นับเป็นการเดินธุดงค์ที่มีความสำคัญอยู่ไม่น้อยในการเดินท่องเที่ยวอย่างโดดเดี่ยวในท่ามกลางขุนเขาลำเนาไพรป่าไม้ดงดิบ อันเป็นดงแห่งสัตว์ร้ายนานาชนิด ซึ่งมันจะสามารถทำลายชีวิตทุกเมื่อทุกขณะ ในเมื่อพระอาจารย์มั่นฯ ท่านได้วกวนท่องเที่ยวอยู่โดยการบำเพ็ญธุดงค์กัมมัฏฐาน แต่ความลำบากเหน็ดเหนื่อยในการบำเพ็ญเช่นนี้ก็หาได้เป็นอุปสรรคอะไรเลยสำหรับท่าน ยิ่งทำให้ท่านให้รับผลแห่งความบริสุทธิ์ยิ่ง ๆ ขึ้นไป
ผู้เขียนได้สอบถามชาวบ้านในหมู่บ้านของอำเภอพร้าว ที่ท่านอาจารย์เคยพักอยู่ และชาวบ้านที่มีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งได้เล่าให้ผู้เขียนฟังว่า ขณะที่ท่านอาจารย์มั่นพักอยู่ในบริเวณนั้น ซึ่งปัจจุบันเป็นสวนลำไย และมีหมู่บ้านหนาแน่นมาก แต่ครั้งที่ท่านมาพักนั้น ครั้งนั้นยังเป็นดงดิบ มีสัตว์จำพวกเสือ หมี หมูป่าเข้ามากินวัวควายทำร้ายผู้คน หรือไม่ก็เข้ามาทำลายวัตถุสิ่งของผลาผลต่าง ๆ อยู่เสมอ
ชาวบ้านเล่าว่า ท่านได้แนะนำให้พวกเขาแสดงตัวเป็นพุทธมามกะ (ผู้รับเอาพระรัตนเป็นที่พึ่ง-ผู้ใกล้ชิดพระรัตนตรัย) และสอนให้พวกเขาเข้าใจในเหตุผลแห่งความเป็นจริง โดยไม่ให้มีความเชื่อถืออย่างงมงายไร้เหตุผล เพราะเหตุผลเป็นความจริงในพระพุทธศาสนา โดยท่านได้สอนเน้นถึงว่า คุณธรรมนั้นมีความสำคัญยิ่งนัก เช่นที่เราพากันกราบไหว้พระพุทธปฏิมากรนี้ มิใช่ว่าเราไหว้หรือนอบน้อมต่ออิฐ-ปูน-ทองเหลือง-ทองแดง-ทองคำ-หรือไม้-ดิน เพราะนั่นเป็นแต่เพียงวัตถุก่อสร้างธรรมดาอย่างหนึ่งเท่านั้น เมื่อเราจะกราบไหว้พระพุทธรูป เราต้องกราบไหว้คุณธรรม คือมาระลึกถึงว่า พระพุทธเจ้าพระองค์ท่านตรัสรู้เองโดยชอบ เป็นผู้ไกลจากกิเลสเครื่องยั่วยวน ซึ่งถ้าไม่ไกลจากกิเลสแล้วเราก็ไม่ไหว้ เราไหว้เฉพาะท่านที่ห่างไกลจากกิเลสเท่านั้น อย่างนี้ชื่อว่า ไหว้พระองค์ท่านด้วยคุณธรรม จึงจะไม่ชื่อว่า ไหว้อิฐ-ปูน- ฯลฯ
การไหว้พระธรรมซึ่งเป็นคุณธรรมที่มีอยู่ในพระพุทธองค์ก็เช่นกัน โดยกล่าวคำเป็นต้นว่า สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม ธมฺมํ นมสฺสามิ-พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ข้าพเจ้าขอนอบน้อมนมัสการกราบไหว้พระธรรมนั้น เพราะถ้าพระธรรม (คำสอน) ที่กล่าวแล้วไม่ดีและเมื่อพิจารณาเห็นประจักษ์แล้วว่าไม่มีเหตุผล เราก็ไม่ไหว้ไม่นอบน้อม ดังนั้นเราจึงไหว้แต่พระธรรมที่กล่าวดี มิฉะนั้นแล้วเราก็จะกราบถูกเพียงแต่ใบลาน คือใบไม้ เพราะไปเข้าใจว่า ใบไม้คือธรรมนี้ชื่อว่าไม่ถูกต้อง เราจะต้องกราบให้ถูกให้ตรงต่อคำสอน คือพระธรรมของพระพุทธองค์อย่างแท้จริง
สำหรับพระสงฆ์อันเป็นสาวกผู้สืบพระศาสนาคือหลักธรรมของ พระพุทธเจ้าก็มีนัยเช่นเดียวกัน การที่เราให้ความเคารพกราบไหว้สักการะก็โดยมาระลึกถึงว่า ท่านเป็นผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ มีการเป็นอยู่อย่างสงบ ไม่เป็นพิษเป็นภัยแก่ใครๆ พร้อมกันนี้ท่านยังดำรงภาวะเป็นเนื้อนาบุญอันเอกอุของชาวโลก ดังนั้นเมื่อเราจะกราบไหว้เราก็กล่าวคำว่า สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ สงฺฆํ นมามิ-พระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดี ชื่อว่าเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้านอบน้อมกราบไหว้พระสงฆ์นั้น ถ้าพระสงฆ์มีการปฏิบัติไม่ดีเราก็ไม่กราบ เรากราบผู้ที่ท่านปฏิบัติดี อย่างนี้ชื่อว่า กราบถูก มิฉะนั้นจะเป็นว่าเรากราบคนหรือธาตุ ๔ เท่านั้น ดังนั้นขณะที่เรากราบโดยกล่าวคำระลึกดังที่กล่าวมาแล้วและมีพระสงฆ์อยู่ต่อเฉพาะหน้าเรา อาจจะไม่ถูกเรากราบ ถ้าพระสงฆ์รูปนั้นปฏิบัติไม่ดี เมื่อทำได้ดังกล่าวชื่อว่าเรากราบได้อย่างถูกต้องไม่ผิดพลาด
สรุปแล้วกราบไหว้ใด ๆ ก็ตามถ้าเรากราบโดยยึดเอาคุณธรรมเป็นที่คงเป็นหลักแล้ว เราจะไม่มีการกราบผิดเลยเพราะการกราบไหว้โดยท้าวความถึงคุณธรรมนั้นจึงจะชื่อว่าเป็นเหตุผล หรือสมกับเหตุผลนั้นก็คือ กราบได้ไม่ผิดจึงจะได้รับความสงบร่มเย็นเป็นบุญ ฯ
ผู้เขียนรู้สึกอิ่มอกอิ่มใจมาก ที่ได้ฟังโยมเขาอธิบายถึงคำสั่งสอนของท่านอาจารย์มั่น ฯ ที่เขาได้พากันจดจำเอาไว้และได้นำมาเล่าให้ฟังได้อีกจึงทำให้ได้ ความจริงมาอีกข้อหนึ่งว่า ท่านอาจารย์ท่านได้สอนคนบ้านนอกที่กลการศึกษาให้เข้าใจถึงข้อเท็จจริงซึ่งบางทีอาจจะดีกว่าผู้ที่ศึกษาแล้วอยู่ในเมืองหลวงเสียอีก....
โยมคนนั้นได้เล่าถึงท่านอาจารย์มั่น ฯ ท่านสอนต่อไปว่า ศาสนา คือตัวของเราและอยู่ที่ตัวของเราเพราะเหตุไร ? ก็เพราะว่า ตัวตนของคนเรานี้เป็นที่ตั้งของพระพุทธศาสนาที่พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมก็ทรงแสดงถึง ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ ปฏิบัติก็ให้ปฏิบัติที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และที่ใจ ไม่เห็นให้ปฏิบัติที่อื่น ๆ
นอกจากที่ดังกล่าว บางคนก็ว่า ศาสนาอยู่ในคัมภีร์ใบลาน
โยมคนนั้นได้เล่าให้ฟังว่า ไม่ใช่อยู่ในคัมภีร์ใบลาน ก็ในใบลานหรือในกระดาษหนังสือทั้งหลาย ก็คนเรานั่นแหละไปจารึกไว้หรือไปเขียนไว้และทำมันขึ้นมา ซึ่งถ้าคนไม่ไปเขียนหรือไปทำมันขึ้นมา มันจะเป็นหรือมีขึ้นมาได้อย่างไร
บางคนว่าศาสนาอยู่ในวัดวาอารามหรือพระสงฆ์
โยมคนนั้นก็ได้รับอรรถาธิบายจากท่านอาจารย์มั่น ฯ ว่า วัดนั้นใครเล่าไปสร้างไห้มันเกิดขึ้น ก็คนนั้นแหละ พระสงฆ์ใครเล่าไปบวช ก็คนนั่นแหละบวชขึ้นมา ก็เป็นอัน ศาสนาอยู่ที่ตัวของเรา. ..
การที่เราจะปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติศาสนา จึงเป็นสิ่งที่ตัวเราจะต้องมีความรับผิดชอบ ถ้าไม่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ คือการละบาป บำเพ็ญบุญ เราจะต้องไปทำชั่วซึ่งผิดศีลธรรมก็ต้องถูกลงโทษให้ได้รับความทุกข์ทรมาน ถ้าปฏิบัติดีปฏิบัติชอบคือละความชั่วประพฤติความดี ผลที่เกิดขึ้นก็คือความสุขสงบ และความหลุดพ้นจากทุกข์ในที่สุด นี้ก็คือการปฏิบัติพระพุทธศาสนาแล้วก็มีผล คือการปฏิบัติโดยการยกตัวของตนขึ้นจากหล่มหลุมแห่งวังวนวัฏสงสารเป็นต้น. .
ผู้เขียนได้ฟังแล้วรู้สึกจับใจและมาเข้าใจว่า คนที่อยู่ในตำบลนอก ๆ ห่างไกล ก็ยังมีความรู้ซึ้งในพระพุทธศาสนาได้ก็นับว่ายังดีมาก แต่ก็เกิดขึ้นจากท่านผู้รู้ที่ยอมเสียสละความสุขส่วนตัวโดยเข้าไปสอนให้รู้ธรรมได้
ท่านอาจารย์มั่นฯ ท่านได้เล่าให้ฟังต่อไปอีกว่า
สำหรับอำเภอพร้าวนี้มีภูมิทำเลเหมาะแก่การบำเพ็ญเพียรทางใจ และเป็นสถานที่แปลกประหลาดอยู่ เพราะมีภูเขาเรียงรายอยู่ทั่ว ๆ ไป ที่แปลกคือ ภูเขาวงล้อมเป็นเหมือนกำแพงเมือง มองดูแต่ไกลสูงตระหง่านง้ำตั้งอยู่เป็นระยะ ๆ แลตอนใดที่เขาไม่จรดถึงกันก็ปรากฏเป็นช่องเขาขาด ดูประดุจหนึ่งประตูของกำแพงเมือง บริเวณเหล่านี้เราจะเลือกเอาเป็นสถานที่สำหรับทำความเพียรได้สบายมาก เพราะบริเวณนี้แวดวงด้วยขุนเขาและป่าละเมาะโปร่งสบาย ทุ่งนาก็มีเป็นแห่ง ๆ สลับกับลำธารห้วยระแหงซึ่งมีอยู่โดยทั่ว ๆ ไป พร้อมกันนี้หมู่บ้านก็ตั้งเรียงรายอยู่กันเป็นหย่อม ๆ มากบ้างน้อยบ้าง พอได้อาศัยเป็นโคจรคามบิณฑบาตตามสมควร...
ท่านจึงปรารภในใจว่า สมควรจะได้อยู่พักเพื่อการบำเพ็ญให้นานสักหน่อย ประกอบกับลูกศิษย์ลูกหาของท่าน ที่ได้รับคำสั่งสอนและปฏิบัติตามมรรคาที่ท่านได้แนะนำพร่ำสอนแล้วก็ได้รับผลพอสมควร แต่ก็ยังมีข้อสงสัย หรือไม่ก็ผลที่ตนได้รับนั้นยังไม่เป็นที่พอใจ ซึ่งก็ได้พากันพยายามติดตามหาท่านอยู่ตลอดมา ส่วนมากก็อยู่ทางภาคอีสาน และเมื่อท่านได้มาอยู่ทางภาคเหนือ จึงพยายามเดินทางมาหาท่านเท่าที่โอกาสจะอำนวยให้ จึงปรากฏว่าได้มีพระภิกษุสามเณรทางภาคอีสานเป็นจำนวนไม่น้อย ได้พากันเดินทางมาพบท่านที่เชียงใหม่ และเมื่อได้ข่าวว่าท่านอยู่ที่อำเภอพร้าว จึงได้ไปหาที่นั่น แล้วก็มีมากขึ้นตามลำดับ เพราะแต่ก่อนท่านพยายามไม่อยู่ที่ไหนนาน ผู้ติดตามไม่ใคร่จะพบ เมื่อท่านอยู่อำเภอนี้นานเข้า ทำให้มีการเล่าลือว่าท่านอยู่แห่งนี้นาน พระภิกษุสามเณรผู้ได้รับความเย็นใจจากท่านก็ได้โอกาสรีบติดตามเพื่อจะได้พบ และต้องการฟังธรรมเทศนาของท่าน
ท่านเล่าว่า ในระยะนี้เราต้องการที่จะพบกับลูกศิษย์ลูกหาเหมือนกัน เพราะจะได้ปรับความเข้าใจในเรื่องปฏิบัติทางใจให้มีความละเอียด และมีหลายสิ่งหลายอย่างที่จะต้องปรับปรุง เพราะการปฏิบัติจิตใจ จะต้องศึกษาให้รอบคอบ เนื่องจากว่าเป็นนามธรรมเป็นสิ่งที่จะต้องมีประสบการณ์ในตนเอง คือการกระทำที่เกิดขึ้นในใจนั้นมีหลายอย่างที่จะต้องใช้ปัญญาวิจารณ์ หาเหตุผลเพื่อให้การดำเนินไปในทางที่ถูกต้องจริง ๆ เปรียบเทียบเท่ากับพระไตรปิฎกในคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ในปีนี้มีพระอาจารย์ที่เคยเป็นศิษย์ของท่าน ในขณะเมื่อท่านได้แนะนำสั่งสอนอยู่ในภาคอีสานจำนวนมาก ได้เริ่มคิดถึงท่านที่ได้จากมาอยู่ทางภาคเหนือหลายปีแล้ว จึงต่างก็ได้คิดจะติดตาม เพราะขณะที่ได้อยู่กับท่านนั้นได้รับผลทางใจมากเหลือเกินจนมีความมหัศจรรย์มาก มีอุปมาเหมือนเปิดของที่ปิด หงายของที่คว่ำ....
ซึ่งในขณะนั้นการปฏิบัติทางด้านจิตใจยังงมงายกันมาก หากท่านอาจารย์มั่นฯได้มาปรับปรุงแนะนำปฏิบัติเข้าทาง จึงทำให้เกิดความจริงขึ้นจนเป็นที่เชื่อมั่นในตนอย่างหนักแน่นเข้า ข่าวความดีของการปฏิบัติทางด้านจิตใจหรือการปฏิบัติกัมมัฏฐานได้แพร่สะพัดไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้หวังดีอยากพ้นทุกข์ ได้น้อมตัวเข้ามาเป็นศิษย์เพื่อการอยู่ปฏิบัติกับท่านจำนวนมากขึ้น ทั้งพระธรรมยุตและพระมหานิกาย เพราะการปฏิบัติทั้งทางด้านพระธรรมวินัยและการปฏิบัติธุดงค์ ตลอดถึงกิจวัตรต่าง ๆ ได้แนะนำและพาปฏิบัติอย่างเคร่งครัดและเหมาะสม ซึ่งในขณะนั้นยังไม่มีหมู่ใดคณะใดกระทำได้ เพราะผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติตามปฏิปทาของท่านอาจารย์มั่นฯ นั้นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพจริงๆ
ด้วยเหตุนี้จึงทำให้มีการตื่นตัวในเรื่องของการปฏิบัติทางใจมากขึ้น แม้จะอยู่ในวงของภิกษุแต่ก็มั่งคั่งและแผ่ออกถึงญาติโยมในปัจจุบัน ในระยะเพียงไม่กี่ปี ความขยายตัวของคณะปฏิบัติก็กว้างขวางออกไปอย่างมากพอสมควรทีเดียว นับเป็นประโยชน์ทั้งแก่ภิกษุสามเณร และอุบาสกอุบาสิกา
ในระยะแรกนี้ท่านอาจารย์มั่นฯ ท่านได้พาคณะศิษย์เที่ยวธุดงค์ เพื่อวิเวกวกเวียนอยู่เฉพาะภาคอีสานในถ้ำภูเขา ป่าใหญ่ เพราะการธุดงค์นั้นมีความมุ่งหมายที่จะเป็นประโยชน์แก่การปฏิบัติทางใจจริงๆ ในกรณีนี้ท่านเองมีความชำนาญลู่ทางการไปมามาก ท่านจึงแนะนำแก่ศิษย์ได้ถูกต้อง ควรจะไปอยู่ถ้ำโน้นถ้ำนี้ เขาโน้นเขานี้ หรือป่าโน้นป่านี้เป็นต้น เมื่อได้ธุดงค์ไปทำความเพียรในที่ต่าง ๆ ปฏิบัติได้ผลอย่างไร ทุก ๆ องค์ก็นำไปศึกษากับท่านต่อไป และทุกครั้งที่มีการศึกษานั้นก็จะรับความกระจ่างแจ้งอย่างดียิ่ง
เมื่อเป็นเช่นนี้ ผลเกิดขึ้นทำให้ได้รับความก้าวหน้าของการดำเนินได้เป็นอย่างดียิ่ง ซึ่งยังไม่เคยมียุคใดในครั้งกรุงรัตนโกสินทร์ ที่จะบังเกิดผลแห่งการปฏิบัติด้านจิตใจที่ยิ่งใหญ่เหมือนกับครั้งที่ท่านอาจารย์มั่น ฯ ได้กระทำขึ้น ที่กล้ากล่าวเช่นนี้เพราะเป็นความจริงซึ่งผลปรากฏจนถึงปัจจุบัน ผู้ที่ดำเนินจิตเป็นลูกศิษย์ของท่านนั้น นับมาแต่ ท่านอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม พระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล พระอาจารย์เทสก์ เทสรงฺสี พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร พระอาจารย์แหวน สุจิณฺโน พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ พระอาจารย์ขาว อนาลโย พระอาจารย์ชอบ พระอาจารย์มหาบัว ญาณสมฺปณฺโณ รุ่นสุดท้ายก็ผู้เขียน และพระอาจารย์วัน อุตฺตโม ยังมีอีกนับได้กว่า ๘๐๐ องค์ ที่เป็นศิษย์ของท่าน ทั้งยังมีชีวิตอยู่และทั้งมรณภาพไปแล้ว ซึ่งท่านเหล่านั้นก็ได้ทำกิจพระศาสนา ได้รับผลประโยชน์อย่างยิ่งทั้งตัวของท่านและผู้อื่น
ผู้เขียนจึงกล้าพูดว่า ไม่มียุคใดที่การปฏิบัติจิตใจได้ถูกฟื้นฟูขึ้นเท่ากับยุคนี้ แต่ก่อนพระอาจารย์มั่น ฯ เริ่มปฏิบัตินั้นก็ยังไม่เห็นมีการปฏิบัติกันเท่าไร และดูยังลึกลับอยู่มาก หลังจากศิษย์ของท่านได้รับความจริงในด้านนี้ แล้วนำเผยแพร่ทั่วประเทศไทย ความตื่นตัวเรื่องการปฏิบัติจึงมีขึ้น เนื่องจากว่าอุบาสกอุบาสิกาได้รับ ผลคือความเยือกเย็นสบาย เห็นความบริสุทธิ์แท้จริงจากศิษย์ของอาจารย์มั่น ฯ มากขึ้นตามลำดับ เพื่อนำมาปฏิบัติทางด้านจิตใจกันขึ้นมาก ถ้าหากไม่รีบหาวิธีปฏิบัติแล้วญาติโยมอุบาสกอุบาสิกา ก็จะต้องหันมาศึกษาการปฏิบัติกับพระที่เป็นศิษย์ท่านอาจารย์มั่น ฯ เสียหมด จะทำให้ประโยชน์บางประการของคนอื่นต้องเสียหมดไป จึงปรากฏมีการตื่นตัวของสำนักวิปัสสนามากมายเกิดขึ้น ถูกบ้างผิดบ้างไปตามเรื่องของศาสนาแต่ละคณะ
http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-mun/lp-mun-hist-03-06.htm
ผู้รับเอาพระรัตนเป็นที่พึ่ง-ผู้ใกล้ชิดพระรัตนตรัย
ผู้เขียนได้สอบถามชาวบ้านในหมู่บ้านของอำเภอพร้าว ที่ท่านอาจารย์เคยพักอยู่ และชาวบ้านที่มีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งได้เล่าให้ผู้เขียนฟังว่า ขณะที่ท่านอาจารย์มั่นพักอยู่ในบริเวณนั้น ซึ่งปัจจุบันเป็นสวนลำไย และมีหมู่บ้านหนาแน่นมาก แต่ครั้งที่ท่านมาพักนั้น ครั้งนั้นยังเป็นดงดิบ มีสัตว์จำพวกเสือ หมี หมูป่าเข้ามากินวัวควายทำร้ายผู้คน หรือไม่ก็เข้ามาทำลายวัตถุสิ่งของผลาผลต่าง ๆ อยู่เสมอ
ชาวบ้านเล่าว่า ท่านได้แนะนำให้พวกเขาแสดงตัวเป็นพุทธมามกะ (ผู้รับเอาพระรัตนเป็นที่พึ่ง-ผู้ใกล้ชิดพระรัตนตรัย) และสอนให้พวกเขาเข้าใจในเหตุผลแห่งความเป็นจริง โดยไม่ให้มีความเชื่อถืออย่างงมงายไร้เหตุผล เพราะเหตุผลเป็นความจริงในพระพุทธศาสนา โดยท่านได้สอนเน้นถึงว่า คุณธรรมนั้นมีความสำคัญยิ่งนัก เช่นที่เราพากันกราบไหว้พระพุทธปฏิมากรนี้ มิใช่ว่าเราไหว้หรือนอบน้อมต่ออิฐ-ปูน-ทองเหลือง-ทองแดง-ทองคำ-หรือไม้-ดิน เพราะนั่นเป็นแต่เพียงวัตถุก่อสร้างธรรมดาอย่างหนึ่งเท่านั้น เมื่อเราจะกราบไหว้พระพุทธรูป เราต้องกราบไหว้คุณธรรม คือมาระลึกถึงว่า พระพุทธเจ้าพระองค์ท่านตรัสรู้เองโดยชอบ เป็นผู้ไกลจากกิเลสเครื่องยั่วยวน ซึ่งถ้าไม่ไกลจากกิเลสแล้วเราก็ไม่ไหว้ เราไหว้เฉพาะท่านที่ห่างไกลจากกิเลสเท่านั้น อย่างนี้ชื่อว่า ไหว้พระองค์ท่านด้วยคุณธรรม จึงจะไม่ชื่อว่า ไหว้อิฐ-ปูน- ฯลฯ
การไหว้พระธรรมซึ่งเป็นคุณธรรมที่มีอยู่ในพระพุทธองค์ก็เช่นกัน โดยกล่าวคำเป็นต้นว่า สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม ธมฺมํ นมสฺสามิ-พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ข้าพเจ้าขอนอบน้อมนมัสการกราบไหว้พระธรรมนั้น เพราะถ้าพระธรรม (คำสอน) ที่กล่าวแล้วไม่ดีและเมื่อพิจารณาเห็นประจักษ์แล้วว่าไม่มีเหตุผล เราก็ไม่ไหว้ไม่นอบน้อม ดังนั้นเราจึงไหว้แต่พระธรรมที่กล่าวดี มิฉะนั้นแล้วเราก็จะกราบถูกเพียงแต่ใบลาน คือใบไม้ เพราะไปเข้าใจว่า ใบไม้คือธรรมนี้ชื่อว่าไม่ถูกต้อง เราจะต้องกราบให้ถูกให้ตรงต่อคำสอน คือพระธรรมของพระพุทธองค์อย่างแท้จริง
สำหรับพระสงฆ์อันเป็นสาวกผู้สืบพระศาสนาคือหลักธรรมของ พระพุทธเจ้าก็มีนัยเช่นเดียวกัน การที่เราให้ความเคารพกราบไหว้สักการะก็โดยมาระลึกถึงว่า ท่านเป็นผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ มีการเป็นอยู่อย่างสงบ ไม่เป็นพิษเป็นภัยแก่ใครๆ พร้อมกันนี้ท่านยังดำรงภาวะเป็นเนื้อนาบุญอันเอกอุของชาวโลก ดังนั้นเมื่อเราจะกราบไหว้เราก็กล่าวคำว่า สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ สงฺฆํ นมามิ-พระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดี ชื่อว่าเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้านอบน้อมกราบไหว้พระสงฆ์นั้น ถ้าพระสงฆ์มีการปฏิบัติไม่ดีเราก็ไม่กราบ เรากราบผู้ที่ท่านปฏิบัติดี อย่างนี้ชื่อว่า กราบถูก มิฉะนั้นจะเป็นว่าเรากราบคนหรือธาตุ ๔ เท่านั้น ดังนั้นขณะที่เรากราบโดยกล่าวคำระลึกดังที่กล่าวมาแล้วและมีพระสงฆ์อยู่ต่อเฉพาะหน้าเรา อาจจะไม่ถูกเรากราบ ถ้าพระสงฆ์รูปนั้นปฏิบัติไม่ดี เมื่อทำได้ดังกล่าวชื่อว่าเรากราบได้อย่างถูกต้องไม่ผิดพลาด
สรุปแล้วกราบไหว้ใด ๆ ก็ตามถ้าเรากราบโดยยึดเอาคุณธรรมเป็นที่คงเป็นหลักแล้ว เราจะไม่มีการกราบผิดเลยเพราะการกราบไหว้โดยท้าวความถึงคุณธรรมนั้นจึงจะชื่อว่าเป็นเหตุผล หรือสมกับเหตุผลนั้นก็คือ กราบได้ไม่ผิดจึงจะได้รับความสงบร่มเย็นเป็นบุญ ฯ
ผู้เขียนรู้สึกอิ่มอกอิ่มใจมาก ที่ได้ฟังโยมเขาอธิบายถึงคำสั่งสอนของท่านอาจารย์มั่น ฯ ที่เขาได้พากันจดจำเอาไว้และได้นำมาเล่าให้ฟังได้อีกจึงทำให้ได้ ความจริงมาอีกข้อหนึ่งว่า ท่านอาจารย์ท่านได้สอนคนบ้านนอกที่กลการศึกษาให้เข้าใจถึงข้อเท็จจริงซึ่งบางทีอาจจะดีกว่าผู้ที่ศึกษาแล้วอยู่ในเมืองหลวงเสียอีก....
โยมคนนั้นได้เล่าถึงท่านอาจารย์มั่น ฯ ท่านสอนต่อไปว่า ศาสนา คือตัวของเราและอยู่ที่ตัวของเราเพราะเหตุไร ? ก็เพราะว่า ตัวตนของคนเรานี้เป็นที่ตั้งของพระพุทธศาสนาที่พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมก็ทรงแสดงถึง ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ ปฏิบัติก็ให้ปฏิบัติที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และที่ใจ ไม่เห็นให้ปฏิบัติที่อื่น ๆ
นอกจากที่ดังกล่าว บางคนก็ว่า ศาสนาอยู่ในคัมภีร์ใบลาน
โยมคนนั้นได้เล่าให้ฟังว่า ไม่ใช่อยู่ในคัมภีร์ใบลาน ก็ในใบลานหรือในกระดาษหนังสือทั้งหลาย ก็คนเรานั่นแหละไปจารึกไว้หรือไปเขียนไว้และทำมันขึ้นมา ซึ่งถ้าคนไม่ไปเขียนหรือไปทำมันขึ้นมา มันจะเป็นหรือมีขึ้นมาได้อย่างไร
บางคนว่าศาสนาอยู่ในวัดวาอารามหรือพระสงฆ์
โยมคนนั้นก็ได้รับอรรถาธิบายจากท่านอาจารย์มั่น ฯ ว่า วัดนั้นใครเล่าไปสร้างไห้มันเกิดขึ้น ก็คนนั้นแหละ พระสงฆ์ใครเล่าไปบวช ก็คนนั่นแหละบวชขึ้นมา ก็เป็นอัน ศาสนาอยู่ที่ตัวของเรา. ..
การที่เราจะปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติศาสนา จึงเป็นสิ่งที่ตัวเราจะต้องมีความรับผิดชอบ ถ้าไม่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ คือการละบาป บำเพ็ญบุญ เราจะต้องไปทำชั่วซึ่งผิดศีลธรรมก็ต้องถูกลงโทษให้ได้รับความทุกข์ทรมาน ถ้าปฏิบัติดีปฏิบัติชอบคือละความชั่วประพฤติความดี ผลที่เกิดขึ้นก็คือความสุขสงบ และความหลุดพ้นจากทุกข์ในที่สุด นี้ก็คือการปฏิบัติพระพุทธศาสนาแล้วก็มีผล คือการปฏิบัติโดยการยกตัวของตนขึ้นจากหล่มหลุมแห่งวังวนวัฏสงสารเป็นต้น. .
ผู้เขียนได้ฟังแล้วรู้สึกจับใจและมาเข้าใจว่า คนที่อยู่ในตำบลนอก ๆ ห่างไกล ก็ยังมีความรู้ซึ้งในพระพุทธศาสนาได้ก็นับว่ายังดีมาก แต่ก็เกิดขึ้นจากท่านผู้รู้ที่ยอมเสียสละความสุขส่วนตัวโดยเข้าไปสอนให้รู้ธรรมได้
ท่านอาจารย์มั่นฯ ท่านได้เล่าให้ฟังต่อไปอีกว่า
สำหรับอำเภอพร้าวนี้มีภูมิทำเลเหมาะแก่การบำเพ็ญเพียรทางใจ และเป็นสถานที่แปลกประหลาดอยู่ เพราะมีภูเขาเรียงรายอยู่ทั่ว ๆ ไป ที่แปลกคือ ภูเขาวงล้อมเป็นเหมือนกำแพงเมือง มองดูแต่ไกลสูงตระหง่านง้ำตั้งอยู่เป็นระยะ ๆ แลตอนใดที่เขาไม่จรดถึงกันก็ปรากฏเป็นช่องเขาขาด ดูประดุจหนึ่งประตูของกำแพงเมือง บริเวณเหล่านี้เราจะเลือกเอาเป็นสถานที่สำหรับทำความเพียรได้สบายมาก เพราะบริเวณนี้แวดวงด้วยขุนเขาและป่าละเมาะโปร่งสบาย ทุ่งนาก็มีเป็นแห่ง ๆ สลับกับลำธารห้วยระแหงซึ่งมีอยู่โดยทั่ว ๆ ไป พร้อมกันนี้หมู่บ้านก็ตั้งเรียงรายอยู่กันเป็นหย่อม ๆ มากบ้างน้อยบ้าง พอได้อาศัยเป็นโคจรคามบิณฑบาตตามสมควร...
ท่านจึงปรารภในใจว่า สมควรจะได้อยู่พักเพื่อการบำเพ็ญให้นานสักหน่อย ประกอบกับลูกศิษย์ลูกหาของท่าน ที่ได้รับคำสั่งสอนและปฏิบัติตามมรรคาที่ท่านได้แนะนำพร่ำสอนแล้วก็ได้รับผลพอสมควร แต่ก็ยังมีข้อสงสัย หรือไม่ก็ผลที่ตนได้รับนั้นยังไม่เป็นที่พอใจ ซึ่งก็ได้พากันพยายามติดตามหาท่านอยู่ตลอดมา ส่วนมากก็อยู่ทางภาคอีสาน และเมื่อท่านได้มาอยู่ทางภาคเหนือ จึงพยายามเดินทางมาหาท่านเท่าที่โอกาสจะอำนวยให้ จึงปรากฏว่าได้มีพระภิกษุสามเณรทางภาคอีสานเป็นจำนวนไม่น้อย ได้พากันเดินทางมาพบท่านที่เชียงใหม่ และเมื่อได้ข่าวว่าท่านอยู่ที่อำเภอพร้าว จึงได้ไปหาที่นั่น แล้วก็มีมากขึ้นตามลำดับ เพราะแต่ก่อนท่านพยายามไม่อยู่ที่ไหนนาน ผู้ติดตามไม่ใคร่จะพบ เมื่อท่านอยู่อำเภอนี้นานเข้า ทำให้มีการเล่าลือว่าท่านอยู่แห่งนี้นาน พระภิกษุสามเณรผู้ได้รับความเย็นใจจากท่านก็ได้โอกาสรีบติดตามเพื่อจะได้พบ และต้องการฟังธรรมเทศนาของท่าน
ท่านเล่าว่า ในระยะนี้เราต้องการที่จะพบกับลูกศิษย์ลูกหาเหมือนกัน เพราะจะได้ปรับความเข้าใจในเรื่องปฏิบัติทางใจให้มีความละเอียด และมีหลายสิ่งหลายอย่างที่จะต้องปรับปรุง เพราะการปฏิบัติจิตใจ จะต้องศึกษาให้รอบคอบ เนื่องจากว่าเป็นนามธรรมเป็นสิ่งที่จะต้องมีประสบการณ์ในตนเอง คือการกระทำที่เกิดขึ้นในใจนั้นมีหลายอย่างที่จะต้องใช้ปัญญาวิจารณ์ หาเหตุผลเพื่อให้การดำเนินไปในทางที่ถูกต้องจริง ๆ เปรียบเทียบเท่ากับพระไตรปิฎกในคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ในปีนี้มีพระอาจารย์ที่เคยเป็นศิษย์ของท่าน ในขณะเมื่อท่านได้แนะนำสั่งสอนอยู่ในภาคอีสานจำนวนมาก ได้เริ่มคิดถึงท่านที่ได้จากมาอยู่ทางภาคเหนือหลายปีแล้ว จึงต่างก็ได้คิดจะติดตาม เพราะขณะที่ได้อยู่กับท่านนั้นได้รับผลทางใจมากเหลือเกินจนมีความมหัศจรรย์มาก มีอุปมาเหมือนเปิดของที่ปิด หงายของที่คว่ำ....
ซึ่งในขณะนั้นการปฏิบัติทางด้านจิตใจยังงมงายกันมาก หากท่านอาจารย์มั่นฯได้มาปรับปรุงแนะนำปฏิบัติเข้าทาง จึงทำให้เกิดความจริงขึ้นจนเป็นที่เชื่อมั่นในตนอย่างหนักแน่นเข้า ข่าวความดีของการปฏิบัติทางด้านจิตใจหรือการปฏิบัติกัมมัฏฐานได้แพร่สะพัดไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้หวังดีอยากพ้นทุกข์ ได้น้อมตัวเข้ามาเป็นศิษย์เพื่อการอยู่ปฏิบัติกับท่านจำนวนมากขึ้น ทั้งพระธรรมยุตและพระมหานิกาย เพราะการปฏิบัติทั้งทางด้านพระธรรมวินัยและการปฏิบัติธุดงค์ ตลอดถึงกิจวัตรต่าง ๆ ได้แนะนำและพาปฏิบัติอย่างเคร่งครัดและเหมาะสม ซึ่งในขณะนั้นยังไม่มีหมู่ใดคณะใดกระทำได้ เพราะผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติตามปฏิปทาของท่านอาจารย์มั่นฯ นั้นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพจริงๆ
ด้วยเหตุนี้จึงทำให้มีการตื่นตัวในเรื่องของการปฏิบัติทางใจมากขึ้น แม้จะอยู่ในวงของภิกษุแต่ก็มั่งคั่งและแผ่ออกถึงญาติโยมในปัจจุบัน ในระยะเพียงไม่กี่ปี ความขยายตัวของคณะปฏิบัติก็กว้างขวางออกไปอย่างมากพอสมควรทีเดียว นับเป็นประโยชน์ทั้งแก่ภิกษุสามเณร และอุบาสกอุบาสิกา
ในระยะแรกนี้ท่านอาจารย์มั่นฯ ท่านได้พาคณะศิษย์เที่ยวธุดงค์ เพื่อวิเวกวกเวียนอยู่เฉพาะภาคอีสานในถ้ำภูเขา ป่าใหญ่ เพราะการธุดงค์นั้นมีความมุ่งหมายที่จะเป็นประโยชน์แก่การปฏิบัติทางใจจริงๆ ในกรณีนี้ท่านเองมีความชำนาญลู่ทางการไปมามาก ท่านจึงแนะนำแก่ศิษย์ได้ถูกต้อง ควรจะไปอยู่ถ้ำโน้นถ้ำนี้ เขาโน้นเขานี้ หรือป่าโน้นป่านี้เป็นต้น เมื่อได้ธุดงค์ไปทำความเพียรในที่ต่าง ๆ ปฏิบัติได้ผลอย่างไร ทุก ๆ องค์ก็นำไปศึกษากับท่านต่อไป และทุกครั้งที่มีการศึกษานั้นก็จะรับความกระจ่างแจ้งอย่างดียิ่ง
เมื่อเป็นเช่นนี้ ผลเกิดขึ้นทำให้ได้รับความก้าวหน้าของการดำเนินได้เป็นอย่างดียิ่ง ซึ่งยังไม่เคยมียุคใดในครั้งกรุงรัตนโกสินทร์ ที่จะบังเกิดผลแห่งการปฏิบัติด้านจิตใจที่ยิ่งใหญ่เหมือนกับครั้งที่ท่านอาจารย์มั่น ฯ ได้กระทำขึ้น ที่กล้ากล่าวเช่นนี้เพราะเป็นความจริงซึ่งผลปรากฏจนถึงปัจจุบัน ผู้ที่ดำเนินจิตเป็นลูกศิษย์ของท่านนั้น นับมาแต่ ท่านอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม พระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล พระอาจารย์เทสก์ เทสรงฺสี พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร พระอาจารย์แหวน สุจิณฺโน พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ พระอาจารย์ขาว อนาลโย พระอาจารย์ชอบ พระอาจารย์มหาบัว ญาณสมฺปณฺโณ รุ่นสุดท้ายก็ผู้เขียน และพระอาจารย์วัน อุตฺตโม ยังมีอีกนับได้กว่า ๘๐๐ องค์ ที่เป็นศิษย์ของท่าน ทั้งยังมีชีวิตอยู่และทั้งมรณภาพไปแล้ว ซึ่งท่านเหล่านั้นก็ได้ทำกิจพระศาสนา ได้รับผลประโยชน์อย่างยิ่งทั้งตัวของท่านและผู้อื่น
ผู้เขียนจึงกล้าพูดว่า ไม่มียุคใดที่การปฏิบัติจิตใจได้ถูกฟื้นฟูขึ้นเท่ากับยุคนี้ แต่ก่อนพระอาจารย์มั่น ฯ เริ่มปฏิบัตินั้นก็ยังไม่เห็นมีการปฏิบัติกันเท่าไร และดูยังลึกลับอยู่มาก หลังจากศิษย์ของท่านได้รับความจริงในด้านนี้ แล้วนำเผยแพร่ทั่วประเทศไทย ความตื่นตัวเรื่องการปฏิบัติจึงมีขึ้น เนื่องจากว่าอุบาสกอุบาสิกาได้รับ ผลคือความเยือกเย็นสบาย เห็นความบริสุทธิ์แท้จริงจากศิษย์ของอาจารย์มั่น ฯ มากขึ้นตามลำดับ เพื่อนำมาปฏิบัติทางด้านจิตใจกันขึ้นมาก ถ้าหากไม่รีบหาวิธีปฏิบัติแล้วญาติโยมอุบาสกอุบาสิกา ก็จะต้องหันมาศึกษาการปฏิบัติกับพระที่เป็นศิษย์ท่านอาจารย์มั่น ฯ เสียหมด จะทำให้ประโยชน์บางประการของคนอื่นต้องเสียหมดไป จึงปรากฏมีการตื่นตัวของสำนักวิปัสสนามากมายเกิดขึ้น ถูกบ้างผิดบ้างไปตามเรื่องของศาสนาแต่ละคณะ
http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-mun/lp-mun-hist-03-06.htm