คุณยอมรับให้มีการตั้งศูนย์โรฮินญา ในไทยหรือไม่

โรฮีนญา (พม่า: ɹòhɪ̀ɴd͡ʑà/ โรฮีนจา; โรฮีนจา: Ruáingga /ɾuájŋɡa/ รูไอง์กา; เบงกาลี: রোহিঙ্গা, Rohingga) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์มุสลิมที่อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของรัฐยะไข่ (อาระกัน) ทางตะวันตกของประเทศพม่า และพูดภาษาโรฮีนญาชาวโรฮีนญาและนักวิชาการบางส่วนว่า เป็นชนพื้นเมืองรัฐยะไข่ ฝ่ายนักประวัติศาสตร์บางส่วนมักอ้างว่าพวกเขาอพยพมาประเทศพม่าจากเบงกอลส่วนใหญ่ระหว่างสมัยการปกครองของบริเตน และนักประวัติศาสตร์ส่วนน้อยว่า อพยพมาหลังพม่าได้เอกราชในปี 2491 และสงครามประกาศอิสรภาพบังกลาเทศในปี 2514

มุสลิมตั้งถิ่นฐานในรัฐยะไข่ตั้งแต่คริสต์ศตวรษที่ 15 แม้ว่าไม่สามารถประมาณจำนวนผู้ตั้งถิ่นฐานชาวมุสลิมก่อนการปกครองของบริเตนได้อย่างแม่นยำ หลังสงครามอังกฤษ-พม่าครั้งที่หนึ่งในปี 2369 บริเตนผนวกรัฐยะไข่และส่งเสริมการย้ายถิ่นจากเบงกอลเพื่อทำงานเป็นผู้ใช้แรงงานในไร่นา ประชากรมุสลิมอาจประกอบเป็น 5% ของประชากรรัฐยะไข่ในปี 2412 แม้การประเมินสำหรับปีก่อนหน้าจะสูงกว่านี้ ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ความรุนแรงระหว่างชุมชนอุบัติขึ้นระหว่างหน่วยกำลังวี (V-Force) ชาวโรฮีนจาที่บริเตนสนับสนุนด้านอาวุธกับชาติพันธุ์ยะขิ่น และภูมิภาคมีการแบ่งแยกเพิ่มขึ้นในปี 2525 รัฐบาลพลเอกเน วินตรากฎหมายความเป็นพลเมืองซึ่งปฏิเสธความเป็นพลเมืองของชาวโรฮีนญา

ในปี 2556 มีชาวโรฮีนญาประมาณ 735,000 คนอาศัยอยู่ในประเทศพม่า ส่วนใหญ่ในเมืองทางเหนือของรัฐยะไข่ซึ่งคิดเป็น 80–98% ของประชากร สื่อระหว่างประเทศและองค์การสิทธิมนุษยชนอธิบายชาวโรฮีนญาว่าเป็นชนกลุ่มน้อยที่ถูกข่มเหงที่สุดกลุ่มหนึ่งในโลก ชาวโรฮีนญาจำนวนมากหนีไปเก็ตโตและค่ายผู้ลี้ภัยในประเทศเพื่อนบ้านบังกลาเทศ และพื้นที่ตามชายแดนไทย–พม่า ชาวโรฮีนจากว่า 100,000 คนยังอาศัยอยู่ในค่ายสำหรับผู้พลัดถิ่นในประเทศซึ่งทางการไม่อนุญาตให้ออก ชาวโรฮีนญาได้รับความสนใจจากนานาชาติในห้วงเหตุจลาจลในรัฐยะไข่ พ.ศ. 2555
1.
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่