คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 4
1.ไม้หมอนรถไฟเปลี่ยนเป็นปูนมันจะไม่แตกหรือครับ เพราะมันแข็งมาก แต่ไม้แบบเก่ามันยังยืดหยุ่นรับแรงสั่นสะเทือนได้?
1.1 ไม้เปลี่ยนเป็นปูนไม่แตกเหรอ
ตอบ แตกได้ ถ้ามีของแข็งมากๆ แล้วมากระแทกเร็ว และแรง
แต่ ไม้หมอน และเขตทางรถไฟ ไม่ค่อยมีใครมาทำอย่างนี้ดอก
ยกเว้น ปลายด้ามขวาน
1.2 เรื่องยืดหยุ่น รับแรงกระแทกได้ดี
ตรงนี้มีสองเรื่อง คือยืดหยุ่น แน่นอน ไม้ยืดหยุ่นดีกว่าคอนกรีต
แต่ เขาแก้ไข โดยมีแผ่น absorber มารองรับระหว่าง ตัวรางเหล็กกับหมอนคอนกรีต
นานไป แผ่นนี้เสื่อมสภาพ ก็ต้องเปลี่ยน ส่วนคอนกรีต นั้น อย่างน้อยอยู่ได้ เป็น 100 ปี
เราเปลี่ยนแค่ แผ่น absorber นี้เท่านั้น ทั้งเบา ทั้งตัวเล็ก ง่ายกว่ากันเยอะ
ปล. ดูภาพใน youtube ข้างบนครับ ทั้งสองตอนจะเห็นแผ่นนี้อยู่ กว้างยาวประมาณ
6 x 7 นิ้วได้มั้ง ตรงนี้ก็ทำให้รับแรงกดได้ประมาณ 135,000 กิโลกรัม ต่อหนึ่งจุด
หมอนรองรับได้ สองจุดคือ ซ้ายกับขวา ก็ได้ อยู่ 270,000 กิโลกรัม ต่อหนึ่งหมอน
แต่ ตัวตู้รถไฟ อย่างเก่ง ให้ 100 ตัน ก็ 100,000 กิโลกรัม มีล้อรองรับ 8 ล้อ
เฉลี่ยล้อละ 12,500 กิโลกรัม ก็แปลว่าหายห่วง คือ เขาออกแบบไว้เกินไป 10 เท่าครับ
1.3 เรื่อง แรงกระแทก คอนกรีตไม้หมอน spec สูงมาก คือ 600 กก. ต่อ ตาราง ซม.
(แท่งคอนกรีต 0.15 x0.15 x 0.15 รับแรงกดได้ ไม่น้อยกว่า 60 M-pa)
เรื่องแรกกระแทก หายห่วงครับ ดีกว่าไม้แน่นอน
2.แล้วทำไมต้องเอาหินมาโรยตามทางเพื่ออะไร ใช้ดินธรรมดาไม่ได้หรือ
ตอบ
2.1 หินกระจายแรงจากหมอนไปหลายทิศทาง
ถ้าใช้ดินธรรมดา แล้ว มีการกดครั้งเดียว ดินกระจายแรงได้ดีกว่า
ทีนี้ มันมีรถวิ่งหลายขบวน และหลายล้อ ทำนองเอาเครื่องตบดินมาตบๆๆๆๆๆ
ดินจะทรุดได้ง่าย จึงไม่ใช้ดิน เพราะมันทรุดได้ง่าย แม้ว่าจะกระจายแรงได้ดีกว่า
พอมาใช้หิน ก็ต้องใช้เยอะหน่อย พื้นที่รองรับมากกว่าดิน คือ ใช้พื้นที่เท่ากับ
หน้าหมอนด้านล่างทั้งหมด เพื่อรองรับแรง แล้ว หินก้อนที่อยู่ด้านข้าง ด้านล่าง
ก็จะเป็นตัวรับแรงกระจายกันไปเป็นทอดๆ สุดท้าย หิน ก้อนล่างๆ แทบจะไม่กระเทือน
เขาจึง ต้องพูนหินให้หนาเป็นฟุตไง
2.2 หิน มันเป็นเหลี่ยม มันไม่เลื่อนไหล รับแรงกระแทก แรงกดได้ดีกว่าดินหากมีการทำซ้ำๆ
หินไม่ละลายน้ำ (เดิมใช้หินปูน เวลานี้เปลี่ยนมาใช้หินกลุ่มหินอัคนี เช่น บะซอล แกรนิตกันแล้ว)
ทำให้ไม่ละลายน้ำทนกว่าเดิมมาก ถ้าใช้ดิน พอมีฝนตกดินจะเละ แล้วรางก็ไม่ตรง รถไฟตกรางแน่นอน
ข้อสำคัญ พอใช้หิน ต้องเตรียมดินที่รองรับหินต้องแน่น บดอัดให้ดี อย่าให้น้ำเซาะเป็นโพรงข้างใต้
ถ้ามีทางน้ำธรรมชาติ ต้องทำร่อง หรือ สะพานเล็ก หรือ ใหญ่ ให้น้ำผ่านไปได้ง่าย
ถ้าดินอ่อนต้องแก้ไขเสียก่อน เช่นหาดินที่มีโครงสร้างที่เหมาะ มาใส่แทนของเดิมแล้วบดอัดให้แน่น
รวมถึง กรณีน้ำหลากด้วย จะเห็นว่า สะพานรถไฟ ที่ข้ามแม่น้ำลำคลองสายหลัก
จะยาวกว่า สะพานของถนนมาก ซึ่ง ช่วยเรื่องน้ำกัดเซาะคอสะพานได้เป็นอย่างดี
กรมทางหลวงน่าจะเอาอย่าง เพราะเห็นมีสะพานขาดทุกปี พอแก้ไขหรือซ่อมไป
ก็ทำแบบเดิมอีก ปีไหนน้ำมาก ก็คอสะพานขาดอีก ไหน บอกกันว่าวิศวกรเก่งไง
เรื่อง ง่ายๆ แค่นี้ทำไมไม่คิดอ่านแก้ไขให้ดี หรือว่าในหน่วยงานนั้นมีแต่คนเก่งไม่จริง
ปัญหาดินอ่อน หรือดิน เลื่อนไหล เจอบ่อยมาก ในภาคใต้ ช่วงที่มีฝนชุก
เวลานี้ เขากำลังแก้ไขกันอยู่ ก็ไม่รู้ว่า จะได้ผลแค่ไหน
3. หลายที่วิ่งไปเสียงดังมาก บางที่วิ่งนิ่มไม่มีเสียง เพราะรางมันดี อยากรู้ว่าดีอย่างไรช่วยอธิบายที
เรื่องเสียงดัง มีสองประการคือ
3.1 ทางมันสั้น มีรอยต่อ ทุกๆ 25 เมตร
เวลานี้ เขา ได้เชื่อมให้ยาวขึ้น น่าจะเป็น 50 เมตร หรือ 100 เมตรแล้ว
แต่มีข้อจำกัดคือ รางจะขยายตัวถ้าได้รับความร้อน ต้องคำนึงถึงเรื่องนี้ให้ดี
3.2 รางผ่าน ร่องน้ำ หรือ สะพาน จะมีเสียงดังก้องขึ้นมา
อันนี้ แก้ไข ไม่ได้ ต้องรับสภาพ ยกเว้น ติดแอร์ และทำระบบรองรับกันกระเทือนเสียใหม่ทั้งหมด
แลกมาด้วย ค่าใช้จ่ายที่แพง แล้วคนก็ไม่ขึ้น
ปล. ผมไม่ได้เป็นติ่งรถไฟ ด้วยนานๆ ขึ้นทีหนึ่ง
เล่ามาจาก ที่ใกล้ๆ บ้านผม เขา กำลังเปลี่ยนรางอยู่
มีสถานีของ บริษัทรับเหมาอยู่ ใกล้ๆ
ขี่จักรยานผ่านทุกวัน ก็สังเกตเอา อันไหนที่ไม่รู้
ก็ถาม อากู๋ อากู๋ นี่เก่งจริงๆ ตอบได้ ทุกอย่าง
ผิดมั่ง ถูกมั่ง ก็ตอบได้ ขอบคุณ อากู๋ ไว้ ณ โอกาสนี้ด้วยครับ
1.1 ไม้เปลี่ยนเป็นปูนไม่แตกเหรอ
ตอบ แตกได้ ถ้ามีของแข็งมากๆ แล้วมากระแทกเร็ว และแรง
แต่ ไม้หมอน และเขตทางรถไฟ ไม่ค่อยมีใครมาทำอย่างนี้ดอก
ยกเว้น ปลายด้ามขวาน
1.2 เรื่องยืดหยุ่น รับแรงกระแทกได้ดี
ตรงนี้มีสองเรื่อง คือยืดหยุ่น แน่นอน ไม้ยืดหยุ่นดีกว่าคอนกรีต
แต่ เขาแก้ไข โดยมีแผ่น absorber มารองรับระหว่าง ตัวรางเหล็กกับหมอนคอนกรีต
นานไป แผ่นนี้เสื่อมสภาพ ก็ต้องเปลี่ยน ส่วนคอนกรีต นั้น อย่างน้อยอยู่ได้ เป็น 100 ปี
เราเปลี่ยนแค่ แผ่น absorber นี้เท่านั้น ทั้งเบา ทั้งตัวเล็ก ง่ายกว่ากันเยอะ
ปล. ดูภาพใน youtube ข้างบนครับ ทั้งสองตอนจะเห็นแผ่นนี้อยู่ กว้างยาวประมาณ
6 x 7 นิ้วได้มั้ง ตรงนี้ก็ทำให้รับแรงกดได้ประมาณ 135,000 กิโลกรัม ต่อหนึ่งจุด
หมอนรองรับได้ สองจุดคือ ซ้ายกับขวา ก็ได้ อยู่ 270,000 กิโลกรัม ต่อหนึ่งหมอน
แต่ ตัวตู้รถไฟ อย่างเก่ง ให้ 100 ตัน ก็ 100,000 กิโลกรัม มีล้อรองรับ 8 ล้อ
เฉลี่ยล้อละ 12,500 กิโลกรัม ก็แปลว่าหายห่วง คือ เขาออกแบบไว้เกินไป 10 เท่าครับ
1.3 เรื่อง แรงกระแทก คอนกรีตไม้หมอน spec สูงมาก คือ 600 กก. ต่อ ตาราง ซม.
(แท่งคอนกรีต 0.15 x0.15 x 0.15 รับแรงกดได้ ไม่น้อยกว่า 60 M-pa)
เรื่องแรกกระแทก หายห่วงครับ ดีกว่าไม้แน่นอน
2.แล้วทำไมต้องเอาหินมาโรยตามทางเพื่ออะไร ใช้ดินธรรมดาไม่ได้หรือ
ตอบ
2.1 หินกระจายแรงจากหมอนไปหลายทิศทาง
ถ้าใช้ดินธรรมดา แล้ว มีการกดครั้งเดียว ดินกระจายแรงได้ดีกว่า
ทีนี้ มันมีรถวิ่งหลายขบวน และหลายล้อ ทำนองเอาเครื่องตบดินมาตบๆๆๆๆๆ
ดินจะทรุดได้ง่าย จึงไม่ใช้ดิน เพราะมันทรุดได้ง่าย แม้ว่าจะกระจายแรงได้ดีกว่า
พอมาใช้หิน ก็ต้องใช้เยอะหน่อย พื้นที่รองรับมากกว่าดิน คือ ใช้พื้นที่เท่ากับ
หน้าหมอนด้านล่างทั้งหมด เพื่อรองรับแรง แล้ว หินก้อนที่อยู่ด้านข้าง ด้านล่าง
ก็จะเป็นตัวรับแรงกระจายกันไปเป็นทอดๆ สุดท้าย หิน ก้อนล่างๆ แทบจะไม่กระเทือน
เขาจึง ต้องพูนหินให้หนาเป็นฟุตไง
2.2 หิน มันเป็นเหลี่ยม มันไม่เลื่อนไหล รับแรงกระแทก แรงกดได้ดีกว่าดินหากมีการทำซ้ำๆ
หินไม่ละลายน้ำ (เดิมใช้หินปูน เวลานี้เปลี่ยนมาใช้หินกลุ่มหินอัคนี เช่น บะซอล แกรนิตกันแล้ว)
ทำให้ไม่ละลายน้ำทนกว่าเดิมมาก ถ้าใช้ดิน พอมีฝนตกดินจะเละ แล้วรางก็ไม่ตรง รถไฟตกรางแน่นอน
ข้อสำคัญ พอใช้หิน ต้องเตรียมดินที่รองรับหินต้องแน่น บดอัดให้ดี อย่าให้น้ำเซาะเป็นโพรงข้างใต้
ถ้ามีทางน้ำธรรมชาติ ต้องทำร่อง หรือ สะพานเล็ก หรือ ใหญ่ ให้น้ำผ่านไปได้ง่าย
ถ้าดินอ่อนต้องแก้ไขเสียก่อน เช่นหาดินที่มีโครงสร้างที่เหมาะ มาใส่แทนของเดิมแล้วบดอัดให้แน่น
รวมถึง กรณีน้ำหลากด้วย จะเห็นว่า สะพานรถไฟ ที่ข้ามแม่น้ำลำคลองสายหลัก
จะยาวกว่า สะพานของถนนมาก ซึ่ง ช่วยเรื่องน้ำกัดเซาะคอสะพานได้เป็นอย่างดี
กรมทางหลวงน่าจะเอาอย่าง เพราะเห็นมีสะพานขาดทุกปี พอแก้ไขหรือซ่อมไป
ก็ทำแบบเดิมอีก ปีไหนน้ำมาก ก็คอสะพานขาดอีก ไหน บอกกันว่าวิศวกรเก่งไง
เรื่อง ง่ายๆ แค่นี้ทำไมไม่คิดอ่านแก้ไขให้ดี หรือว่าในหน่วยงานนั้นมีแต่คนเก่งไม่จริง
ปัญหาดินอ่อน หรือดิน เลื่อนไหล เจอบ่อยมาก ในภาคใต้ ช่วงที่มีฝนชุก
เวลานี้ เขากำลังแก้ไขกันอยู่ ก็ไม่รู้ว่า จะได้ผลแค่ไหน
3. หลายที่วิ่งไปเสียงดังมาก บางที่วิ่งนิ่มไม่มีเสียง เพราะรางมันดี อยากรู้ว่าดีอย่างไรช่วยอธิบายที
เรื่องเสียงดัง มีสองประการคือ
3.1 ทางมันสั้น มีรอยต่อ ทุกๆ 25 เมตร
เวลานี้ เขา ได้เชื่อมให้ยาวขึ้น น่าจะเป็น 50 เมตร หรือ 100 เมตรแล้ว
แต่มีข้อจำกัดคือ รางจะขยายตัวถ้าได้รับความร้อน ต้องคำนึงถึงเรื่องนี้ให้ดี
3.2 รางผ่าน ร่องน้ำ หรือ สะพาน จะมีเสียงดังก้องขึ้นมา
อันนี้ แก้ไข ไม่ได้ ต้องรับสภาพ ยกเว้น ติดแอร์ และทำระบบรองรับกันกระเทือนเสียใหม่ทั้งหมด
แลกมาด้วย ค่าใช้จ่ายที่แพง แล้วคนก็ไม่ขึ้น
ปล. ผมไม่ได้เป็นติ่งรถไฟ ด้วยนานๆ ขึ้นทีหนึ่ง
เล่ามาจาก ที่ใกล้ๆ บ้านผม เขา กำลังเปลี่ยนรางอยู่
มีสถานีของ บริษัทรับเหมาอยู่ ใกล้ๆ
ขี่จักรยานผ่านทุกวัน ก็สังเกตเอา อันไหนที่ไม่รู้
ก็ถาม อากู๋ อากู๋ นี่เก่งจริงๆ ตอบได้ ทุกอย่าง
ผิดมั่ง ถูกมั่ง ก็ตอบได้ ขอบคุณ อากู๋ ไว้ ณ โอกาสนี้ด้วยครับ
แสดงความคิดเห็น
ไม้หมอนรถไฟเปลี่ยนเป็นปูนมันจะไม่แตกหรือครับ เพราะมันแข็งมาก แต่ไม้แบบเก่ามันยังยืดหยุ่นรับแรงสั่นสะเทือนได้?
2.แล้วทำไมต้องเอาหินมาโรยตามทางเพื่ออะไร ใช้ดินธรรมดาไม่ได้หรือ
3. หลายที่วิ่งไปเสียงดังมาก บางที่วิ่งนิ่มไม่มีเสียง เพราะรางมันดี อยากรู้ว่าดีอย่างไรช่วยอธิบายที