17 ม.ค.62 นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เป็นประธานแถลงข่าวจัดกิจกรรม "วาระครบรอบ 150 ปีชาตกาล พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต" เนื่องโอกาสอันเป็นมงคลในวันที่ 20 มกราคม 2563 เป็นวาระครบรอบ 150 ปีชาตกาล ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต พระเถระที่ชาวไทยให้ความเคารพ และยึดถือข้อธรรมที่ท่านได้ปฏิบัติมา เป็นแบบอย่างในการดำรงชีวิต
นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ กล่าวว่า พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เป็นพระเถรานุเถระสายวิปัสสนากรรมฐานที่พุทธศาสนิกชนชาวไทยเลื่อมใสศรัทธา นามของท่านได้รับการกล่าวถึง ทั้งในขณะที่ยังมีชีวิตดำรงอยู่และละสังขารไปแล้วเพราะเป็นผู้นำในการฟื้นฟูวงการพระพุทธศาสนาของประเทศไทย ให้เจริญรุ่งเรืองขึ้นมาอีกครั้งในช่วงสมัยกึ่งพุทธกาลนี้ ด้วยการเป็นผู้นำกองทัพธรรม เผยแผ่พระพุทธศาสนาและพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้าไปยังพุทธศาสนิกชนชาวไทย อันยังผลให้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวงการพระพุทธศาสนาในทางที่ถูกต้องดีงาม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวต่อว่า กระทรวงฯ โดยกรมการศาสนา จึงร่วมกับภาคคณะสงฆ์ สถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ตลอดจน ศิษยานุศิษย์ จัดกิจกรรมเพื่อรำลึกถึงพระคุณของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เป็นการเผยแผ่คุณงามความดีและวัตรปฏิบัติอันงดงาม ให้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่พุทธศาสนิกชน อันจะส่งผลให้สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสงบ สันติ โดยกำหนดจัดกิจกรรม ดังนี้ การตักบาตร พิธีเจริญพระพุทธมนต์ การแสดงพระธรรมเทศนา จัดพิมพ์หนังสือปฏิปทาพระธุดงค์กรรมฐาน หนังสือชีวประวัติหลวงปู่มั่น จัดทำสารคดี นิทรรศการ ตลอดจนผลักดันบรรจุวิชาเกี่ยวกับศีลธรรม ในหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ
สำหรับกิจกรรมดังกล่าวจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 19-21 มกราคม 2562 ณ วัดที่มีความเกี่ยวข้องกับหลวงปู่มั่น เช่น วัดปทุมวนาราม กทม. วัดเลียบ จังหวัดอุบลราชธานี และ วัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น
สำหรับ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต หรือนามตามสมณศักดิ์ว่า พระครูวินัยธรมั่น ภูริทตฺโต เป็นพระภิกษุฝ่ายธรรมยุติกนิกาย ชาวจังหวัดอุบลราชธานี ผู้เป็นบูรพาจารย์สายพระป่าในประเทศไทย
พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ได้ปฏิบัติตนตามแนวทางคำสอนพระศาสดาอย่างเคร่งครัด และยึดถือธุดงควัตรด้วยจริยวัตรปฏิปทางดงาม จนได้รับการยกย่องจากผู้ศรัทธาทั้งหลายว่าเป็นพระผู้เลิศทางธุดงควัตร ท่านวางแนวทางในการปฏิบัติสมถะและวิปัสสนาตามหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาพุทธเจ้าให้แก่สมณะประชาชนอย่างกว้างขวาง จนมีพระสงฆ์และฆราวาสเป็นลูกศิษย์จำนวนมาก
แนวคำสอนของท่านเป็นที่รู้จักกันดีในนามว่า คำสอนพระป่า (สายพระอาจารย์มั่น) หลังจากท่านมรณภาพลง ในปี พ.ศ. 2492 ยังคงมีพระสงฆ์ที่เป็นลูกศิษย์ของท่านสืบต่อแนวปฏิปทาธรรมปฏิบัติของท่านสืบมา โดยลูกศิษย์เรียกว่า พระกรรมฐานสายวัดป่า หรือ พระกรรมฐานสายหลวงปู่มั่น ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ท่านได้รับยกย่องจากผู้ศรัทธาให้เป็น พระอาจารย์ใหญ่สายวัดป่า หรือ พระอาจารย์ใหญ่แห่งวงศ์พระกรรมฐานวัดป่า สืบมาจนปัจจุบัน
https://www.naewna.com/likesara/389550
เตรียมจัดรำลึกครบรอบ 150 ปีชาตกาล'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' 19-21 ม.ค.นี้
นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ กล่าวว่า พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เป็นพระเถรานุเถระสายวิปัสสนากรรมฐานที่พุทธศาสนิกชนชาวไทยเลื่อมใสศรัทธา นามของท่านได้รับการกล่าวถึง ทั้งในขณะที่ยังมีชีวิตดำรงอยู่และละสังขารไปแล้วเพราะเป็นผู้นำในการฟื้นฟูวงการพระพุทธศาสนาของประเทศไทย ให้เจริญรุ่งเรืองขึ้นมาอีกครั้งในช่วงสมัยกึ่งพุทธกาลนี้ ด้วยการเป็นผู้นำกองทัพธรรม เผยแผ่พระพุทธศาสนาและพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้าไปยังพุทธศาสนิกชนชาวไทย อันยังผลให้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวงการพระพุทธศาสนาในทางที่ถูกต้องดีงาม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวต่อว่า กระทรวงฯ โดยกรมการศาสนา จึงร่วมกับภาคคณะสงฆ์ สถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ตลอดจน ศิษยานุศิษย์ จัดกิจกรรมเพื่อรำลึกถึงพระคุณของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เป็นการเผยแผ่คุณงามความดีและวัตรปฏิบัติอันงดงาม ให้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่พุทธศาสนิกชน อันจะส่งผลให้สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสงบ สันติ โดยกำหนดจัดกิจกรรม ดังนี้ การตักบาตร พิธีเจริญพระพุทธมนต์ การแสดงพระธรรมเทศนา จัดพิมพ์หนังสือปฏิปทาพระธุดงค์กรรมฐาน หนังสือชีวประวัติหลวงปู่มั่น จัดทำสารคดี นิทรรศการ ตลอดจนผลักดันบรรจุวิชาเกี่ยวกับศีลธรรม ในหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ
สำหรับกิจกรรมดังกล่าวจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 19-21 มกราคม 2562 ณ วัดที่มีความเกี่ยวข้องกับหลวงปู่มั่น เช่น วัดปทุมวนาราม กทม. วัดเลียบ จังหวัดอุบลราชธานี และ วัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น
สำหรับ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต หรือนามตามสมณศักดิ์ว่า พระครูวินัยธรมั่น ภูริทตฺโต เป็นพระภิกษุฝ่ายธรรมยุติกนิกาย ชาวจังหวัดอุบลราชธานี ผู้เป็นบูรพาจารย์สายพระป่าในประเทศไทย
พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ได้ปฏิบัติตนตามแนวทางคำสอนพระศาสดาอย่างเคร่งครัด และยึดถือธุดงควัตรด้วยจริยวัตรปฏิปทางดงาม จนได้รับการยกย่องจากผู้ศรัทธาทั้งหลายว่าเป็นพระผู้เลิศทางธุดงควัตร ท่านวางแนวทางในการปฏิบัติสมถะและวิปัสสนาตามหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาพุทธเจ้าให้แก่สมณะประชาชนอย่างกว้างขวาง จนมีพระสงฆ์และฆราวาสเป็นลูกศิษย์จำนวนมาก
แนวคำสอนของท่านเป็นที่รู้จักกันดีในนามว่า คำสอนพระป่า (สายพระอาจารย์มั่น) หลังจากท่านมรณภาพลง ในปี พ.ศ. 2492 ยังคงมีพระสงฆ์ที่เป็นลูกศิษย์ของท่านสืบต่อแนวปฏิปทาธรรมปฏิบัติของท่านสืบมา โดยลูกศิษย์เรียกว่า พระกรรมฐานสายวัดป่า หรือ พระกรรมฐานสายหลวงปู่มั่น ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ท่านได้รับยกย่องจากผู้ศรัทธาให้เป็น พระอาจารย์ใหญ่สายวัดป่า หรือ พระอาจารย์ใหญ่แห่งวงศ์พระกรรมฐานวัดป่า สืบมาจนปัจจุบัน
https://www.naewna.com/likesara/389550