บอร์ดไตรภาคี โยนอนุฯ จังหวัด ตัดสินใจเคาะขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเอง หลัง ครม.รับทราบไทม์ไลน์ เริ่ม ก.ย.-ต.ค. 67
.
นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 22 ครั้งที่ 5/2567 ว่า ที่ประชุมคณะกรรมการค่าจ้างในวันนี้ มีมติเห็นชอบว่า ในการพิจารณาค่าจ้างขั้นต่ำจะให้คณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัดเป็นผู้พิจารณาว่าแต่ละจังหวัด จะมีการขึ้นค่าจ้างในอัตราเท่าไหร่ และให้กำหนดวันที่จะบังคับใช้ด้วยว่า ควรบังคับใช้ วันที่ 1 ต.ค. 67 หรือ 1 ม.ค. 68
.
โดยการพิจารณาค่าจ้างภายใต้คณะกรรมการไตรภาคีในครั้งนี้ จะให้เกียรติคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัดก่อน ในการจัดประชุมเพื่อพิจารณานำเสนอแนะอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของจังหวัดภายใต้กรอบแนวคิดในเรื่องของค่าครองชีพของจังหวัดนั้นๆ สภาพเศรษฐกิจ สภาพเงินเฟ้อ และที่สำคัญที่ต้องมอง คือ ราคาสินค้าในท้องตลาดของจังหวัดนั้นๆ ด้วย เนื่องจากบริบทของแต่ละจังหวัดไม่เหมือนกัน
.
"ต้องเข้าใจว่าในบางกิจการที่มีกำลังน้อย เช่น ธุรกิจเอสเอ็มอี ค้าปลีก ค้าส่ง หรือแม้กระทั่งภาคเกษตร ชาวสวน ชาวไร่ ซึ่งต้องมาดูรายละเอียด อยากให้จังหวัดซึ่งรู้บริบทความต้องการความจำเป็นของการจ้างงานในจังหวัดนั้นๆ เสนอมาให้คณะอนุกรรมการวิชาการและกลั่นกรองพิจารณาความต้องการความจำเป็นของการขึ้นค่าจ้าง เพื่อเสนอมาให้คณะกรรมการค่าจ้างชุดใหญ่มาเคาะพิจารณาเป็นครั้งสุดท้ายก่อน ซึ่งไทม์ไลน์ จะให้คณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัด ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเดือนกรกฎาคม 2567 นี้" ปลัดกระทรวงแรงงาน ระบุ
.
นายไพโรจน์ กล่าวต่อว่า จากนั้นคณะอนุกรรมการวิชาการและกลั่นกรองพิจารณา และคณะกรรมการค่าจ้างชุดใหญ่จะดำเนินการการพิจารณาค่าจ้างให้แล้วเสร็จเพื่อให้เป็นไปตามไทม์ไลน์ที่กำหนดไว้ โดยคณะกรรมการค่าจ้างจะทำให้มีความเหมาะสม ถูกต้อง ครบถ้วน และตรงกับความต้องการทั้งฝั่งนายจ้างและฝั่งลูกจ้าง เพื่อหาจุดสมดุลระหว่างนายจ้างและลูกจ้างเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่จะทำให้เป็นที่ยอมรับของทั้งสองฝ่าย นอกจากนี้ ที่ประชุมยังเห็นชอบแนวทางการพิจารณาให้ใช้สูตรการคำนวณอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามมติที่ประชุมเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ที่นำมิติของเวลามาใช้ในสูตรฯ ประกอบกับการพิจารณาตัวแปรเชิงคุณภาพตามมาตรา 87 โดยคำนึงถึงความจำเป็นในการครองชีพของลูกจ้าง ความสามารถในการจ่ายของนายจ้าง และเศรษฐกิจและสังคม ในบริบทของแต่ละจังหวัด ทั้งนี้ คณะกรรมการค่าจ้างจะได้นำข้อเสนออัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัดกับข้อมูลเศรษฐกิจ สังคม และแรงงานในภาพรวมทั้งระดับประเทศมาพิจารณากำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำต่อไป
.
ก่อนหน้านี้ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังประชุมคณะรัฐมนตรี อย่างเป็นทางการนอกสถานที่ (ครม.สัญจร) ว่า ที่ประชุมรับทราบตามที่กระทรวงแรงงานเสนอความคืบหน้าในการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 400 บาททั่วประเทศ โดยมีผลบังคับใช้ในเดือนกันยายน - ตุลาคม 2567
.
นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เรื่องนี้กระทรวงแรงงานได้แจ้งเป็นไทม์ไลน์ให้ ครม.รับทราบเท่านั้น โดยการพิจารณาปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำนั้นจะต้องเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย กล่าวคือ ผ่านการพิจารณาเห็นชอบจากคณะกรรมการไตรภาคี ซึ่งในระหว่างนี้ รมว.แรงงาน จะต้องหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น มาตรการรองรับเรื่องค่าครองชีพกับกระทรวงพาณิชย์ ผลกระทบเรื่องภาษีรายได้กับกระทรวงการคลัง
.
“เป็นเพียงไทม์ไลน์ที่กำหนดไว้เท่านั้น การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจะเป็นอย่างไรก็ต้องยึดตาม พ.ร.บ.แรงงาน เรื่องนี้รัฐบาลจะไปแทรกแซงไม่ได้” นายคารม กล่าว
.
สำนักข่าว TODAY
ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ วันละ 400 ทำไมดูวุ่นๆกันจัง
.
นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 22 ครั้งที่ 5/2567 ว่า ที่ประชุมคณะกรรมการค่าจ้างในวันนี้ มีมติเห็นชอบว่า ในการพิจารณาค่าจ้างขั้นต่ำจะให้คณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัดเป็นผู้พิจารณาว่าแต่ละจังหวัด จะมีการขึ้นค่าจ้างในอัตราเท่าไหร่ และให้กำหนดวันที่จะบังคับใช้ด้วยว่า ควรบังคับใช้ วันที่ 1 ต.ค. 67 หรือ 1 ม.ค. 68
.
โดยการพิจารณาค่าจ้างภายใต้คณะกรรมการไตรภาคีในครั้งนี้ จะให้เกียรติคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัดก่อน ในการจัดประชุมเพื่อพิจารณานำเสนอแนะอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของจังหวัดภายใต้กรอบแนวคิดในเรื่องของค่าครองชีพของจังหวัดนั้นๆ สภาพเศรษฐกิจ สภาพเงินเฟ้อ และที่สำคัญที่ต้องมอง คือ ราคาสินค้าในท้องตลาดของจังหวัดนั้นๆ ด้วย เนื่องจากบริบทของแต่ละจังหวัดไม่เหมือนกัน
.
"ต้องเข้าใจว่าในบางกิจการที่มีกำลังน้อย เช่น ธุรกิจเอสเอ็มอี ค้าปลีก ค้าส่ง หรือแม้กระทั่งภาคเกษตร ชาวสวน ชาวไร่ ซึ่งต้องมาดูรายละเอียด อยากให้จังหวัดซึ่งรู้บริบทความต้องการความจำเป็นของการจ้างงานในจังหวัดนั้นๆ เสนอมาให้คณะอนุกรรมการวิชาการและกลั่นกรองพิจารณาความต้องการความจำเป็นของการขึ้นค่าจ้าง เพื่อเสนอมาให้คณะกรรมการค่าจ้างชุดใหญ่มาเคาะพิจารณาเป็นครั้งสุดท้ายก่อน ซึ่งไทม์ไลน์ จะให้คณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัด ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเดือนกรกฎาคม 2567 นี้" ปลัดกระทรวงแรงงาน ระบุ
.
นายไพโรจน์ กล่าวต่อว่า จากนั้นคณะอนุกรรมการวิชาการและกลั่นกรองพิจารณา และคณะกรรมการค่าจ้างชุดใหญ่จะดำเนินการการพิจารณาค่าจ้างให้แล้วเสร็จเพื่อให้เป็นไปตามไทม์ไลน์ที่กำหนดไว้ โดยคณะกรรมการค่าจ้างจะทำให้มีความเหมาะสม ถูกต้อง ครบถ้วน และตรงกับความต้องการทั้งฝั่งนายจ้างและฝั่งลูกจ้าง เพื่อหาจุดสมดุลระหว่างนายจ้างและลูกจ้างเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่จะทำให้เป็นที่ยอมรับของทั้งสองฝ่าย นอกจากนี้ ที่ประชุมยังเห็นชอบแนวทางการพิจารณาให้ใช้สูตรการคำนวณอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามมติที่ประชุมเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ที่นำมิติของเวลามาใช้ในสูตรฯ ประกอบกับการพิจารณาตัวแปรเชิงคุณภาพตามมาตรา 87 โดยคำนึงถึงความจำเป็นในการครองชีพของลูกจ้าง ความสามารถในการจ่ายของนายจ้าง และเศรษฐกิจและสังคม ในบริบทของแต่ละจังหวัด ทั้งนี้ คณะกรรมการค่าจ้างจะได้นำข้อเสนออัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัดกับข้อมูลเศรษฐกิจ สังคม และแรงงานในภาพรวมทั้งระดับประเทศมาพิจารณากำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำต่อไป
.
ก่อนหน้านี้ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังประชุมคณะรัฐมนตรี อย่างเป็นทางการนอกสถานที่ (ครม.สัญจร) ว่า ที่ประชุมรับทราบตามที่กระทรวงแรงงานเสนอความคืบหน้าในการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 400 บาททั่วประเทศ โดยมีผลบังคับใช้ในเดือนกันยายน - ตุลาคม 2567
.
นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เรื่องนี้กระทรวงแรงงานได้แจ้งเป็นไทม์ไลน์ให้ ครม.รับทราบเท่านั้น โดยการพิจารณาปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำนั้นจะต้องเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย กล่าวคือ ผ่านการพิจารณาเห็นชอบจากคณะกรรมการไตรภาคี ซึ่งในระหว่างนี้ รมว.แรงงาน จะต้องหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น มาตรการรองรับเรื่องค่าครองชีพกับกระทรวงพาณิชย์ ผลกระทบเรื่องภาษีรายได้กับกระทรวงการคลัง
.
“เป็นเพียงไทม์ไลน์ที่กำหนดไว้เท่านั้น การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจะเป็นอย่างไรก็ต้องยึดตาม พ.ร.บ.แรงงาน เรื่องนี้รัฐบาลจะไปแทรกแซงไม่ได้” นายคารม กล่าว
.
สำนักข่าว TODAY