ กับอาหาร Raw Food (การทานอาหารสดๆ หรือผ่านความร้อนไม่เกินประมาณ 45 องศา)
ต่างกันตรงที่ Clean Food สามารถนำไปทำให้สุกได้ แต่ Raw Food นั้นจะทานกับแบบสดๆ หรือผ่านความร้อนน้อยมาก
อธิบายง่ายๆ เดินไปตลาดซื้อมันมาหัวนึง มาถึงล้าง ปอกเปลือก แล้วกินเลย นั่นคือ Raw food
ในขณะเดียวกัน มีมันหัวนึง เอามาต้ม ใส่นมถั่วเหลือง นั่นคือ Clean food
แล้วพวกเครื่องเทศ พริก เกลือ น้ำมัน... สิ่งเหล่านี้คลีนหรือไม่
คำตอบคือ ขึ้นอยู่กับว่าใส่ในปริมาณเท่าไหร่ในอาหาร มันไม่มีคำตอบตายตัว
ถ้าใส่เครื่องเทศ พริก หรือโรยเกลือเพื่อเพิ่มรสชาติเล็กน้อย แล้วสเปรย์น้ำมันบางๆ
โดยที่ไม่ทำให้รสชาติดั้งเดิมของวัตถุดิบเสีย หรือรสไม่จัดจ้านจนเกินไป ก็ยังนับเป็นอาหารคลีนอยู่
และแน่นอนว่าอาการกระป๋อง ผงชูรส อาหารหมักดอง ไส้กรอก แฮม เส้นมาม่า เส้นที่ทำจากแป้งขาว
ซอสต่างๆ สลัดน้ำข้น แป้งขัดสี น้ำตาลขัดสี โยเกิร์ตปรุงแต่ง สารเสริมอาหาร สารกันบูด
เรียกว่า อาหารที่ผ่านกระบวนการทางอุตสาหกรรม เกือบทั้งหมด ล้วนไม่คลีน
แต่ขณะเดียวกัน ถ้าใช้น้ำมันในปริมาณมากๆ แม้จะเป็นน้ำมันดีๆ อย่างคาโนล่า มะพร้าว รำข้าว หรืออื่นๆ
แต่ก็ไม่นับว่าเป็นอาหารคลีน เพราะอะไร? ... เพราะการทอด เป็นการนำอาหารไปผ่านความร้อนเป็นเวลานาน
ซึ่งอาจทำให้อาหารเสียคุณค่าทางโภชนาการ เกิดสารอันตรายบางอย่างขึ้นในระหว่างที่ทอด เและเกิดโทษต่อร่างกาย
.
.
.
แล้วอะไรล่ะ ที่คนชอบสับสน... เกี่ยวกับ อาหารคลีน
- อาหารคลีน ไม่ใช่ ย้ำตัวโตๆ ว่า ไม่ใช่ อาหารแคลอรีต่ำ แต่เป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เพราะผ่านการปรุงแต่งน้อยมาก
- เช่นเดียวกัน อาหารคลีนไม่ใช่อาหารลดน้ำหนัก ด้วยเหตุผลเดียวกันกับข้างต้น แต่มีผลพลอยได้คื ทำให้น้ำหนักตัวลดลงได้
- อาหารคลีนไม่ใช่อาหารที่ "ปราศจากแป้งและน้ำมัน" บางคนเข้าใจว่าทานคลีนต้องงดแกมันน่ารังเกียจ อันนี้มันไม่ใช่นะยูวว ว ว
- อาหารคลีนต้องจืด ไร้รสชาติ... ไม่เสมอไป ถ้ารู้จักปรุง มิกซ์ส่วนผสม แม้แทบไม่ปรุงแต่เลือกใช้วัตถุดิบเป็นก็ทำให้อาหารมีรสชาติได้
(เช่นการใช้มะนาว มะขามเปียกเพื่อเพิ่มความเปรี้ยว ใช้ความหวานตามธรรมชาติของวัตถุดิบอย่างฟักทอง แครอทต้ม มันหวาน ข้าวโพดหวาน)
*** อาหารคลีนไม่สามารถบ่งบอกได้ด้วยชื่อเมนู แต่ต้องอาศัยดูวัตถุดิบ และขั้นตอนการทำ
หลายคนงงๆ เอ๊ะ! ยังไง?
เช่น
... เราบอกว่าวันนี้เราทานวาฟเฟิล สังขยา คลีนไหม ดูจากชื่อ ไม่แน่ๆ
ส่วนผสมล่ะ วาฟเฟิล: แป้งข้าวไรท์ดำ ไข่ น้ำสะอาด น้ำผึ้ง, สังขยา: ไข่ นมถั่วเหลือง น้ำหญ้าหวาน
พอดูส่วนผสม เฮ้ย มันก็คลีนนะแก ไม่มีส่วนผสมอะไรที่ไม่คลีนซักอย่าง (หญ้าหวานต้มแล้วกรองเอาน้ำแบบชงชา)
... ขณะเดียวกัน มื้อกลางวันเราบอกว่าเราทานสันในไก่พริกไทยดำ ดูแล้วน่าจะคลีน
แต่ความจริงคือ เราเอาสันในไก่ มาตัดมันทิ้ง หมักผงปรุงรสหรือน้ำปรุงรส(สำเร็จ) รัวๆ แล้วโยนเข้าไมโครเวฟ
คือ เนื้อไก่น่ะคลีน แต่เครื่องปรุงรสน่ะไม่อย่างแรง (แต่ถามว่าอร่อยมั๊ย มากกก พอดีเราเน้นอร่อย ไม่เน้นคลีนเท่าไหร่ ฮาาา)
ฉะนั้น อย่าเพิ่งตัดสินว่าอะไรคลีน ไม่คลีนจากชื่ออาหารเพียงอย่างเดียว
...
>>> อาหารคลีน Vs อาหารลดน้ำหนัก <<<
ทำไมอาหารคลีนถึงแตกต่างจากอาหารลดน้ำหนัก แล้วอาหารลดน้ำหนักคืออะไร
อาหารลดน้ำหนักแบ่งแบบหยาบๆ (ตามความคิดเรา ซึ่งอาจจะแตกต่างจากความคิดท่านอื่นๆ) ได้สองประเภท คือ
1. อาหารลดน้ำหนักแบบมีแคลอรีต่ำ คือไม่สนใจว่าส่วนประกอบในจานนั้นจะประกอบด้วยอะไรบ้าง (ไม่จำเป็นต้องเฮลตี้)
แต่ที่แน่ๆ คือเมื่อเสร็จออกมาแล้ว เป็นเมนูที่แคลอรีน้อย ให้พลังงานไม่มาก เช่น สุกี้น้ำ ยำปลากระป๋อง
ยำผักกาดดอง เมนูเส้นบุก ส้มตำ (โซเดียมเยอะค่อดๆ ยิ่งตำไข่เค็มนะ อู้วววว) เป็นต้น
2. อาหารลดน้ำหนักแบบแคลอรี่ไม่ต่ำ แต่ส่วนประกอบล้วนมีประโยชน์ต่อร่างกาย
คือ เป็นอารหารที่ให้พลังงานสูง แต่ส่วนผสมก็มีประโยชน์สูงมากเช่นเดียวกัน
เช่นขนมปังโฮลวีท ขนมปังธัญพืชที่มีเปอร์เซ็นวีทสูงๆ สแน็คบาร์ธัญพืช
เบเกอรีโฮมเมดต่างๆ (ที่คนขายมักเคลมว่าเพื่อนสุขภาพ)
But... ฟาร์มเฮาส์โฮลวีท แบบนี้ไม่นับนะตัววว
###############################################
###############################################
สรุปตามความคิดเรานะ ส่วนมากที่เห็นๆ กันตามรีวิวอาหาร มักก็เป็นอาหารลดน้ำหนักแบบที่ 1 ซะส่วนใหญ่
คือปรุงแบบง่ายๆ ใช้วัตถุดิบง่ายๆ (ในที่นี้คือหาง่าย เช่นวุ้นเส้น ปลากระป๋อง เป็นต้น) และแคลอรีต่อจานต่ำ
เอาเป็นว่า ใครที่กำลังงงๆ สงสัย หรือใครที่กำลังลังเลว่าสรุปแล้วตัวเองทานคลีนฟู้ด หรือทานอาหารลดน้ำหนักอยู่กันแน่
ลองสังเกตวัตถุดิบ ส่วนประกอบ วิธีการปรุงดูนะคะ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง
###############################################
###############################################
จริงๆ แล้ว... ไม่ว่าคุณจะทานอาหารประเภทอะไร แบบไหน มันไม่มีถูก ไม่มีผิด
ขอแค่อาหารที่ทานตรงกับความต้องการ สารอาหารครบถ้วน และเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย
ที่สำคัญคือ เมื่อเลือกแล้วว่าจะทานแบบใด ต้องไม่รู้สึกฝืนที่ต้องใช้ชีวิตด้วยการทานอาหารดังกล่าวไปตลอดชีวิตก็พอ
และสุดท้าย ...
ขอให้มีความสุขกับการทานอาหาร นะคะ:")