เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ชายชราวัย 80 ปีคนหนึ่งถูกพบศพหลังจากเสียชีวิตนานกว่าหนึ่งเดือนภายในห้องพักกลางกรุงโตเกียว เหตุการณ์น่าสลดใจเช่นนี้มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นมากขึ้นในประเทศญี่ปุ่น ที่ประชากรเกือบหนึ่งในสี่เป็นผู้สูงอายุที่ใช้ชีวิตอย่างโดดเดี่ยว
“โคโดคุชิ” หรือ “ตายอย่างเดียวดาย” กำลังกลายเป็นปรากฏการณ์ในประเทศญี่ปุ่นที่มีผู้สูงอายุมากกว่า 127 ล้านคน คนชราจำนวนไม่น้อยใช้ชีวิตในบั้นปลายของชีวิตอย่างลำพัง และจากโลกนี้ไปโดยที่ไม่มีใครรับรู้นานหลายสัปดาห์หรือนับเดือน จนกระทั่งเพื่อนบ้านได้กลิ่นผิดปกติ สถานการณ์เช่นนี้ทำให้เกิดอาชีพใหม่ในแดนอาทิตย์อุทัย คือ “พนักงานทำความสะอาดห้องพักร้าง”
ฮิโรสุกุ มัตสุดะ ผู้ที่รับหน้าที่ทำความสะอาดห้องพักที่เจ้าของห้องวัยชราจากไปอย่างโดดเดี่ยว บอกว่า เรื่องเช่นนี้เกิดขึ้นบ่อยครั้งในญี่ปุ่น ในช่วงฤดูร้อนเขาถูกตามตัวให้ไปทำงานสัปดาห์ละ 2-3 ครั้งเพราะอากาศร้อนทำให้ศพเน่าเสียเร็วขึ้น
เขาเล่าว่าเมื่อไปถึงห้องพัก ศพของผู่เสียชีวิตได้ถูกตำรวจนำออกไปแล้ว แต่บนพื้นยังคงเต็มไปด้วยคราบเปรอะเปื้อน และภายในห้องพักก็มีกลิ่นของอาหารที่บูดเสีย รวมทั้งข้าวของที่ถูกทิ้งไว้เป็นเวลานาน
พนักงานทำความสะอาดจะฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อในห้องพัก, เก็บขยะ และรวบรวมทรัพย์สินของผู้เสียชีวิตเพื่อรอครอบครัวมารับไป งานทั้งหมดใช้เวลานานกว่า 6 ชั่วโมง โดยพวกเขาจะบอกเพื่อนบ้านว่า เจ้าของบ้านได้ย้ายออกไปแล้ว
ฮิโรสุกุ มัตสุดะ ยังได้เตรียมธูปและดอกไม้มาวางไว้ในบริเวณที่พบศพ เพื่อระลึกถึงผู้สูงอายุที่จากไปอย่างโดดเดี่ยว บริษัทของเขารับทำความสะอาดเฉพาะห้องพักที่มีผู้เสียชีวิต โดยคิดค่าใช้จ่ายระหว่าง 81,000 เยน จนถึง 341,000 เยนตามขนาดห้องพัก
องค์กรเอกชนด้านสวัสดิการสังคมของญี่ปุ่น ประเมินว่า มีผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ตัวคนเดียวมากกว่า 5 ล้านคนทั่วแดนอาทิตย์อุทัย บรรดาคนชราเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นชายโสดที่ไม่มีญาติพี่น้องคอยดูแล จึงไม่มีใครรู้ว่าพวกเขาจากไป โดยในรอบ 10 ปีที่ผ่านมามีกรณีพบศพผู้สูงวัยที่ “ตายอย่างเดียวดาย” มากกว่า 40,000 กรณี และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 100,000 กรณีในไม่ช้า
สังคมญี่ปุ่นที่หนุ่มสาวไม่นิยมแต่งงานและมีลูกสืบสกุล ทำให้มีจำนวนคนชราที่อยู่ตัวคนเดียวมากขึ้น ผู้สูงวัยเหล่านี้ไม่เพียงไม่มีโอกาสเป็นพ่อเป็นแม่ และยิ่งไม่มีโอกาสที่จะมีเด็กน้อยมาเรียกว่า “คุณปู่คุณย่า” พวกเขาไม่มีใครดูแล เพราะพี่น้องต่างก็อยู่ในวัยไม้ใกล้ฝั่งเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ครอบครัวญี่ปุ่นสมัยใหม่ยังเป็นครอบครัวเดี่ยวที่สมาชิกในครอบครัวแยกย้ายกันอาศัย โดยไม่ค่อยได้ไปมาหาสู่กันมากนัก
ถึงแม้วาระสุดท้ายของชีวิตเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนไม่อาจจะหลีกหนีพ้น หากแต่ปรากฏการณ์ “ตายอย่างเดียวดาย” ได้สะท้อนอีกแง่มุมอันอับเฉาของแดนอาทิตย์อุทัย ที่ได้พัฒนาประเทศจนเจริญก้าวหน้า หากแต่ระบบครอบครัวที่เคยผูกพันแน่นหนากลับสูญสลายไปอย่างไม่มีวันหวนคืน และหลายๆประเทศก็กำลังจะเดินตามรอยเช่นเดียวกัน.
http://www.manager.co.th/Japan/ViewNews.aspx?NewsID=9580000043143
คิดว่าสังคมบ้านเราในอนาคตจะมีโอกาสเกิดปรากฏการณ์แบบนี้ได้หรือไม่
“ตายอย่างเดียวดาย” ปรากฎการณ์สลดแห่งแดนอาทิตย์อุทัย คุณมีความคิดเห็นอย่างไรกับข่าวนี้
“โคโดคุชิ” หรือ “ตายอย่างเดียวดาย” กำลังกลายเป็นปรากฏการณ์ในประเทศญี่ปุ่นที่มีผู้สูงอายุมากกว่า 127 ล้านคน คนชราจำนวนไม่น้อยใช้ชีวิตในบั้นปลายของชีวิตอย่างลำพัง และจากโลกนี้ไปโดยที่ไม่มีใครรับรู้นานหลายสัปดาห์หรือนับเดือน จนกระทั่งเพื่อนบ้านได้กลิ่นผิดปกติ สถานการณ์เช่นนี้ทำให้เกิดอาชีพใหม่ในแดนอาทิตย์อุทัย คือ “พนักงานทำความสะอาดห้องพักร้าง”
ฮิโรสุกุ มัตสุดะ ผู้ที่รับหน้าที่ทำความสะอาดห้องพักที่เจ้าของห้องวัยชราจากไปอย่างโดดเดี่ยว บอกว่า เรื่องเช่นนี้เกิดขึ้นบ่อยครั้งในญี่ปุ่น ในช่วงฤดูร้อนเขาถูกตามตัวให้ไปทำงานสัปดาห์ละ 2-3 ครั้งเพราะอากาศร้อนทำให้ศพเน่าเสียเร็วขึ้น
เขาเล่าว่าเมื่อไปถึงห้องพัก ศพของผู่เสียชีวิตได้ถูกตำรวจนำออกไปแล้ว แต่บนพื้นยังคงเต็มไปด้วยคราบเปรอะเปื้อน และภายในห้องพักก็มีกลิ่นของอาหารที่บูดเสีย รวมทั้งข้าวของที่ถูกทิ้งไว้เป็นเวลานาน
พนักงานทำความสะอาดจะฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อในห้องพัก, เก็บขยะ และรวบรวมทรัพย์สินของผู้เสียชีวิตเพื่อรอครอบครัวมารับไป งานทั้งหมดใช้เวลานานกว่า 6 ชั่วโมง โดยพวกเขาจะบอกเพื่อนบ้านว่า เจ้าของบ้านได้ย้ายออกไปแล้ว
ฮิโรสุกุ มัตสุดะ ยังได้เตรียมธูปและดอกไม้มาวางไว้ในบริเวณที่พบศพ เพื่อระลึกถึงผู้สูงอายุที่จากไปอย่างโดดเดี่ยว บริษัทของเขารับทำความสะอาดเฉพาะห้องพักที่มีผู้เสียชีวิต โดยคิดค่าใช้จ่ายระหว่าง 81,000 เยน จนถึง 341,000 เยนตามขนาดห้องพัก
องค์กรเอกชนด้านสวัสดิการสังคมของญี่ปุ่น ประเมินว่า มีผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ตัวคนเดียวมากกว่า 5 ล้านคนทั่วแดนอาทิตย์อุทัย บรรดาคนชราเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นชายโสดที่ไม่มีญาติพี่น้องคอยดูแล จึงไม่มีใครรู้ว่าพวกเขาจากไป โดยในรอบ 10 ปีที่ผ่านมามีกรณีพบศพผู้สูงวัยที่ “ตายอย่างเดียวดาย” มากกว่า 40,000 กรณี และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 100,000 กรณีในไม่ช้า
สังคมญี่ปุ่นที่หนุ่มสาวไม่นิยมแต่งงานและมีลูกสืบสกุล ทำให้มีจำนวนคนชราที่อยู่ตัวคนเดียวมากขึ้น ผู้สูงวัยเหล่านี้ไม่เพียงไม่มีโอกาสเป็นพ่อเป็นแม่ และยิ่งไม่มีโอกาสที่จะมีเด็กน้อยมาเรียกว่า “คุณปู่คุณย่า” พวกเขาไม่มีใครดูแล เพราะพี่น้องต่างก็อยู่ในวัยไม้ใกล้ฝั่งเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ครอบครัวญี่ปุ่นสมัยใหม่ยังเป็นครอบครัวเดี่ยวที่สมาชิกในครอบครัวแยกย้ายกันอาศัย โดยไม่ค่อยได้ไปมาหาสู่กันมากนัก
ถึงแม้วาระสุดท้ายของชีวิตเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนไม่อาจจะหลีกหนีพ้น หากแต่ปรากฏการณ์ “ตายอย่างเดียวดาย” ได้สะท้อนอีกแง่มุมอันอับเฉาของแดนอาทิตย์อุทัย ที่ได้พัฒนาประเทศจนเจริญก้าวหน้า หากแต่ระบบครอบครัวที่เคยผูกพันแน่นหนากลับสูญสลายไปอย่างไม่มีวันหวนคืน และหลายๆประเทศก็กำลังจะเดินตามรอยเช่นเดียวกัน.
http://www.manager.co.th/Japan/ViewNews.aspx?NewsID=9580000043143
คิดว่าสังคมบ้านเราในอนาคตจะมีโอกาสเกิดปรากฏการณ์แบบนี้ได้หรือไม่