ในฐานะแฟนหนังอินเดียที่ดูมาหลายภาษามาก เวลาเห็นกระทู้ในพันทิป ยังมีคนเข้าใจผิดๆเกี่ยวกับหนังอินเดีย เลยขอนำเอาข้อมูลมาบอกให้รู้กัน แล้วก็ขอแนะนำหนังที่น่าสนใจไปในตัว
ข้อมูลในเรื่องประวัติความเป็นมาก็เอามาจากวิกิพีเดีย แหล่งข้อมูลที่หาง่ายที่สุดนะคะ ส่วนหนังแนะนำ จะเป็นหนังที่เราเคยดูแล้วชอบทั้งสิ้น
***ก่อนอื่นวงการหนังอินเดียมีหลายวู้ดนะคะ บอลลีวู้ดจะเป็นอุตสาหกรรมหนังที่ฐานการผลิตอยู่เมืองมุมไบ ภาษาที่ตัวละครในหนังพูดจะเป็นภาษาฮินดี ในด้านรายได้และความกว้างของตลาด บอลลีวู้ดจัดว่ามากกว่าใครๆ แต่ในด้านปริมาณการผลิตหนังนั้นก็สลับๆกันระหว่างวู้ดอื่นๆที่เราจะเล่าให้ฟังค่ะ
ดังนั้นหากใครบอกว่า วงการบอลลีวู้ดผลิตหนังได้มากที่สุดในโลก หรือ บอลลีวู้ดผลิตหนังได้เป็นพันเรื่องต่อปี เป็นคำพูดที่ผิดนะคะ แสดงว่าคนพูดไม่รู้จักอุตสาหกรรมหนังอินเดียเลย แต่ถ้าบอกว่า
"วงการหนังอินเดียผลิตหนังได้เป็นพันเรื่องต่อปี" อันนี้จริง! เพราะเมื่อรวมทุกวู้ดทั่วทั้งอินเดียแล้วเกินพันเรื่องในบางปีด้วยซ้ำค่ะ
ตอนที่ 1: Kollywood
http://ppantip.com/topic/33715718
ตอนที่ 2: Mollywood
http://ppantip.com/topic/33719082
ตอนที่ 3: Marathi Cinema
http://ppantip.com/topic/33724208
ตอนที่ 4: Pollywood
http://ppantip.com/topic/33729794
อุตสาหกรรมภาพยนต์ภาษากันนาดา (Kannada) [Sandalwood]
ภาษากันนาดา คือ ภาษาที่ใช้กันในรัฐกรณาฏกะ (Karnataka) รัฐทางใต้ของอินเดีย ถ้านึกไม่ออก เมืองหลวงของรัฐนี้ก็คือ เมืองบังกาลอร์ หรือ Bengaluru นั่นเอง
ดังนั้นฐานการผลิตของอุตสาหกรรมหนังอินเดียภาษานี้จึงอยู่ที่เมืองหลวงบังกาลอร์ค่ะ ปัจจุบันมีการผลิตหนังมากกว่า 100 เรื่อง/ปี โดยส่วนใหญ่เน้นทำตลาดภายในรัฐ แต่ก็มีหนังบางเรื่องได้ไปฉายไกลถึง สหรัฐอเมริกา, ออสเตรเลีย, เยอรมัน และอังกฤษ
สถาบันการศึกษาด้านภาพยนต์ของรัฐบาลอินเดียถูกตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกก็ที่บังกาลอร์ในปี 1941 ชื่อว่า S J POLYTECHNIC โดยเปิดสอนเกี่ยวกับด้านเทคนิคการทำภาพยนต์
ข้อมูลในวิกิพีเดียไม่ได้พูดถึงหนังกันนาดาในยุคหนังเงียบ แต่มาเริ่มต้นในยุคหนังพูดเลย คือ ในปี 1934 หนังพูดของกันนาดาเรื่องแรกก็ออกฉายชื่อเรื่อง Sati Sulochana ในขณะนั้น ฐานการผลิตของหนังอินเดียใต้ทั้งหมดยังอยู่ที่เจนไน รัฐทมิฬนาฑู ดังนั้นหนังเรื่องแรกของกันนาดาจึงถูกผลิตขึ้นในเจนไนเช่นกัน
ยุคทองของหนัง Sandalwood ก็คือยุค 70s - 80s เช่นเดียวกับวู้ดอื่นๆของอินเดีย แต่ข้อมูลของ Sandalwood เองมีไม่มากนัก โดยมากจะพูดถึงนักแสดงและผู้กำกับที่มีชื่อเสียงในวงการมากกว่า ซึ่งพูดไปเราคนไทยก็ไม่รู้จักอยู่ดี ในเรื่องของประวัติวงการหนัง Sandalwood เลยต้องหยุดแค่ตรงนี้
อันนี้รวบรวมจากคอมเม้นท์ของคนอินเดียที่เราไปอ่านเจอในเว็บ Quara เกี่ยวกับวงการหนังภาษากันนาดา ได้ความว่า
หนังจาก Sandalwood เป็นหนังสายอาร์ตที่มีตัวบทโดดเด่นน่าสนใจ
หนังสายอาร์ตของอินเดียที่โดดเด่น เรียงจากมากไปน้อย เบงกาลี > มะละยาลัม > กันนาดา
(ถ้าหนังสายตลาดจะเป็น บอลลีวู้ด = กอลลีวู้ด > ตอลลีวู้ด)
นักแสดงจากรัฐนี้มีฝีมืออยู่หลายคนและเป็นที่รู้จักในรัฐอื่นๆด้วย เพราะ พวกเค้าได้โอกาสไปเล่นในบทสำคัญๆในหนังภาษาอื่นๆของอินเดียบ่อย นอกจากนี้นักแสดงจากรัฐนี้ยังไปลงหลักปักฐานเล่นหนังในวู้ดอื่นๆจนมีชื่อเสียงโด่งดังหลายคน โดยเฉพาะรัฐทางภาคใต้อย่างทมิฬนาฑู เตลังกานา+อันธรประเทศ (ก่อนหน้านี้สองรัฐนี้คือรัฐเดียวกันค่ะ แต่เพิ่งแยกกันเมื่อปีที่แล้วนี้เอง)
ส่วนนักแสดงที่เป็นคนจากรัฐนี้แล้วไปโด่งดังระดับโลกที่คนไทยรู้จักกันดีก็คือ Aishwarya Rai มิสเวิลด์ ปี 1994 นั่นเอง
ภาพจากนิตยสาร Vouge
ส่วนใครที่ดูหนังฮินดีหรือหนังบอลลีวู้ดอยู่แล้วจะต้องรู้จัก Deepika Padukone, Shilpa Shetty และ Prabhu Deva ทั้งสามคนก็เป็นนักแสดงที่โด่งดังในบอลลีวู้ดแต่เป็นคนเชื้อสายกันนาดาหรือมีภาษาแม่คือภาษากันนาดา
Deepika Padukone นางเอกบอลลีวู้ดแถวหน้าของยุคนี้
Shilpa Shetty
Prabhu Deva นักแสดง/ผู้กำกับที่มีชื่อเสียงในบอลลีวู้ด โดยเฉพาะด้านการเต้น
หนังภาษากันนาดาโดยมากเน้นทำตลาดภายในรัฐ แต่ได้รับความนิยมน้อยกว่าหนังภาษาฮินดีที่ถูกฉายอยู่ภายในรัฐ เพราะว่ามีคนอินเดียที่พูดภาษาฮินดีเป็นภาษาแม่ย้ายถิ่นฐานไปทำงานที่รัฐนี้มาก (มีเมืองบังกาลอร์น่ะค่ะ ศูนย์กลางไอทีของอินเดียและเอเชีย) ทำให้หนังภาษากันนาดาถูกเบียดด้วยหนังภาษาฮินดีจากบอลลีวู้ด แต่ก็ไม่ได้ทำให้อุตสาหกรรมหนังภาษานี้ถึงกับอยู่ไม่ได้ อย่างที่บอกไปตอนต้นว่ามีการผลิตหนังกันมากกว่า 100 เรื่อง/ปี เพราะคนกันนาดาเองเค้าก็ยังคงสนับสนุนหนังของตัวเองอยู่
สำหรับชาวต่างชาติแบบเราจะหาดูแบบมีซับค่อนข้างยากค่ะ จริงๆในยูทูปเองมีในชมเยอะมาก แต่มีแค่ไม่กี่เรื่องที่มีซับไตเติ้ล (ภาษาอังกฤษ)
โดยส่วนตัวที่เคยดูก็มีไม่กี่เรื่อง แนะนำต่อกันเลยนะคะ ที่เอามาแนะนำก็ไม่ใช่หนังที่บอกว่าเป็นสายอาร์ตเลิศเลออะไร แต่แนะนำที่เคยดูแล้วมีซับน่ะค่ะ เรียกว่าพอดูได้ - สนุก ถ้าคิดอยากลองดูหนังจาก Sandalwood
อยากชมหนังของ Sandalwood หาได้จากยูทูปเลยค่ะ พิมพ์คำว่า "Kannada movies with English subtitles" ก็จะเจอ แต่ไม่เยอะนัก
ลำดับที่ + ชื่อเรื่อง + ปีที่ออกฉายที่อินเดีย
1. Ugramm: 2014
หนังแนว Thriller Action เป็นหนังฮิตของ Sandalwood และได้รับคำวิจารณ์ที่ดี เรื่องราวของสาวอินเดียที่อยู่ประเทศออสเตรเลีย ต้องการกลับมาเยี่ยมหลุมศพของแม่ที่รัฐกรณาฏกะ แต่ก็ถูกพ่อห้ามไว้ตลอดโดยไม่บอกเหตุผล จนเธอแอบหนีไปถึงอินเดียจนได้ แต่เมื่อศัตรูเก่าของพ่อเธอรู้ข่าวว่าเธอหนีมาอินเดีย ก็ตามล่าตัวเธอทันที โชคยังดีที่พระเอกเป็นคนของพ่อเธอ เธอมาอยู่ในความคุ้มครองของเค้า ทั้งคู่ต้องต่อสู้หนีการตามล่าจากศัตรูเก่าของพ่อนางเอก เรื่องราวก็ง่ายๆค่ะ บู๊แอ๊คชั่นเลือดสาด แต่ภาพสวย แล้วก็ตื่นเต้นดี
2. Chaarulatha: 2012
หนังแนว horror รีเมคจากหนังไทยเรื่อง "แฝด" ที่มาช่านำแสดง เราไม่เคยดูเรื่องแฝดค่ะ มาดูหนังอินเดียเรื่องนี้เลย สนุกดี พอไปถามเพื่อนที่เคยดูเรื่องแฝดและเรื่องนี้ เค้าบอกว่า เหมือนกันค่ะ
3. Kalpana: 2012
***เรื่องนี้แนะนำมากๆ***
หนังแนว comedy horror แต่ส่วนตัวเราเพิ่ม drama ให้อีกแนวนึง จริงๆเรื่องนี้รีเมคจากหนังทมิฬหรือกอลลีวู้ด แต่เอามาแนะนำเพราะเวอร์ชั่นของ Sandalwood นักแสดงเล่นได้ดีกว่าเยอะมาก เรื่องราวของ Raghava หนุ่มที่ไม่ทำการทำงาน เล่นคริกเก็ตไปวันๆ แต่วันนึงสนามที่เค้าเล่นอยู่ประจำโดนห้ามเล่น เค้าและเพื่อนๆต้องไปหาที่ว่างใหม่เพื่อเล่นคริกเก็ต แล้วก็ไปเจอที่รกร้างแห่งนึง ซึ่งคนแถวนั้นไม่กล้าผ่านหลังตะวันตกดิน รักกวา กับเพื่อนๆด้วยความไม่รู้เลยเลือกที่นั้น พอปักเสาคริกเก็ตลงดินเค้าก็ได้ปลดปล่อยวิญญาณร้ายออกมา วิญญาณนั้นได้ตาม รักกวา ไปที่บ้านและหลอกหลอนเค้ากับครอบครัว แต่เบื้องหลังความหลอน มีเรื่องราวที่น่าสงสารของดวงวิญญาณที่ไม่ยอมไปผุดไปเกิดอยู่
เรื่องนี้ภาพและเทคนิคอาจจะไม่ดีนัก แต่หลอนจริง ฮาจริง แล้วก็เรียกน้ำตาได้จริงๆ แล้วยังได้เห็นประเพณีและความเชื่อของชาวอินเดียเกี่ยวกับเรื่องภูตผีอีกด้วย ซึ่งคล้ายของบ้านเรามากๆค่ะ แล้วอย่างที่บอกนักแสดงเรื่องนี้เล่นได้ดีมากๆ โดยนักแสดงนำชายของเรื่องนี้ได้รับรางวัลด้วยค่ะ
ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาอ่านค่ะ
ยังเหลืออีก 2 วู้ดนะคะ จะจบแล้ว
เพจคนรักหนังอินเดีย
https://www.facebook.com/IndianfilmsloverTh/
เพจรีวิวหนัง+ร้านอาหารอินเดีย
https://www.facebook.com/IndianFilmsandFoodsReview/
หนังอินเดียไม่ได้มีแต่บอลลีวู้ด ตอนที่ 5: Sandalwood
ข้อมูลในเรื่องประวัติความเป็นมาก็เอามาจากวิกิพีเดีย แหล่งข้อมูลที่หาง่ายที่สุดนะคะ ส่วนหนังแนะนำ จะเป็นหนังที่เราเคยดูแล้วชอบทั้งสิ้น
***ก่อนอื่นวงการหนังอินเดียมีหลายวู้ดนะคะ บอลลีวู้ดจะเป็นอุตสาหกรรมหนังที่ฐานการผลิตอยู่เมืองมุมไบ ภาษาที่ตัวละครในหนังพูดจะเป็นภาษาฮินดี ในด้านรายได้และความกว้างของตลาด บอลลีวู้ดจัดว่ามากกว่าใครๆ แต่ในด้านปริมาณการผลิตหนังนั้นก็สลับๆกันระหว่างวู้ดอื่นๆที่เราจะเล่าให้ฟังค่ะ
ดังนั้นหากใครบอกว่า วงการบอลลีวู้ดผลิตหนังได้มากที่สุดในโลก หรือ บอลลีวู้ดผลิตหนังได้เป็นพันเรื่องต่อปี เป็นคำพูดที่ผิดนะคะ แสดงว่าคนพูดไม่รู้จักอุตสาหกรรมหนังอินเดียเลย แต่ถ้าบอกว่า "วงการหนังอินเดียผลิตหนังได้เป็นพันเรื่องต่อปี" อันนี้จริง! เพราะเมื่อรวมทุกวู้ดทั่วทั้งอินเดียแล้วเกินพันเรื่องในบางปีด้วยซ้ำค่ะ
ตอนที่ 1: Kollywood
http://ppantip.com/topic/33715718
ตอนที่ 2: Mollywood
http://ppantip.com/topic/33719082
ตอนที่ 3: Marathi Cinema
http://ppantip.com/topic/33724208
ตอนที่ 4: Pollywood
http://ppantip.com/topic/33729794
อุตสาหกรรมภาพยนต์ภาษากันนาดา (Kannada) [Sandalwood]
ภาษากันนาดา คือ ภาษาที่ใช้กันในรัฐกรณาฏกะ (Karnataka) รัฐทางใต้ของอินเดีย ถ้านึกไม่ออก เมืองหลวงของรัฐนี้ก็คือ เมืองบังกาลอร์ หรือ Bengaluru นั่นเอง ดังนั้นฐานการผลิตของอุตสาหกรรมหนังอินเดียภาษานี้จึงอยู่ที่เมืองหลวงบังกาลอร์ค่ะ ปัจจุบันมีการผลิตหนังมากกว่า 100 เรื่อง/ปี โดยส่วนใหญ่เน้นทำตลาดภายในรัฐ แต่ก็มีหนังบางเรื่องได้ไปฉายไกลถึง สหรัฐอเมริกา, ออสเตรเลีย, เยอรมัน และอังกฤษ
สถาบันการศึกษาด้านภาพยนต์ของรัฐบาลอินเดียถูกตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกก็ที่บังกาลอร์ในปี 1941 ชื่อว่า S J POLYTECHNIC โดยเปิดสอนเกี่ยวกับด้านเทคนิคการทำภาพยนต์
ข้อมูลในวิกิพีเดียไม่ได้พูดถึงหนังกันนาดาในยุคหนังเงียบ แต่มาเริ่มต้นในยุคหนังพูดเลย คือ ในปี 1934 หนังพูดของกันนาดาเรื่องแรกก็ออกฉายชื่อเรื่อง Sati Sulochana ในขณะนั้น ฐานการผลิตของหนังอินเดียใต้ทั้งหมดยังอยู่ที่เจนไน รัฐทมิฬนาฑู ดังนั้นหนังเรื่องแรกของกันนาดาจึงถูกผลิตขึ้นในเจนไนเช่นกัน
ยุคทองของหนัง Sandalwood ก็คือยุค 70s - 80s เช่นเดียวกับวู้ดอื่นๆของอินเดีย แต่ข้อมูลของ Sandalwood เองมีไม่มากนัก โดยมากจะพูดถึงนักแสดงและผู้กำกับที่มีชื่อเสียงในวงการมากกว่า ซึ่งพูดไปเราคนไทยก็ไม่รู้จักอยู่ดี ในเรื่องของประวัติวงการหนัง Sandalwood เลยต้องหยุดแค่ตรงนี้
อันนี้รวบรวมจากคอมเม้นท์ของคนอินเดียที่เราไปอ่านเจอในเว็บ Quara เกี่ยวกับวงการหนังภาษากันนาดา ได้ความว่า
หนังจาก Sandalwood เป็นหนังสายอาร์ตที่มีตัวบทโดดเด่นน่าสนใจ
หนังสายอาร์ตของอินเดียที่โดดเด่น เรียงจากมากไปน้อย เบงกาลี > มะละยาลัม > กันนาดา
(ถ้าหนังสายตลาดจะเป็น บอลลีวู้ด = กอลลีวู้ด > ตอลลีวู้ด)
นักแสดงจากรัฐนี้มีฝีมืออยู่หลายคนและเป็นที่รู้จักในรัฐอื่นๆด้วย เพราะ พวกเค้าได้โอกาสไปเล่นในบทสำคัญๆในหนังภาษาอื่นๆของอินเดียบ่อย นอกจากนี้นักแสดงจากรัฐนี้ยังไปลงหลักปักฐานเล่นหนังในวู้ดอื่นๆจนมีชื่อเสียงโด่งดังหลายคน โดยเฉพาะรัฐทางภาคใต้อย่างทมิฬนาฑู เตลังกานา+อันธรประเทศ (ก่อนหน้านี้สองรัฐนี้คือรัฐเดียวกันค่ะ แต่เพิ่งแยกกันเมื่อปีที่แล้วนี้เอง)
ส่วนนักแสดงที่เป็นคนจากรัฐนี้แล้วไปโด่งดังระดับโลกที่คนไทยรู้จักกันดีก็คือ Aishwarya Rai มิสเวิลด์ ปี 1994 นั่นเอง
ภาพจากนิตยสาร Vouge
ส่วนใครที่ดูหนังฮินดีหรือหนังบอลลีวู้ดอยู่แล้วจะต้องรู้จัก Deepika Padukone, Shilpa Shetty และ Prabhu Deva ทั้งสามคนก็เป็นนักแสดงที่โด่งดังในบอลลีวู้ดแต่เป็นคนเชื้อสายกันนาดาหรือมีภาษาแม่คือภาษากันนาดา
Deepika Padukone นางเอกบอลลีวู้ดแถวหน้าของยุคนี้
Shilpa Shetty
Prabhu Deva นักแสดง/ผู้กำกับที่มีชื่อเสียงในบอลลีวู้ด โดยเฉพาะด้านการเต้น
หนังภาษากันนาดาโดยมากเน้นทำตลาดภายในรัฐ แต่ได้รับความนิยมน้อยกว่าหนังภาษาฮินดีที่ถูกฉายอยู่ภายในรัฐ เพราะว่ามีคนอินเดียที่พูดภาษาฮินดีเป็นภาษาแม่ย้ายถิ่นฐานไปทำงานที่รัฐนี้มาก (มีเมืองบังกาลอร์น่ะค่ะ ศูนย์กลางไอทีของอินเดียและเอเชีย) ทำให้หนังภาษากันนาดาถูกเบียดด้วยหนังภาษาฮินดีจากบอลลีวู้ด แต่ก็ไม่ได้ทำให้อุตสาหกรรมหนังภาษานี้ถึงกับอยู่ไม่ได้ อย่างที่บอกไปตอนต้นว่ามีการผลิตหนังกันมากกว่า 100 เรื่อง/ปี เพราะคนกันนาดาเองเค้าก็ยังคงสนับสนุนหนังของตัวเองอยู่ สำหรับชาวต่างชาติแบบเราจะหาดูแบบมีซับค่อนข้างยากค่ะ จริงๆในยูทูปเองมีในชมเยอะมาก แต่มีแค่ไม่กี่เรื่องที่มีซับไตเติ้ล (ภาษาอังกฤษ)
โดยส่วนตัวที่เคยดูก็มีไม่กี่เรื่อง แนะนำต่อกันเลยนะคะ ที่เอามาแนะนำก็ไม่ใช่หนังที่บอกว่าเป็นสายอาร์ตเลิศเลออะไร แต่แนะนำที่เคยดูแล้วมีซับน่ะค่ะ เรียกว่าพอดูได้ - สนุก ถ้าคิดอยากลองดูหนังจาก Sandalwood
อยากชมหนังของ Sandalwood หาได้จากยูทูปเลยค่ะ พิมพ์คำว่า "Kannada movies with English subtitles" ก็จะเจอ แต่ไม่เยอะนัก
ลำดับที่ + ชื่อเรื่อง + ปีที่ออกฉายที่อินเดีย
1. Ugramm: 2014
หนังแนว Thriller Action เป็นหนังฮิตของ Sandalwood และได้รับคำวิจารณ์ที่ดี เรื่องราวของสาวอินเดียที่อยู่ประเทศออสเตรเลีย ต้องการกลับมาเยี่ยมหลุมศพของแม่ที่รัฐกรณาฏกะ แต่ก็ถูกพ่อห้ามไว้ตลอดโดยไม่บอกเหตุผล จนเธอแอบหนีไปถึงอินเดียจนได้ แต่เมื่อศัตรูเก่าของพ่อเธอรู้ข่าวว่าเธอหนีมาอินเดีย ก็ตามล่าตัวเธอทันที โชคยังดีที่พระเอกเป็นคนของพ่อเธอ เธอมาอยู่ในความคุ้มครองของเค้า ทั้งคู่ต้องต่อสู้หนีการตามล่าจากศัตรูเก่าของพ่อนางเอก เรื่องราวก็ง่ายๆค่ะ บู๊แอ๊คชั่นเลือดสาด แต่ภาพสวย แล้วก็ตื่นเต้นดี
2. Chaarulatha: 2012
หนังแนว horror รีเมคจากหนังไทยเรื่อง "แฝด" ที่มาช่านำแสดง เราไม่เคยดูเรื่องแฝดค่ะ มาดูหนังอินเดียเรื่องนี้เลย สนุกดี พอไปถามเพื่อนที่เคยดูเรื่องแฝดและเรื่องนี้ เค้าบอกว่า เหมือนกันค่ะ
3. Kalpana: 2012
***เรื่องนี้แนะนำมากๆ***
หนังแนว comedy horror แต่ส่วนตัวเราเพิ่ม drama ให้อีกแนวนึง จริงๆเรื่องนี้รีเมคจากหนังทมิฬหรือกอลลีวู้ด แต่เอามาแนะนำเพราะเวอร์ชั่นของ Sandalwood นักแสดงเล่นได้ดีกว่าเยอะมาก เรื่องราวของ Raghava หนุ่มที่ไม่ทำการทำงาน เล่นคริกเก็ตไปวันๆ แต่วันนึงสนามที่เค้าเล่นอยู่ประจำโดนห้ามเล่น เค้าและเพื่อนๆต้องไปหาที่ว่างใหม่เพื่อเล่นคริกเก็ต แล้วก็ไปเจอที่รกร้างแห่งนึง ซึ่งคนแถวนั้นไม่กล้าผ่านหลังตะวันตกดิน รักกวา กับเพื่อนๆด้วยความไม่รู้เลยเลือกที่นั้น พอปักเสาคริกเก็ตลงดินเค้าก็ได้ปลดปล่อยวิญญาณร้ายออกมา วิญญาณนั้นได้ตาม รักกวา ไปที่บ้านและหลอกหลอนเค้ากับครอบครัว แต่เบื้องหลังความหลอน มีเรื่องราวที่น่าสงสารของดวงวิญญาณที่ไม่ยอมไปผุดไปเกิดอยู่
เรื่องนี้ภาพและเทคนิคอาจจะไม่ดีนัก แต่หลอนจริง ฮาจริง แล้วก็เรียกน้ำตาได้จริงๆ แล้วยังได้เห็นประเพณีและความเชื่อของชาวอินเดียเกี่ยวกับเรื่องภูตผีอีกด้วย ซึ่งคล้ายของบ้านเรามากๆค่ะ แล้วอย่างที่บอกนักแสดงเรื่องนี้เล่นได้ดีมากๆ โดยนักแสดงนำชายของเรื่องนี้ได้รับรางวัลด้วยค่ะ
ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาอ่านค่ะ ยังเหลืออีก 2 วู้ดนะคะ จะจบแล้ว
เพจคนรักหนังอินเดีย
https://www.facebook.com/IndianfilmsloverTh/
เพจรีวิวหนัง+ร้านอาหารอินเดีย
https://www.facebook.com/IndianFilmsandFoodsReview/