updated: 29 มิ.ย. 2558 เวลา 14:34:20 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
"ภาคส่งออก" ถือเป็นเสาหลักเศรษฐกิจไทย ที่มีน้ำหนักในผลิตภัณฑ์มวลภายในประเทศ (จีดีพี) ถึง 70% แต่กำลังเหมือนเสาเรือนที่สั่นคลอน ส่งผลสะเทือนเป็นลูกโซ่ต่อภาพรวมเศรษฐกิจไทยให้ฟื้นตัวอย่างเชื่องช้า โดยล่าสุดกระทรวงพาณิชย์รายงานตัวส่งออกเดือน พ.ค. 2558 ติดลบ 5.01% ส่งผลให้ 5 เดือนแรกของปีนี้ การส่งออกติดลบ 4.20% สะท้อนการส่งออกไทยที่ชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง
ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ก็ปรับลดประมาณการส่งออกไทยปี 2558 ติดลบถึง 1.5% ซึ่งจะเป็นการเติบโตติดลบต่อเนื่อง ปี 2556 ติดลบ 0.2% ปี 2557 ติดลบ 0.3% และจะกลายเป็นการทำสถิติ "นิวโลว์" ในรอบ 6 ปีอีกด้วย ซึ่งย่อมไม่ใช่ภาวะปกติ แต่เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่ต้องใช้เวลาในการแก้ไข
กะเทาะปัญหาส่งออกติดลบ 3 ปีซ้อน
โดย ธปท.ได้ทำรายงานวิเคราะห์ถึงปัญหาเชิงโครงสร้างของการส่งออกสินค้าไทยที่ชะลอตัวต่อเนื่องในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาว่า นอกจากจะได้รับผลกระทบจากแนวโน้มการค้าโลกที่ชะลอลง ซึ่งเป็นปัจจัยภายนอกแล้ว ส่งออกไทยยังประสบปัญหาเชิงโครงสร้างภายในหลายประการที่บั่นทอนความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค อีกทั้งยังมีส่วนแบ่งในตลาดโลกลดลงต่อเนื่องมากว่า 5 ปี สวนทางกับจีน เวียดนาม และฟิลิปปินส์ ที่มีส่วนแบ่งทางการตลาดเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
สำหรับปัญหาส่งออกไทยที่ปรับตัวลดลง เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างจาก 2 ปัจจัยภายในประเทศ ได้แก่ ไทยขาดการลงทุนเพื่อขยายกำลังการผลิตใหม่ติดต่อกันเป็นเวลานานตั้งแต่ปี 2555 เป็นต้นมา และอีกหนึ่งปัญหาใหญ่คือ คุณภาพสินค้าส่งออกของไทยพัฒนาช้าเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค
FDI เมินขยายกำลังการผลิตใหม่
ปัญหาขาดการลงทุนเพื่อขยายกำลังการผลิตใหม่ที่เกิดขึ้นมากว่า 4 ปี ของการเข้ามาลงทุนโดยตรงของนักลงทุนต่างชาติ (FDI) ที่มีแนวโน้มชะลอลงในหลายอุตสาหกรรม เช่น อิเล็กทรอนิกส์ เคมีภัณฑ์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า (กราฟิกประกอบ) สวนทางกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ที่อาศัยข้อได้เปรียบด้านแรงงานที่ราคาถูกกว่าไทย ปริมาณแรงงานมากกว่า ตลาดภายในประเทศใหญ่กว่า และทรัพยากรธรรมชาติมีจำนวนมากกว่าไทย จึงเป็นจุดดึงดูดการลงทุนจากบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ได้
นอกจากนี้ไทยยังมีแนวโน้มผู้ประกอบการไทยออกไปลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ (TDI) เพิ่มขึ้น ทั้งที่เป็นอุตสาหกรรมที่ใช้ทุนขนาดใหญ่ เช่น ปิโตรเคมี เคมีภัณฑ์ รวมทั้งอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น เช่น สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ขยายกำลังการผลิตไปเวียดนามและกัมพูชา เนื่องจากมีค่าแรงถูกและได้สิทธิประโยชน์ทางภาษีทั้งจีเอสพี และเอฟทีเอ ทำให้มูลค่าการส่งออกสินค้ากลุ่มนี้มีแนวโน้มทรงตัวหรือลดลง
คุณภาพสินค้าไทยตามหลังเพื่อนบ้าน
ส่วนปัญหาด้านคุณภาพ พบว่าสินค้าส่งออกไทยพัฒนาช้ากว่าเพื่อนบ้าน เมื่อวัดจากดัชนีความซับซ้อนของสินค้าส่งออกของไทยปรับตัวลดลง ขณะที่ของจีนและเวียดนามเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง สะท้อนไทยที่เน้นพึ่งพาสินค้าส่งออกที่ไม่ซับซ้อน เช่น สินค้าเกษตร อาหารแปรรูป ซึ่งเผชิญการแข่งขันด้านราคาสูง และปริมาณส่งออกมักอ่อนไหวกับต้นทุนค่าแรง อัตราภาษี และอัตราแลกเปลี่ยน
ขณะที่สินค้าส่งออกสำคัญกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ ที่เคยเป็นที่ต้องการของตลาดโลกก็มีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง หรือกลุ่มรถยนต์ที่มีการเติบโตก็เป็นกลุ่มอีโคคาร์ ซึ่งสินค้าประเภทนี้มีราคาต่อหน่วยไม่สูง ดังนั้นแม้ปริมาณส่งออกจะเพิ่มขึ้น แต่มูลค่าในภาพรวมเพิ่มขึ้นไม่มาก
ธปท.วิเคราะห์ว่า สาเหตุที่คุณภาพสินค้าส่งออกไทยพัฒนาช้า มาจากไทยไม่ให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนา (R&D) มาเป็นเวลานาน ขณะที่ประเทศอื่นในภูมิภาคเดินหน้าพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการทำวิจัยอย่างต่อเนื่อง โดยมีภาครัฐเป็นตัวนำ
โดยยกตัวอย่างผลรายงานการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขัน ปี 2557-2558 ซึ่งจัดทำโดยเวิรลด์ อีโคโนมิก ฟอรั่มที่พบว่า ไทยกำลังตามหลังเพื่อนบ้านในหลายด้าน เช่น ด้านการส่งเสริมนวัตกรรมของภาครัฐ ไทยอยู่ลำดับที่ 114 จากการ 144 ประเทศ ขณะที่มาเลเซีย อินโดนีเซีย อยู่อันดับ 3 และ 13 เป็นต้น
ปลุกรัฐ-เอกชนสกัดจุดอ่อนระยะยาว
อีกปมปัญหาเชิงโครงสร้าง คือ คุณภาพคนไทยที่ด้อยกว่าหลายประเทศในภูมิภาค เมื่อดูจากดัชนีทุนมนุษย์ซึ่งวัดจากคุณภาพการศึกษาและการจ้างงานของประชากร ปี 2558 ไทยอยู่อันดับ 57
จาก 124 ประเทศทั่วโลก ถือว่ามีคะแนนต่ำกว่าเพื่อนบ้านอย่างฟิลิปปินส์ มาเลเซีย แม้ว่าถ้าเทียบกับเวียดนาม จีน และอินโดนีเซียแล้ว ไทยจะมีคะแนนสูงกว่าก็ตาม แต่ก็สูงกว่าไม่มากนัก
สะท้อนว่าคุณภาพการศึกษาและทักษะของแรงงานไทยต้องมีการพัฒนาเพิ่มขึ้น เพราะคุณภาพคนมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาคุณภาพสินค้าที่มีความซับซ้อน ราคาสูง และมีผลต่อการดึงดูด FDI ในกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มสูงด้วย
อย่างไรก็ตาม ธปท.ระบุว่า การแก้ปัญหาเหล่านี้ต้องอาศัยความร่วมมือภายใต้แผนปฏิรูปที่ชัดเจนและทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาควิชาการ ภาครัฐ และภาคเอกชนที่มีความตื่นตัวในการพัฒนาขีดความสามารถในการผลิตและคุณภาพสินค้า เพื่อก้าวข้ามการแข่งขันด้านราคาในระยะยาว และหากปัญหาเชิงโครงสร้างนี้ไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง คงยากที่ภาคส่งออกไทยจะกลับมาเป็นแรงขับเคลื่อนหลักให้เศรษฐกิจไทยเช่นในอดีต ทั้งอาจลดทอนศักยภาพเศรษฐกิจไทยในระยะยาวด้วย
ส่งออก พ.ค.-5.01%
นายสมเกียรติ ตรีรัตนพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบาย และยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ สรุปยอดการส่งออกและนำเข้าสินค้าช่วงเดือนพฤษภาคม 2558 ที่ผ่านมาว่า มียอดส่งออกรวมมูลค่า 18,429 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 5.01% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนการนำเข้ามูลค่า 16,012 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 19.97% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้ดุลการค้ามูลค่า 2,417 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่งผลให้ช่วง 5 เดือนแรก (ม.ค.-พ.ค.) 2558 การส่งออกมีมูลค่า 88,694 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 4.20% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และนำเข้ามูลค่า 85,371 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 9.39% ได้ดุลการค้ามูลค่า 3,323 ล้านเหรียญสหรัฐ
"สาเหตุหลักที่การส่งออกลดลง เนื่องจากสินค้ายานยนต์ที่มีสัดส่วนส่งออก 11.7% ลดลง 0.6% ประกอบกับสินค้าที่เกี่ยวข้องกับน้ำมันลดลงมาก แต่ยังมีสินค้าหลายรายการที่มีปริมาณการส่งออกเพิ่ม เพียงแต่ราคาลดลง เช่น ยางพารา ข้าว ทูน่า กุ้ง น้ำมันสำเร็จรูป ดังนั้น กระทรวงพาณิชย์จึงยังคงเป้าหมายการส่งออกปี 2558 ว่าจะขยายตัว 1.2%"
ทั้งนี้ ปัจจัยที่มีผลต่อส่งออก ได้แก่ ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวลดลง ทำให้การส่งออกสินค้าที่เกี่ยวข้องกับน้ำมัน 5 เดือน ลดลง 4.2% หรือลดลงคิดเป็นมูลค่า 3,888 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนค่าบาทที่อ่อนค่าลงจาก 32.5 บาท เป็น 33.6 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ราคาสินค้าเกษตรหดตัวตามราคาน้ำมันในตลาดโลก และภาวะเศรษฐกิจโลกยังชะลอตัว โดยล่าสุดธนาคารโลกปรับลดประมาณการจีดีพีเดือนพฤษภาคมเหลือ 2.8%
ส่วนการนำเข้าในเดือนพฤษภาคมติดลบ 19.97% ถือว่าต่ำสุดในรอบ 5 ปี 9 เดือนคาดว่ามาจากกรณีที่บีโอไอไม่ได้อนุมัติโครงการส่งเสริมการลงทุนในช่วงหนึ่ง
+++++++++++++++++++++++++++++++
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1435563367#
งานนี้คิดว่าประหยัดดีกว่าเจ้าคะคงได้รัดเข็มขัดแบบแน่นมากเลยเจ้าคะ
ส่งออกทำสถิติ "นิวโลว์" รอบ 6 ปี แบงก์ชาติชำแหละ 2 ต้นตอวิกฤต
updated: 29 มิ.ย. 2558 เวลา 14:34:20 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
"ภาคส่งออก" ถือเป็นเสาหลักเศรษฐกิจไทย ที่มีน้ำหนักในผลิตภัณฑ์มวลภายในประเทศ (จีดีพี) ถึง 70% แต่กำลังเหมือนเสาเรือนที่สั่นคลอน ส่งผลสะเทือนเป็นลูกโซ่ต่อภาพรวมเศรษฐกิจไทยให้ฟื้นตัวอย่างเชื่องช้า โดยล่าสุดกระทรวงพาณิชย์รายงานตัวส่งออกเดือน พ.ค. 2558 ติดลบ 5.01% ส่งผลให้ 5 เดือนแรกของปีนี้ การส่งออกติดลบ 4.20% สะท้อนการส่งออกไทยที่ชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง
ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ก็ปรับลดประมาณการส่งออกไทยปี 2558 ติดลบถึง 1.5% ซึ่งจะเป็นการเติบโตติดลบต่อเนื่อง ปี 2556 ติดลบ 0.2% ปี 2557 ติดลบ 0.3% และจะกลายเป็นการทำสถิติ "นิวโลว์" ในรอบ 6 ปีอีกด้วย ซึ่งย่อมไม่ใช่ภาวะปกติ แต่เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่ต้องใช้เวลาในการแก้ไข
กะเทาะปัญหาส่งออกติดลบ 3 ปีซ้อน
โดย ธปท.ได้ทำรายงานวิเคราะห์ถึงปัญหาเชิงโครงสร้างของการส่งออกสินค้าไทยที่ชะลอตัวต่อเนื่องในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาว่า นอกจากจะได้รับผลกระทบจากแนวโน้มการค้าโลกที่ชะลอลง ซึ่งเป็นปัจจัยภายนอกแล้ว ส่งออกไทยยังประสบปัญหาเชิงโครงสร้างภายในหลายประการที่บั่นทอนความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค อีกทั้งยังมีส่วนแบ่งในตลาดโลกลดลงต่อเนื่องมากว่า 5 ปี สวนทางกับจีน เวียดนาม และฟิลิปปินส์ ที่มีส่วนแบ่งทางการตลาดเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
สำหรับปัญหาส่งออกไทยที่ปรับตัวลดลง เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างจาก 2 ปัจจัยภายในประเทศ ได้แก่ ไทยขาดการลงทุนเพื่อขยายกำลังการผลิตใหม่ติดต่อกันเป็นเวลานานตั้งแต่ปี 2555 เป็นต้นมา และอีกหนึ่งปัญหาใหญ่คือ คุณภาพสินค้าส่งออกของไทยพัฒนาช้าเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค
FDI เมินขยายกำลังการผลิตใหม่
ปัญหาขาดการลงทุนเพื่อขยายกำลังการผลิตใหม่ที่เกิดขึ้นมากว่า 4 ปี ของการเข้ามาลงทุนโดยตรงของนักลงทุนต่างชาติ (FDI) ที่มีแนวโน้มชะลอลงในหลายอุตสาหกรรม เช่น อิเล็กทรอนิกส์ เคมีภัณฑ์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า (กราฟิกประกอบ) สวนทางกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ที่อาศัยข้อได้เปรียบด้านแรงงานที่ราคาถูกกว่าไทย ปริมาณแรงงานมากกว่า ตลาดภายในประเทศใหญ่กว่า และทรัพยากรธรรมชาติมีจำนวนมากกว่าไทย จึงเป็นจุดดึงดูดการลงทุนจากบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ได้
นอกจากนี้ไทยยังมีแนวโน้มผู้ประกอบการไทยออกไปลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ (TDI) เพิ่มขึ้น ทั้งที่เป็นอุตสาหกรรมที่ใช้ทุนขนาดใหญ่ เช่น ปิโตรเคมี เคมีภัณฑ์ รวมทั้งอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น เช่น สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ขยายกำลังการผลิตไปเวียดนามและกัมพูชา เนื่องจากมีค่าแรงถูกและได้สิทธิประโยชน์ทางภาษีทั้งจีเอสพี และเอฟทีเอ ทำให้มูลค่าการส่งออกสินค้ากลุ่มนี้มีแนวโน้มทรงตัวหรือลดลง
คุณภาพสินค้าไทยตามหลังเพื่อนบ้าน
ส่วนปัญหาด้านคุณภาพ พบว่าสินค้าส่งออกไทยพัฒนาช้ากว่าเพื่อนบ้าน เมื่อวัดจากดัชนีความซับซ้อนของสินค้าส่งออกของไทยปรับตัวลดลง ขณะที่ของจีนและเวียดนามเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง สะท้อนไทยที่เน้นพึ่งพาสินค้าส่งออกที่ไม่ซับซ้อน เช่น สินค้าเกษตร อาหารแปรรูป ซึ่งเผชิญการแข่งขันด้านราคาสูง และปริมาณส่งออกมักอ่อนไหวกับต้นทุนค่าแรง อัตราภาษี และอัตราแลกเปลี่ยน
ขณะที่สินค้าส่งออกสำคัญกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ ที่เคยเป็นที่ต้องการของตลาดโลกก็มีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง หรือกลุ่มรถยนต์ที่มีการเติบโตก็เป็นกลุ่มอีโคคาร์ ซึ่งสินค้าประเภทนี้มีราคาต่อหน่วยไม่สูง ดังนั้นแม้ปริมาณส่งออกจะเพิ่มขึ้น แต่มูลค่าในภาพรวมเพิ่มขึ้นไม่มาก
ธปท.วิเคราะห์ว่า สาเหตุที่คุณภาพสินค้าส่งออกไทยพัฒนาช้า มาจากไทยไม่ให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนา (R&D) มาเป็นเวลานาน ขณะที่ประเทศอื่นในภูมิภาคเดินหน้าพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการทำวิจัยอย่างต่อเนื่อง โดยมีภาครัฐเป็นตัวนำ
โดยยกตัวอย่างผลรายงานการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขัน ปี 2557-2558 ซึ่งจัดทำโดยเวิรลด์ อีโคโนมิก ฟอรั่มที่พบว่า ไทยกำลังตามหลังเพื่อนบ้านในหลายด้าน เช่น ด้านการส่งเสริมนวัตกรรมของภาครัฐ ไทยอยู่ลำดับที่ 114 จากการ 144 ประเทศ ขณะที่มาเลเซีย อินโดนีเซีย อยู่อันดับ 3 และ 13 เป็นต้น
ปลุกรัฐ-เอกชนสกัดจุดอ่อนระยะยาว
อีกปมปัญหาเชิงโครงสร้าง คือ คุณภาพคนไทยที่ด้อยกว่าหลายประเทศในภูมิภาค เมื่อดูจากดัชนีทุนมนุษย์ซึ่งวัดจากคุณภาพการศึกษาและการจ้างงานของประชากร ปี 2558 ไทยอยู่อันดับ 57
จาก 124 ประเทศทั่วโลก ถือว่ามีคะแนนต่ำกว่าเพื่อนบ้านอย่างฟิลิปปินส์ มาเลเซีย แม้ว่าถ้าเทียบกับเวียดนาม จีน และอินโดนีเซียแล้ว ไทยจะมีคะแนนสูงกว่าก็ตาม แต่ก็สูงกว่าไม่มากนัก
สะท้อนว่าคุณภาพการศึกษาและทักษะของแรงงานไทยต้องมีการพัฒนาเพิ่มขึ้น เพราะคุณภาพคนมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาคุณภาพสินค้าที่มีความซับซ้อน ราคาสูง และมีผลต่อการดึงดูด FDI ในกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มสูงด้วย
อย่างไรก็ตาม ธปท.ระบุว่า การแก้ปัญหาเหล่านี้ต้องอาศัยความร่วมมือภายใต้แผนปฏิรูปที่ชัดเจนและทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาควิชาการ ภาครัฐ และภาคเอกชนที่มีความตื่นตัวในการพัฒนาขีดความสามารถในการผลิตและคุณภาพสินค้า เพื่อก้าวข้ามการแข่งขันด้านราคาในระยะยาว และหากปัญหาเชิงโครงสร้างนี้ไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง คงยากที่ภาคส่งออกไทยจะกลับมาเป็นแรงขับเคลื่อนหลักให้เศรษฐกิจไทยเช่นในอดีต ทั้งอาจลดทอนศักยภาพเศรษฐกิจไทยในระยะยาวด้วย
ส่งออก พ.ค.-5.01%
นายสมเกียรติ ตรีรัตนพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบาย และยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ สรุปยอดการส่งออกและนำเข้าสินค้าช่วงเดือนพฤษภาคม 2558 ที่ผ่านมาว่า มียอดส่งออกรวมมูลค่า 18,429 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 5.01% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนการนำเข้ามูลค่า 16,012 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 19.97% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้ดุลการค้ามูลค่า 2,417 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่งผลให้ช่วง 5 เดือนแรก (ม.ค.-พ.ค.) 2558 การส่งออกมีมูลค่า 88,694 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 4.20% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และนำเข้ามูลค่า 85,371 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 9.39% ได้ดุลการค้ามูลค่า 3,323 ล้านเหรียญสหรัฐ
"สาเหตุหลักที่การส่งออกลดลง เนื่องจากสินค้ายานยนต์ที่มีสัดส่วนส่งออก 11.7% ลดลง 0.6% ประกอบกับสินค้าที่เกี่ยวข้องกับน้ำมันลดลงมาก แต่ยังมีสินค้าหลายรายการที่มีปริมาณการส่งออกเพิ่ม เพียงแต่ราคาลดลง เช่น ยางพารา ข้าว ทูน่า กุ้ง น้ำมันสำเร็จรูป ดังนั้น กระทรวงพาณิชย์จึงยังคงเป้าหมายการส่งออกปี 2558 ว่าจะขยายตัว 1.2%"
ทั้งนี้ ปัจจัยที่มีผลต่อส่งออก ได้แก่ ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวลดลง ทำให้การส่งออกสินค้าที่เกี่ยวข้องกับน้ำมัน 5 เดือน ลดลง 4.2% หรือลดลงคิดเป็นมูลค่า 3,888 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนค่าบาทที่อ่อนค่าลงจาก 32.5 บาท เป็น 33.6 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ราคาสินค้าเกษตรหดตัวตามราคาน้ำมันในตลาดโลก และภาวะเศรษฐกิจโลกยังชะลอตัว โดยล่าสุดธนาคารโลกปรับลดประมาณการจีดีพีเดือนพฤษภาคมเหลือ 2.8%
ส่วนการนำเข้าในเดือนพฤษภาคมติดลบ 19.97% ถือว่าต่ำสุดในรอบ 5 ปี 9 เดือนคาดว่ามาจากกรณีที่บีโอไอไม่ได้อนุมัติโครงการส่งเสริมการลงทุนในช่วงหนึ่ง
+++++++++++++++++++++++++++++++
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1435563367#
งานนี้คิดว่าประหยัดดีกว่าเจ้าคะคงได้รัดเข็มขัดแบบแน่นมากเลยเจ้าคะ