ในฐานะแฟนหนังอินเดียที่ดูมาหลายภาษามาก เวลาเห็นกระทู้ในพันทิป ยังมีคนเข้าใจผิดๆเกี่ยวกับหนังอินเดีย เลยขอนำเอาข้อมูลมาบอกให้รู้กัน แล้วก็ขอแนะนำหนังที่น่าสนใจไปในตัว
ข้อมูลในเรื่องประวัติความเป็นมาก็เอามาจากวิกิพีเดีย แหล่งข้อมูลที่หาง่ายที่สุดนะคะ ส่วนหนังแนะนำ จะเป็นหนังที่เราเคยดูแล้วชอบทั้งสิ้น
***ก่อนอื่นวงการหนังอินเดียมีหลายวู้ดนะคะ บอลลีวู้ดจะเป็นอุตสาหกรรมหนังที่ฐานการผลิตอยู่เมืองมุมไบ ภาษาที่ตัวละครในหนังพูดจะเป็นภาษาฮินดี ในด้านรายได้และความกว้างของตลาด บอลลีวู้ดจัดว่ามากกว่าใครๆ แต่ในด้านปริมาณการผลิตหนังนั้นก็สลับๆกันระหว่างวู้ดอื่นๆที่เราจะเล่าให้ฟังค่ะ
ดังนั้นหากใครบอกว่า วงการบอลลีวู้ดผลิตหนังได้มากที่สุดในโลก หรือ บอลลีวู้ดผลิตหนังได้เป็นพันเรื่องต่อปี เป็นคำพูดที่ผิดนะคะ แสดงว่าคนพูดไม่รู้จักอุตสาหกรรมหนังอินเดียเลย แต่ถ้าบอกว่า
"วงการหนังอินเดียผลิตหนังได้เป็นพันเรื่องต่อปี" อันนี้จริง! เพราะเมื่อรวมทุกวู้ดทั่วทั้งอินเดียแล้วเกินพันเรื่องในบางปีด้วยซ้ำค่ะ
ตอนที่ 1: Kollywood
http://ppantip.com/topic/33715718
"อุตสาหกรรมภาพยนต์ภาษามะละยาลัม [Mollywood]"
อุตสาหกรรมหนังที่อาร์ตมาตั้งแต่รุ่นพ่อ!
อุตสาหกรรมหนังมะละยาลัม หรือที่เค้าเรียกตัวเองด้วยชื่อเล่นว่า Mollywood เป็นหนังที่ใช้ภาษา Malayalam ในการสนทนาในหนัง ซึ่งภาษานี้ใช้พูดกันอยู่ที่รัฐ Kerela และใกล้เคียง (รัฐ Kerela นี้ตามสถิติว่าเป็นรัฐที่การศึกษาดีที่สุดในอินเดียค่ะ) เริ่มต้นการสร้างหนังในช่วงยุค 20s เป็นหนังเงียบมีการสร้างเพียง 2 เรื่องเท่านั้น
เรื่องแรกออกฉายในวันที่ 23 ตุลาคม 1930 ชื่อเรื่อง Vigathakumaran (The lost child) อำนวยการสร้างและกำกับโดย J. C. Daniel ซึ่งต่อมาได้ชื่อว่าเป็นบิดาของวงการหนังมะละยาลัม (ชื่อนี้ต้องโน้ตไว้ค่ะ เดี๋ยวไปต่อในหนังแนะนำ) เรื่องจำนวนหนังเงียบที่ออกฉายมีทั้งสิ้นสามเรื่อง แต่เรื่องที่ 3 ฉายไปได้เพียง 4 วัน ฟิล์มหนังก็ถูกยึดด้วยปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์
ตั้งแต่ปี 1938 เป็นต้นมาก็ทำการผลิตหนังพูด โดยเรื่องแรกชื่อว่า Balan อุตสาหกรรมหนังของรัฐ Kerela ได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากภาครัฐ (หมายถึงรัฐบาลท้องถิ่นของรัฐเองค่ะ) ทำให้มีการสร้างหนังที่เติบโตแบบก้าวกระโดด จากจำนวน 6 เรื่องต่อปีในยุค 50s มาเป็น 30 เรื่องต่อปีในยุค 60s และเพิ่มเป็น 40 เรื่องต่อปีในยุค 70s พอมาถึงยุค 80s มีจำนวนหนังสร้างมากกันมากถึง 127 เรื่องต่อปี โดยยุคนี้เรียกได้ว่าเป็นยุคทองของหนังมะละยาลัมเลยก็ว่าได้
ความอาร์ตของหนังมาเลยาลัมไม่จบเพียงเท่านี้
"จากข้อมูลยังบอกอีกว่าหนัง 3 มิติ หรือ 3D film เรื่องแรกของอินเดียก็คือ หนังมะละยาลัม อย่าเพิ่งคิดว่าเค้ามาฮิตเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมานะคะ หนังเรื่อง My Dear Kuttichathan ซึ่งเป็นหนังมะละยาลัม และเป็นหนังสามมิติเรื่องแรกของอินเดียนั้น สร้างกันมาตั้งแต่ปี 1984 โน่น นานไม่นาน นับให้ก็ได้ค่ะ 31 ปีผ่านมาแล้ว"
ยังค่ะยัง ความอาร์ตยังไม่หมดแต่เพียงเท่านี้ มีใครเคยดูหนังที่ทั้งเรื่องมีนักแสดงคนเดียวรึยังคะ? เอาเป็นว่าเคยหรือไม่เคยก็ช่างค่ะ แต่อย่าคิดว่าฝรั่งนำเทรนด์นะคะ
"หนังที่ทั้งเรื่องมีนักแสดงนับรวมทั้งสิ้นหนึ่งคนถ้วน เกิดขึ้นในหนังมะละยาลัมเป็นเรื่องแรกของโลกค่ะ เรื่องนั้นก็คือเรื่อง The Guard ออกฉายในเดือนธันวาคม 2001" แม้ว่ารายได้จะปานกลาง แต่ได้รับคำวิจารณ์ที่ดีจากนักวิจารณ์ ... แต่โดยส่วนตัวเราว่า มันประสบความสำเร็จนะคะ
อ้อ! เรื่องฐานการผลิต แต่แรกเริ่มเดิมทีนั้นหนังมะละยาลัมมีฐานการผลิตอยู่ที่เมือง Thiruvananthapuram หรือเรียกสั้นๆว่า Trivandrum เมืองหลวงของรัฐ Kerala แต่คงด้วยจำนวนหนังที่น้อยเรื่องและวงการหนังทมิฬมีการพัฒนามากกว่า ผู้สร้างเลยย้ายฐานไปยังเจนไนในช่วงต้นยุค 40s ซึ่งก็ย้ายกันไปนานมากเลยค่ะ จนยุค 80s นั่นแหละถึงได้พากันย้ายกลับมายัง Kerela โดยใช้เมือง Kochi เป็นฐานการผลิต แต่หลังจากทางภาครัฐ (รัฐบาลท้องถิ่นของรัฐ Kerala) ได้เข้ามาให้การสนับสนุนอย่างจริงจัง ฐานการผลิตจึงย้ายกลับมายังจุดเริ่มต้นที่เมือง Thiruvananthapuram จนกระทั่งปัจจุบัน
โดยส่วนตัวที่มีโอกาสได้ดูหนังมะละยาลัมมาก็หลายเรื่องนะคะ
หนังของทางภูมิภาคนี้ โดยมากจะเป็นหนังอาร์ตน่ะค่ะ (นึกไม่ออกให้นึกถึงหนังฝรั่งเศสหรือหนังญี่ปุ่น) เดินเรื่องจะช้าๆหน่อย หนังชอบเล่าเรื่องง่ายๆในชีวิตประจำวัน แต่เน้นความหลากหลายของผู้คนที่มักจะต้องต่างศาสนากันเป็นส่วนใหญ่ ความรักพระนางก็จะมาแนวๆนี้ด้วย เคยดูหนังที่มีบู๊อยู่เรื่องนึงเป็นดราม่าแต่มีฉากบู๊ค่ะ คิวบู๊มาเลยาลัมจัดว่าโอเคเลย สมจริงสมจัง มักใช้ท่าทางแบบศิลปะการต่อสู้ของอินเดีย (รัฐ Kerela เค้าเป็นเอกในด้านนี้) ไม่ได้โอเว่อร์แบบหนังเตลูกูหรือสุดกู่แบบทมิฬ ... เรียกว่าถ้าพูดถึงสายอาร์ตของอินเดียแล้วล่ะก็ หนังมะละยาลัมเป็นรองแค่หนังเบงกาลีเท่านั้น
ใครชอบหนังอาร์ต ไม่ค่อยมีเพลงเต้น (จริงๆคือมีบ้างแต่น้อยเรื่องน้อยเพลง) แล้วอยากลองดูหนังอินเดีย แนะนำหนังภาษามะละยาลัมค่ะ แต่ก็ต้องเป็นหนังในยุคทอง 80s หรือไม่ก็ตั้งแต่ปี 2010 เป็นต้นมานะคะ เพราะว่ามีช่วงนึงที่หนังมะละยาลัมหันไปสร้างหนัง mass masala ตามคนอื่นๆเค้าเช่นกัน แต่ถ้าติดว่าพระนางต้องหล่อสวยปานเทพบุตร เทพธิดา คุณอาจจะไม่ชอบหนังของรัฐนี้ก็ได้ค่ะ นักแสดงโดยมากดูธรรมดา หน้าตาแบบคนอินเดียทั่วไปตามท้องถนน แล้วค่อนข้างปล่อยตัวกันเป็นส่วนใหญ่ หลายคนอวบระยะสุดท้ายไปจนถึงอ้วน แต่ฝีไม้ลายมือทางการแสดงของนักแสดงเรียกว่ากินขาด ดีกว่าหลายๆภูมิภาคที่เราเคยดูมาค่ะ
หนังแนะนำอยู่ในความคิดเห็นค่ะ
เพจคนรักหนังอินเดีย
https://www.facebook.com/IndianfilmsloverTh/
เพจรีวิวหนัง+ร้านอาหารอินเดีย
https://www.facebook.com/IndianFilmsandFoodsReview/
หนังอินเดียไม่ได้มีแต่บอลลีวู้ด ตอนที่ 2: Mollywood
ข้อมูลในเรื่องประวัติความเป็นมาก็เอามาจากวิกิพีเดีย แหล่งข้อมูลที่หาง่ายที่สุดนะคะ ส่วนหนังแนะนำ จะเป็นหนังที่เราเคยดูแล้วชอบทั้งสิ้น
***ก่อนอื่นวงการหนังอินเดียมีหลายวู้ดนะคะ บอลลีวู้ดจะเป็นอุตสาหกรรมหนังที่ฐานการผลิตอยู่เมืองมุมไบ ภาษาที่ตัวละครในหนังพูดจะเป็นภาษาฮินดี ในด้านรายได้และความกว้างของตลาด บอลลีวู้ดจัดว่ามากกว่าใครๆ แต่ในด้านปริมาณการผลิตหนังนั้นก็สลับๆกันระหว่างวู้ดอื่นๆที่เราจะเล่าให้ฟังค่ะ
ดังนั้นหากใครบอกว่า วงการบอลลีวู้ดผลิตหนังได้มากที่สุดในโลก หรือ บอลลีวู้ดผลิตหนังได้เป็นพันเรื่องต่อปี เป็นคำพูดที่ผิดนะคะ แสดงว่าคนพูดไม่รู้จักอุตสาหกรรมหนังอินเดียเลย แต่ถ้าบอกว่า "วงการหนังอินเดียผลิตหนังได้เป็นพันเรื่องต่อปี" อันนี้จริง! เพราะเมื่อรวมทุกวู้ดทั่วทั้งอินเดียแล้วเกินพันเรื่องในบางปีด้วยซ้ำค่ะ
ตอนที่ 1: Kollywood
http://ppantip.com/topic/33715718
"อุตสาหกรรมภาพยนต์ภาษามะละยาลัม [Mollywood]"
อุตสาหกรรมหนังที่อาร์ตมาตั้งแต่รุ่นพ่อ!
อุตสาหกรรมหนังมะละยาลัม หรือที่เค้าเรียกตัวเองด้วยชื่อเล่นว่า Mollywood เป็นหนังที่ใช้ภาษา Malayalam ในการสนทนาในหนัง ซึ่งภาษานี้ใช้พูดกันอยู่ที่รัฐ Kerela และใกล้เคียง (รัฐ Kerela นี้ตามสถิติว่าเป็นรัฐที่การศึกษาดีที่สุดในอินเดียค่ะ) เริ่มต้นการสร้างหนังในช่วงยุค 20s เป็นหนังเงียบมีการสร้างเพียง 2 เรื่องเท่านั้น เรื่องแรกออกฉายในวันที่ 23 ตุลาคม 1930 ชื่อเรื่อง Vigathakumaran (The lost child) อำนวยการสร้างและกำกับโดย J. C. Daniel ซึ่งต่อมาได้ชื่อว่าเป็นบิดาของวงการหนังมะละยาลัม (ชื่อนี้ต้องโน้ตไว้ค่ะ เดี๋ยวไปต่อในหนังแนะนำ) เรื่องจำนวนหนังเงียบที่ออกฉายมีทั้งสิ้นสามเรื่อง แต่เรื่องที่ 3 ฉายไปได้เพียง 4 วัน ฟิล์มหนังก็ถูกยึดด้วยปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์
ตั้งแต่ปี 1938 เป็นต้นมาก็ทำการผลิตหนังพูด โดยเรื่องแรกชื่อว่า Balan อุตสาหกรรมหนังของรัฐ Kerela ได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากภาครัฐ (หมายถึงรัฐบาลท้องถิ่นของรัฐเองค่ะ) ทำให้มีการสร้างหนังที่เติบโตแบบก้าวกระโดด จากจำนวน 6 เรื่องต่อปีในยุค 50s มาเป็น 30 เรื่องต่อปีในยุค 60s และเพิ่มเป็น 40 เรื่องต่อปีในยุค 70s พอมาถึงยุค 80s มีจำนวนหนังสร้างมากกันมากถึง 127 เรื่องต่อปี โดยยุคนี้เรียกได้ว่าเป็นยุคทองของหนังมะละยาลัมเลยก็ว่าได้
ความอาร์ตของหนังมาเลยาลัมไม่จบเพียงเท่านี้
"จากข้อมูลยังบอกอีกว่าหนัง 3 มิติ หรือ 3D film เรื่องแรกของอินเดียก็คือ หนังมะละยาลัม อย่าเพิ่งคิดว่าเค้ามาฮิตเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมานะคะ หนังเรื่อง My Dear Kuttichathan ซึ่งเป็นหนังมะละยาลัม และเป็นหนังสามมิติเรื่องแรกของอินเดียนั้น สร้างกันมาตั้งแต่ปี 1984 โน่น นานไม่นาน นับให้ก็ได้ค่ะ 31 ปีผ่านมาแล้ว"
ยังค่ะยัง ความอาร์ตยังไม่หมดแต่เพียงเท่านี้ มีใครเคยดูหนังที่ทั้งเรื่องมีนักแสดงคนเดียวรึยังคะ? เอาเป็นว่าเคยหรือไม่เคยก็ช่างค่ะ แต่อย่าคิดว่าฝรั่งนำเทรนด์นะคะ
"หนังที่ทั้งเรื่องมีนักแสดงนับรวมทั้งสิ้นหนึ่งคนถ้วน เกิดขึ้นในหนังมะละยาลัมเป็นเรื่องแรกของโลกค่ะ เรื่องนั้นก็คือเรื่อง The Guard ออกฉายในเดือนธันวาคม 2001" แม้ว่ารายได้จะปานกลาง แต่ได้รับคำวิจารณ์ที่ดีจากนักวิจารณ์ ... แต่โดยส่วนตัวเราว่า มันประสบความสำเร็จนะคะ
อ้อ! เรื่องฐานการผลิต แต่แรกเริ่มเดิมทีนั้นหนังมะละยาลัมมีฐานการผลิตอยู่ที่เมือง Thiruvananthapuram หรือเรียกสั้นๆว่า Trivandrum เมืองหลวงของรัฐ Kerala แต่คงด้วยจำนวนหนังที่น้อยเรื่องและวงการหนังทมิฬมีการพัฒนามากกว่า ผู้สร้างเลยย้ายฐานไปยังเจนไนในช่วงต้นยุค 40s ซึ่งก็ย้ายกันไปนานมากเลยค่ะ จนยุค 80s นั่นแหละถึงได้พากันย้ายกลับมายัง Kerela โดยใช้เมือง Kochi เป็นฐานการผลิต แต่หลังจากทางภาครัฐ (รัฐบาลท้องถิ่นของรัฐ Kerala) ได้เข้ามาให้การสนับสนุนอย่างจริงจัง ฐานการผลิตจึงย้ายกลับมายังจุดเริ่มต้นที่เมือง Thiruvananthapuram จนกระทั่งปัจจุบัน
โดยส่วนตัวที่มีโอกาสได้ดูหนังมะละยาลัมมาก็หลายเรื่องนะคะ หนังของทางภูมิภาคนี้ โดยมากจะเป็นหนังอาร์ตน่ะค่ะ (นึกไม่ออกให้นึกถึงหนังฝรั่งเศสหรือหนังญี่ปุ่น) เดินเรื่องจะช้าๆหน่อย หนังชอบเล่าเรื่องง่ายๆในชีวิตประจำวัน แต่เน้นความหลากหลายของผู้คนที่มักจะต้องต่างศาสนากันเป็นส่วนใหญ่ ความรักพระนางก็จะมาแนวๆนี้ด้วย เคยดูหนังที่มีบู๊อยู่เรื่องนึงเป็นดราม่าแต่มีฉากบู๊ค่ะ คิวบู๊มาเลยาลัมจัดว่าโอเคเลย สมจริงสมจัง มักใช้ท่าทางแบบศิลปะการต่อสู้ของอินเดีย (รัฐ Kerela เค้าเป็นเอกในด้านนี้) ไม่ได้โอเว่อร์แบบหนังเตลูกูหรือสุดกู่แบบทมิฬ ... เรียกว่าถ้าพูดถึงสายอาร์ตของอินเดียแล้วล่ะก็ หนังมะละยาลัมเป็นรองแค่หนังเบงกาลีเท่านั้น
ใครชอบหนังอาร์ต ไม่ค่อยมีเพลงเต้น (จริงๆคือมีบ้างแต่น้อยเรื่องน้อยเพลง) แล้วอยากลองดูหนังอินเดีย แนะนำหนังภาษามะละยาลัมค่ะ แต่ก็ต้องเป็นหนังในยุคทอง 80s หรือไม่ก็ตั้งแต่ปี 2010 เป็นต้นมานะคะ เพราะว่ามีช่วงนึงที่หนังมะละยาลัมหันไปสร้างหนัง mass masala ตามคนอื่นๆเค้าเช่นกัน แต่ถ้าติดว่าพระนางต้องหล่อสวยปานเทพบุตร เทพธิดา คุณอาจจะไม่ชอบหนังของรัฐนี้ก็ได้ค่ะ นักแสดงโดยมากดูธรรมดา หน้าตาแบบคนอินเดียทั่วไปตามท้องถนน แล้วค่อนข้างปล่อยตัวกันเป็นส่วนใหญ่ หลายคนอวบระยะสุดท้ายไปจนถึงอ้วน แต่ฝีไม้ลายมือทางการแสดงของนักแสดงเรียกว่ากินขาด ดีกว่าหลายๆภูมิภาคที่เราเคยดูมาค่ะ
หนังแนะนำอยู่ในความคิดเห็นค่ะ
เพจคนรักหนังอินเดีย
https://www.facebook.com/IndianfilmsloverTh/
เพจรีวิวหนัง+ร้านอาหารอินเดีย
https://www.facebook.com/IndianFilmsandFoodsReview/