ไทย คือ ประเทศเดียวในภูมิภาคอาเซียนที่จำนวนประชากรอยู่ใน 'ขาลง' แตกต่างจากเพื่อนบ้านที่อยู่ในช่วง 'ขาขึ้น' หลายประเทศแก้ปัญหานี้ด้วยการรับคนเก่งเข้าประเทศ แต่ไทยยังไม่มีนโยบายด้านนี้ แถม Gen Z ไทยกว่า 75% ก็ยังอยากย้ายประเทศ-ไปทำงานต่างประเทศอีก
รศ. ดร.เฉลิมพล แจ่มจันทร์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล อธิบายว่า ในปี 2567 มีประชากรไทยเกิดใหม่แค่ 460,000 คน เป็นตัวเลขที่ต่ำสุดในรอบ 75 ปี และแทบจะเรียกได้ว่าต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ นับจากยุคเด็กเกิดล้านในอดีต
เมื่อการเกิดของประชากรลดลง คนไทยจึง ‘เกิด’ น้อยกว่า ‘ตาย’ ทำให้คนไทยหายไปปีละกว่าหมื่นคน จำนวนประชากรไทยจึงลดลงต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 แล้ว
ขณะเดียวกัน หากย้อนมาดูสถานการณ์ประชากรของภูมิภาคเรา จะพบว่า ‘ไทย’ เป็นประเทศเดียวในภูมิภาคที่ประชากร “กำลังลดลง” แตกต่างจากประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคที่อยู่ในช่วงขาขึ้นของจำนวนประชากร
ส่วนใหญ่ประเทศที่ประชากรกำลังลดลงจะเป็น ‘ประเทศพัฒนาแล้ว’ ไทยจึงเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศกำลังพัฒนาที่ประชากรกำลังลดลง
นอกจากนั้น หลายคนอาจสงสัยว่า ทำไมประเทศที่มีอัตราการเจริญพันธุ์รวมต่ำกว่าไทยอย่าง ‘สิงคโปร์’ ถึงสามารถมีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นได้ (เติบโต 2% ในปี 2567) สาเหตุมาจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนพลเมือง ผู้ถิ่นพำนักถาวร และผู้ไม่ได้พำนักอาศัยในประเทศที่เพิ่มขึ้น
หรือว่าง่ายๆ คือ นโยบาย Replacement Migration การเปิดต้อนรับบุคลากรผู้มีความสามารถให้เข้ามาอยู่อาศัยและทำงาน เพื่อทดแทนจำนวนประชากรที่ลดลง ทำให้สิงคโปร์มีประชากรเพิ่มขึ้นในช่วงเวลาที่ผ่านมา ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ไทยก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน
ผลสำรวจของ ‘สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล’ บอกว่า คนไทยเห็นด้วยกับการนำเข้าแรงงานข้ามชาติมากกว่าไม่เห็นด้วย โดยเฉพาะในหมู่คน Gen Y และ Gen Z
แต่คนไทยในกลุ่ม Gen Z กว่า 3 ใน 4 ก็อยากไปทำงานต่างประเทศหรือย้ายประเทศเช่นกัน เรียกง่ายๆ ว่าตอนนี้เราไม่ได้มีนโยบายเปิดต้อนรับผู้อพยพย้ายถิ่นฐานอย่างเป็นทางการมากนัก แต่พร้อมๆ กันนั้นคนรุ่นใหม่ของเราเองก็อยากออกจากประเทศไปสู่พื้นที่อื่นๆ ของโลกด้วย
ที่มา :Brand Inside
ไทย คือ ประเทศเดียวในภูมิภาคอาเซียนที่จำนวนประชากรอยู่ใน 'ขาลง' แถม Gen Z ไทยกว่า 75% ก็ยังอยากย้ายประเทศ
เมื่อการเกิดของประชากรลดลง คนไทยจึง ‘เกิด’ น้อยกว่า ‘ตาย’ ทำให้คนไทยหายไปปีละกว่าหมื่นคน จำนวนประชากรไทยจึงลดลงต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 แล้ว
ขณะเดียวกัน หากย้อนมาดูสถานการณ์ประชากรของภูมิภาคเรา จะพบว่า ‘ไทย’ เป็นประเทศเดียวในภูมิภาคที่ประชากร “กำลังลดลง” แตกต่างจากประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคที่อยู่ในช่วงขาขึ้นของจำนวนประชากร
ส่วนใหญ่ประเทศที่ประชากรกำลังลดลงจะเป็น ‘ประเทศพัฒนาแล้ว’ ไทยจึงเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศกำลังพัฒนาที่ประชากรกำลังลดลง
นอกจากนั้น หลายคนอาจสงสัยว่า ทำไมประเทศที่มีอัตราการเจริญพันธุ์รวมต่ำกว่าไทยอย่าง ‘สิงคโปร์’ ถึงสามารถมีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นได้ (เติบโต 2% ในปี 2567) สาเหตุมาจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนพลเมือง ผู้ถิ่นพำนักถาวร และผู้ไม่ได้พำนักอาศัยในประเทศที่เพิ่มขึ้น
หรือว่าง่ายๆ คือ นโยบาย Replacement Migration การเปิดต้อนรับบุคลากรผู้มีความสามารถให้เข้ามาอยู่อาศัยและทำงาน เพื่อทดแทนจำนวนประชากรที่ลดลง ทำให้สิงคโปร์มีประชากรเพิ่มขึ้นในช่วงเวลาที่ผ่านมา ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ไทยก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน
ผลสำรวจของ ‘สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล’ บอกว่า คนไทยเห็นด้วยกับการนำเข้าแรงงานข้ามชาติมากกว่าไม่เห็นด้วย โดยเฉพาะในหมู่คน Gen Y และ Gen Z
แต่คนไทยในกลุ่ม Gen Z กว่า 3 ใน 4 ก็อยากไปทำงานต่างประเทศหรือย้ายประเทศเช่นกัน เรียกง่ายๆ ว่าตอนนี้เราไม่ได้มีนโยบายเปิดต้อนรับผู้อพยพย้ายถิ่นฐานอย่างเป็นทางการมากนัก แต่พร้อมๆ กันนั้นคนรุ่นใหม่ของเราเองก็อยากออกจากประเทศไปสู่พื้นที่อื่นๆ ของโลกด้วย
ที่มา :Brand Inside