ขอความเห็นเรื่องนี้หน่อยนะครับ
เรื่องแบบนี้ ผมว่าซับซ้อนเกินกว่าที่คิดด้านเศรษฐกิจ การเงินของสังคมและประเทศนี้ ขอความเห็นพี่ๆที่เก่งด้านเศรษฐกิจหน่อยครับ
แหล่งที่มา
https://www.matichon.co.th/local/news_4434940
เครือข่ายแรงงานแถลงการณ์ทวงถาม ‘ค่าจ้างขั้นต่ำอัตราใหม่’ ยันอยู่ได้ต้องวันละ 492 บาททั้งปท.
เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ สมาพันธ์สมานฉันท์แรงงานไทย (สสรท.) สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) และมูลนิธิเพื่อสิทธิแรงงาน (มสร.) ออกแถลงการณ์ เรื่อง “ค่าจ้างต้องปรับ ปรับอย่างไร ถึงเป็นธรรมและยั่งยืน”
ระบุว่า ตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติเห็นชอบในการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ ตามที่คณะกรรมการค่าจ้างเสนอ ซึ่งมีอัตราการปรับ ตั้งแต่ 2-16 บาท ต่ำสุดอยู่ที่วันละ 330 บาท สูงสุดอยู่ที่วันละ 370 บาท ซึ่งการปรับค่าจ้างครั้งนี้ มีการขยายเขตพื้นที่ในการปรับจากเดิม 13 ราคา เมื่อปี 2565 เป็น 17 ราคา ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้าจะมีการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 พรรคเพื่อไทยได้ประกาศนโยบายในการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ใช้แรงงาน โดยเสนอตัวเลขการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ วันละ 600 บาท ในปี 2570 แต่จะทยอยปรับในแต่ละปี โดยเริ่มที่วันละ 400 บาท
ซึ่งต่อมาพรรคเพื่อไทยก็ได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล มีนายเศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกรัฐมนตรี แต่การปรับค่าจ้างขั้นต่ำกลับไม่ได้เป็นอย่างที่นายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทยหาเสียงไว้ แม้นายกรัฐมนตรีจะแสดงท่าทีไม่พอใจ ที่คณะกรรมการค่าจ้างเสนอตัวเลขการปรับค่าจ้างน้อยไปถึงกับออกปากว่า “ปรับได้อย่างไร ๒ บาท ซื้อไข่ 1 ฟองยังไม่ได้เลย” จึงไม่นำเข้าพิจารณาในการประชุม คณะรัฐมนตรีวันที่ 12 ธันวาคม 2566 และสั่งกระทรวงแรงงานพิจารณาทบทวนแต่คณะกรรมการค่าจ้างที่มีโครงสร้างเป็นไตรภาคี คือ รัฐ นายจ้าง ลูกจ้าง มีมติเอกฉันท์ก็ยืนยันตัวเลขเดิมรวมทั้งตัวแทนฝ่ายลูกจ้างเอง
ในที่สุด ครม. ก็เห็นชอบตามนั้นในคราวประชุม เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2566 โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 และสั่งการให้กระทรวงแรงงานนัดประชุมคณะกรรมการค่าจ้างใหม่และจะปรับค่าจ้างขั้นต่ำอีกครั้ง ในเดือนมีนาคม 2567
ในท่ามกลางข้อถกเถียงที่ยาวนาน และสังคมก็เห็นพ้องต้องกันว่าค่าจ้างจำเป็นต้องปรับ เพราะราคาสินค้าที่จำเป็นในการดำรงชีพและสินค้าทั่วไปทุกหมวด ทุกรายการปรับราคาขึ้นอย่างมาก และสมาพันธ์สมานฉันท์แรงงานไทย (สสรท.) สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์(สรส.) ก็ได้เข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานยื่นข้อเสนอปรับค่าจ้าง พร้อมทั้งออกจดหมายเปิดผนึกถึงรัฐบาลให้มีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ วันละ 492 บาท โดยให้มีค่าจ้างราคาเดียวเท่ากันทั้งประเทศ เพราะราคาสินค้า ไม่ได้แตกต่างกัน ต่างจังหวัดยังราคาแพงกว่าด้วยซ้ำ และเสนอให้ค่าจ้างขั้นต่ำ กำหนดให้เป็นค่าจ้างแรกเข้า และให้ทุกสถานประกอบการจัดทำโครงสร้างค่าจ้าง เพื่ออนาคตของคนทำงาน ครอบคลุมทั้งลูกจ้างภาครัฐ และ เอกชน แรงงานภาคบริการ แต่จนถึงปัจจุบันสิ่งที่สสรท. เสนอไปและสิ่งนายกรัฐมนตรีสั่งการกลับไม่มีความคืบหน้าใด ๆ
สมาพันธ์สมานฉันท์แรงงานไทย (สสรท.) สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ยืนหยัดในจุดยืนเดิม คือ “ขอให้รัฐบาลและกลไกไตรภาคีตระหนักถึงความเดือนร้อนของคนทำงานขอให้มีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ วันละ 492 บาท โดยให้มีค่าจ้างราคาเดียวเท่ากันทั้งประเทศ และเสนอให้ค่าจ้างขั้นต่ำกำหนดให้เป็นค่าจ้างแรกเข้า และให้ทุกสถานประกอบการจัดทำโครงสร้างค่าจ้าง เพื่ออนาคตของคนทำงาน ครอบคลุมทั้งลูกจ้างภาครัฐ และ เอกชน คนทำงานภาคบริการ เพื่อความเป็นธรรมทางสังคมควบคู่กับการสร้างรายได้ สร้างอาชีพ สร้างหลักประกันการทำงาน การจ้างงาน เพื่ออนาคต และ สังคมที่ดี”
เพราะเมื่อประชาชนมีอาชีพ มีงานทำ มีรายได้ ก็จะเกิดการผลิตการจำหน่าย ผู้ประกอบการขายสินค้าได้ รัฐก็สามารถเก็บภาษีได้ ถือเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจให้มั่นคง ยั่งยืน ต้องเข้าใจว่าคนที่อยู่ในวัยทำงานในปัจจุบันกว่า 41 ล้านคน คือ คนส่วนใหญ่ของประเทศ หากไม่สามารถแก้ปัญหาของคนส่วนใหญ่ได้ก็อย่าไปคาดหวังว่าจะแก้ปัญหาความยากจน ความเหลื่อมล้ำได้ การปรับขึ้นค่าจ้างก็เป็นเพียงมาตรการหนึ่งที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตของคนทำงาน ซึ่งรัฐบาลต้องทำควบคู่กับการควบคุมราคาสินค้าให้อยู่ในระดับที่ไม่แพงเกินไป ป้องกันผูกขาดและปกป้องกิจการของรัฐคือรัฐวิสาหกิจไม่ให้ตกไปอยู่ในมือของกลุ่มทุนที่จ้องเอาเปรียบประชาชน คนทำงาน
สมาพันธ์สมานฉันท์แรงงานไทย (สสรท.) สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) มูลนิธิเพื่อสิทธิแรงงาน (LRF) จะรวมพลังขับเคลื่อนติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด โดยจะประสานงานกับเครือข่ายแรงงาน และเครือข่ายภาคประชาชนเพื่อยันยันในเจตนารมณ์ให้บรรลุเป้าหมายต่อไป
ความเป็นไปได้ เมื่อเครือข่ายแรงงาน ยันค่าแรงขั้นต่ำจะอยู่ได้ต้องวันละ 492 บาททั่วประเทศ!!!
เรื่องแบบนี้ ผมว่าซับซ้อนเกินกว่าที่คิดด้านเศรษฐกิจ การเงินของสังคมและประเทศนี้ ขอความเห็นพี่ๆที่เก่งด้านเศรษฐกิจหน่อยครับ
แหล่งที่มา https://www.matichon.co.th/local/news_4434940
เครือข่ายแรงงานแถลงการณ์ทวงถาม ‘ค่าจ้างขั้นต่ำอัตราใหม่’ ยันอยู่ได้ต้องวันละ 492 บาททั้งปท.
เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ สมาพันธ์สมานฉันท์แรงงานไทย (สสรท.) สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) และมูลนิธิเพื่อสิทธิแรงงาน (มสร.) ออกแถลงการณ์ เรื่อง “ค่าจ้างต้องปรับ ปรับอย่างไร ถึงเป็นธรรมและยั่งยืน”
ระบุว่า ตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติเห็นชอบในการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ ตามที่คณะกรรมการค่าจ้างเสนอ ซึ่งมีอัตราการปรับ ตั้งแต่ 2-16 บาท ต่ำสุดอยู่ที่วันละ 330 บาท สูงสุดอยู่ที่วันละ 370 บาท ซึ่งการปรับค่าจ้างครั้งนี้ มีการขยายเขตพื้นที่ในการปรับจากเดิม 13 ราคา เมื่อปี 2565 เป็น 17 ราคา ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้าจะมีการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 พรรคเพื่อไทยได้ประกาศนโยบายในการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ใช้แรงงาน โดยเสนอตัวเลขการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ วันละ 600 บาท ในปี 2570 แต่จะทยอยปรับในแต่ละปี โดยเริ่มที่วันละ 400 บาท
ซึ่งต่อมาพรรคเพื่อไทยก็ได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล มีนายเศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกรัฐมนตรี แต่การปรับค่าจ้างขั้นต่ำกลับไม่ได้เป็นอย่างที่นายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทยหาเสียงไว้ แม้นายกรัฐมนตรีจะแสดงท่าทีไม่พอใจ ที่คณะกรรมการค่าจ้างเสนอตัวเลขการปรับค่าจ้างน้อยไปถึงกับออกปากว่า “ปรับได้อย่างไร ๒ บาท ซื้อไข่ 1 ฟองยังไม่ได้เลย” จึงไม่นำเข้าพิจารณาในการประชุม คณะรัฐมนตรีวันที่ 12 ธันวาคม 2566 และสั่งกระทรวงแรงงานพิจารณาทบทวนแต่คณะกรรมการค่าจ้างที่มีโครงสร้างเป็นไตรภาคี คือ รัฐ นายจ้าง ลูกจ้าง มีมติเอกฉันท์ก็ยืนยันตัวเลขเดิมรวมทั้งตัวแทนฝ่ายลูกจ้างเอง
ในที่สุด ครม. ก็เห็นชอบตามนั้นในคราวประชุม เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2566 โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 และสั่งการให้กระทรวงแรงงานนัดประชุมคณะกรรมการค่าจ้างใหม่และจะปรับค่าจ้างขั้นต่ำอีกครั้ง ในเดือนมีนาคม 2567
ในท่ามกลางข้อถกเถียงที่ยาวนาน และสังคมก็เห็นพ้องต้องกันว่าค่าจ้างจำเป็นต้องปรับ เพราะราคาสินค้าที่จำเป็นในการดำรงชีพและสินค้าทั่วไปทุกหมวด ทุกรายการปรับราคาขึ้นอย่างมาก และสมาพันธ์สมานฉันท์แรงงานไทย (สสรท.) สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์(สรส.) ก็ได้เข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานยื่นข้อเสนอปรับค่าจ้าง พร้อมทั้งออกจดหมายเปิดผนึกถึงรัฐบาลให้มีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ วันละ 492 บาท โดยให้มีค่าจ้างราคาเดียวเท่ากันทั้งประเทศ เพราะราคาสินค้า ไม่ได้แตกต่างกัน ต่างจังหวัดยังราคาแพงกว่าด้วยซ้ำ และเสนอให้ค่าจ้างขั้นต่ำ กำหนดให้เป็นค่าจ้างแรกเข้า และให้ทุกสถานประกอบการจัดทำโครงสร้างค่าจ้าง เพื่ออนาคตของคนทำงาน ครอบคลุมทั้งลูกจ้างภาครัฐ และ เอกชน แรงงานภาคบริการ แต่จนถึงปัจจุบันสิ่งที่สสรท. เสนอไปและสิ่งนายกรัฐมนตรีสั่งการกลับไม่มีความคืบหน้าใด ๆ
สมาพันธ์สมานฉันท์แรงงานไทย (สสรท.) สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ยืนหยัดในจุดยืนเดิม คือ “ขอให้รัฐบาลและกลไกไตรภาคีตระหนักถึงความเดือนร้อนของคนทำงานขอให้มีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ วันละ 492 บาท โดยให้มีค่าจ้างราคาเดียวเท่ากันทั้งประเทศ และเสนอให้ค่าจ้างขั้นต่ำกำหนดให้เป็นค่าจ้างแรกเข้า และให้ทุกสถานประกอบการจัดทำโครงสร้างค่าจ้าง เพื่ออนาคตของคนทำงาน ครอบคลุมทั้งลูกจ้างภาครัฐ และ เอกชน คนทำงานภาคบริการ เพื่อความเป็นธรรมทางสังคมควบคู่กับการสร้างรายได้ สร้างอาชีพ สร้างหลักประกันการทำงาน การจ้างงาน เพื่ออนาคต และ สังคมที่ดี”
เพราะเมื่อประชาชนมีอาชีพ มีงานทำ มีรายได้ ก็จะเกิดการผลิตการจำหน่าย ผู้ประกอบการขายสินค้าได้ รัฐก็สามารถเก็บภาษีได้ ถือเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจให้มั่นคง ยั่งยืน ต้องเข้าใจว่าคนที่อยู่ในวัยทำงานในปัจจุบันกว่า 41 ล้านคน คือ คนส่วนใหญ่ของประเทศ หากไม่สามารถแก้ปัญหาของคนส่วนใหญ่ได้ก็อย่าไปคาดหวังว่าจะแก้ปัญหาความยากจน ความเหลื่อมล้ำได้ การปรับขึ้นค่าจ้างก็เป็นเพียงมาตรการหนึ่งที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตของคนทำงาน ซึ่งรัฐบาลต้องทำควบคู่กับการควบคุมราคาสินค้าให้อยู่ในระดับที่ไม่แพงเกินไป ป้องกันผูกขาดและปกป้องกิจการของรัฐคือรัฐวิสาหกิจไม่ให้ตกไปอยู่ในมือของกลุ่มทุนที่จ้องเอาเปรียบประชาชน คนทำงาน
สมาพันธ์สมานฉันท์แรงงานไทย (สสรท.) สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) มูลนิธิเพื่อสิทธิแรงงาน (LRF) จะรวมพลังขับเคลื่อนติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด โดยจะประสานงานกับเครือข่ายแรงงาน และเครือข่ายภาคประชาชนเพื่อยันยันในเจตนารมณ์ให้บรรลุเป้าหมายต่อไป