[๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ๔ จำพวกเป็นไฉนคือ
ผู้ถือประมาณในรูป เลื่อมใสในรูป ๑
ผู้ถือประมาณในเสียง เลื่อมใสในเสียง ๑
ผู้ถือประมาณในความเศร้าหมอง เลื่อมใสในความเศร้าหมอง ๑
ผู้ถือประมาณในธรรม เลื่อมใสในธรรม ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลกนี้ ฯ
ก็ชนเหล่าใด ถือประมาณในรูป และชนเหล่าใด คล้อยไปตามเสียง ชนเหล่านั้น เป็นผู้ตกอยู่ในอำนาจของฉันทราคะ
ย่อมไม่รู้จักชนนั้น คือ ย่อมไม่รู้คุณภายในของเขา และไม่เห็นข้อปฏิบัติภายนอกของเขา
บุคคลนั้นแล เป็นคนเขลา ถูกห้อมล้อมไว้โดยรอบ อันเสียงย่อมพัดไป
....อนึ่ง
บุคคลไม่รู้คุณภายใน และไม่เห็นข้อปฏิบัติภายนอกของเขา แม้บุคคลนั้นเห็นผลในภายนอก ก็ยังถูกเสียงพัดไป
ส่วนบุคคลรู้ทั่วถึงคุณภายในของเขา และเห็นแจ้งข้อปฏิบัติภายนอกของเขา
บุคคลนั้นเป็นผู้เห็นธรรมอันปราศจากเครื่องกั้นย่อมไม่ถูกเสียงพัดไป ฯ
---------------------
รูปสูตร
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ บรรทัดที่ ๑๙๐๘ - ๑๙๒๔. หน้าที่ ๘๒.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=21&A=1908&Z=1924&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=65
ผู้ถือประมาณในธรรม เลื่อมใสในธรรม
บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ๔ จำพวกเป็นไฉนคือ
ผู้ถือประมาณในรูป เลื่อมใสในรูป ๑
ผู้ถือประมาณในเสียง เลื่อมใสในเสียง ๑
ผู้ถือประมาณในความเศร้าหมอง เลื่อมใสในความเศร้าหมอง ๑
ผู้ถือประมาณในธรรม เลื่อมใสในธรรม ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลกนี้ ฯ
ก็ชนเหล่าใด ถือประมาณในรูป และชนเหล่าใด คล้อยไปตามเสียง ชนเหล่านั้น เป็นผู้ตกอยู่ในอำนาจของฉันทราคะ
ย่อมไม่รู้จักชนนั้น คือ ย่อมไม่รู้คุณภายในของเขา และไม่เห็นข้อปฏิบัติภายนอกของเขา
บุคคลนั้นแล เป็นคนเขลา ถูกห้อมล้อมไว้โดยรอบ อันเสียงย่อมพัดไป
....อนึ่ง บุคคลไม่รู้คุณภายใน และไม่เห็นข้อปฏิบัติภายนอกของเขา แม้บุคคลนั้นเห็นผลในภายนอก ก็ยังถูกเสียงพัดไป
ส่วนบุคคลรู้ทั่วถึงคุณภายในของเขา และเห็นแจ้งข้อปฏิบัติภายนอกของเขา
บุคคลนั้นเป็นผู้เห็นธรรมอันปราศจากเครื่องกั้นย่อมไม่ถูกเสียงพัดไป ฯ
---------------------
รูปสูตร
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ บรรทัดที่ ๑๙๐๘ - ๑๙๒๔. หน้าที่ ๘๒.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=21&A=1908&Z=1924&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=65