การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย คืออะไร? แล้วจะส่งผลดี ผลเสียอย่างไรบ้าง?



วันนี้ Radars Man จะพาเพื่อนๆไปหาคำตอบกันนะครับ
ก่อนอื่น ขอแนะนำปัจจัย 3 ตัวที่เกี่ยวข้อง คือ

1. Inflation targeting หรือ อัตราเงินเฟ้อนั่นเอง ซึ่งโดยทั่วๆไปจะรักษาให้คงอยู่ในระดับ 2-3% ออ ... ส่วน Deflation นี่มันคือเจ้าตัว “เงินฝืด” นะครับ
2. Policy Rate หรือ อัตราดอกเบี้ยนโยบาย เป็นเครื่องมือในการส่งสัญญาณทางการเงินของรัฐบาล โดยมี คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) กำกับดูแลให้อยู่ภายใต้กรอบเงินเฟ้อ 3 %
3. Interest หรือ อัตราผลตอบแทน เราอาจจะรู้จักในชื่อ “ดอกเบี้ย” ซึ่งเจ้าตัวนี้แหละ ที่ทางสถาบันการเงินหรือธนาคาร ใช้เป็นกลไกในการกำหนดผลตอบแทนทางการเงินนั่นเอง

แล้วมันสัมพันธ์กันอย่างไงเอ่ย?

คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีหน้าที่ดูแล เงินเฟ้อให้อยู่ในระดับ 2-3% หากเจ้า “เงินเฟ้อ” สูงขึ้น ก็ต้องมีการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อดึงเงินเข้าระบบ กลับกันหาก “เงินเฟ้อ” อยู่ในระดับต่ำมากๆ หรือเข้าสู่ “ภาวะเงินฝืด” ทาง กนง. ก็จะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย จากนั้น .. พี่สถานบันการเงินก็จะนำมาตรการนั้นๆมาปรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ เงินฝาก และผลตอบแทนพันธบัตร “ดอกเบี้ยต่ำ กู้ง่าย” ก็ทำให้เกิดสภาพคล่องนั่นเอง

ทีนี้ลองมาดูข้อดี - ข้อเสียกันนะครับ

ข้อดี
การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย หรือการใช้มาตรการผ่อนคลายกทางการเงิน ในภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว เป็นการส่งสัญญาณให้สถาบันการเงินหรือธนาคารปรับลดอัตราดอกเบี้ย เงินกู้ - เงินฝาก (ดอกเบี้ยต่ำ) ทำให้ผู้ประกอบการหรือประชาชนสามารถนำเงินเข้ามาลงทุน หรือใช้สอยในระบบเศรษฐกิจมากขึ้น และเมื่อมี “ดัชนี CPI หรือ Consumer Price Index” มีแน้วโน้มดีขึ้น ภาคเอกชนและชาวต่างชาติก็จะหอบเงินเข้ามาลงทุน ส่งผลให้ สมการ I จาก ( C + I + G +( X – M ) ของ GDP มีการขยายตัว จึงมีความเชื่อว่า “ระบบเศรษฐกิจจะดีขึ้น” นั่นเอง

ข้อเสีย
ภาพลักษณ์หลังจากการประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย จะสร้าง Affect ทำให้นักลงทุนขาดความเชื่อมั่น ... อีกส่วนที่สำคัญปัจจุบัน Index ของ หนี้ครัวเรือนไทย และ หนี้ NPL มีอัตราที่สูงมาก ทำให้การปล่อยสินเชื่อของแบงก์เป็นไปอย่างยากลำบาก อีกทั้งอาจจะเพิ่มอัตราหนี้สูญในอนาคต ... ออ หนี้ครัวเรือนไทยจะ Forcast การใช้จ่ายของภาคประชาชน และนักลงทุนส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับตัวนี้มาก เพราะ หากเปิดกิจการแล้วไม่มีคนซื้อก็ “เจ๊ง” นะครับ : )

อ่า ... Radars Man หวังว่าเพื่อนๆคงได้ประโยชน์จากบทความดีๆ ฉบับนี้นะครับ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่