โดย MGR Online
25 มีนาคม 2559 13:50 น. (แก้ไขล่าสุด 25 มีนาคม 2559 15:04 น.)
“พาณิชย์” เผยส่งออกเดือน ก.พ. 59 เพิ่มขึ้น 10.27% พลิกกลับมาเป็นบวกครั้งแรกในรอบ 14 เดือน แต่หากตัดกลุ่มที่เคลื่อนไหวผิดปกติ ทั้งทองคำ สินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน และกลุ่มยุทโธปกรณ์ซ้อมรบออก ยอดส่งออกจะติดลบ 2% แต่หากหักเฉพาะกลุ่มซ้อมรบ ที่เป็นรายการไม่ปกติออก ยังบวก 6.3% “สุวิทย์” มั่นใจแนวโน้มส่งออกดีขึ้น ยืนเป้าทั้งปี 5% ไว้มุ่งมั่นทำงาน พร้อมโชว์รายได้บริการเป็นครั้งแรก เผยปี 58 ส่งออกได้ถึง 6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ
นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า การส่งออกเดือน ก.พ. 2559 มีมูลค่า 18,994 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 10.27% เป็นการส่งออกกลับมาขยายตัวเป็นบวกครั้งแรกในรอบ 14 เดือน นับจากเดือน ม.ค. 2558 ที่ติดลบ 3.45% ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 14,008 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 16.82% ส่งผลให้ไทยเกินดุลการค้า 4,986 ล้านเหรียญสหรัฐ
ส่วนการส่งออกในช่วง 2 เดือนของปี 2559 (ม.ค.-ก.พ.) มีมูลค่า 34,705 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 0.67% ส่วนการนำเข้า มีมูลค่า 29,482 ล้านเหรียญสหรัฐ ติดลบ 14.54% และเกินดุลการค้า มูลค่า 5,223 ล้านเหรียญสหรัฐ
ทั้งนี้ การส่งออกเดือน ก.พ.ที่เพิ่มขึ้น 10.27% นั้น เป็นการเพิ่มขึ้นที่ไม่ปกติ เพราะมีการบันทึกตัวเลขการส่งออกสินค้ากลุ่มยุทโธปกรณ์ที่ใช้ในการซ้อมรบ ซึ่งมีมูลค่า 683 ล้านเหรียญสหรัฐเข้าไปด้วย ซึ่งหากหักออก การส่งออกจะเพิ่มขึ้น 6.3% แต่ถ้าหักตัวเลขการส่งออกทองคำและสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมันออก โดยยังคงสินค้ากลุ่มยุทโธปกรณ์ที่ใช้ในการซ้อมรบเอาไว้ การส่งออกจะเพิ่มขึ้น 2.4% และหากหักออกทั้ง 3 รายการ การส่งออกเดือน ก.พ.จะติดลบ 2.0%
“เดือน ก.พ.ส่งออกทองคำเพิ่มขึ้น 1,051% สินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมันก็ส่งออกได้เพิ่มขึ้น และยังมีการบันทึกตัวเลขการส่งออกสินค้ากลุ่มยุทโธปกรณ์ที่ใช้ในการซ้อมรบ ทั้งเฮลิคอปเตอร์และรถยนต์ที่ใช้เฉพาะทางสำหรับซ้อมรบเข้าไปอีก ซึ่งการบันทึกตัวเลขนี้เป็นไปตามมาตรฐานการบันทึกของกรมศุลกากร และเป็นตัวเลขชั่วคราว แต่เราก็ต้องนำมาใส่ไว้ในตัวเลขการส่งออก แต่เมื่อถึงแบงก์ชาติก็จะตัดตัวเลขตรงนี้ออกไป เพราะมันไม่ใช่การส่งออกจริง”นายสุวิทย์กล่าว
อย่างไรก็ตาม กระทรวงฯ คาดว่าแนวโน้มการส่งออกน่าจะดีขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะการส่งออกภาคบริการจะเป็นบวกแน่ และยังคงยืนยันเป้าหมายตัวเลขการส่งออกของปี 2559 ไว้ที่ 5% เพราะเป็นตัวเลขที่ใช้เพื่อเพิ่มความมุ่งมั่นในการทำงาน และหากทั้งปีทำได้ครึ่งหนึ่งของเป้าก็ถือว่าทำได้ดีท่ามกลางสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่เป็นอยู่ขณะนี้ แต่ถ้าตั้งเป้าต่ำแล้วทำได้เกินเป้าก็ไม่ท้าทายในการทำงาน
นายสมเกียรติ ตรีรัตนพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า การส่งออกเดือนก.พ.ที่เพิ่มขึ้น เป็นการเพิ่มขึ้นของสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรที่กลับมาเป็นบวก 0.4% โดยสินค้าสำคัญที่ส่งออกเพิ่ม เช่น ข้าวปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้น 14.2% และมูลค่าเพิ่มขึ้น 0.3% ยางพาราแม้ปริมาณส่งออกเพิ่มขึ้น 4.9% แต่มูลค่าส่งออกลดลง 19.7% ตามราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกที่ยังชะลอตัวลง น้ำตาล เพิ่มขึ้น 78% จากการที่บราซิลคู่แข่งประสบปัญหาภัยแล้ง ไทยจึงได้ส่งออกไปยังอินโดนีเซีย เพิ่มขึ้น 560% และลาวเพิ่มขึ้น 416% ไก่สดแช่แข็งและแปรรูป เพิ่ม 10% ผัก ผลไม้สด แช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป เพิ่ม 11.8% เป็นต้น โดยเชื่อว่าจากนี้ไปแนวโน้มราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกจะกลับมาดีขึ้น เนื่องจากปัญหาภัยแล้งที่ทำให้ผลผลิตของโลกลดลง และทำให้มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปของไทยเพิ่มขึ้น
ขณะที่สินค้าอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้น 13.8% โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ ไม่รวมทองคำ 18.4% แต่หากรวมทองคำจะเพิ่มสูงถึง 208.5% แต่สินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน เช่น น้ำมันสำเร็จรูป เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก ลดลง 18.5% เครื่องใช้ไฟฟ้า 33.2% จากการย้ายฐานการผลิต รถยนต์และส่วนประกอบ ลด 2.1% จากการหดตัวของการส่งออกรถปิกอัพ รถแวนและส่วนประกอบ แต่รถยนต์นั่งยังขยายตัวได้สูง
สำหรับตลาดส่งออกสำคัญ พบว่า ตลาดสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 0.3% สหภาพยุโรป เพิ่ม 4.1% และญี่ปุ่น เพิ่ม 34.8% จากยอดสินค้ากลุ่มยุทโธปกรณ์ซ้อมรบ ขณะที่ตลาดอาเซียนเดิม 5 ประเทศ เพิ่ม 31.8% แต่ CLMV กลับมาหดตัว 5.8% เนื่องจากการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปที่หดตัวถึง 5.8% ตลาดจีน ติดลบ 7.6% จากภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวช้า รวมถึงการหดตัวของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ และการใช้นโยบายลดการพึ่งพาการนำเข้าและเน้นใช้วัตถุดิบในประเทศ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสถานการณ์มูลค่าการส่งออกของประเทศในกลุ่มอาเซียนรวมทั้งไทย
นายสมเกียรติกล่าวว่า ในเดือนนี้กระทรวงพาณิชย์ได้เปิดเผยตัวเลขการส่งออกสินค้าบริการเป็นครั้งแรก โดยอาศัยข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พบว่า รายได้ส่งออกสินค้าบริการ ปี 2558 มีมูลค่า 60,682 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 9.7% จากปี 2557 คิดเป็นสัดส่วน 1 ใน 4 ของรายได้การส่งออก ส่วนการนำเข้าสินค้าบริการ มีมูลค่า 50,787 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่งผลให้ไทยได้ดุลการค้าบริการ มูลค่า 9,895 ล้านเหรียญสหรัฐ
โดยสินค้าบริการส่งออกสำคัญ 3 อันดับแรก ได้แก่ ท่องเที่ยวสัดส่วน 73.4% คิดเป็นมูลค่า 44,553 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 16% รองลงมา คือ สินค้ากลุ่มขนส่ง มูลค่า 5,717 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 0.1% และกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง มูลค่า 530 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 13.5% ส่วนสินค้าบริการนำเข้าสำคัญ ได้แก่ บริการกลุ่มขนส่ง มูลค่า 23,821 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 10.8% รองลงมา คือ ท่องเที่ยว 7,592 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 7.4% และบริการทรัพย์สินทางปัญญา มูลค่า 4,101 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 3.3%
ส่งออก ก.พ.เพิ่มขึ้น 10.27% พลิกเป็นบวกครั้งแรกในรอบ 14 เดือน
25 มีนาคม 2559 13:50 น. (แก้ไขล่าสุด 25 มีนาคม 2559 15:04 น.)
“พาณิชย์” เผยส่งออกเดือน ก.พ. 59 เพิ่มขึ้น 10.27% พลิกกลับมาเป็นบวกครั้งแรกในรอบ 14 เดือน แต่หากตัดกลุ่มที่เคลื่อนไหวผิดปกติ ทั้งทองคำ สินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน และกลุ่มยุทโธปกรณ์ซ้อมรบออก ยอดส่งออกจะติดลบ 2% แต่หากหักเฉพาะกลุ่มซ้อมรบ ที่เป็นรายการไม่ปกติออก ยังบวก 6.3% “สุวิทย์” มั่นใจแนวโน้มส่งออกดีขึ้น ยืนเป้าทั้งปี 5% ไว้มุ่งมั่นทำงาน พร้อมโชว์รายได้บริการเป็นครั้งแรก เผยปี 58 ส่งออกได้ถึง 6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ
นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า การส่งออกเดือน ก.พ. 2559 มีมูลค่า 18,994 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 10.27% เป็นการส่งออกกลับมาขยายตัวเป็นบวกครั้งแรกในรอบ 14 เดือน นับจากเดือน ม.ค. 2558 ที่ติดลบ 3.45% ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 14,008 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 16.82% ส่งผลให้ไทยเกินดุลการค้า 4,986 ล้านเหรียญสหรัฐ
ส่วนการส่งออกในช่วง 2 เดือนของปี 2559 (ม.ค.-ก.พ.) มีมูลค่า 34,705 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 0.67% ส่วนการนำเข้า มีมูลค่า 29,482 ล้านเหรียญสหรัฐ ติดลบ 14.54% และเกินดุลการค้า มูลค่า 5,223 ล้านเหรียญสหรัฐ
ทั้งนี้ การส่งออกเดือน ก.พ.ที่เพิ่มขึ้น 10.27% นั้น เป็นการเพิ่มขึ้นที่ไม่ปกติ เพราะมีการบันทึกตัวเลขการส่งออกสินค้ากลุ่มยุทโธปกรณ์ที่ใช้ในการซ้อมรบ ซึ่งมีมูลค่า 683 ล้านเหรียญสหรัฐเข้าไปด้วย ซึ่งหากหักออก การส่งออกจะเพิ่มขึ้น 6.3% แต่ถ้าหักตัวเลขการส่งออกทองคำและสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมันออก โดยยังคงสินค้ากลุ่มยุทโธปกรณ์ที่ใช้ในการซ้อมรบเอาไว้ การส่งออกจะเพิ่มขึ้น 2.4% และหากหักออกทั้ง 3 รายการ การส่งออกเดือน ก.พ.จะติดลบ 2.0%
“เดือน ก.พ.ส่งออกทองคำเพิ่มขึ้น 1,051% สินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมันก็ส่งออกได้เพิ่มขึ้น และยังมีการบันทึกตัวเลขการส่งออกสินค้ากลุ่มยุทโธปกรณ์ที่ใช้ในการซ้อมรบ ทั้งเฮลิคอปเตอร์และรถยนต์ที่ใช้เฉพาะทางสำหรับซ้อมรบเข้าไปอีก ซึ่งการบันทึกตัวเลขนี้เป็นไปตามมาตรฐานการบันทึกของกรมศุลกากร และเป็นตัวเลขชั่วคราว แต่เราก็ต้องนำมาใส่ไว้ในตัวเลขการส่งออก แต่เมื่อถึงแบงก์ชาติก็จะตัดตัวเลขตรงนี้ออกไป เพราะมันไม่ใช่การส่งออกจริง”นายสุวิทย์กล่าว
อย่างไรก็ตาม กระทรวงฯ คาดว่าแนวโน้มการส่งออกน่าจะดีขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะการส่งออกภาคบริการจะเป็นบวกแน่ และยังคงยืนยันเป้าหมายตัวเลขการส่งออกของปี 2559 ไว้ที่ 5% เพราะเป็นตัวเลขที่ใช้เพื่อเพิ่มความมุ่งมั่นในการทำงาน และหากทั้งปีทำได้ครึ่งหนึ่งของเป้าก็ถือว่าทำได้ดีท่ามกลางสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่เป็นอยู่ขณะนี้ แต่ถ้าตั้งเป้าต่ำแล้วทำได้เกินเป้าก็ไม่ท้าทายในการทำงาน
นายสมเกียรติ ตรีรัตนพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า การส่งออกเดือนก.พ.ที่เพิ่มขึ้น เป็นการเพิ่มขึ้นของสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรที่กลับมาเป็นบวก 0.4% โดยสินค้าสำคัญที่ส่งออกเพิ่ม เช่น ข้าวปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้น 14.2% และมูลค่าเพิ่มขึ้น 0.3% ยางพาราแม้ปริมาณส่งออกเพิ่มขึ้น 4.9% แต่มูลค่าส่งออกลดลง 19.7% ตามราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกที่ยังชะลอตัวลง น้ำตาล เพิ่มขึ้น 78% จากการที่บราซิลคู่แข่งประสบปัญหาภัยแล้ง ไทยจึงได้ส่งออกไปยังอินโดนีเซีย เพิ่มขึ้น 560% และลาวเพิ่มขึ้น 416% ไก่สดแช่แข็งและแปรรูป เพิ่ม 10% ผัก ผลไม้สด แช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป เพิ่ม 11.8% เป็นต้น โดยเชื่อว่าจากนี้ไปแนวโน้มราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกจะกลับมาดีขึ้น เนื่องจากปัญหาภัยแล้งที่ทำให้ผลผลิตของโลกลดลง และทำให้มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปของไทยเพิ่มขึ้น
ขณะที่สินค้าอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้น 13.8% โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ ไม่รวมทองคำ 18.4% แต่หากรวมทองคำจะเพิ่มสูงถึง 208.5% แต่สินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน เช่น น้ำมันสำเร็จรูป เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก ลดลง 18.5% เครื่องใช้ไฟฟ้า 33.2% จากการย้ายฐานการผลิต รถยนต์และส่วนประกอบ ลด 2.1% จากการหดตัวของการส่งออกรถปิกอัพ รถแวนและส่วนประกอบ แต่รถยนต์นั่งยังขยายตัวได้สูง
สำหรับตลาดส่งออกสำคัญ พบว่า ตลาดสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 0.3% สหภาพยุโรป เพิ่ม 4.1% และญี่ปุ่น เพิ่ม 34.8% จากยอดสินค้ากลุ่มยุทโธปกรณ์ซ้อมรบ ขณะที่ตลาดอาเซียนเดิม 5 ประเทศ เพิ่ม 31.8% แต่ CLMV กลับมาหดตัว 5.8% เนื่องจากการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปที่หดตัวถึง 5.8% ตลาดจีน ติดลบ 7.6% จากภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวช้า รวมถึงการหดตัวของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ และการใช้นโยบายลดการพึ่งพาการนำเข้าและเน้นใช้วัตถุดิบในประเทศ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสถานการณ์มูลค่าการส่งออกของประเทศในกลุ่มอาเซียนรวมทั้งไทย
นายสมเกียรติกล่าวว่า ในเดือนนี้กระทรวงพาณิชย์ได้เปิดเผยตัวเลขการส่งออกสินค้าบริการเป็นครั้งแรก โดยอาศัยข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พบว่า รายได้ส่งออกสินค้าบริการ ปี 2558 มีมูลค่า 60,682 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 9.7% จากปี 2557 คิดเป็นสัดส่วน 1 ใน 4 ของรายได้การส่งออก ส่วนการนำเข้าสินค้าบริการ มีมูลค่า 50,787 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่งผลให้ไทยได้ดุลการค้าบริการ มูลค่า 9,895 ล้านเหรียญสหรัฐ
โดยสินค้าบริการส่งออกสำคัญ 3 อันดับแรก ได้แก่ ท่องเที่ยวสัดส่วน 73.4% คิดเป็นมูลค่า 44,553 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 16% รองลงมา คือ สินค้ากลุ่มขนส่ง มูลค่า 5,717 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 0.1% และกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง มูลค่า 530 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 13.5% ส่วนสินค้าบริการนำเข้าสำคัญ ได้แก่ บริการกลุ่มขนส่ง มูลค่า 23,821 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 10.8% รองลงมา คือ ท่องเที่ยว 7,592 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 7.4% และบริการทรัพย์สินทางปัญญา มูลค่า 4,101 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 3.3%