พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓
อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
รูปสูตร
[๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ๔ จำพวก
เป็นไฉนคือ ผู้ถือประมาณในรูป เลื่อมใสในรูป ๑ ผู้ถือประมาณในเสียง เลื่อม
ใสในเสียง ๑ ผู้ถือประมาณในความเศร้าหมอง เลื่อมใสในความเศร้าหมอง ๑
ผู้ถือประมาณในธรรม เลื่อมใสในธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวก
นี้แล มีปรากฏอยู่ในโลกนี้ ฯ
ก็ชนเหล่าใด ถือประมาณในรูป และชนเหล่าใด คล้อยไป
ตามเสียง ชนเหล่านั้น เป็นผู้ตกอยู่ในอำนาจของฉันทราคะ
ย่อมไม่รู้จักชนนั้น คือ ย่อมไม่รู้คุณภายในของเขา และ
ไม่เห็นข้อปฏิบัติภายนอกของเขา บุคคลนั้นแล เป็นคน
เขลา ถูกห้อมล้อมไว้โดยรอบ อันเสียงย่อมพัดไป อนึ่ง
บุคคลไม่รู้คุณภายใน และไม่เห็นข้อปฏิบัติภายนอกของเขา
แม้บุคคลนั้นเห็นผลในภายนอก ก็ยังถูกเสียงพัดไป ส่วน
บุคคลรู้ทั่วถึงคุณภายในของเขา และเห็นแจ้งข้อปฏิบัติภาย
นอกของเขา บุคคลนั้นเป็นผู้เห็นธรรมอันปราศจากเครื่องกั้น
ย่อมไม่ถูกเสียงพัดไป ฯ
จบสูตรที่ ๕
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ บรรทัดที่ ๑๙๐๘ - ๑๙๒๔. หน้าที่ ๘๒.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=21&A=1908&Z=1924&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=65
ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย ได้ที่ :-
[65]
http://budsir.mahidol.ac.th/cgi-bin/Budsir.cgi/SearchItem?mode=1&valume=21&item=65&Roman=0
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
บุคคล 3 จำพวกต้น ยังมีทางพลาดได้มาก โดยอาจเกิดความคิดใคร่ ถูกครอบงำชักพาไปด้วยความหลง ถูกพัดวนเวียนหรือติดอยู่แค่ภายนอก ไม่รู้จักคนที่ตนมองได้อย่างแท้จริงและไม่เข้าถึงสาระ ส่วนผู้ถือธรรมเป็นประมาณ จึงจะรู้ชัดคนที่ตนมองอย่างแท้จริง ไม่ถูกพัดพาไป เข้าถึงธรรมที่ปราศจากสิ่งครอบคลุม
พระพุทธเจ้าทรงมีพระคุณสมบัติครบถ้วนทั้งสี่ข้อ (เฉพาะข้อ 3 ทรงถือแต่พอดี) จึงทรงครองใจคนทุกจำพวกได้ทั้งหมด คนที่เห็นพระพุทธเจ้าแล้ว ที่จะไม่เลื่อมใสนั้น หาได้ยากยิ่งนัก
http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ธัมมัปปมาณ&detail=on
http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ธัมมัปปมาณ&detail=on
๛ บุคคลถือประมาณในธรรมแล้ว เลื่อมใส ชื่อธัมมัปปมาณ ๛
อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
รูปสูตร
[๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ๔ จำพวก
เป็นไฉนคือ ผู้ถือประมาณในรูป เลื่อมใสในรูป ๑ ผู้ถือประมาณในเสียง เลื่อม
ใสในเสียง ๑ ผู้ถือประมาณในความเศร้าหมอง เลื่อมใสในความเศร้าหมอง ๑
ผู้ถือประมาณในธรรม เลื่อมใสในธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวก
นี้แล มีปรากฏอยู่ในโลกนี้ ฯ
ก็ชนเหล่าใด ถือประมาณในรูป และชนเหล่าใด คล้อยไป
ตามเสียง ชนเหล่านั้น เป็นผู้ตกอยู่ในอำนาจของฉันทราคะ
ย่อมไม่รู้จักชนนั้น คือ ย่อมไม่รู้คุณภายในของเขา และ
ไม่เห็นข้อปฏิบัติภายนอกของเขา บุคคลนั้นแล เป็นคน
เขลา ถูกห้อมล้อมไว้โดยรอบ อันเสียงย่อมพัดไป อนึ่ง
บุคคลไม่รู้คุณภายใน และไม่เห็นข้อปฏิบัติภายนอกของเขา
แม้บุคคลนั้นเห็นผลในภายนอก ก็ยังถูกเสียงพัดไป ส่วน
บุคคลรู้ทั่วถึงคุณภายในของเขา และเห็นแจ้งข้อปฏิบัติภาย
นอกของเขา บุคคลนั้นเป็นผู้เห็นธรรมอันปราศจากเครื่องกั้น
ย่อมไม่ถูกเสียงพัดไป ฯ
จบสูตรที่ ๕
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ บรรทัดที่ ๑๙๐๘ - ๑๙๒๔. หน้าที่ ๘๒.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=21&A=1908&Z=1924&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=65
ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย ได้ที่ :-
[65] http://budsir.mahidol.ac.th/cgi-bin/Budsir.cgi/SearchItem?mode=1&valume=21&item=65&Roman=0
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
บุคคล 3 จำพวกต้น ยังมีทางพลาดได้มาก โดยอาจเกิดความคิดใคร่ ถูกครอบงำชักพาไปด้วยความหลง ถูกพัดวนเวียนหรือติดอยู่แค่ภายนอก ไม่รู้จักคนที่ตนมองได้อย่างแท้จริงและไม่เข้าถึงสาระ ส่วนผู้ถือธรรมเป็นประมาณ จึงจะรู้ชัดคนที่ตนมองอย่างแท้จริง ไม่ถูกพัดพาไป เข้าถึงธรรมที่ปราศจากสิ่งครอบคลุม
พระพุทธเจ้าทรงมีพระคุณสมบัติครบถ้วนทั้งสี่ข้อ (เฉพาะข้อ 3 ทรงถือแต่พอดี) จึงทรงครองใจคนทุกจำพวกได้ทั้งหมด คนที่เห็นพระพุทธเจ้าแล้ว ที่จะไม่เลื่อมใสนั้น หาได้ยากยิ่งนัก
http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ธัมมัปปมาณ&detail=on
http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ธัมมัปปมาณ&detail=on