แต่ละปี คนญี่ปุ่นประมาณ 68,000 คน เสียชีวิตตามลำพังที่บ้านโดยไม่มีใครรู้
เกียวโดนิวส์ (15 พ.ค.) ข้อมูลที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติรวบรวมเมื่อวันอังคาร ระบุว่า มีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปในญี่ปุ่นประมาณ 68,000 คน เสียชีวิตตามลำพังที่บ้านโดยไม่มีใครสังเกตเห็น
ตัวเลขเบื้องต้นของตำรวจระบุว่า ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม มีผู้เสียชีวิต“อย่างโดดเดี่ยว”ทั่วประเทศ 21,716 ราย เกือบ 80 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนดังกล่าว หรือ 17,034 ราย มีอายุ 65 ปีขึ้นไป
หน่วยงานตำรวจคาดว่าจะรวบรวมข้อมูลต่อไป ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหานี้ ในขณะที่ประเทศกำลังต่อสู้กับสังคมสูงอายุอย่างรวดเร็ว
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้เพิ่มความพยายามในการต่อสู้กับความโดดเดี่ยวทางสังคมและความเหงาในหมู่ผู้คนในญี่ปุ่น รวมถึงการผ่านกฎหมายที่เกี่ยวข้องในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2566 ที่ผ่านมา
การตายอย่างโดดเดี่ยวหมายถึงการที่บุคคลหนึ่งเสียชีวิตโดยไม่มีใครเห็น โดยมีช่วงเวลาหนึ่งผ่านไปก่อนที่จะพบศพ
ข้อมูลระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม การเสียชีวิตในบ้านของกลุ่มคนที่อยู่ตามลำพัง รวมถึงกรณีการฆ่าตัวตาย พบว่ากลุ่มผู้ที่มีอายุ 85 ปีขึ้นไป มีจำนวนสูงสุดที่ 4,922 คน
ในบรรดาผู้ที่มีอายุ 75 ถึง 79 ปี มีรายงานผู้เสียชีวิต 3,480 ราย ขณะที่ผู้ที่มีอายุ 80 ถึง 84 ปีเสียชีวิตเพียงลำพัง 3,348 ราย ผู้ที่มีอายุระหว่าง 70 ถึง 74 ปี รวม 3,204 ราย รองลงมาคือ 2,080 รายในช่วงอายุ 65 ถึง 69 ปี
ที่มา:
https://mgronline.com/japan/detail/9670000041946?tbref=hp
****
สักวันสังคมไทยจะเดินไปสู่จุดนั้นไหม เมื่อกลายเป็นสังคมตัวใครตัวมันมากขึ้น จะหาทางรับมืออย่างไร???
การตายอย่างโดดเดี่ยว เพียงลำพัง โดยไม่มีใครรู้
แต่ละปี คนญี่ปุ่นประมาณ 68,000 คน เสียชีวิตตามลำพังที่บ้านโดยไม่มีใครรู้
เกียวโดนิวส์ (15 พ.ค.) ข้อมูลที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติรวบรวมเมื่อวันอังคาร ระบุว่า มีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปในญี่ปุ่นประมาณ 68,000 คน เสียชีวิตตามลำพังที่บ้านโดยไม่มีใครสังเกตเห็น
ตัวเลขเบื้องต้นของตำรวจระบุว่า ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม มีผู้เสียชีวิต“อย่างโดดเดี่ยว”ทั่วประเทศ 21,716 ราย เกือบ 80 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนดังกล่าว หรือ 17,034 ราย มีอายุ 65 ปีขึ้นไป
หน่วยงานตำรวจคาดว่าจะรวบรวมข้อมูลต่อไป ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหานี้ ในขณะที่ประเทศกำลังต่อสู้กับสังคมสูงอายุอย่างรวดเร็ว
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้เพิ่มความพยายามในการต่อสู้กับความโดดเดี่ยวทางสังคมและความเหงาในหมู่ผู้คนในญี่ปุ่น รวมถึงการผ่านกฎหมายที่เกี่ยวข้องในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2566 ที่ผ่านมา
การตายอย่างโดดเดี่ยวหมายถึงการที่บุคคลหนึ่งเสียชีวิตโดยไม่มีใครเห็น โดยมีช่วงเวลาหนึ่งผ่านไปก่อนที่จะพบศพ
ข้อมูลระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม การเสียชีวิตในบ้านของกลุ่มคนที่อยู่ตามลำพัง รวมถึงกรณีการฆ่าตัวตาย พบว่ากลุ่มผู้ที่มีอายุ 85 ปีขึ้นไป มีจำนวนสูงสุดที่ 4,922 คน
ในบรรดาผู้ที่มีอายุ 75 ถึง 79 ปี มีรายงานผู้เสียชีวิต 3,480 ราย ขณะที่ผู้ที่มีอายุ 80 ถึง 84 ปีเสียชีวิตเพียงลำพัง 3,348 ราย ผู้ที่มีอายุระหว่าง 70 ถึง 74 ปี รวม 3,204 ราย รองลงมาคือ 2,080 รายในช่วงอายุ 65 ถึง 69 ปี
ที่มา: https://mgronline.com/japan/detail/9670000041946?tbref=hp
****
สักวันสังคมไทยจะเดินไปสู่จุดนั้นไหม เมื่อกลายเป็นสังคมตัวใครตัวมันมากขึ้น จะหาทางรับมืออย่างไร???