อาชีพเสริมสร้างรายได้ จากเศษวัสดุเหลือทิ้งจากข้าวโพด (ตอนที่ 2 - กระดาษจากเปลือกข้าวโพด)

ทำไมเราถึงต้องให้ความสำคัญกับการจัดการวัสดุเหลือทิ้งจากข้าวโพด

เนื่องจากในปัจจุบัน การจัดการวัสดุเหลือทิ้งดังกล่าว ยังเป็นการจัดการอย่างมักง่าย เช่น การเผา หรือการปล่อยให้ย่อยสลายไปเองตามธรรมชาติ จากการที่พื้นที่เพาะปลูกส่วนใหญ่มีสภาพลาดชันตามแนวภูเขา หลังจากที่เก็บเกี่ยวเรียบร้อยแล้ว เกษตรกรมักทิ้งต้นข้าวโพดไว้ที่แปลงทิ้งไว้ให้แห้งเองด้วยแสงแดด  และทิ้งซังและเปลือกฝักข้าวโพดกองไว้ ณ ลานสี จากนั้นจึงจะเผาเพราะทำได้รวดเร็ว และประหยัดต้นทุนมากที่สุด การที่ทำเช่นนี้ก็เพื่อให้สะดวกต่อการเตรียมพื้นที่เพาะปลูกสำหรับฤดูกาลเพาะปลูกต่อไป ซึ่งการกระทำดังกล่าวส่งผลกระทบต่อปัญหาเรื่องหมอกควัน และไฟป่าทางภาคเหนือ


ดังนั้น ภาครัฐ และภาคเอกชนจึงร่วมมือกันเข้าไปช่วยเหลือ และจัดการอบรมทำอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ เพื่อรณรงค์ลดการเผาซากวัสดุของภาคเกษตรกรรม เช่น การัส่งเสริมการทำกระดาษจากเปลือกข้าวโพด เป็นต้น

สามารถดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติมได้ที่ : [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
สนใจติดต่อสอบถามได้ที่ โครงการหมู่บ้านข้าวโพดลดหมอกควัน : บ้านบนนา หมู่ 14 ต.ช่างเคิ่ง อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ ผู้รับผิดชอบโครงการ : ภาควิชาสัตวศาสตร์และสัตว์น้ำ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โทร.053-944070-74

ที่มา : การทำกระดาษจากเปลือกฝักข้าวโพด, ดร.เพิ่มศักดิ์ สุภาพรเหมินทร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (http://www.clinictech.most.go.th/)
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่