SG2 steel ซุปเปอร์โกลด์จากทาเคฟุ
ผมมีมีดนาคิริมาให้ดูเล่มนึงครับ หน้าตาธรรมดาๆ ไม่มีอะไรพิเศษ ถ้าดูอย่างพินิจพิเคราะห์อาจจะเห็นได้ว่ามันเป็นมีดด้ามคอเขา ใบมีดขาวๆ มีรอยผสมเหล็ก และผสมแบบซานไมคือสามแผ่นทะลุหลัง อาจจะมีบางท่านที่เห็นแล้วคิดว่ามันคือคลาดสตีล หรือมีดลามิเนทที่แกนกลางเป็นไฮคาร์บอนและแผ่นข้างเป็นสแตนเลส บนใบมีดข้างขวามีอักขระอยู่สี่ตัว
สี่ตัวที่ว่าคือ 清長 木屋 คิโย - โช - คิ - ยะ คิโยโชเป็นชื่อรุ่น และคิยะเป็นชื่อยี่ห้อ ใช่แล้วครับ นี่เป็นมีดยี่ห้อคิยะ ในรุ่นคิโยโช ซึ่งเป็นซีรี่ย์ที่อยู่ในอันดับต้นๆของคิยะ และทุกวันนี้ถูกถอดออกจากแคตตาล็อกหรือจากรายการสินค้าของคิยะ โดยมีรุ่นใกล้เคียงกันอย่างแดนจูโร่คอสมิกมาแทน
ผมค่อนข้างจะคุ้นเคยกับงานของคิยะ เพราะที่บ้านใช้มีดนาคิริของคิยะ ใช้มีดกิวโตะรุ่นคิยะรักบี้และใช้กรรไกรคิยะรักบี้อีกเหมือนกัน มีดรุ่นคิโยโชของคิยะ ทำจากเหล็กหรือโลหะที่เรียกว่าซุปเปอร์โกลด์ คือเหล็กหรือสแตนเลสเบอร์ SG2 ของทาเคฟุ เจ้าของ VG-10อันโด่งดังนั่นเอง
จริงๆแล้วผมไม่ค่อยคุ้นกับเหล็กตัวนี้ พอมาดูข้อมูลถึงร็ว่ามันคือ PM หรือเหล็กผงอัดที่เรียกว่า powdered metallurgy และมีที่มามาจากบริษัท Kobelco Steel และเป็นเหล็กสูตรเดียวกันกับ R2 ที่ผมเคยตามหา จริงๆแล้วเหล็กซุปเปอร์โกลด์เป็นสูตรดั้งเดิมของทาเคฟุ เป็นการปรับปรุงหรือพัฒนาร่วมกันในสายของ VG จนได้เหล็กผงสูตร SG1 และปรับปรุงมาเป็น SG2 ในภายหลัง เอาไปเอามาทาเคฟุอาจจะเห็นว่าโคเบลโก มีความเชี่ยวชาญในเรื่องของเหล็กผงอัด เลยให้โคเบลโกผลิตเหล็กตัวนี้ให้ โดยสั่งเฉพาะมาเป็นของทาเคฟุในชื่อ SG2 และโคเบลโกก็ขายของตัวเองต่อไปในชื่อว่า R2
ส่วนผสมของเหล็กสูตรนี้
Carbon: 1.25 – 1.45%
Vanadium: 1.80 – 2.20%
Chromium: 14.00 – 16.00%
Molybdenum: 2.30 – 3.30%
Manganese: .40%
Phosphorus: .03%
Sulfur: .03%
Silicon: .50%
ผมเองเข้าใจว่าถึงเป็นสูตรเดียวกันแต่ทาเคฟุคงเลือกส่วนผสมของตัวเองให้แยกออกมาจากโคเบลโกแน่นอน เพราะถึงจะเป็นเหล็กสูตรเดียวกันเบอร์เดียวกันแต่ส่วนผสมมันขี่กันได้ เช่นสูตรนึงใช้คาร์ 1.25 % และใช้โครเมียม 16 % แต่อีกสูตรนึงใช้คาร์บอน 1.45 % และใช้โครเมียม 14% ถ้าดูตามส่วนผสมแล้วมันก็เหล็กคนละตัว แต่ตามสูตรเหล็กก็ยังใช้เบอร์เดียวกัน ต้องเรียกชื่อเดียวกัน
คิยะเองใช้เหล็กผงอัดซุปเปอร์โกลด์เป็นแกนกลางและขนาบข้างด้วยสแตนเลส SUS410 เพื่อป้องกันการเกิดสนิม เท่าที่ดูด้วยตาเปลือกข้างไม่มีสนิมแต่แกนกลางมีร่องรอยการผุกร่อนจากการใช้งานอยู่บ้าง หลังจากใส่ครีมรักษาคอเขาและด้ามไม้แล้ว ก็เริ่มทำความรู้จักกับใบมีดซุปเปอร์โกลด์ ผมลับด้วยหินทรานสลูเซนท์อาคันซอส์เป็นอันดับแรก เพราะใบมีดก็มีคมเดิมๆอยู่พอสมควร
เหล็กแข็งมาก ว่ากันว่าค่าความแข็ง 64 - 65 ร็อกเวลส์ ปรกติผมใช้มีดที่แข็งแค่ 57 - 59 ร็อกเวลส์ พอมาเจอมีดที่แข็งขนาดนี้ก็รู้สึกว่ามันลับยากเหมือนกัน ต้องถอยไปลับด้วยหินคิงเดลุกเบอร์ 1000 และต่อด้วยหินธรรมชาติเนื้อแข็งๆก่อนจะกลับมาแต่งคมด้วยหินอาคันซอส์อีกที มีดลับยากมาก น่าจะยากกว่าอาโอกามิสองหรือบลูสตีลสองซะด้วยซ้ำ ใบมีดปรกติของคิยะก็จัดว่าแข็งและลับยากอยู่แล้ว แต่เล่มนี้แข็งขึ้นไปอีก ลับยากขึ้นไปอีก
แต่พอมีคมจากการลับด้วยหินคิงเดลุก 1000 แล้วก็ลับง่ายครับ คือมันคมทนทาน ไม่มีคมล้มคมหายระหว่างลับ และลับหรือไปกันได้ดีกับหินแข็งๆอย่างหินโป่งเขียวและหินอาคันซอส์ หน้าคมที่ได้คมมากๆและให้สัมผัสที่ระยิบระยับแบบอาคันซอส์ ทำงานได้ดีตัดได้ดี เพราะแนวคมบาง บางมากและตรง แข็งแกร่งต่างจากมีดนาคิริทั่วๆไปที่มักจะมีอาการคมเอนไปมาหรือใบมีดโค้ง เล่มนี้โครงสร้างแข็งแกร่ง ปาดใบเรียบร้อย ไม่สามารถเอามีดนาคิริยี่ห้อเดียวกันแต่เป็นรุ่นที่อ่อนกว่าอย่างโยชิฮิสะมาเปรียบกันได้
จัดเป็นมีดที่คุณภาพสูงมากทั้งชนิดของเหล็กและความปราณีตในการผลิต น่าใช้หรือเก็บสะสมเป็นตัวอย่างชนิดเหล็กที่มีไม่มากนักในตลาดมีด









มีดทำครัว เหล็กSG2 steel ซุปเปอร์โกลด์จากทาเคฟุ
ผมมีมีดนาคิริมาให้ดูเล่มนึงครับ หน้าตาธรรมดาๆ ไม่มีอะไรพิเศษ ถ้าดูอย่างพินิจพิเคราะห์อาจจะเห็นได้ว่ามันเป็นมีดด้ามคอเขา ใบมีดขาวๆ มีรอยผสมเหล็ก และผสมแบบซานไมคือสามแผ่นทะลุหลัง อาจจะมีบางท่านที่เห็นแล้วคิดว่ามันคือคลาดสตีล หรือมีดลามิเนทที่แกนกลางเป็นไฮคาร์บอนและแผ่นข้างเป็นสแตนเลส บนใบมีดข้างขวามีอักขระอยู่สี่ตัว
สี่ตัวที่ว่าคือ 清長 木屋 คิโย - โช - คิ - ยะ คิโยโชเป็นชื่อรุ่น และคิยะเป็นชื่อยี่ห้อ ใช่แล้วครับ นี่เป็นมีดยี่ห้อคิยะ ในรุ่นคิโยโช ซึ่งเป็นซีรี่ย์ที่อยู่ในอันดับต้นๆของคิยะ และทุกวันนี้ถูกถอดออกจากแคตตาล็อกหรือจากรายการสินค้าของคิยะ โดยมีรุ่นใกล้เคียงกันอย่างแดนจูโร่คอสมิกมาแทน
ผมค่อนข้างจะคุ้นเคยกับงานของคิยะ เพราะที่บ้านใช้มีดนาคิริของคิยะ ใช้มีดกิวโตะรุ่นคิยะรักบี้และใช้กรรไกรคิยะรักบี้อีกเหมือนกัน มีดรุ่นคิโยโชของคิยะ ทำจากเหล็กหรือโลหะที่เรียกว่าซุปเปอร์โกลด์ คือเหล็กหรือสแตนเลสเบอร์ SG2 ของทาเคฟุ เจ้าของ VG-10อันโด่งดังนั่นเอง
จริงๆแล้วผมไม่ค่อยคุ้นกับเหล็กตัวนี้ พอมาดูข้อมูลถึงร็ว่ามันคือ PM หรือเหล็กผงอัดที่เรียกว่า powdered metallurgy และมีที่มามาจากบริษัท Kobelco Steel และเป็นเหล็กสูตรเดียวกันกับ R2 ที่ผมเคยตามหา จริงๆแล้วเหล็กซุปเปอร์โกลด์เป็นสูตรดั้งเดิมของทาเคฟุ เป็นการปรับปรุงหรือพัฒนาร่วมกันในสายของ VG จนได้เหล็กผงสูตร SG1 และปรับปรุงมาเป็น SG2 ในภายหลัง เอาไปเอามาทาเคฟุอาจจะเห็นว่าโคเบลโก มีความเชี่ยวชาญในเรื่องของเหล็กผงอัด เลยให้โคเบลโกผลิตเหล็กตัวนี้ให้ โดยสั่งเฉพาะมาเป็นของทาเคฟุในชื่อ SG2 และโคเบลโกก็ขายของตัวเองต่อไปในชื่อว่า R2
ส่วนผสมของเหล็กสูตรนี้
Carbon: 1.25 – 1.45%
Vanadium: 1.80 – 2.20%
Chromium: 14.00 – 16.00%
Molybdenum: 2.30 – 3.30%
Manganese: .40%
Phosphorus: .03%
Sulfur: .03%
Silicon: .50%
ผมเองเข้าใจว่าถึงเป็นสูตรเดียวกันแต่ทาเคฟุคงเลือกส่วนผสมของตัวเองให้แยกออกมาจากโคเบลโกแน่นอน เพราะถึงจะเป็นเหล็กสูตรเดียวกันเบอร์เดียวกันแต่ส่วนผสมมันขี่กันได้ เช่นสูตรนึงใช้คาร์ 1.25 % และใช้โครเมียม 16 % แต่อีกสูตรนึงใช้คาร์บอน 1.45 % และใช้โครเมียม 14% ถ้าดูตามส่วนผสมแล้วมันก็เหล็กคนละตัว แต่ตามสูตรเหล็กก็ยังใช้เบอร์เดียวกัน ต้องเรียกชื่อเดียวกัน
คิยะเองใช้เหล็กผงอัดซุปเปอร์โกลด์เป็นแกนกลางและขนาบข้างด้วยสแตนเลส SUS410 เพื่อป้องกันการเกิดสนิม เท่าที่ดูด้วยตาเปลือกข้างไม่มีสนิมแต่แกนกลางมีร่องรอยการผุกร่อนจากการใช้งานอยู่บ้าง หลังจากใส่ครีมรักษาคอเขาและด้ามไม้แล้ว ก็เริ่มทำความรู้จักกับใบมีดซุปเปอร์โกลด์ ผมลับด้วยหินทรานสลูเซนท์อาคันซอส์เป็นอันดับแรก เพราะใบมีดก็มีคมเดิมๆอยู่พอสมควร
เหล็กแข็งมาก ว่ากันว่าค่าความแข็ง 64 - 65 ร็อกเวลส์ ปรกติผมใช้มีดที่แข็งแค่ 57 - 59 ร็อกเวลส์ พอมาเจอมีดที่แข็งขนาดนี้ก็รู้สึกว่ามันลับยากเหมือนกัน ต้องถอยไปลับด้วยหินคิงเดลุกเบอร์ 1000 และต่อด้วยหินธรรมชาติเนื้อแข็งๆก่อนจะกลับมาแต่งคมด้วยหินอาคันซอส์อีกที มีดลับยากมาก น่าจะยากกว่าอาโอกามิสองหรือบลูสตีลสองซะด้วยซ้ำ ใบมีดปรกติของคิยะก็จัดว่าแข็งและลับยากอยู่แล้ว แต่เล่มนี้แข็งขึ้นไปอีก ลับยากขึ้นไปอีก
แต่พอมีคมจากการลับด้วยหินคิงเดลุก 1000 แล้วก็ลับง่ายครับ คือมันคมทนทาน ไม่มีคมล้มคมหายระหว่างลับ และลับหรือไปกันได้ดีกับหินแข็งๆอย่างหินโป่งเขียวและหินอาคันซอส์ หน้าคมที่ได้คมมากๆและให้สัมผัสที่ระยิบระยับแบบอาคันซอส์ ทำงานได้ดีตัดได้ดี เพราะแนวคมบาง บางมากและตรง แข็งแกร่งต่างจากมีดนาคิริทั่วๆไปที่มักจะมีอาการคมเอนไปมาหรือใบมีดโค้ง เล่มนี้โครงสร้างแข็งแกร่ง ปาดใบเรียบร้อย ไม่สามารถเอามีดนาคิริยี่ห้อเดียวกันแต่เป็นรุ่นที่อ่อนกว่าอย่างโยชิฮิสะมาเปรียบกันได้
จัดเป็นมีดที่คุณภาพสูงมากทั้งชนิดของเหล็กและความปราณีตในการผลิต น่าใช้หรือเก็บสะสมเป็นตัวอย่างชนิดเหล็กที่มีไม่มากนักในตลาดมีด