สภาองค์การลูกจ้าง-รัฐวิสาหกิจ-เครือข่ายแรงงานนอกรระบบ และกระทรวงแรงงาน เตรียมยื่นข้อเสนอ 11 ข้อเรียกร้องในวันแรงงานแห่งชาติ 2558 ให้รัฐบาลขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ รวมทั้งควบคุมสินค้าอุปโภคและบริโภค
วันนี้ (8 เมษายน 2558) นายมานิตย์ พรหมการีย์กุล ประธานสภาองค์การลูกจ้างแรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย และประธานคณะกรรมการจัดงานวันแรงงานแห่งชาติปี 2558 ได้เปิดเผยถึงข้อเรียกร้องที่อยากให้รัฐบาลเร่งดำเนินการ รวมถึงข้อเรียกร้องวันแรงงานแห่งชาติ 2558 เนื่องในโอการจัดงานวันแรงงานแห่งชาติ ซึ่งตรงกับวันที่ 1 พฤษภาคมนี้ จากการรวมมือกันของสภาองค์การลูกจ้าง 14 องค์กรร่วมกับองค์กรรัฐวิสาหกิจ เครือข่ายแรงงานนอกระบบรวม 16 องค์กรร่วมกับกระทรวงแรงงาน
โดยข้อเรียกร้องที่อยากให้รัฐบาลเร่งดำเนินการมี 3 ข้อ ดังนี้
1. ขอให้รัฐบาลปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในอัตราที่สอดคล้องกับค่าครองชีพและสภาพเศรษฐกิจ
2. ควบคุมราคาสินค้าอุปโภคและบริโภค
3. ขอให้แก้ไขกฎกระทรวงให้บัตรรับรองสิทธิประกันสังคมสามารถใช้สิทธิรักษาพยาบาลได้ทุกโรงพยาบาล รวมทั้งอยากให้รัฐบาลเร่งให้การรับรองอนุสัญญาไอแอลโอฉบับที่ 87 และ98
สำหรับข้อเรียกร้องวันแรงงานแห่งชาติปี 2558 มีทั้งหมด 11 ข้อ ดังนี้
1. ให้รัฐบาลรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ไอแอลโอ) ฉบับที่ 87 และ 98 ว่าด้วยสิทธิในการวมตัวและเจรจาต่อรอง
2. ให้รัฐบาลเร่งนำร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ... ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมของผู้ใช้แรงงานเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)
3. ให้รัฐบาลตรากฎหมายตั้งกองทุนประกันความเสี่ยงให้แก่ลูกจ้างในกรณีที่สถานประกอบการปิดกิจการเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยเพื่อเป็นหลักประกันความมั่นคงในการทำงาน
4. ให้รัฐบาลยกเว้นเก็บภาษีเงินได้ กรณีค่าชดเชยของลูกจ้างภาคเอกชนและเงินตอบแทนความชอบของพนักงานรัฐวิสาหกิจ รวมถึงเงินได้อื่น ๆ ซึ่งเป็นเงินงวดสุดท้ายของลูกจ้าง
5. ให้รัฐบาลสนับสนุนและผลักดันกฎหมายพัฒนารัฐวิสาหกิจ และยุตินโยบายการแปรรูป หรือแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจให้เป็นบริษัทเอกชน หรือยุบเลิกรัฐวิสาหกิจ
6. ให้รัฐบาลตราพระราชกฤษฎีกา (พ.ฎ.ก) การจัดเก็บเงินสะสมและเงินสมทบ เพื่อเป็นกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างตามมาตรา 163 ของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
7. ให้รัฐบาลยกระดับสำนักความปลอดภัยแรงงานเป็นกรมความปลอดภัยแรงงาน
8. ให้รัฐบาลปฏิรูปสำนักงานประกันสังคม (สปส.) โดยยกสถานะ สปส. เป็นองค์กรอิสระ และขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานแก้ไขกฎกระทรวงเกี่ยวกับบัตรรับรองสิทธิให้สามารถใช้สิทธิรักษาพยาบาลได้ทุกโรงพยาบาลในระบบประกันสังคม และแก้ไขกฎกระทรวงเกี่ยวกับลูกจ้างเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุอันเนื่องมาจากการทำงาน เมื่อลูกจ้างใช้สิทธิได้แล้วให้สิทธิลูกจ้างไปใช้กองทุนประกันสังคมได้ รวมทั้งให้ สปส.จัดสร้างโรงพยาบาลประกันสังคมต้นแบบ
9. ให้รัฐบาลปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำพร้อมทั้งควบคุมราคาสินค้าอุปโภคและบริโภค
10. ให้รัฐบาลสนับสนุนมูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย
11. ให้แต่งตั้งคณะทำงานติดตามข้อเรียกร้องวันแรงงานแห่งชาติปี 2558
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1428478570
จ่อยื่น 11 ข้อเรียกร้องวันแรงงาน 2558 วอนขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ-คุมราคาสินค้า
วันนี้ (8 เมษายน 2558) นายมานิตย์ พรหมการีย์กุล ประธานสภาองค์การลูกจ้างแรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย และประธานคณะกรรมการจัดงานวันแรงงานแห่งชาติปี 2558 ได้เปิดเผยถึงข้อเรียกร้องที่อยากให้รัฐบาลเร่งดำเนินการ รวมถึงข้อเรียกร้องวันแรงงานแห่งชาติ 2558 เนื่องในโอการจัดงานวันแรงงานแห่งชาติ ซึ่งตรงกับวันที่ 1 พฤษภาคมนี้ จากการรวมมือกันของสภาองค์การลูกจ้าง 14 องค์กรร่วมกับองค์กรรัฐวิสาหกิจ เครือข่ายแรงงานนอกระบบรวม 16 องค์กรร่วมกับกระทรวงแรงงาน
โดยข้อเรียกร้องที่อยากให้รัฐบาลเร่งดำเนินการมี 3 ข้อ ดังนี้
1. ขอให้รัฐบาลปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในอัตราที่สอดคล้องกับค่าครองชีพและสภาพเศรษฐกิจ
2. ควบคุมราคาสินค้าอุปโภคและบริโภค
3. ขอให้แก้ไขกฎกระทรวงให้บัตรรับรองสิทธิประกันสังคมสามารถใช้สิทธิรักษาพยาบาลได้ทุกโรงพยาบาล รวมทั้งอยากให้รัฐบาลเร่งให้การรับรองอนุสัญญาไอแอลโอฉบับที่ 87 และ98
สำหรับข้อเรียกร้องวันแรงงานแห่งชาติปี 2558 มีทั้งหมด 11 ข้อ ดังนี้
1. ให้รัฐบาลรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ไอแอลโอ) ฉบับที่ 87 และ 98 ว่าด้วยสิทธิในการวมตัวและเจรจาต่อรอง
2. ให้รัฐบาลเร่งนำร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ... ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมของผู้ใช้แรงงานเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)
3. ให้รัฐบาลตรากฎหมายตั้งกองทุนประกันความเสี่ยงให้แก่ลูกจ้างในกรณีที่สถานประกอบการปิดกิจการเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยเพื่อเป็นหลักประกันความมั่นคงในการทำงาน
4. ให้รัฐบาลยกเว้นเก็บภาษีเงินได้ กรณีค่าชดเชยของลูกจ้างภาคเอกชนและเงินตอบแทนความชอบของพนักงานรัฐวิสาหกิจ รวมถึงเงินได้อื่น ๆ ซึ่งเป็นเงินงวดสุดท้ายของลูกจ้าง
5. ให้รัฐบาลสนับสนุนและผลักดันกฎหมายพัฒนารัฐวิสาหกิจ และยุตินโยบายการแปรรูป หรือแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจให้เป็นบริษัทเอกชน หรือยุบเลิกรัฐวิสาหกิจ
6. ให้รัฐบาลตราพระราชกฤษฎีกา (พ.ฎ.ก) การจัดเก็บเงินสะสมและเงินสมทบ เพื่อเป็นกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างตามมาตรา 163 ของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
7. ให้รัฐบาลยกระดับสำนักความปลอดภัยแรงงานเป็นกรมความปลอดภัยแรงงาน
8. ให้รัฐบาลปฏิรูปสำนักงานประกันสังคม (สปส.) โดยยกสถานะ สปส. เป็นองค์กรอิสระ และขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานแก้ไขกฎกระทรวงเกี่ยวกับบัตรรับรองสิทธิให้สามารถใช้สิทธิรักษาพยาบาลได้ทุกโรงพยาบาลในระบบประกันสังคม และแก้ไขกฎกระทรวงเกี่ยวกับลูกจ้างเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุอันเนื่องมาจากการทำงาน เมื่อลูกจ้างใช้สิทธิได้แล้วให้สิทธิลูกจ้างไปใช้กองทุนประกันสังคมได้ รวมทั้งให้ สปส.จัดสร้างโรงพยาบาลประกันสังคมต้นแบบ
9. ให้รัฐบาลปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำพร้อมทั้งควบคุมราคาสินค้าอุปโภคและบริโภค
10. ให้รัฐบาลสนับสนุนมูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย
11. ให้แต่งตั้งคณะทำงานติดตามข้อเรียกร้องวันแรงงานแห่งชาติปี 2558
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1428478570