คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 16
(Oct 22) พาณิชย์ เผย ก.ย.63 ส่งออก -3.86% นำเข้า -9.08% เกินดุลฯ 2,230 ล้านเหรียญฯ : สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ แถลงตัวเลขการค้าระหว่างประเทศของไทยเดือน ก.ย.63 โดยการส่งออกไทยมีมูลค่า 19,621.32 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวลดลง -3.86% ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 17,391.20 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัว -9.08% ทำให้ดุลการค้าเกินดุล 2,230.12 ล้านเหรียญสหรัฐ
ขณะที่ภาพรวมช่วง 9 เดือนแรกของปี 63 (ม.ค.-ก.ย.) การส่งออกมีมูลค่ารวม 172,996.10 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัว -7.33% ส่วนการนำเข้ามีมูลค่ารวม 152,372.41 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัว -14.64% ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 20,623.68 ล้านเหรียญสหรัฐ
นางสาวพิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการ สนค.ระบุว่า ภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของไทยในเดือน ก.ย.63 ฟื้นตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 เนื่องจากเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปภายใต้การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่เริ่มควบคุมสถานการณ์ได้ในหลายประเทศ ส่งผลให้เริ่มผ่อนคลายมาตรการปิดสถานที่และควบคุมการเดินทาง ทำให้ภาพรวมเศรษฐกิจโลกเริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวดีขึ้น สอดคล้องกับดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อโลก (Global Manufacturing PMI) ที่ปรับตัวดีขึ้นเหนือระดับ 50 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3
และเมื่อพิจารณาอัตราการเติบโตของมูลค่าการส่งออกและนำเข้าของไทย พบว่ามีการหดตัวที่น้อยลงเป็นลำดับ แสดงถึงศักยภาพในการปรับตัวของธุรกิจทั้งฝั่งผู้ส่งออกและผู้นำเข้าสินค้า ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีต่อภาวะเศรษฐกิจไทยเมื่อเทียบกับช่วงที่ผ่านมา
สินค้าที่ขยายตัวได้ดี ยังเป็นสินค้ากลุ่มเดิมที่เติบโตต่อเนื่อง 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ 1) สินค้าอาหาร เช่น ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง น้ำมันปาล์ม สุกรสดแช่เย็นแช่แข็ง เครื่องดื่ม สิ่งปรุงรสอาหาร และอาหารสัตว์เลี้ยง 2) สินค้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่บ้าน (Work from Home) และเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน ตู้เย็นและตู้แช่แข็ง เครื่องซักผ้า และโซลาร์เซลล์
และ 3) สินค้าเกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อและลดการแพร่ระบาด เช่น ถุงมือยาง ซึ่งขยายตัวต่อเนื่องตั้งแต่มีการแพร่ระบาด โดยเฉพาะในประเทศที่มีการแพร่ระบาดสูงอย่างสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร ขณะที่ผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ เป็นสินค้าที่มีความต้องการสูงสำหรับประเทศที่มีการระบาดรุนแรงในฝั่งเอเชีย โดยเฉพาะเมียนมา
ด้านตลาดส่งออก ตลาดสหรัฐฯ ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง ขณะที่หลายตลาดกลับมาขยายตัวอีกครั้ง โดยเฉพาะจีน ออสเตรเลีย เวียดนาม มาเลเซีย และเกาหลีใต้ รวมทั้งตลาดอื่นๆ ที่มีสัดส่วนสำคัญกับการส่งออกไทยล้วนมีอัตราการหดตัวที่ลดลงมากในเดือนนี้ เช่น ญี่ปุ่น อินเดีย สหราชอาณาจักร และเยอรมนี
สนค.ระบุอีกว่า ในเดือน ก.ย.63 การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร กลับมาขยายตัว 3.1% (YoY) หลังจากหดตัว 3 เดือนติดต่อกัน สินค้าที่ขยายตัวดี ได้แก่ น้ำมันปาล์ม, ผัก ผลไม้สด แช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป, ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง, สิ่งปรุงรสอาหาร, อาหารสัตว์เลี้ยง ยังขยายตัว 13 เดือนต่อเนื่อง ส่วนสินค้าที่หดตัว ได้แก่ น้ำตาลทราย, ข้าว, ยางพารา, ไก่สดแช่แข็งและแปรรูป
ขณะที่ 9 เดือนแรกของปี 63 สินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ยังหดตัว 3.8%
ด้านการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม มูลค่าหดตัว 3.9% (YoY) หดตัวต่อเนื่อง 5 เดือน แต่มีทิศทางการหดตัวน้อยกว่าเดือนที่ผ่านมา สินค้าที่ขยายตัวดี ได้แก่ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด, ตู้เย็น ตู้แช่แข็ง และส่วนประกอบ, เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ, เครื่องซักผ้าและเครื่องซักแห้งและส่วนประกอบ, เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน, ผลิตภัณฑ์ยาง, เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ, ถุงมือยาง ส่วนสินค้าที่หดตัว ได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) , เครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์และส่วนประกอบ, รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ, สินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน และ ทองคำ กลับมาหดตัวในเดือนนี้
ขณะที่ 9 เดือนแรกของปี 2563 สินค้าอุตสาหกรรม หดตัว 7.3%
นางสาวพิมพ์ชนก กล่าวถึงแนวโน้มและมาตรการส่งเสริมการส่งออกปี 63 และ 64 ว่า การส่งออกไทยส่งสัญญาณการฟื้นตัวอย่างชัดเจนและต่อเนื่อง การส่งออกไปตลาดสำคัญหลายตลาดกลับมาขยายตัวอีกครั้ง รวมถึงตลาดอื่นๆ ที่แม้จะยังหดตัว แต่มีการหดตัวลดลงซึ่งเป็นสัญญาณที่ดี และเมื่อพิจารณารวมกับการกลับมาขยายตัวต่อเนื่องของสินค้าอุตสาหกรรมหลายรายการ อาทิ เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง และเครื่องใช้ไฟฟ้า ทำให้เห็นแนวโน้มที่ดีของการส่งออกไทยที่น่าจะปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องไปจนถึงปลายปี
ปัจจัยที่ต้องนำมาพิจารณาในการประเมินสถานการณ์การส่งออกในปีนี้ ได้แก่ สถานการณ์การเลือกตั้งของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักของไทยที่ยังมีความไม่แน่นอน นโยบายของผู้นำอาจมีผลต่อความเชื่อมั่นต่อการส่งออก การลงทุน และอัตราแลกเปลี่ยน สำหรับปัจจัยลบที่อาจกระทบการส่งออก ได้แก่ การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในหลายประเทศ โดยเฉพาะยุโรปที่กลับมาล็อกดาวน์ในรายพื้นที่อีกครั้ง ซึ่งอาจกระทบกำลังซื้อของประเทศคู่ค้า รวมถึงประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เมียนมาที่การระบาดเข้าขั้นวิกฤติ อาจกลายเป็นอุปสรรคต่อการค้าชายแดนของไทยในระยะสั้น ขณะที่ปัจจัยสนับสนุนการส่งออก ได้แก่ ห่วงโซ่อุปทานของสินค้ากลับมาดำเนินการได้ตามปกติ การที่ไทยควบคุมการแพร่ระบาดได้ดี ไม่พบการติดเชื้อในประเทศ ทำให้ภาคการผลิตดำเนินการได้ตามปกติ รวมทั้งมาตรการกระตุ้นฟื้นฟูเศรษฐกิจของไทยและประเทศคู่ค้า
การส่งเสริมการส่งออกในช่วงที่เหลือของปีนี้ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ ได้เร่งผลักดันสินค้าไทยผ่านช่องทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดน และจัดกิจกรรมจับคู่ธุรกิจ โดยใช้การเจรจาออนไลน์เพื่อหาออเดอร์ส่งออก ปรับรูปแบบการอบรมสัมมนาโดยผ่าน Facebook Live Webinar และ Zoom เพื่อให้ผู้ประกอบการเข้าถึงองค์ความรู้ได้เร็ว ลดการเดินทาง และสอดรับกับวิถีชีวิตยุคใหม่ นอกจากนี้ ยังส่งเสริมความร่วมมือในอุตสาหกรรมอาหาร ตามมาตรการป้องกันการปนเปื้อนเชื้อไวรัสโควิด-19 ในกระบวนการผลิตอาหารส่งออก (COVID-19 Prevention Best Practice) เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้นำเข้าสินค้าอาหาร และเป็นการรับรองว่าสินค้าไทยปราศจากเชื้อในกระบวนการผลิต ซึ่งจะทำให้สินค้าอาหารของไทยสามารถขยายการส่งออกและเจาะกลุ่มตลาดใหม่ๆ ได้ในอนาคตอีกด้วย
Source: อินโฟเควสท์ โดย พณฦ/ศศิธร
https://www.ryt9.com/s/iq03/3169181
เพิ่มเติม
- ข่าว ก.พาณิชย์
http://www.tpso.moc.go.th/sites/default/files/inter_trade_monthly/2563/sep_63/3.press_release_k.y._63_final1.pdf?fbclid=IwAR1UIw1LoUgY3IDnceT1YuOeWzfCLQFJPXn2HUnRQ6f5q17LGC2NgmTf1PM
- Presentation
http://www.tpso.moc.go.th/sites/default/files/inter_trade_monthly/2563/sep_63/2.ppt_export_kanyaayn_63_final_pr1.pdf?fbclid=IwAR0K4uPFV70d3ojklFhHCX66lyJdcJCE4eDpKfZToHprRbcjDY47yCyTgQI
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=3805804146105716&id=277100888976077
(Oct 22) พาณิชย์ เผย ก.ย.63 ส่งออก -3.86% นำเข้า -9.08% เกินดุลฯ 2,230 ล้านเหรียญฯ : สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ แถลงตัวเลขการค้าระหว่างประเทศของไทยเดือน ก.ย.63 โดยการส่งออกไทยมีมูลค่า 19,621.32 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวลดลง -3.86% ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 17,391.20 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัว -9.08% ทำให้ดุลการค้าเกินดุล 2,230.12 ล้านเหรียญสหรัฐ
ขณะที่ภาพรวมช่วง 9 เดือนแรกของปี 63 (ม.ค.-ก.ย.) การส่งออกมีมูลค่ารวม 172,996.10 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัว -7.33% ส่วนการนำเข้ามีมูลค่ารวม 152,372.41 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัว -14.64% ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 20,623.68 ล้านเหรียญสหรัฐ
นางสาวพิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการ สนค.ระบุว่า ภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของไทยในเดือน ก.ย.63 ฟื้นตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 เนื่องจากเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปภายใต้การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่เริ่มควบคุมสถานการณ์ได้ในหลายประเทศ ส่งผลให้เริ่มผ่อนคลายมาตรการปิดสถานที่และควบคุมการเดินทาง ทำให้ภาพรวมเศรษฐกิจโลกเริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวดีขึ้น สอดคล้องกับดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อโลก (Global Manufacturing PMI) ที่ปรับตัวดีขึ้นเหนือระดับ 50 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3
และเมื่อพิจารณาอัตราการเติบโตของมูลค่าการส่งออกและนำเข้าของไทย พบว่ามีการหดตัวที่น้อยลงเป็นลำดับ แสดงถึงศักยภาพในการปรับตัวของธุรกิจทั้งฝั่งผู้ส่งออกและผู้นำเข้าสินค้า ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีต่อภาวะเศรษฐกิจไทยเมื่อเทียบกับช่วงที่ผ่านมา
สินค้าที่ขยายตัวได้ดี ยังเป็นสินค้ากลุ่มเดิมที่เติบโตต่อเนื่อง 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ 1) สินค้าอาหาร เช่น ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง น้ำมันปาล์ม สุกรสดแช่เย็นแช่แข็ง เครื่องดื่ม สิ่งปรุงรสอาหาร และอาหารสัตว์เลี้ยง 2) สินค้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่บ้าน (Work from Home) และเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน ตู้เย็นและตู้แช่แข็ง เครื่องซักผ้า และโซลาร์เซลล์
และ 3) สินค้าเกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อและลดการแพร่ระบาด เช่น ถุงมือยาง ซึ่งขยายตัวต่อเนื่องตั้งแต่มีการแพร่ระบาด โดยเฉพาะในประเทศที่มีการแพร่ระบาดสูงอย่างสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร ขณะที่ผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ เป็นสินค้าที่มีความต้องการสูงสำหรับประเทศที่มีการระบาดรุนแรงในฝั่งเอเชีย โดยเฉพาะเมียนมา
ด้านตลาดส่งออก ตลาดสหรัฐฯ ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง ขณะที่หลายตลาดกลับมาขยายตัวอีกครั้ง โดยเฉพาะจีน ออสเตรเลีย เวียดนาม มาเลเซีย และเกาหลีใต้ รวมทั้งตลาดอื่นๆ ที่มีสัดส่วนสำคัญกับการส่งออกไทยล้วนมีอัตราการหดตัวที่ลดลงมากในเดือนนี้ เช่น ญี่ปุ่น อินเดีย สหราชอาณาจักร และเยอรมนี
สนค.ระบุอีกว่า ในเดือน ก.ย.63 การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร กลับมาขยายตัว 3.1% (YoY) หลังจากหดตัว 3 เดือนติดต่อกัน สินค้าที่ขยายตัวดี ได้แก่ น้ำมันปาล์ม, ผัก ผลไม้สด แช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป, ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง, สิ่งปรุงรสอาหาร, อาหารสัตว์เลี้ยง ยังขยายตัว 13 เดือนต่อเนื่อง ส่วนสินค้าที่หดตัว ได้แก่ น้ำตาลทราย, ข้าว, ยางพารา, ไก่สดแช่แข็งและแปรรูป
ขณะที่ 9 เดือนแรกของปี 63 สินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ยังหดตัว 3.8%
ด้านการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม มูลค่าหดตัว 3.9% (YoY) หดตัวต่อเนื่อง 5 เดือน แต่มีทิศทางการหดตัวน้อยกว่าเดือนที่ผ่านมา สินค้าที่ขยายตัวดี ได้แก่ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด, ตู้เย็น ตู้แช่แข็ง และส่วนประกอบ, เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ, เครื่องซักผ้าและเครื่องซักแห้งและส่วนประกอบ, เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน, ผลิตภัณฑ์ยาง, เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ, ถุงมือยาง ส่วนสินค้าที่หดตัว ได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) , เครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์และส่วนประกอบ, รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ, สินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน และ ทองคำ กลับมาหดตัวในเดือนนี้
ขณะที่ 9 เดือนแรกของปี 2563 สินค้าอุตสาหกรรม หดตัว 7.3%
นางสาวพิมพ์ชนก กล่าวถึงแนวโน้มและมาตรการส่งเสริมการส่งออกปี 63 และ 64 ว่า การส่งออกไทยส่งสัญญาณการฟื้นตัวอย่างชัดเจนและต่อเนื่อง การส่งออกไปตลาดสำคัญหลายตลาดกลับมาขยายตัวอีกครั้ง รวมถึงตลาดอื่นๆ ที่แม้จะยังหดตัว แต่มีการหดตัวลดลงซึ่งเป็นสัญญาณที่ดี และเมื่อพิจารณารวมกับการกลับมาขยายตัวต่อเนื่องของสินค้าอุตสาหกรรมหลายรายการ อาทิ เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง และเครื่องใช้ไฟฟ้า ทำให้เห็นแนวโน้มที่ดีของการส่งออกไทยที่น่าจะปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องไปจนถึงปลายปี
ปัจจัยที่ต้องนำมาพิจารณาในการประเมินสถานการณ์การส่งออกในปีนี้ ได้แก่ สถานการณ์การเลือกตั้งของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักของไทยที่ยังมีความไม่แน่นอน นโยบายของผู้นำอาจมีผลต่อความเชื่อมั่นต่อการส่งออก การลงทุน และอัตราแลกเปลี่ยน สำหรับปัจจัยลบที่อาจกระทบการส่งออก ได้แก่ การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในหลายประเทศ โดยเฉพาะยุโรปที่กลับมาล็อกดาวน์ในรายพื้นที่อีกครั้ง ซึ่งอาจกระทบกำลังซื้อของประเทศคู่ค้า รวมถึงประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เมียนมาที่การระบาดเข้าขั้นวิกฤติ อาจกลายเป็นอุปสรรคต่อการค้าชายแดนของไทยในระยะสั้น ขณะที่ปัจจัยสนับสนุนการส่งออก ได้แก่ ห่วงโซ่อุปทานของสินค้ากลับมาดำเนินการได้ตามปกติ การที่ไทยควบคุมการแพร่ระบาดได้ดี ไม่พบการติดเชื้อในประเทศ ทำให้ภาคการผลิตดำเนินการได้ตามปกติ รวมทั้งมาตรการกระตุ้นฟื้นฟูเศรษฐกิจของไทยและประเทศคู่ค้า
การส่งเสริมการส่งออกในช่วงที่เหลือของปีนี้ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ ได้เร่งผลักดันสินค้าไทยผ่านช่องทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดน และจัดกิจกรรมจับคู่ธุรกิจ โดยใช้การเจรจาออนไลน์เพื่อหาออเดอร์ส่งออก ปรับรูปแบบการอบรมสัมมนาโดยผ่าน Facebook Live Webinar และ Zoom เพื่อให้ผู้ประกอบการเข้าถึงองค์ความรู้ได้เร็ว ลดการเดินทาง และสอดรับกับวิถีชีวิตยุคใหม่ นอกจากนี้ ยังส่งเสริมความร่วมมือในอุตสาหกรรมอาหาร ตามมาตรการป้องกันการปนเปื้อนเชื้อไวรัสโควิด-19 ในกระบวนการผลิตอาหารส่งออก (COVID-19 Prevention Best Practice) เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้นำเข้าสินค้าอาหาร และเป็นการรับรองว่าสินค้าไทยปราศจากเชื้อในกระบวนการผลิต ซึ่งจะทำให้สินค้าอาหารของไทยสามารถขยายการส่งออกและเจาะกลุ่มตลาดใหม่ๆ ได้ในอนาคตอีกด้วย
Source: อินโฟเควสท์ โดย พณฦ/ศศิธร
https://www.ryt9.com/s/iq03/3169181
เพิ่มเติม
- ข่าว ก.พาณิชย์
http://www.tpso.moc.go.th/sites/default/files/inter_trade_monthly/2563/sep_63/3.press_release_k.y._63_final1.pdf?fbclid=IwAR1UIw1LoUgY3IDnceT1YuOeWzfCLQFJPXn2HUnRQ6f5q17LGC2NgmTf1PM
- Presentation
http://www.tpso.moc.go.th/sites/default/files/inter_trade_monthly/2563/sep_63/2.ppt_export_kanyaayn_63_final_pr1.pdf?fbclid=IwAR0K4uPFV70d3ojklFhHCX66lyJdcJCE4eDpKfZToHprRbcjDY47yCyTgQI
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=3805804146105716&id=277100888976077
แสดงความคิดเห็น
🍟🍟🍟🍟มาลาริน/ข่าวดีๆค่ะ....พาณิชย์เผยส่งออกฟื้นตัว 3เดือนติด กย.เหลือติดลบแค่ 3,86%
ส่งออก ก.ย.ลบแค่ 3.86% ฟื้นตัวดีขึ้น 3 เดือนติดต่อกัน
เผยแพร่: 22 ต.ค. 2563 13:16
✔ส่งออก ก.ย. 63 มีมูลค่า 19,621.32 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 3.86% ฟื้นตัวต่อเนื่อง 3 เดือนติด เผยอาหาร สินค้าทำงานที่บ้าน สินค้าป้องกันเชื้อโรค ยังคงเป็นพระเอกหลัก ส่วนกลุ่มอื่นฟื้นตัวขึ้นต่อเนื่อง คาดทั้งปีลบ 7% ไม่หนักถึง 2 หลัก ชี้ปัจจัยเสี่ยงเพื่อนบ้านติดโควิด-19 ระบาดกระทบค้าชายแดน เลือกตั้งสหรัฐฯ มีผลต่อนโยบายการค้า ระบุการเมืองในประเทศไม่กระทบส่งออก แต่มีผลต่อการลงทุน
น.ส.พิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธ ศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า การส่งออกของไทยในเดือน ก.ย. 2563 มีมูลค่า 19,621.32 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 3.86% ถือเป็นการฟื้นตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน โดย มิ.ย.ติดลบ 23.17% ก.ค.ติดลบ 11.37% และ ส.ค.ติดลบ 7.94% และยังเป็นสัญญาณดี เนื่องจากการส่งออกที่ปรับตัวดีขึ้นมาจากการฟื้นตัวของการส่งออกสินค้า ไม่ใช่ได้ผลดีจากการส่งออกทองคำ ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 17,391.20 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 9.08% เกินดุลการค้า 2,230.1 ล้านเหรียญสหรัฐ และยอดรวม 9 เดือนของปี 2563 (ม.ค.-ก.ย.) มีมูลค่า 172,996.1 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 7.33% การนำเข้ามีมูลค่า 152,372.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 14.64% เกินดุลการค้ามูลค่า 20,623.7 ล้านเหรียญสหรัฐ
ปัจจัยที่ทำให้การส่งออกฟื้นตัวดีขึ้นมาจากการฟื้นตัวของสินค้าส่งออกหลายกลุ่มที่ส่งออกติดลบน้อยลง และหลายๆ ตัวเริ่มขยายตัวได้ดีขึ้น โดยมีสินค้า 3 กลุ่มหลักที่ส่งออกเติบโตได้ดี คือ สินค้าอาหาร เช่น ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง น้ำมันปาล์ม สุกรสดแช่เย็นแช่แข็ง เครื่องดื่ม สิ่งปรุงรสอาหาร และอาหารสัตว์เลี้ยง สินค้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่บ้านและเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน ตู้เย็นและตู้แช่แข็ง เครื่องซักผ้า และโซลาร์เซลล์ และสินค้าที่เกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อและลดการแพร่ระบาด เช่น ถุงมือยาง
ทั้งนี้ สินค้าหลายตัวยังคงส่งออกได้ลดลง เช่น น้ำตาลทราย ข้าว ยางพารา ไก่สดแช่แข็งและแปรรูป อัญมณีและเครื่องประดับ ไม่รวมทองคำ เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ สินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน และทองคำ
ทางด้านตลาดส่งออก มีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้น โดยตลาดหลักเพิ่ม 6.3% ได้แก่ สหรัฐฯ เพิ่ม 19.7% ญี่ปุ่นและสหภาพยุโรป 15 ประเทศ อัตราติดลบดีขึ้น โดยลดลงเพียง 1.9% และ 4.4% ตลาดศักยภาพสูง ลด 8.1% โดยอาเซียน 5 ประเทศ ลด 15.6% CLMV ลด 4.8% และเอเชียใต้ ลด 6.3% แต่จีนกลับมาขยายตัว เพิ่ม 6.9% และตลาดศักยภาพระดับรอง ลด 10.1% โดยตะวันออกกลาง ลด 26.1% ละตินอเมริกา ลด 14.5% รัสเซียและกลุ่มประเทศ CIS ลด 31.5% ทวีปแอฟริกา ลด 15.3% แต่การส่งออกไปทวีปออสเตรเลีย เพิ่ม 2.1% เป็นบวกในรอบ 6 เดือน
สำหรับแนวโน้มการส่งออกของไทยถือว่าฟื้นตัวอย่างชัดเจน โดยการส่งออกไตรมาสที่ 4 คาดว่าจะส่งออกได้มูลค่า 56,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 6% ทำให้ยอดรวมทั้งปี 2563 จะส่งออกได้มูลค่า 228,904 ล้านเหรียญสหรัฐ ติดลบประมาณ 7% ไม่ติดลบถึง 2 หลัก โดยมีปัจจัยเสี่ยงที่จะต้องติดตาม คือ การระบาดของโควิด-19 ในพม่า ที่จะกระทบต่อการค้าชายแดนในระยะสั้น การเลือกตั้งสหรัฐฯ ที่จะมีผลต่อนโยบายการค้า เพราะไม่ว่าใครจะมาเป็นประธานาธิบดีคนใหม่การทะเลาะกับจีนก็ยังคงมีอยู่ ส่วนการเมืองในประเทศ ไม่มีผลกระทบต่อการส่งออก แต่กระทบต่อการตัดสินใจเข้ามาลงทุน และมีผลต่อเนื่องต่อการส่งออก หากเป็นการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ไทยต้องการดึงลงทุน
https://mgronline.com/business/detail/9630000108123
🎀 สัญญาณการส่งออกไทยฟื้น 'สรท.'คาดไตรมาส 1 ปี 64 กลับมาบวก
“พาณิชย์” ส่งสัญญาณส่งออกฟื้นตัว เผย ก.ย.ติดลบ 3.86% ดีขึ้นต่อเนื่องเดือนที่ 3 คาดทั้งปีติดลบ 7% ชี้ จับตาปัจจัยเสี่ยงโควิด เลือกตั้งสหรัฐกระทบค่าเงินบาท สรท.คาด 2 เดือนสุดท้ายติดลบน้อยลง ลุ้นไตรมาส 1 ปีหน้ากลับมาบวก
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/904069
✔SCB EIC คาดปี64ส่งออกกลับมาโต4-5%
SCB EIC ปรับเป้าส่งออกปี 63 หดตัวที่ -8.0% จากเดิมคาด -10.4% ขณะแนวโน้มปีหน้า กลับมาขยายตัวได้ที่ 4-5%
ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) ระบุว่า ได้ปรับคาดการณ์มูลค่าส่งออกทั้งปี 2563 เป็นหดตัวที่ -8.0% จากเดิมคาด -10.4% ตามการขยายตัวในระดับสูงของการส่งออกทองคำ โดยในช่วง 9 เดือนแรก ส่งออกทองคำขยายตัวถึง 88.8%YOYจึงมีส่วนสำคัญในการพยุงตัวเลขส่งออกไม่ให้หดตัวลึกเท่ากับที่เคยคาดไว้ โดยหากพิจารณามูลค่าส่งออกหักทองคำและอาวุธที่สะท้อนภาพการส่งออกตามภาวะเศรษฐกิจจริง พบว่าในช่วง 9 เดือนแรก มูลค่าหดตัวที่ -10.6%YOY ซึ่งเป็นระดับที่ใกล้เคียงกับที่ EIC ได้คาดการณ์ไว้ ดังนั้น การปรับประมาณการในครั้งนี้ จึงเป็นผลจากทองคำเป็นส่วนใหญ่ และคาดว่าจะไม่กระทบต่อประมาณการ GDP ที่ EIC คาดไว้ที่ -7.8% ในปี 2563 เนื่องจากการส่งออกทองคำไม่ถือเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่ม (value added) จึงไม่ถูกนับใน GDP
ทั้งนี้ EIC คาดว่า แนวโน้มการส่งออกไทยปี 2564 จะเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยจะกลับมาขยายตัวได้ที่ประมาณ 4-5%จากคาดการณ์เศรษฐกิจโลกของ IMF พบว่าประเทศสำคัญส่วนใหญ่จะมีการขยายตัวในปี 2564 ที่น้อยกว่าการหดตัวในปี 2563 มีเพียงแค่จีนและประเทศกลุ่มอาเซียนที่มีแนวโน้มฟื้นตัวได้เร็วกว่า สะท้อนว่าเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าไทยส่วนใหญ่จะมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างช้า ๆ และหากพิจารณาด้านปริมาณการค้าโลก WTO ได้คาดไว้ว่าปริมาณการค้าโลกในปี 2564 จะฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป สะท้อนจากอัตราเติบโตปี 2564ที่ต่ำกว่าอัตราหดตัวของปีนี้ ด้วยเหตุนี้ EIC จึงคาดว่ามูลค่าการส่งออกของไทยในปี 2564 จะกลับมาขยายตัวได้แต่จะเป็นการขยายตัวในระดับไม่สูงนักที่ประมาณ 4-5%
https://www.innnews.co.th/economy/news_803470/
✔กสิกรปรับเป้าส่งออกปี63ลบ7%เดิม-12%
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ปรับเป้าส่งออกปี 63 คาดติดลบ 7% จากเดิมลบ 12% มองไตรมาส 4 เศรษฐกิจโลกยังเสี่ยง ขณะอัตราแลกเปลี่ยนผันผวน
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า การส่งออกไทยในเดือนกันยายน 2563 อยู่ที่ 19,621.3 ล้านเหรียญฯ หดตัวร้อยละ 3.9 YoY ท่ามกลางอุปสงค์โลกที่ฟื้นตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ส่งผลให้ 9 เดือนแรกการส่งออกไทยหดตัวร้อยละ 7.3 YoY ซึ่งเป็นการหดตัวน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ ส่งผลให้ต้องทบทวนประมาณการส่งออกไทยปี 2563 โดยคาดว่า จะหดตัวลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 7.0 จากคาดการณ์เดิมที่ร้อยละ 12.0
ทั้งนี้ การส่งออกไปยังสหรัฐฯ ยังคงขยายตัวได้ดีเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน ขณะที่การส่งออกไปยังจีน เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย รวมถึงบางประเทศในอาเซียน เช่น เวียดนาม และมาเลเซีย ก็พลิกกลับมาขยายตัว ขณะที่การส่งออกไปยังญี่ปุ่นและสหภาพยุโรปก็หดตัวลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากอุปสงค์โลกมีการฟื้นตัว โดยส่วนหนึ่งเกิดจากความต้องการที่สะสมจากช่วงก่อนหน้า (pent-up demand)
อย่างไรก็ดี การส่งออกไทยในช่วงไตรมาส 4/2563 ยังเผชิญความเสี่ยงจากสถานการณ์เศรษฐกิจโลก โดยการแพร่ระบาดซ้ำของโควิด-19 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุโรปที่การแพร่ระบาดระลอกสองนั้นรุนแรงกว่าในรอบแรกอาจส่งผลให้ความต้องการสินค้าไทยนั้นลดลง
ขณะที่ปัจจัยทางการเมืองต่างๆ เช่น ความไม่แน่นอนของการเลือกตั้งในสหรัฐฯ และประเด็นเบร็กซิทที่ยังตกลงกันไม่ได้ น่าจะเป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนและกดดันการส่งออกของไทยในระยะข้างหน้า ขณะที่ประเด็นความตึงเครียดระหว่างจีนและสหรัฐฯ มีแนวโน้มที่จะยังคงคุกรุ่นและจะเป็นปัจจัยกดดันการค้าโลกอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ ราคาทองคำมีแนวโน้มที่จะยังคงผันผวน ท่ามกลางความเสี่ยงที่ยังอยู่ในระดับสูง ซึ่งการส่งออกทองคำจะเป็นตัวแปรสำคัญที่อาจส่งผลให้การส่งออกไทยผันผวนได้ในระยะข้างหน้า
https://www.innnews.co.th/economy/news_803341/
ธุรกิจส่งออกสู้ๆนะคะ....⊙_⊙
สถานการณ์ดีขึ้นเรื่อยๆค่ะ.....