ในปัจจุบัน งบวิจัยและพัฒนาของไทยเรา อยู่ที่ประมาณ 0.4% ของ GDP ซึ่งแลดูน้อยมาก เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ
โดยเฉพาะเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งหลาย...
โดยในคลิปข้างล่าง ได้ระบุว่า ปัจจุบันเอกชน มีการลงทุนเพื่อวิจัยและพัฒนาเพิ่มขึ้นจากปีก่อนอยู่ที่ประมาณ 8% และจากภาครัฐอีก 7%
และสิ่งที่ภาครัฐต้องการคือ การลงทุนเพื่อการวิจัยเพิ่มขึ้นจากภาคเอกชน เพราะเห็นว่าผลผลิตที่ได้จากงานวิจัยนั้น
สามารถนำมาเป็นใช้ทางการค้าได้มากกว่า...
และนอกจากนี้ ยังได้กล่าวถึง การวางเป้าหมายการเพิ่มงบวิจัยและพัฒนา ให้สูงขึ้นจากเดิม 0.4% ของ GDP ไปสู่ 1% และ 2% อีกด้วย
ซึ่งนั่นจะทำให้ประเทศไทย มีอัตราส่วนของงบวิจัยและพัฒนา อยู่ในระดับที่สูง พอๆกับประเทศที่พัฒนาแล้ว
และอาจจะทำให้ประเทศเรามีผลิตภัณฑ์ ที่มีคุณภาพในระดับโลก เป็นของตนเอง
[ความเห็นส่วนตัว]
ในมุมมองของผม ปัญหาของระบบวิจัยและพัฒนาในประเทศไทยนั้น เรื่องสัดส่วนงบวิจัยและพัฒนาต่อ GDP นั้น
เป็นเรื่องเล็กน้อย เป็นเพียงแค่ยอดของภูเขาน้ำแข็ง และเป็นปัญหาปลายเหตุมากๆ
ในส่วนของระบบการบริหาร การจัดการด้านโครงสร้าง และการสนับสนุน งานวิจัยและพัฒนาเองก็เป็นปัญหาส่วนหนึ่ง
ปัญหาที่ใหญ่มากจริงๆ ของประเทศเราคือ ภาวะการขาดแคลนนักวิจัย และพัฒนา เกือบจะในทุกๆสาขา
การขาดแคลนโรงงานอุตสาหกรรมเล็กๆ ในชุมชน ที่สามารถตอบสนองงานวิจัยของแต่ละสาขาได้
ซึ่งสองสิ่งนี้ ไม่ใช่ว่ามีงบประมาณ สำหรับงานวิจัย แล้วจะเนรมิตมันขึ้นมาได้
เพราะทั้งสองสิ่งล้วนต้องการเวลาในการพัฒนาโครงสร้างของตนเอง เวลาในการเก็บเกี่ยวประสบการณ์
ในเมื่อเราขาดแคลนทั้งนักวิจัย และผู้ผลิตชิ้นงานให้นักวิจัย ไปพร้อมๆกัน ในเวลาเดียวกัน
มันทำให้การที่เราจะออกแบบ และผลิตของซักชิ้นขึ้นมาจำหน่าย มันกลายเป็นเรื่องใหญ่ ใช้เวลาและเงินทุนสูงมาก
ดังนั้นสำหรับผมแล้ว ผมมองว่าปัญหาใหญ่ๆจริงๆของเราคือ เราขาดแคลนโครงสร้างพื้นฐานสำหรับงานวิจัย
เราแทบจะไม่มีโครงสร้างพื้นฐานเหล่านั้น ในระบบเลย ทั้งบุคลากร คุณภาพของบุคลากร และแหล่งอุตสาหกรรมสำหรับผลิตต้นแบบ
ซึ่งอุตสาหกรรมแบบนั้น มักจะต้องใช้บุคลากรที่มีความรู้และประสบการณ์ค่อนข้างสูง เนื่องจากงานที่มีมักจะไม่ใช่งานเดิมๆ ตลอดเวลา
และบุคลากรแบบนั้น เราก็ยังขาดแคลนเช่นกัน เพราะโรงงานในบ้านเราส่วนใหญ่ มักจะรับงานรูทีน ทำมากกว่างานต้นแบบ
ซึ่งทั้งสองอย่างนี้ มักจะไม่ใช่ปัญหาของบริษัทขนาดใหญ่ทั้งหลาย เพราะที่นั่นเขามีทุกอย่างพร้อมอยู่แล้ว
แต่การจะหวังให้ประเทศชาติพัฒนาโดยบริษัทใหญ่นั้นมันเป็นไปไม่ได้ อย่างน้อยก็ไม่เคยมีประเทศไหนทำได้มากก่อนในเวลานี้
เพราะการพัฒนาของบริษัทใหญ่ๆนั้น มักจะขาดความหลากหลายทางพันธุกรรมของงานวิจัย ซึ่งมันจะลดทอนการเกิดงานวิจัยใหม่ๆไปด้วย
และการที่เน้นให้บริษัทขนาดใหญ่ มาลงทุนกับงานวิจัยนั้น มักจะก่อให้เกิดการเป็นเจ้าตลาดเพียงรายเดียว ในสินค้าประเภทนั้น
ซึ่งการที่จะให้ภาครัฐ หรือประชาชน มารณรงค์ ให้เตะขัดขา การเติบโตของเจ้าตลาด ก็ดูจะไม่เหมาะสมนัก ในแง่มุมของระบบทุนนิยม
แต่รัฐเองก็ไม่สามารถสงเสริมให้เกิดการแข่งขันอย่างเป็นธรรมในตลาดได้ เพราะขาดโครงสร้างพื้นฐานในการสนับสนุนการพัฒนามาตั้งแต่ต้น
ปล. ในสมัยก่อนที่เกาหลี จะกลายเป็นประเทศยักษ์ใหญ่ด้านอุตสาหกรรม (ช่วงปี 2535-2540)
ในประเทศเกาหลีมีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็กอยู่มากมาย ทั้งโรงงานออกแบบ/ผลิต วงจรไฟฟ้าต่างๆ โรงกลึง/CNC/หล่อโมลด์
โรงงานผลิต/ขึ้นรูป พลาสติก ฯลฯ ซึ่งโรงงานเหล่านี้ เป็นรากฐานสำคัญในการมีวันนี้ของประเทศเกาหลี
เพราะโรงงานเหล่านี้ เค้าสามารถผลิตสินค้าต้นแบบ แม้แต่ชิ้นเดียวก็ผลิต ผลิตชิ้นส่วนต่างๆให้กับอุตสาหกรรมต่างๆ
หรือให้กับบริษัทวิจัยเล็กๆ รายย่อย ที่กำลังพัฒนาสินค้าของตนเอง
ซึ่งบริษัทเล็กๆเหล่านี้ ไม่สามารถหาซื้อเครื่องมือราคาแพง หรือหาจ้างพนักงานที่มีความเชี่ยวชาญได้ อย่างที่โรงงานเหล่านี้ทำได้
และนั่นทำให้อุตสาหกรรมของเกาหลีเติบโต เช่นเดียวกับญี่ปุ่น ที่ได้เกิดขึ้นไปก่อนหน้านั้นแล้ว
จะวิจัยและพัฒนาแน่...หรือแค่ฝันกลางวัน? [Part1] อนาคตการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาในไทย
ในปัจจุบัน งบวิจัยและพัฒนาของไทยเรา อยู่ที่ประมาณ 0.4% ของ GDP ซึ่งแลดูน้อยมาก เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ
โดยเฉพาะเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งหลาย...
โดยในคลิปข้างล่าง ได้ระบุว่า ปัจจุบันเอกชน มีการลงทุนเพื่อวิจัยและพัฒนาเพิ่มขึ้นจากปีก่อนอยู่ที่ประมาณ 8% และจากภาครัฐอีก 7%
และสิ่งที่ภาครัฐต้องการคือ การลงทุนเพื่อการวิจัยเพิ่มขึ้นจากภาคเอกชน เพราะเห็นว่าผลผลิตที่ได้จากงานวิจัยนั้น
สามารถนำมาเป็นใช้ทางการค้าได้มากกว่า...
และนอกจากนี้ ยังได้กล่าวถึง การวางเป้าหมายการเพิ่มงบวิจัยและพัฒนา ให้สูงขึ้นจากเดิม 0.4% ของ GDP ไปสู่ 1% และ 2% อีกด้วย
ซึ่งนั่นจะทำให้ประเทศไทย มีอัตราส่วนของงบวิจัยและพัฒนา อยู่ในระดับที่สูง พอๆกับประเทศที่พัฒนาแล้ว
และอาจจะทำให้ประเทศเรามีผลิตภัณฑ์ ที่มีคุณภาพในระดับโลก เป็นของตนเอง
[ความเห็นส่วนตัว]
ในมุมมองของผม ปัญหาของระบบวิจัยและพัฒนาในประเทศไทยนั้น เรื่องสัดส่วนงบวิจัยและพัฒนาต่อ GDP นั้น
เป็นเรื่องเล็กน้อย เป็นเพียงแค่ยอดของภูเขาน้ำแข็ง และเป็นปัญหาปลายเหตุมากๆ
ในส่วนของระบบการบริหาร การจัดการด้านโครงสร้าง และการสนับสนุน งานวิจัยและพัฒนาเองก็เป็นปัญหาส่วนหนึ่ง
ปัญหาที่ใหญ่มากจริงๆ ของประเทศเราคือ ภาวะการขาดแคลนนักวิจัย และพัฒนา เกือบจะในทุกๆสาขา
การขาดแคลนโรงงานอุตสาหกรรมเล็กๆ ในชุมชน ที่สามารถตอบสนองงานวิจัยของแต่ละสาขาได้
ซึ่งสองสิ่งนี้ ไม่ใช่ว่ามีงบประมาณ สำหรับงานวิจัย แล้วจะเนรมิตมันขึ้นมาได้
เพราะทั้งสองสิ่งล้วนต้องการเวลาในการพัฒนาโครงสร้างของตนเอง เวลาในการเก็บเกี่ยวประสบการณ์
ในเมื่อเราขาดแคลนทั้งนักวิจัย และผู้ผลิตชิ้นงานให้นักวิจัย ไปพร้อมๆกัน ในเวลาเดียวกัน
มันทำให้การที่เราจะออกแบบ และผลิตของซักชิ้นขึ้นมาจำหน่าย มันกลายเป็นเรื่องใหญ่ ใช้เวลาและเงินทุนสูงมาก
ดังนั้นสำหรับผมแล้ว ผมมองว่าปัญหาใหญ่ๆจริงๆของเราคือ เราขาดแคลนโครงสร้างพื้นฐานสำหรับงานวิจัย
เราแทบจะไม่มีโครงสร้างพื้นฐานเหล่านั้น ในระบบเลย ทั้งบุคลากร คุณภาพของบุคลากร และแหล่งอุตสาหกรรมสำหรับผลิตต้นแบบ
ซึ่งอุตสาหกรรมแบบนั้น มักจะต้องใช้บุคลากรที่มีความรู้และประสบการณ์ค่อนข้างสูง เนื่องจากงานที่มีมักจะไม่ใช่งานเดิมๆ ตลอดเวลา
และบุคลากรแบบนั้น เราก็ยังขาดแคลนเช่นกัน เพราะโรงงานในบ้านเราส่วนใหญ่ มักจะรับงานรูทีน ทำมากกว่างานต้นแบบ
ซึ่งทั้งสองอย่างนี้ มักจะไม่ใช่ปัญหาของบริษัทขนาดใหญ่ทั้งหลาย เพราะที่นั่นเขามีทุกอย่างพร้อมอยู่แล้ว
แต่การจะหวังให้ประเทศชาติพัฒนาโดยบริษัทใหญ่นั้นมันเป็นไปไม่ได้ อย่างน้อยก็ไม่เคยมีประเทศไหนทำได้มากก่อนในเวลานี้
เพราะการพัฒนาของบริษัทใหญ่ๆนั้น มักจะขาดความหลากหลายทางพันธุกรรมของงานวิจัย ซึ่งมันจะลดทอนการเกิดงานวิจัยใหม่ๆไปด้วย
และการที่เน้นให้บริษัทขนาดใหญ่ มาลงทุนกับงานวิจัยนั้น มักจะก่อให้เกิดการเป็นเจ้าตลาดเพียงรายเดียว ในสินค้าประเภทนั้น
ซึ่งการที่จะให้ภาครัฐ หรือประชาชน มารณรงค์ ให้เตะขัดขา การเติบโตของเจ้าตลาด ก็ดูจะไม่เหมาะสมนัก ในแง่มุมของระบบทุนนิยม
แต่รัฐเองก็ไม่สามารถสงเสริมให้เกิดการแข่งขันอย่างเป็นธรรมในตลาดได้ เพราะขาดโครงสร้างพื้นฐานในการสนับสนุนการพัฒนามาตั้งแต่ต้น
ปล. ในสมัยก่อนที่เกาหลี จะกลายเป็นประเทศยักษ์ใหญ่ด้านอุตสาหกรรม (ช่วงปี 2535-2540)
ในประเทศเกาหลีมีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็กอยู่มากมาย ทั้งโรงงานออกแบบ/ผลิต วงจรไฟฟ้าต่างๆ โรงกลึง/CNC/หล่อโมลด์
โรงงานผลิต/ขึ้นรูป พลาสติก ฯลฯ ซึ่งโรงงานเหล่านี้ เป็นรากฐานสำคัญในการมีวันนี้ของประเทศเกาหลี
เพราะโรงงานเหล่านี้ เค้าสามารถผลิตสินค้าต้นแบบ แม้แต่ชิ้นเดียวก็ผลิต ผลิตชิ้นส่วนต่างๆให้กับอุตสาหกรรมต่างๆ
หรือให้กับบริษัทวิจัยเล็กๆ รายย่อย ที่กำลังพัฒนาสินค้าของตนเอง
ซึ่งบริษัทเล็กๆเหล่านี้ ไม่สามารถหาซื้อเครื่องมือราคาแพง หรือหาจ้างพนักงานที่มีความเชี่ยวชาญได้ อย่างที่โรงงานเหล่านี้ทำได้
และนั่นทำให้อุตสาหกรรมของเกาหลีเติบโต เช่นเดียวกับญี่ปุ่น ที่ได้เกิดขึ้นไปก่อนหน้านั้นแล้ว